Home | แหล่งท่องเที่ยว | สำนักสงฆ์ดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 3 | ชมรมจักายานอำเภอจะแนะ Dpcc Club | ชมรมจักรยานดซงญอไบด์ Dusongyo Bike | ผู้นำดุซงญอ | เบิกฟ้าชมวังพระยาระแงะ | Selamat Datang Dusongyo | ประวัติบ้านดุซงญอ | สภาพทั่วไปบ้านดุซงญอ | มัสยิดดุซงญอ(ร้อยเสา) | ตำนาน'กบฏดุซงญอ' | ตราพระยาระแงะ | ข้อมูลพื้นฐานชุมชน 1 | ข้อมูลพื้นฐานชุมชน 2 | ทำเนียบผู้บริหารและสมาชิก อบต.ดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 5 | แผ่นที่ตั้งตำบลดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 4 | แผ่นที่ตั้งชุมชนในตำบล | ชมรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 1 | ข้อมูลตำบล 2 | สมาคมและสุสานคนจีนดุซงญอ | ติดต่อเรา


Category
   ผู้นำของเรา บ้านดุซงญอ
   ผู้นำศาสนาตำบลดุซงญอ
   เยาวชนคนเก่ง'บ้านดุซงญอ'
   ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงค์ นักเขียนชื่อดัง
   ชัย สานุวัฒน์ คนดุซงญอ
   ทำไม?เรียกกบฏ'ดุซงญอ'
   ดุซงญอเหรอ ''กบฏ''
   อนุสาวรีย์ 'กบฏดุซงญอ' ยังอยู่
   เหตุการณ์ ๕๑ บ้านดุซงญอ
   คนจีนรุ่นแรก'บ้านดุซงญอ'
   คนจีนรุ่นสุดท้าย'บ้านดุซงญอ'
   จากอีสานสู่ 'บ้านดุซงญอ'
   โรงเรียนสวนพระยา'ดุซงญอวิทยา'
   องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
   หัวหน้าส่วนราชการ ท้องถิ่นดุซงญอ
   โรงเรียนบ้านดุซงญอ
   สถานีตำรวจ 'บ้านดุซงญอ'
   รพ.สต.ตำบลดุซงญอ
   ที่ทำการไปรษณีย์ 'ปณ ดุซงญอ'
   บ้านแมะแซ ม.2
   บ้านสุแฆ ม.3
   บ้านรือเปาะ ม.4
   บ้านกาแย ม.5
   บ้านกาเต๊าะ ม.6
   บ้านน้ำหอม ม.7
   บ้านสาเม๊าะ ม.8
   บ้านดุซงญอ ม.1
   ผู้ก่อตั้ง จัดทำ Web sibe
   โครงการฝายในพระดำริตำบลดุซงญอ
   บ้านแอเจะ,บือจะ,ริแงตำบลผดุงมาตร
   บ้านเมาะตาโก๊ะ,ไอร์ปีแซ,ลูโบ๊ะตำบลผดุงมาตร
   บ้านน้ำวน,กูมุง,ไอร์ซือเร๊ะตำบลช้างเผือก
   บ้านไอร์บือแต,ไอร์โซ,ไอร์บาลอ,ช้างเผือกตำบลช้างเผือก
    บ้านยะออ,จะแนะตำบลจะแนะ
   บ้านมะนังกาแยง,ปารีตำบลจะแนะ
   บ้านสะโก,ไอร์กรอสตำบลจะแนะ
   บ้านตือกอ,บือแตตำบลจะแนะ
   บ้านไอร์มือแซ,ยารอตำบลจะแนะ
   อนุสาวรีย์กบฏดุซงญอ ถูกทุบ
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
Link

free counters
Sine,November 16,2011
 

Online: 001
Visitors : 81186

ที่ทำการอำเภอจะแนะ

 

สัญญาลักษณ์ที่ว่าการอำเภอจะแนะ

โรงช้างต้น : พระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ

พระศรีนรารัฐราชกิริณี จิตรวดีโรจนสุวงศ์ 
พรหมพงศ์อัฐทิศพิศาล พิเสฐธารธรณิพิทักษ์ 
คุณารักษกิตติกำจร อมรสารเลิศฟ้าฯ

 

ช้างเผือกเพศเมีย เกิดประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้มาจาก หมู่ ๗ ต.จะแนะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เดิมชื่อ "จิตรา" ถวายเมื่อ ๒๓ ส.ค. ๒๕๒๐ 
เป็นช้างสำคัญในตระกูล "พรหมพงศ์" จำพวก "อัฐทิศ" ชื่อ "อัญชัญ" สมโภชขึ้นระวาง ณ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๒๐ ปัจจุบัน พักผ่อนอิริยาบท อยู่ที่ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพาน จังหวัดสกลนคร

 ที่มา : www.elephanthospital.com

มารู้จักที่ทำการอำเภอจะแนะกันเถิด

คำขวัญจังหวัด   ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นาทัศน์เพลินตา ปาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน
คำขวัญอำเภอ  ดินแดนรอยเท้าหลวงพ่อเพชร เจ็ดสายน้ำตกสวย เมืองรวยผลไม้ ไอร์บือแตล่องแก่งแหล่งบอนหลากสี คู่บารมีช้างเผือก
ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ  156 ถ.จะแนะ-ดุงชงญอ ม.3 ต.จะแนะ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส
หมายเลขโทรศัพท์  0-7354-3500
 หมายเลขโทรสาร  0-735-43502
เว็บไซต์อำเภอ   www.chanae.go.th

คำขวัญจังหวัด   ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นาทัศน์เพลินตา ปาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน
คำขวัญอำเภอ  ดินแดนรอยเท้าหลวงพ่อเพชร เจ็ดสายน้ำตกสวย เมืองรวยผลไม้ ไอร์บือแตล่องแก่งแหล่งบอนหลากสี คู่บารมีช้างเผือก
ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ  156 ถ.จะแนะ-ดุงชงญอ ม.3 ต.จะแนะ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส
หมายเลขโทรศัพท์  0-7354-3500
 หมายเลขโทรสาร  0-735-43502
เว็บไซต์อำเภอ   www.chanae.go.th

ข้อมูลทั่วไป

 

1.ประวัติความเป็นมา

ภูมิหลังอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
โดยหะยีมะเซ็ง    กอและ
พัฒนาการอำเภอจะแนะ
รวบรวมและเรียบเรียง

พื้นที่อำเภอจะแนะ เมื่อครั้งอดีตนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอระแงะ แต่ชาวบ้านเรียกว่า Lanngah  หรือ ลังแฆะห์ แต่ผู้ปกครองบ้านเมืองในขณะนั้นไม่ชินในเรื่องภาษาท้องถิ่น จากคำว่า “ลังแฆะห์” จึงกลายเป็น “ระแงะ” เจ้าเมืองลังแฆะห์ (ระแงะ) ในสมัยนั้นมีเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองปัตตานี คือเชื้อสายสุลต่านมันโซร์ซะห์อัลฟาตอนี ดารุสสลาม เมืองลังแฆะห์นั้นเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างหลากหลายทั้งสัตว์ป่าและสัตว์น้ำ ในแม่น้ำลำคลองมีปลาชุกชุมอยู่มากมายเพราะมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ปลาที่มีชื่อเสียงในสายน้ำแห่งนี้คือ ปลากือเลาะห์ ชาวบ้านเรียกว่า “รายออีแก” ซึ่งมีความหมายว่าราชาแห่งปลา ปลาชนิดนี้มีเนื้อที่มีความหวานมัน และรับประทานได้ทั้งเกล็ด ที่สำคัญคือปลากือเลาะห์นั้นเป็นปลาที่เจ้าเมืองลังแฆะห์ (ระแงะ) ทรงโปรดปรานมาก พระองค์จึงได้ชักชวนข้าราชบริพารลงคลองเพื่อท่องลำน้ำอยู่บ่อยครั้ง การล่องเรือในบางครั้งก็ต้องใช้เวลาหลายวัน ซึ่งครั้งหนึ่งนั้นพระองค์ก็ได้ล่องเรือและก็ได้พบกับธรรมชาติที่สวยงามพื้นที่ราบเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอย่างยิ่งจึงได้แวะพัก จึงสั่งให้ข้าราชบริพารแผ้วถางป่าให้เหลือเฉพาะไม้ผลเท่านั้น ซึ่งมีไม้ผลตามธรรมชาติ เช่น เงาะป่า ลูกพรวน ดูกู ลำไย ฆูโป มะพร้าว ลองกอง ลังแข และสละขนุน เป็นต้น สำหรับดุซงญอมาจากคำแปลว่า สวนพระยา
  ณ บ้านดุซงญอนี้เองเจ้าเมืองให้ปลูกไม้ผลเพิ่มเติมอีกและได้ให้ปลูกมะพร้าวและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะน้ำมะพร้าวอ่อนเป็นของโปรดของเจ้าเมืองระแงะมาก เพราะเชื่อว่าสามารถเพิ่มพลังทางเพศได้ ยังผลให้สวนของเจ้าเมืองมีไม้ผลหลากหลายชนิด ปัจจุบันคือตำบลดุซงญอ (แปลว่าสวนมะพร้าว) หรือ สวนของท่าน ''เจ้าพระยา''
ในระหว่างที่พักผ่อน ณ บ้านดุซงญอ คณะของเจ้าเมืองก็ได้พบกับเงาะป่าซาไกที่ชาวบ้านเรียกว่า “ออแรฮูแต” หรือคนป่า จึงได้สอบถามเงาะป่าว่าสายน้ำสายใดที่มีปลากือเลาะห์ชุกชุม แต่คนป่าบอกว่าที่มีปลาชุกชุมจะต้องล่องเรือขึ้นไปอีก แต่ไม่ควรไปเพราะมีโขลงช้างป่าอาศัยอยู่ด้วยมันอันตรายเงาะป่าได้เล่าอีกว่าโขลงช้างป่านั้นมีช้างเชือกหนึ่งมีลักษณะเป็นสีขาวรวมอยู่ด้วยแล้วดุด้วย จึงทำให้เจ้าเมืองอยากเห็นโขลงช้างป่าเหล่านั้น คณะของพระองค์จึงล่องเรือไปเรื่อยๆ และพบสายน้ำสายหนึ่งปัจจุบันเรียกว่าคลองไอบือแต มีแก่งหินและปลาชุกชุม จึงได้แวะพักเพื่อดักจับปลา คณะจึงเดินตามแก่งหินไปหาร่องน้ำลึกเพื่อจะได้จับปลากือเลาะห์ แต่กลับพบฝูงปลาชนิดหนึ่งเรียกว่า “ปลาตืองะห์” หรือเรียกว่า “ซารงฆอเลาะ” ปลาชนิดนี้เนื้ออร่อยเหมือนปลากือเลาะห์เช่นกัน จึงได้จับปลาตืองะห์มารับประทาน ที่จุดนี้เป็นจุดที่โขลงช้างป่าเดินผ่านและระหว่างที่คณะกำลังดักจับปลาอยู่นี้เองก็ได้เห็นโขลงช้างป่า เดินข้ามผ่านคลองมาพอดี คณะของเจ้าเมืองจึงได้เห็นช้างเชือกหนึ่งมีลักษณะคล้ายๆสีขาวตกใจวิ่งหนีเข้าป่าสำหนับหมอช้างหรือชาวบ้านเรียกว่า
 “โต๊ะปราซัม” ได้กระทำพิธีสวดเรียกช้างป่าให้ปรากฏให้เห็นอีกครั้ง พอถึงพลบค่ำช้างป่าได้ปรากฏให้เห็นอีกครั้ง สามารถมองเห็นช้างเชือกหนึ่งในโขลงมีลักษณะคล้ายช้างขาวจริง จึงเรียกว่า “ฆาเยาะห์ปูเตะห์” หรือช้างเผือก เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 ชาวบ้านในหมู่บ้านไอร์บือแตร์ได้เข้าไปทำไร่พบกับโขลงช้างป่าและตกใจจึงวิ่งหนีเข้าไปป่า ทำให้ลูกช้างหลงทางจึงช่วยกันจับมาแล้วแจ้งสำนักพระราชวังทราบ มีเจ้าหน้าที่มาตรวจคุณลักษณะเป็นลูกช้างมงคลหรือเรียกว่าช้างเผือก “อาเนาะฆาเยาะปูเตะ” ต่อมาได้แยกตำบลตั้งชื่อเป็นตำบลช้างเผือกขึ้นในเวลาต่อมา หลังจากคณะเจ้าเมืองลังแฆะห์ (ระแงะ) เดินทางจากบ้านไอร์บือแตร์กลับมาทางด้านทิศตะวันออกได้เห็น สายน้ำตกจากที่สูงสวยงามมาก มีแอ่งน้ำขนาดกว้างใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำสายบุรี ชาวบ้านเรียกว่าน้ำตกไอร์โซ ตั้งอยู่ที่บ้านนาแบง หมู่ที่ 5 ตำบลช้างเผือก ต่อมาคณะของเจ้าเมืองเดินทางกลับจวบจนกระทั่งพลบค่ำเห็นนกกรงหัวจุก ชาวบ้านเรียกว่าบุรงจาเนะ ลงมากินลูกต้นบอนจาแนะ ต้นบอนแก้วหน้าม้า ภาษาชาวบ้านเรียกว่า กะลาดีจาแนะ จึงได้เรียกชื่อพื้นที่ตรงนี้ว่า บ้านจะแนะ เพี้ยนมาจากคำว่าจาแนะ ซึ่งเป็นชื่อของอำเภอจะแนะ เพราะเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งคณะก็ได้พักค้างคืนที่บ้านจะแนะนี้ด้วย
ในระหว่างที่พักค้างคืนที่บ้านจะแนะ โต๊ะปราซัม (หมอช้าง) ได้เห็นแสงส่วงบนยอดเขาบ้านลิแง บางคนพูดคุยว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (กรามะ) หรือสิ่งมหัศจรรย์บ้าง พอถึงเวลารุ่งเช้าคณะของเจ้าเมืองอยากจะรู้จึงเดินทางไปยังภูเขาบ้านลิแง เมื่อไปถึงจึงได้พบกับไม้เท้า และรอยเท้ามนุษย์ขนาดใหญ่อยู่บนแท่งหิน มีความยาวประมาณเก้านิ้ว กว้างหกนิ้ว ลึกประมาณครึ่งนิ้ว มองเห็นได้อย่างชัดเจน จึงสร้างความประหลาดใจอีกครั้ง จากการสอบถามชาวบ้านและผู้รู้ได้เล่าว่า ภูเขาบ้านลิแง เคยมีนักบวชศาสนาพราหมณ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ศาสนาบัรฮามา และพระสงฆ์ของศาสนาพุทธเคยธุดงค์ปักกลด พระรูปนี้มีชื่อว่าหลวงพ่อเพชร หรือหลวงปู่เพชร  และมีผู้ที่ศรัทธาหลวงพ่อเพชร เชื่อว่าเป็นรอยเท้าของหลาวงพ่อเพชรขณะนั่งสมาธิอยู่บนแท่นหิน
ส่วนในท้องที่ตำบลผดุงมาตร เดิมชาวบ้านเรียกว่าบ้านเมาะตาโกะ และชาวบ้านในปัจจุบันก็ยังเรียกว่าบ้านเมาะตาโกะอยู่ ในพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่ทุรกันดารและห่างไกลความเจริญ ลูกหลานชาวบ้านมักไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ มีพ่อเฒ่าคนหนึ่งชื่อว่า “หามะ” ชาวบ้านเรียกว่า “ ปะดอมะ”
ได้เสียสละที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนให้ลูกหลานมีโอกาสเรียนหนังสือ เดิมตั้งอยู่ที่บ้านลูโบะลาเซาะท้องที่อำเภอสุคิริน ตั้งชื่อโรงเรียนซึ่งแปลงจากคำว่าปะดอมะเป็นผดุงมาตร ต่อมาจึงได้จัดตั้งเป็นตำบลผดุงมาตร 
สำหรับอำเภอจะแนะแห่งนี้นับว่ามีประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง คือโดยเฉพาะสวนพระยา (ดุซงญอ) ช้างเผือก (ฆาเยาะห์ปูเต๊ะ) รอยเท้าหลวงพ่อเพชร (หลวงปู่เพชร) แหล่งปลากือเลาะห์ น้ำตกไอร์โซ ซึ่งล้วนมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และควรอนุรักษ์ให้เป็นมรดกตกทอดไปยังลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้ด้วย
 

2.เนื้อที่/พื้นที่ 550 ตร.กม.
3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป มีอากาศชื้นและฝนตกตลอดปี มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และ ฤดูฝน 

ข้อมูลการปกครอง
 
1.ตำบล.......4.... แห่ง 3.เทศบาล..-.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....31.... แห่ง 4.อบต........4 ... แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
 
1.อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม 
2.อาชีพเสริม ได้แก่ รับจ้างทั่วไป 
3.จำนวนธนาคาร
 
มี - แห่ง ได้แก่
-
4.จำนวนห้างสรรพสินค้า มี - แห่ง

ด้านสังคม
 
1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่ โรงเรียนสวนพระยาวิทยา โทร.0-7358-9009
โรงเรียนพิทักษ์วิทยากูมุง
โรงเรียนบ้านจะแนะ
โรงเรียนบ้านกาแย
 
2.มหาวิทยาลัย ได้แก่  -

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
 
ป่าสงวนแห่งชาติ 
ป่าจะแนะ 
เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าฮาลาบาลา 
นิคมสร้างตนเองสุคิริน
  

ด้านประชากร
 
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 33,831  คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม 17,215  คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 16,616 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร 65.8 คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม
 
1.ทางบก - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  4055
- สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  -
- สถานีรถไฟ  หมายเลขโทรศัพท์  -
2.ทางน้ำ - ท่าเรือขนส่งโดยสาร  หมายเลขโทรศัพท์  -
- ท่าแพขนานยนต์        หมายเลขโทรศัพท์  -
3.ทางอากาศ - ท่าอากาศยาน             หมายเลขโทรศัพท์  -

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
 
1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ลองกอง ทุเรียน 
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่
      (แม่น้ำ/บึง/คลอง)
แม่น้ำสายบุรี คลองบองอ คลองมะนังกาแยง คลองแกแร คลองไอร์กูมุง
คลองไอร์กาเวาะ คลองไอร์กือซา คลองนาแบง คลองไอร์บือแต
 
3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา ม.1 ต.ผดุงมาตร

 

ที่มาข้อมูล : ศูนย์บริการอำเภอ  กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔.

 


Page 1/1
1
Copyright © 2005 หมู่บ้านดุซงญอ Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com