Home | แหล่งท่องเที่ยว | สำนักสงฆ์ดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 3 | ชมรมจักายานอำเภอจะแนะ Dpcc Club | ชมรมจักรยานดซงญอไบด์ Dusongyo Bike | ผู้นำดุซงญอ | เบิกฟ้าชมวังพระยาระแงะ | Selamat Datang Dusongyo | ประวัติบ้านดุซงญอ | สภาพทั่วไปบ้านดุซงญอ | มัสยิดดุซงญอ(ร้อยเสา) | ตำนาน'กบฏดุซงญอ' | ตราพระยาระแงะ | ข้อมูลพื้นฐานชุมชน 1 | ข้อมูลพื้นฐานชุมชน 2 | ทำเนียบผู้บริหารและสมาชิก อบต.ดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 5 | แผ่นที่ตั้งตำบลดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 4 | แผ่นที่ตั้งชุมชนในตำบล | ชมรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 1 | ข้อมูลตำบล 2 | สมาคมและสุสานคนจีนดุซงญอ | ติดต่อเรา


Category
   ผู้นำของเรา บ้านดุซงญอ
   ผู้นำศาสนาตำบลดุซงญอ
   เยาวชนคนเก่ง'บ้านดุซงญอ'
   ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงค์ นักเขียนชื่อดัง
   ชัย สานุวัฒน์ คนดุซงญอ
   ทำไม?เรียกกบฏ'ดุซงญอ'
   ดุซงญอเหรอ ''กบฏ''
   อนุสาวรีย์ 'กบฏดุซงญอ' ยังอยู่
   เหตุการณ์ ๕๑ บ้านดุซงญอ
   คนจีนรุ่นแรก'บ้านดุซงญอ'
   คนจีนรุ่นสุดท้าย'บ้านดุซงญอ'
   จากอีสานสู่ 'บ้านดุซงญอ'
   โรงเรียนสวนพระยา'ดุซงญอวิทยา'
   องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
   หัวหน้าส่วนราชการ ท้องถิ่นดุซงญอ
   โรงเรียนบ้านดุซงญอ
   สถานีตำรวจ 'บ้านดุซงญอ'
   รพ.สต.ตำบลดุซงญอ
   ที่ทำการไปรษณีย์ 'ปณ ดุซงญอ'
   บ้านแมะแซ ม.2
   บ้านสุแฆ ม.3
   บ้านรือเปาะ ม.4
   บ้านกาแย ม.5
   บ้านกาเต๊าะ ม.6
   บ้านน้ำหอม ม.7
   บ้านสาเม๊าะ ม.8
   บ้านดุซงญอ ม.1
   ผู้ก่อตั้ง จัดทำ Web sibe
   โครงการฝายในพระดำริตำบลดุซงญอ
   บ้านแอเจะ,บือจะ,ริแงตำบลผดุงมาตร
   บ้านเมาะตาโก๊ะ,ไอร์ปีแซ,ลูโบ๊ะตำบลผดุงมาตร
   บ้านน้ำวน,กูมุง,ไอร์ซือเร๊ะตำบลช้างเผือก
   บ้านไอร์บือแต,ไอร์โซ,ไอร์บาลอ,ช้างเผือกตำบลช้างเผือก
    บ้านยะออ,จะแนะตำบลจะแนะ
   บ้านมะนังกาแยง,ปารีตำบลจะแนะ
   บ้านสะโก,ไอร์กรอสตำบลจะแนะ
   บ้านตือกอ,บือแตตำบลจะแนะ
   บ้านไอร์มือแซ,ยารอตำบลจะแนะ
   อนุสาวรีย์กบฏดุซงญอ ถูกทุบ
   ดุซงญอกบฎลุกขึ้นสู้
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
Link

free counters
Sine,November 16,2011
 

Online: 001
Visitors : 2431

ข้อมูลพื้นฐานชุมชน 1

 

ข้อมูลพื้นฐานบ้านดุซงญอ

๑.สภาพทั่วไปบ้านดุซงญอที่ตั้งและอาณาเขต

                บ้านดุซงญอ ถนนดุซงญอ – จะแนะ ถนนหลวงหมายเลข ๔๑๑๕ ตั้งอยู่ในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีความหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา มีคนไทยเชื้อจีน คนไทยพุทธ และคนไทยมุสลิม อยู่อาศัยร่วมกันฉันฑ์พี่น้องมายาวนาน หมู่บ้านดุซงญอใช้ภาษายาวี เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันกับชาวมุสลิมด้วยกัน ใช้ภาษากลางในการติดต่อสื่อสารราชการพูดและเขียนภาษาไทยได้ คิดเป็นร้อยละ ๘๐ ในเกณฑ์อายุ ๘ – ๔๕ ปี มีประชากร ประมาณ ๒,o๗๒ ชาย ๑,o๒o คน หญิง  ๑,o๕๒ คน กว่าคน ๖๗๘  กว่าหลังคาเรือน ผู้สูงอายุมี  ๑๖๘ คน คนพิการ ๕๒ คน  (ตัวเลขอายุ จำนวนประชากร และจำนวนผู้สูงอายุอาจ มีการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลประชากร ณ เดือนธันวาคม ๒๕๖๒ ส่วนข้อมูล ผู้สูงอายุ คนพิการ ณ เดือนเมษายน ๒๕๖๓ ) มีเนื้อที่   ๔.๖๔ ตารางกิโลเมตร  

การบริหารเพื่อความสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สามารถแบ่งออกเป็น ๖ โซนการปกครอง(บริหาร) แบ่งตามสัดส่วนของประชาชนจากมากไปหาน้อย มีดังต่อไปนี้ 

 

๑. เขตบาโงงือบา (ประชากรหนาแน่นที่สุด และมีผู้บุคคลที่เป็นผู้นำชุมชน /ผู้นำศาสนาและผู้นำท้องถิ่น จากอดีตถึงปัจจุบันแถบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอดีต ส.ส.หลายสมัย คือนายปริญญา เจตาภิวัฒน์ นายประพัฒน์ เจตาภิวัฒน์(กำนัน)  นายประพจน์ เจตาภิวัฒน์ ( กำนัน ๒ สมัย ) นายอารง บาโด( กำนัน / ประธานกรรมการบริหาร อบต.)  นายอับดุลรอซัค บาโด( นายก อบต. ๓ สมัย ) นายรอยาลี บาโด(สมาชิกสภาท้องถิ่น ส.อบต. ๑ สมัย /ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน ) นายฮาลูซี บือซา( สมาชิกสภาท้องถิ่น ส.อบต. ๓ สมัย ) นายรอซะ กาพอ(สมาชิกสภาท้องถิ่น ส.อบต. ๒ สมัย ) นายอับดุลฮาเล็ม ตาปู ( ผู้ใหญ่บ้าน ๑ สมัย )(นายอับดุลรอฮิม ยูโซ๊ะ คอติบคนปัจจุบัน)และ( นายมะดาโอ๊ะ เจ๊ะอูมา อิหม่าม ) (นายมาหาดี บาโด) ผู้ใหญ่บ้าน (นายมาฮาลูดิน สาเม๊าะ)ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง (นายมะเซาปี สารีมะเจ๊ะ) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

๒. เขตตลาดล่าง ชุมชนแห่งนี้ลักษณะความเป็นอยู่จะเป็นแบบคนตลาด สภาพความเป็นลักษณะของบ้านจะติดๆกัน บุคลลที่เป็นผู้นำจากเขตนี้ ได้แก่ (นายอาดินัน ดามะ สมาชิกสภาท้องถิ่น ส.อบต. ๒ สมัย )(นายยูโซ๊ะ เจ๊ะหะ อิหม่าม)และ(นายอาบีดิง ตาปู อิหม่าม) (นายสะรอนิง บือซา) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง

๓. เขตตลาดบน ชุมชนแห่งนี้ลักษณะความเป็นอยู่จะเป็นแบบคนตลาด สภาพความเป็นลักษณะของบ้านจะติดๆกัน เหมือนตลาดบน บุลคลที่เป็นผู้นำในเขตนี้ ได้แก่ (นายบัณฑิต อาแว สมาชิกสถาท้องถิ่น ส.อบต. ๒ สมัย ) (นายนัซรุดดีน อาโร๊ะ) ผู้ช่วยใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

๔. เขตยามู ความเป็นอยู่ของชุมชนแห่งนี้จะมีลักษณะบ้าน ๆ มีความเคารพต่อผู้นำสูง และมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน บุคคลที่เป็นผู้นำในเขตนี้ได้แก่ นายอะดาโนรี อามิง (นายอาดัม อาแว)ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

๕. เขตแตแร ความเป็นอยู่ของชุมชนแห่งนี้จะเป็นลักษณะแหล่งธรรมมะ เนื่องจากจะมีสถานที่สอนทางศาสนาแบบปอเนาะโบราณ อยู่อย่างสงบ เงียบๆ (นายอับดุลฮาดี เจ๊ะแต  อีหม่ามคนปัจจัน) (นายมะฮัซมาปูดี การี บิลาลคนปัจจุบัน)และ(นายมะสักรี มาหะมะ สมาชิกสภาท้องถิ่น ส.อบต. ๑ สมัย บวก3ปีสมัยยุค คสช) (นายอิสมาแอ ตาปู)(นายอุสมาน สือแม) ผู้ช่วยผู้ใหญ่่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ 

๖. เขตมะดรามะ (ชุมชนหลังสำนักสงฆ์)  จะเป็นชุมชนลักษณะครอบครัวแบบเครือญาติ จำนวนประชากรจะน้อยที่สุด ความเป็นอยู่แบบบ้านๆ (นายนัซรุดดีน อาโร๊ะ)ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

๑.๑ สภาพภูมิศาสตร์ / ที่ตั้งและอาณาเขต

บ้านดุซงญอ เป็น ๑ ใน ๘ หมู่บ้านของตำบลดุซงญอ อยู่ทางทิศเหนือของตำบลบองอ อำเภอระแงะ ห่างจากตัวอำเภอระแงะ ๑๖ กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอเมืองนราธิวาส ๓๐ กิโลเมตร อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอจะแนะ โดยอยู่ห่างจะที่ว่าการอำเภอจะแนะ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร หมู่ที่ ๑ บ้านดุซงญอ มีอีก ๗ หมู่บ้านประกอบด้วย หมู่ที่ ๒ บ้านแมะแซ หมู่ที่ ๓ บ้านสุแฆ หมู่ที่ ๔ บ้านรือเปาะ หมู่ที่ ๕ บ้านกาแย หมู่ที่ ๖ บ้านกาเต๊าะ หมู่ที่ ๗ บ้านน้ำหอม และหมู่ที่ ๘ บ้านสาเมาะ

สภาพปัญหาของหมู่บ้านดุซงญอ มี ๓ เรื่องหลักๆ คือ

๑.ปัญหาน้ำท่วม เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซากมาหลายสิบปี เนื่องจากเป็นที่ลุ่มต่ำ ช่องระบายน้ำมีความคับแคบ ลำคลองตื้นเขิน มีต้นไม้ขีดขวางการไหลของน้ำ มีการถมดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย มีขยะ พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมประจำทุกปี โซนตลาดล่าง โซนยามู โซนบาโงงือบาบางส่วนและโรงเรียนสวนพระยาวิทยา 

๒.ปัญหาภัยแล้ง เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ บ้านดุซงญอไม่มีที่กับเก็บน้ำ ไม่มีประปาหมู่บ้านหลายสิบปี ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้น้ำจากบ่อบาดาล ๙๙% สำหรับการอุปโภคบริโภค ช่วงฤดูแล้งใช้น้ำจากลำคลอง แต่ไม่เพียงพอ เนื่องจากลำคลองตื้นเขิน มีน้ำน้อย บริเวณประสบภัยแล้งประจำทุกปี ทั้งหมู่บ้าน ปัญหาภัยแล้งได้รับการแก้ไขแล้ว (ปัจจุบันกลางปี ๒๕๕๙ บ้านดุซงญอมีน้ำประปาภูเขาใช้ จากงบประมาณจากชลประทานและองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอจนแล้วเสร็จ)

๓.ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และณ วันนี้ยาเสพติดเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากมาก เพราะวิธีการเสพและวัตถุดิบที่ใช้เป็นสิ่งเสพติดนั้นหาง่าย และมีเยาวชนจำนวนมากนิยมเสพกันคือ น้ำกระท่อม  ยาแก้ไอผสมน้ำอัดลมยี่ห้อโค้ก ขี่วัว หลอดไฟ ยากันยุง และยาฆ่าหญ้า ใบกระท่อมหรือสี่คูณร้อย แต่ทางการและผู้นำชุมชนทุกระดับร่วมกันแก้ไข แต่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ

มีพื้นที่ประมาณ  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ  ไร่ คิดเป็นร้อยล่ะ  ของพื้นที่อำเภอจะแนะ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

           ทิศเหนือ    จรดหมู่ที่ ๗ บ้านปาเซ ตำบลบองอ อำเภอระแงะ      จังหวัดนราธิวาส

           ทิศใต้  จรดหมู่ที่ ๓ บ้านสุแฆ ตำบลดุซงญอ     อำเภอจะแนะ  จังหวัดนราธิวาส

      ทิศตะวันออก   จรดหมู่ที่ ๑ บ้านเอแจะ ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

         ทิศตะวันตก  จรดหมู่ที่ ๒,๘ บ้านแมะแซ บ้านสาเมาะ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ               จังหวัดนราธิวาส

๑.๒ ภูมิประเทศ

                   สภาพพื้นที่ และลักษณะภูมิประเทศของตำบลดุซงญอส่วนใหญ่เป็นแนวภูเขาสูงและแนวภูเขาสลับซับซ้อน แต่บ้านดุซงญอเป็นที่ราบลุ่ม มีภูเขาล้อมรอบ ปกคลุมไปด้วยความเขียวชอุ่มของป่าไม้เศรษฐกิจและพื้นที่ราบจะอยู่ทางด้านเหนือ ที่ราบสูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐.๑๕ เมตร

                  ถนนสายที่อยู่เฉพาะภายในเขตพื้นที่ของหมู่บ้าน ถนนลาดยางหรือคอนกรีต มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับชุมชนภายนอกได้สามทาง ติดต่อกับอำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ อำเภอศรีสาคร ส่วนการต่อต่อสื่อสาร มีชุมสายโทรศัพท์ที่ตั้งรับสัญญาณโทรศัพท์บ้าน อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและมีือถือ TRUE DTAC AIS TOT 3BB และ CAT ที่อยู่เว็บไซต์การเรียนรู้ไอทีชุมชนบ้านดุซงญอ 175.41.133.195/ bandusongyuu / index.php

๑.๔ สภาพภูมิอากาศ

เนื่องจากส่วนใหญ่พื้นที่ประกอบด้วยภูเขามากมายจึงทำให้สภาพภูมิอากาศมีลักษณะฝนตกชุกตลอดทั้งปี

๑.๔ ผู้ชุมชนการปกครองบ้านดุซงญอ           คือผู้ใหญ่บ้านชื่อนายรอยาลี             บาโด

                คณะกรรมการหมู่บ้านดุซงญอ  จำนวน ๑๕ คน มีดังนี้

๑.นายมะรอยาลี                  บาโด     ผู้ใหญ่บ้าน           กรรมการ

๒.นายอับดุลรอซัค               บาโด     นายก อบต.         กรรมการ

๓.นายอับดุลฮาดี                 เจ๊ะแต    อีหม่าม               กรรมการ

๔.นายอับดุลรอฮีม               ยูโซ๊ะ      คอติบ                กรรมการ

๕.นายมะฮัสมาปูดี               การี         บิลาล                 กรรมการ

๖.นายมะสักรี                     มาหะมะ          ส.อบต.         กรรมการ

๗.นายมะฮาบูดิน                สาเม๊าะ           ตัวแทนชาวบ้าน      กรรมการ

๘.นายอัดดาโนรี                 อามิง             ตัวแทนชาวบ้าน      กรรมการ

๙.นายสะอารอนิง                บือซา             ผช.ผญบ.              กรรมการ

๑๐.นายรอฮิม                     กาพอ             ผช.ผญบ.              กรรมการ

๑๑.นายมามะซอบรี              บากา              ฝรส.                    กรรมการ

๑๒.นายสมาน                     สาเม๊าะ            ฝรส.                   กรรมการ

๑๓. นายมะเซาปี                 สารีมะเจ๊ะ         ฝรส.                   กรรมการ

๑๔.นายซาฮาบูดิน               สาเม๊าะ            ฝรส.                   กรรมการ

๑.๕ ผู้นำศาสนาบ้านดุซงญอ                           คือ นายอับดุลฮาดี เจ๊ะแต

                คณะกรรมการมัสยิดดุซงญอ จำนวน ๑๕ คน มีดังนี้

๑.นายอับดุลฮาดี              เจ๊ะแต                    อีหม่าม 

๒.นายอับดุลรอฮีม            ยูโซ๊ะ                     คอติบ

๓.นายมะฮัสมาปูดี             การี                       บิลาล

๔.นายเซ็ง                       ดอเลาะ                  เลขานุการ

๕.นายสามะแอ                 อดุลย์ท่าด่าน          เหรัญญิก

๖.นายอาดาโนรี                อามิง                    ประชาสัมพันธ์

๗.นายอัชมิง                    ดือเร๊ะ                    ทะเบียน

๘.นายมะฆอรี                   เจ๊ะเงาะ                  ทะเบียน

๙.นายอัดดาโนรี                อามิง                    วิชาการ 

๑๐.นายมาหะมะรอมลี         มาหะมะ                 วิชาการ

๑๑.นายอุสมาน                 สือแม                     บัญชี

๑๒.นายมะยากี                 เจ๊ะอูมา                   เศรษฐกิจ

๑๓.นายมายิ                    หินนะ                      เศรษฐกิจ

๑๔.นายสือแมง                 มะลี                       ดูแลของวากัฟ

๑๕.นายสามะแอ               กะนา                      ดูแลของวากัฟ

๑.๖ ผู้นำท้องถิ่นบ้านดุซงญอ คือ นายอับดุลรอซัค บาโด นายก ผู้บริหารท้องถิ่น        ( นายก.อบต. )

                -              นายอะดาโนรี  อามิง       สมาชิกสภาท้องถิ่น (ส.อบต. )

๒.สภาพทางเศรษฐกิจ

                อาชีพของประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา รับราชการ ค้าขาย พนักงานบริษัท อาชีพเกษตรกรรม สวนผลไม้ เช่น ลอกกอง เงาะ ทุเรียน และเลี้ยงสัตว์ รายได้เฉลี่ยต่อหัวโดยรวม ๒๐,๐๐๐ - ๕๐,๘๓๖.๔๙ บาท ผลิตภัณฑ์มวลรวม ๓,๙๘๖,๔๐๐.๐๐ บาทพื้นที่ทำสวนยางมีพื้นที่ทำสวนยางทั้งหมด  ไร่ ครัวเรือนทำสวนยางมีจำนวน ครัวเรือน 

๓.การคมนาคมและการสื่อสาร ถนนสายที่อยู่เฉพาะภายในเขตพื้้นที่ของหมู่บ้าน ถนนลาดยางหรือ ๑๐ กิโลเมตร ถนนหลักที่ใช้เดินทางไปยังอำเภอ มีจำนวน ๑ เส้นทาง 

๔. ด้านสถานศึกษา

-              โรงเรียนมัธยม                        จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

-              โรงเรียนประถมศึกษา               จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงเรียนบ้านดุซงญอ

-              ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                  จำนวน ๑ แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.

-              ตาดีกา                                   จำนวน ๑ แห่ง คือ ตาดีกาดุซงญอ

                  ประวัติตาดีกา 

                        ตาดีกาดุซงญอ เริ่มขึ้นที่บ้าน นายอารง บาโด กำนันตำบลดุซงญอสมัยนั้น เมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๕ – ๒๕๒๔ เปิดสอนตาดีกาที่บ้านของ โต๊ะครู นายยูโซ๊ะ ดอเลาะ ต่อมาปิดด้วยเหตุผลหลายประการ 

                        เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๘ – ๒๕๓๐ นายอับดุลรอเซะ ตาปู  ได้เปิดตาดีกาที่สุเหร่าบาโงงือบาและสร้างอาคารด้วยหลังใบจาก มีนักเรียนจำนวน ๑๕๐ คน ปีพ.ศ. ๒๕๓๐ ได้ปิดอย่างเป็นทางการและได้ส่งมอบนักเรียนให้เข้าเรียนที่ศูนย์การศึกษาตาดีกาประจำหมู่บ้าน

                          เมื่อปีพ.ศ.  ๒๕๓๐  นายมะดาโอ๊ะ เจ๊ะอูมา อีหม่ามบ้านดุซงญอร่วมกับชาวบ้านใน ได้ก่อตั้งสถานศึกษาอิสลาม ตาดีกา  เพื่อสอนเกี่ยวกับศาสนาขั้นต้น แต่ยังไม่เสร็จเพราะขาดทุนทรัพย์

                          พ.ศ. ๒๕๓๓   นายยูโซ๊ะ เจ๊ะหะ อีหม่าม ได้ระดมทุนเพื่อสร้างอาคารเรียนร่วมกับชาวบ้านในชุมชน ได้เงินจากการระดมทุนจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท สร้างอาคารจำนวน ๒ ชั้น ชั้นแรกเป็นคอนกรีตเสิรมเหล็ก และชั้นบนเป็นไม้

                          พ.ศ. ๒๕๔๑  นายอับดุลฮาดี เจ๊ะแต  อีหม่ามปรับปรุง ตกแต่ง  ทาสี อาคารด้วยการใช้งบประมาณ SML จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท เสริมคอนกรีตเสิรมเหล็กจากงบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และอาคารห้องน้ำ งบจากองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ

                           ปัจจุบัน ตาดีกาดุซงญอ มีอาคารเรียน จำนวน ๘ ห้องเรียน มีครู ๘ คน นักเรียน ๒๔๑ คน ระดับการศึกษาชั้นอนุบาล ถึงชั้น ๖

-              ศูนย์การสอนอิคเราะห์                                               จำนวน ๑ แห่ง

                                เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ นายอับดุลฮาดี เจ๊ะแต  อีหม่าม มีการประชุมกับชาวบ้านเพื่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ และใช้สถานีที่นี่เป็นที่ศูนย์สอนอิคเราะห์

-              สถาบันศึกษาปอเนาะ                                                  จำนวน ๒ แห่ง

                  ประวัติสถาบันศึกษาปอเนาะ

 

                                บ้านดุซงญอมีสถาบันปอเนาะเก่าแก่แห่งหนึ่งสำหรับเป็นขัดเกลาและส่งเสริมการเรียนรู้ทางศาสนา ก่อตั้งเมื่อ ปี ๒๔๙๘  ชื่อว่า วาตอนียะห์ มีจำนวนพื้นที่ ๖ ไร่ โดยนายอับดุลเลาะห์  เจ๊ะแต และนางคอซีเยาะห์ เจ๊ะแต ใช้ดินของตนเอง เพื่อวากัฟเป็นสถานศึกษาทางศาสนา มีคนในพื้นที่และบริเวรใกล้เคียงมาร่ำเรียน

                                เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ จดทะเบียนเป็นสถาบันปอเนาะ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบการจัดการศึกษาเอกชน  มีนายมาหามะ เจ๊ะแต เป็นผู้บริหาร และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ เกี่ยวกับสถาบันศึกษาปอเนาะในสามจังหวัดภาคใต้ ปัจจุบันมีผู้สูงอายุมาร่ำเรียน ๓๐ คน (ที่มาข้อมูลตาดีกาและสถาบันศึกษาปอเนาะ : นายอับดุลฮาดี เจ๊ะแต อีหม่ามบ้านดุซงญอ ทายาทผู้ก่อตั้งสถานศึกษาปอเนาะวอตอนียะห์ .๒๕๕๔)

                                                 

-              ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและอนุบาลเด็ก ๔ ขวบ                      จำนวน ๑ แห่ง

-              ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน                                         จำนวน  ๑ แห่ง

                       ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอจะแนะเดิมได้ย้ายสำนักงานและได้ใช้อาคารเช่าที่หมู่ ๑ บ้านดุซงญอ ต.ดุซงญอ อ.จะแนะ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๗  สามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.narathiwat.nfe.go.th / chance (ย้ายสำนักงานไปที่บ้านจะแนะ ต.จะแนะ ๒๕๕๙)

E-mail : nfe_chanec@ hotmail.com

-              ห้องสมุดประชาชน                                                     จำนวน  ๑ แห่ง

๕.ด้านศาสนา
                       ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ๙๙.๙๙ % และมีศาสนาพุทธ ๐.๐๑ % ภายในหมู่บ้านมีศาสนสถาน คือ

-              สำนักสงฆ์                                                                 จำนวน  ๑ แห่ง

                                สำนักสงฆ์ดุซงญอ มีชื่อว่าสำนักสงฆ์เทพนิมิตรหรือวัดธรรมนิมิตพัฒนาราม  เป็นสำนักสงฆ์เก่าแก่แห่งแรกในตำบลดุซงญอ ในอำเภอจะแนะก็ว่าได้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘  ตั้งอยู่ที่ถนนดุซงญอ – กาเต๊าะหมู่ ๑ บ้านดุซงญอ ต.ดุซงญอ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส โดยชาวบ้านคนไทยเชื้อสายจีน และคนไทยพุทธมีพื้นที่จำนวน ๘ ไร่ ๓ งาน นส.๓ ก มีพระจำนวน ๑ รูป  วันนี้สำนักสงฆ์แห่งนี้ยังได้รับความนิยมเป็นพี่พึ่งทางใจให้กับคนในพื้นที่ยังไม่เสื่อมคลาย  มีนายสุธนต์ จันทรประเทศ เป็นผู้แลสำสักสงฆ์แห่งนี้ตั้งแต่เริ่มการก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน  จำนวนคนไทยเชื้อจีนและคนไทยพุทธในหมู่บ้านดุซงญอ ณ วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔  มี จำนวน ๒๒ หลังคาเรือน และตรงข้ามสำนักสงฆ์ยังมีเป็นที่ตั้งสุสานคนไทยเชื้อสายจีน สุสานคนไทยเชื้อจีนก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ มีพื้นที่จำนวน  ๑๒ ไร่ ๒ งาน (ที่มาข้อมูลสำนักสงฆ์ : นายสุธนต์ จันทรประเทศ บ้านดุซงญอ ต.ดุซงญอ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส คนไทยพุทธผู้ดูแลสำนักสงฆ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ –ปัจจุบัน ๒๕๕๔)

 

 


Copyright © 2005 หมู่บ้านดุซงญอ Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com