Home | เอกสารสิทธิ์ประเภทต่างๆ | กฎหมาย | ขายที่ดินเสียภาษีอย่างไร | กฎหมายเกี่ยวข้องกับที่ดิน | ค่าธรรมเนียม ภาษี การโอน | วิธีติดต่อสำนักงานที่ดิน | สัญญาซื้อขายที่ดิน | ข้อจำกัดเกี่ยวกับการก่อสร้าง | ติดต่อเรา


Category
   บ้านเดี่ยว 65 ตรว.
   บ้านเดี่ยว 63 ตรว.
   บ้านเดี่ยว 66 ตรว.
   ขายแมนชั่น 5 ชั้น 74 ห้อง
   บ้านพร้อมที่ดิน 52 ไร่ จ.สุรินทร์
   บ้านพร้อมที่ดิน 1 ไร่ จ.ลำปาง
   ขายอพาร์ทเม้นท์ ซ.รามอินทรา 14
   ขายอพาทเม้นท์ ลาดกระบัง
   ที่ดิน 10 ไร่ ร่มเกล้า
   ที่ดิน 240 ตรว. ร่มเกล้า
   ทาวเฮ้า 4 ชั้น ทำเป็นห้องให้เช่า
   ที่ดินเปล่า นครนายก 17 ไร่
   ที่ดินเปล่า นครนายก 27 ไร่
   ที่ดินเปล่า นครนายก 29 ไร่
   ที่ดินเปล่า นครนายก 77 ไร่
   ที่ดินเปล่า นครนายก 100 ไร่
   ที่ดินเปล่า นครนายก 150 ไร่
   ที่ดินเปล่า ชลบุรี
   ที่ดินเปล่า ดอนเมือง
   ที่ดินเปล่า บางพระ ศรีราชา
   ที่ดินเลียบทางด่วนรามอินทรา 533 ตรว.
   ที่ดินเลียบทางด่วนรามอินทรา 7 ไร่
   ที่ดินเลียบทางด่วนรามอินทรา 2 ไร่
   ที่ดินเลียบทางด่วนรามอินทรา 18 ไร่
   ที่ดินติดถนนรามอินทรา 7 ไร่
   ที่ดินติดถนนรามอินทรา 8 ไร่
   ที่ดินเลียบด่วนพระราม 9 342 ตรว.
   ขายคอนโด จอนนีคอนโด ห้วยขวาง
   ที่ดินบางนา-ตราดขาเข้า กม.15
   ที่ดินติดถนนร่มเกล้า10 ไร่
   ที่ดินบางนา-ตราดขาเข้า กม.35
   ที่ดินติดถนนสุขาภิบาล3 10ไร่
   ที่ดินเปล่าตรงข้ามสำนักงานกรมที่ดินบึงกุ่ม
   ถนนเกษตร-นวมินทร์
   ที่ดินติดถนนสุคนธสวัสดิ์
   ที่ดินถนนราษฏร์พัฒนา (ซอยมิสทีน) 12 ไร่
   ที่ดินติดถนนรามอินทรา 6 ไร่
   ติดถนนเพิ่มสิน 50 ไร่
   ติดถนนพระยาสุเรนทร์ 12 ไร่
   ติดถนนเพิ่มสิน 59 ไร่
   ที่ดินติดถนนพัฒนาการ
   ที่ดินติดถนนนิมิตรใหม่
   ที่ดิน เกาะสมุย
   ติดถนนหทัยราษฏร์ 5-2
   ติดถนนหทัยราษฏร์ 10-2-18
   ติดถนนนิมิตรใหม่ 53 ไร่
   ติดถนนสุขาภิบาล 3 4ไร่
   บ้านเดี่ยว 3 ชั้น 202 ตรว. นาคนิวาส
   ที่ดิน เชียงราย 13 ไร่
   ที่ดิน มาบตาพุต 92 ไร่
   ที่ดิน สนามหลวง 2 (955ตรว)
   ที่ดินติดถนนพหลโยธิน กม.27
   ถนนรามอินทรา กม.7 (4ไร่)
   ติดถนนรามอินทรา 3 ไร่
   บางนา-ตราด กม.22
   บางนา-ตราด กม.23
   ถนน พระราม 9 (3ไร่)
   ถนน พระราม 9 (2ไร่)
   ซอย สุขุมวิท 31
   ซอย สุขุมวิท 36
   ถนน ศรีนครินร์
   ติดถนน รัชดาภิเษก(เอสพานารด)
   รัชดาภิเษก ซ.เนียมอุทิศ
   ทองหล่อ ซ.3 - ซ.5 4แปลง
   ปากทางทองหล่อ 660 ตรว.
   ทองหล่อ ซ.12
   เหม๋งจ๋าย โรงนาบางกอก
   วิภาวดีรังสิต (ติดสนง.ปตท)
   สถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์มนตรี
   ภูเก็ต ป่าตอง
   ที่ดิน แม่สอด จ.ตาก
   ที่ดิน บางเขน หลักสี่
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
P & A Property


<<<<ยินดีต้อนรับ>>>>


3| | |Home DD| | |4


ทางเรามีบ้าน คอนโด และที่ดินมากมายให้ท่าน
ได้เลือกเป็นเจ้าของได้ในราคายุติธรรม
และท่านใดมีบ้านหรือที่ดินที่อยากจะฝากขายทางเรา
ยินดีเป็นสื่อกลางให้กับท่าน
สามารถติดต่อสอบถามกับทางเราได้โดยตรง




พิสิฐชัย สิงหสิริเดโช (โต)

0-816-511-289

"""""""""""""""""""""""""""""








"""""""""""""""""""""



""""""""""""""""""""



























 

Online: 001
Visitors : 76757

ข้อจำกัดเกี่ยวกับการก่อสร้าง
 

ที่ดิน กับการก่อสร้าง และ ข้อจำกัด
ของกฏหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างบนที่ดิน

ข้อควรระวัง เรื่องการ ซื้อที่ดินเพื่อทำการก่อสร้าง จะต้องตรวจสอบระยะร่น ระยะเว้น ของการก่อสร้าง ตาม กฏกระทรวงฉบับที่ 5 ( พ.ศ.2543 )
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ.2544
(กรณีที่ดินอยู่ในเขต กท.) เพื่อทราบระยะร่น หรือ ระยะเว้น จากทางสาธารณะ จะได้ทราบว่าความลึกของที่ดิน หลังจากหักส่วนที่ต้องร่น
ตามกฏหมาย แล้ว เพียงพอต่อการก่อสร้างอาคารหรือไม่

-  กฏกระทรวงฉบับที่ 5 ( พ.ศ.2543 )ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
-  ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร

 

กฏกระทรวงฉบับที่ 5 ( พ.ศ.2543 )ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในส่วนที่เกี่ยวกับแนวอาคาร

หมวด 4 แนวอาคารและระยะต่าง ๆ ของอาคาร
ข้อ 40 การก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารหรือส่วนของอาคารจะต้องไม่ล้ำเข้าไปในที่สาธารณะ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่สาธารณะนั้น

ข้อ 41 อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร
อาคารที่สูงเกินสองชั้นหรือเกิน 8 เมตร ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคารสาธารณะ ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย หรือคลังสินค้า ที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะ

(1) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร
(2) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ
(3) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างเกิน 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร

ข้อ 42 อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้แหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำ คู คลอง ลำราง หรือลำกระโดง ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 6 เมตร
สำหรับอาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้แหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 12 เมตร
ทั้งนี้ เว้นแต่ สะพาน เขื่อน รั้ว ท่อระบายน้ำ ท่าเรือ ป้าย อู่เรือ คานเรือ หรือที่ว่างที่ใช้เป็นที่จอดรถไม่ต้องร่นแนวอาคาร

ข้อ 43 ให้อาคารที่สร้างตามข้อ 41 และข้อ 42 ต้องมีส่วนต่ำสุดของกันสาดหรือส่วนยื่นสถาปัตยกรรมสูงจากระดับทางเท้าไม่น้อยกว่า 3.25 เมตร ทั้งนี้ ไม่นับส่วนตบแต่งที่ยื่นจากผนังไม่เกิน 50 เซนติเมตร และต้องมีท่อรับน้ำจากกันสาดหรือหลังคาต่อแนบหรือฝังในผนังหรือเสาอาคารลงสู่ท่อสาธารณะหรือบ่อพัก

ข้อ 44 ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด ต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด
ความสูงของอาคารให้วัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นดินที่ก่อสร้างขึ้นไปถึงส่วนของอาคารที่สูงที่สุด สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด

ข้อ 45 อาคารหลังเดียวกันซึ่งมีถนนสาธารณะสองสายขนาดไม่เท่ากันขนาบอยู่เมื่อระยะระหว่างถนนสาธารณะสองสายนั้นไม่เกิน 60 เมตร และส่วนกว้างของอาคารตามแนวถนนสาธารณะที่กว้างกว่าไม่เกิน 60 เมตร ความสูงของอาคาร ณ จุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบที่ใกล้ที่สุดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตถนนสาธารณะด้านตรงข้ามของสายที่กว้างกว่า

ข้อ 46 อาคารหลังเดียวกันซึ่งอยู่ที่มุมถนนสาธารณะสองสายขนาดไม่เท่ากัน ความสูงของอาคาร ณ จุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบที่ใกล้ที่สุด จากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตถนนสาธารณะด้านตรงข้ามของสายที่กว้างกว่า และความยาวของอาคารตามแนวถนนสาธารณะที่แคบกว่าต้องไม่เกิน 60 เมตร
สำหรับอาคารซึ่งเป็นห้องแถวหรือตึกแถว ความยาวของอาคารตามแนวถนนสาธารณะที่แคบกว่าต้องไม่เกิน 15 เมตร

ข้อ 47 รั้วหรือกำแพงที่สร้างขึ้นติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้ว ให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ

ข้อ 48 การก่อสร้างอาคารใกล้อาคารอื่นในที่ดินเจ้าของเดียวกัน พื้นหรือผนังของอาคารสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องห่างอาคารอื่นไม่น้อยกว่า 4 เมตร และสำหรับอาคารที่สูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ต้องห่างอาคารอื่นไม่น้อยกว่า 6 เมตร
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ที่ว่างที่ใช้เป็นที่จอดรถ

ข้อ 49 การก่อสร้างอาคารในบริเวณด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถว
(1) ถ้าห้องแถวหรือตึกแถวนั้นมีจำนวนรวมกันได้ตั้งแต่สิบคูหา หรือมีความยาวรวมกันได้ตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไป และอาคารที่จะสร้างขึ้นเป็นห้องแถวหรือตึกแถว ห้องแถวหรือตึกแถวที่จะสร้างขึ้นต้องห่างจากผนังด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวเดิมไม่น้อยกว่า 4 เมตร แต่ถ้าเป็นอาคารอื่นต้องห่างจากผนังด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวเดิมไม่น้อยกว่า 2 เมตร
(2) ถ้าห้องแถวหรือตึกแถวนั้นมีจำนวนไม่ถึงสิบคูหาและมีความยาวรวมกันไม่ถึง 40 เมตร อาคารที่สร้างขึ้นจะต้องห่างจากผนังด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวนั้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร เว้นแต่การสร้างห้องแถวหรือตึกแถวต่อจากห้องแถวหรือตึกแถวเดิมตามข้อ 4

ข้อ 50 ผนังของอาคารที่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสง หรือระเบียงของอาคารต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดิน ดังนี้
(1) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร
(2) อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร
ผนังของอาคารที่อยู่ห่างเขตที่ดินน้อยกว่าตามที่กำหนดไว้ใน (1) หรือ (2) ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เว้นแต่จะก่อสร้างชิดเขตที่ดินและอาคารดังกล่าวจะก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 15 เมตร ผนังของอาคารที่อยู่ชิดเขตที่ดินหรือห่างจากเขตที่ดินน้อยกว่าที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ต้องก่อสร้างเป็นผนังทึบ และดาดฟ้าของอาคารด้านนั้นให้ทำผนังทึบสูงจากดาดฟ้าไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ในกรณีก่อสร้างชิดเขตที่ดินต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้านนั้นด้วย

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 3-216 หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดลักษณะ แบบ รูปทรง สัดส่วน เนื้อที่ ที่ตั้งของอาคาร ระดับ เนื้อที่ของที่ว่างภายนอกอาคารหรือแนวอาคาร และระยะหรือระดับระหว่างอาคารกับอาคารหรือเขตที่ดินของผู้อื่น หรือระหว่างอาคารกับถนน ทางเท้าหรือที่สาธารณะ เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร ประกอบกับมาตรา 8(1) (7) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้การกำหนดดังกล่าวต้องเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 75 ก วันที่ 7 สิงหาคม 2543


Copyright © 2005 homeusedd Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com