Home | แหล่งท่องเที่ยว | สำนักสงฆ์ดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 3 | ชมรมจักายานอำเภอจะแนะ Dpcc Club | ชมรมจักรยานดซงญอไบด์ Dusongyo Bike | ผู้นำดุซงญอ | เบิกฟ้าชมวังพระยาระแงะ | Selamat Datang Dusongyo | ประวัติบ้านดุซงญอ | สภาพทั่วไปบ้านดุซงญอ | มัสยิดดุซงญอ(ร้อยเสา) | ตำนาน'กบฏดุซงญอ' | ตราพระยาระแงะ | ข้อมูลพื้นฐานชุมชน 1 | ข้อมูลพื้นฐานชุมชน 2 | ทำเนียบผู้บริหารและสมาชิก อบต.ดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 5 | แผ่นที่ตั้งตำบลดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 4 | แผ่นที่ตั้งชุมชนในตำบล | ชมรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 1 | ข้อมูลตำบล 2 | สมาคมและสุสานคนจีนดุซงญอ | ติดต่อเรา


Category
   ผู้นำของเรา บ้านดุซงญอ
   ผู้นำศาสนาตำบลดุซงญอ
   เยาวชนคนเก่ง'บ้านดุซงญอ'
   ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงค์ นักเขียนชื่อดัง
   ชัย สานุวัฒน์ คนดุซงญอ
   ทำไม?เรียกกบฏ'ดุซงญอ'
   ดุซงญอเหรอ ''กบฏ''
   อนุสาวรีย์ 'กบฏดุซงญอ' ยังอยู่
   เหตุการณ์ ๕๑ บ้านดุซงญอ
   คนจีนรุ่นแรก'บ้านดุซงญอ'
   คนจีนรุ่นสุดท้าย'บ้านดุซงญอ'
   จากอีสานสู่ 'บ้านดุซงญอ'
   โรงเรียนสวนพระยา'ดุซงญอวิทยา'
   องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
   หัวหน้าส่วนราชการ ท้องถิ่นดุซงญอ
   โรงเรียนบ้านดุซงญอ
   สถานีตำรวจ 'บ้านดุซงญอ'
   รพ.สต.ตำบลดุซงญอ
   ที่ทำการไปรษณีย์ 'ปณ ดุซงญอ'
   บ้านแมะแซ ม.2
   บ้านสุแฆ ม.3
   บ้านรือเปาะ ม.4
   บ้านกาแย ม.5
   บ้านกาเต๊าะ ม.6
   บ้านน้ำหอม ม.7
   บ้านสาเม๊าะ ม.8
   บ้านดุซงญอ ม.1
   ผู้ก่อตั้ง จัดทำ Web sibe
   โครงการฝายในพระดำริตำบลดุซงญอ
   บ้านแอเจะ,บือจะ,ริแงตำบลผดุงมาตร
   บ้านเมาะตาโก๊ะ,ไอร์ปีแซ,ลูโบ๊ะตำบลผดุงมาตร
   บ้านน้ำวน,กูมุง,ไอร์ซือเร๊ะตำบลช้างเผือก
   บ้านไอร์บือแต,ไอร์โซ,ไอร์บาลอ,ช้างเผือกตำบลช้างเผือก
    บ้านยะออ,จะแนะตำบลจะแนะ
   บ้านมะนังกาแยง,ปารีตำบลจะแนะ
   บ้านสะโก,ไอร์กรอสตำบลจะแนะ
   บ้านตือกอ,บือแตตำบลจะแนะ
   บ้านไอร์มือแซ,ยารอตำบลจะแนะ
   อนุสาวรีย์กบฏดุซงญอ ถูกทุบ
   ดุซงญอกบฎลุกขึ้นสู้
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
Link

free counters
Sine,November 16,2011
 

Online: 001
Visitors : 2431

บ้านน้ำวน,กูมุง,ไอร์ซือเร๊ะตำบลช้างเผือก

 

 ข้อมูลพื้นฐาน

 บ้านน้ำวน หมู่ที่ ๑ ตำบลช้างเผือก

ประวัติความเป็นมา

         บ้านน้ำวนหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า บ้านไอร์ปราดะห์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ โดยนายลาเยง มะแซ สาเหตุที่ตั้งชื่อไอร์ปราดะห์ในสมัยก่อนนั้น เนื่องจากสายน้ำ เริ่มตั้งแต่ต้นของหมู่บ้านจนถึงปลายของหมู่บ้านจะมีสายน้ำวนไปวนมารอบหมู่บ้าน มีลักษณะเหมือนงูเลื้อย และต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อจากไอร์ปราดะห์มาเป็นน้ำวนใน พ.ศ.๒๕๑๐ (น้ำวน) และได้มีการปรับปรุงหมู่บ้านโดยมีผู้ใหญ่บ้านและประชาชนให้ความร่วมมือ ในการพัฒนาหมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อ นายแวยูโซ๊ะ บินแวดาโอ๊ะ    ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันคือ นายไซนูเด็น สตอปา และได้มีการพัฒนาหมู่บ้านจนถึงปัจจุบันนี้

 สภาพทั่วไปของชุมชนบ้านน้ำวน

               พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มล้อมรอบด้วยภูเขา มีคลองน้ำเล็ก ๆไหลวนเวียนภายในหมู่บ้าน

อาณาเขตหมู่บ้าน

               ทิศเหนือติดต่อกับบ้านจะแนะ  ตำบลจะแนะ   อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

                ทิศใต้ติดต่อกับบ้านกูมุง ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

                ทิศตะวันออกติดต่อกับบ้านไอร์กรอส ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

                ทิศตะวันตกติดต่อกับบ้านกือโล๊ะ   ตำบลดุซงญอ   อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

จำนวนประชากร

         ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จำนวนครัวเรือน ๑๐๐ ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด  ๔๖๒  คน   ชาย  ๒๖๑  คน   หญิง  ๒๐๑  คน

การคมนาคมและการสื่อสาร

              ถนนสายที่อยู่เฉพาะภายในเขตพื้นที่ของหมู่บ้าน ถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๑ กิโลเมตร

ถนนที่ใช้เดินทางไปยังอำเภอมีจำนวน ๑ เส้นทาง  เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากหมู่บ้าน ถึงอำเภอ

ที่ใกล้ที่สุดระยะทางทั้งหมด ๑๒ กิโลเมตร แยกเป็น ถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๑๒ กิโลเมตร

ใช้เวลาเดินทาง ๑๕ นาที

ประเพณี/วัฒนธรรมของหมู่บ้าน

          ๑. งานเมาลิต

          ๒. งานอาหารซูรอ

ด้านการศึกษา

ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียน จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่

         ๑. โรงเรียนบ้านน้ำวน

         ๒.โรงเรียนตาดีกาอัลอาซีซียะห์

ด้านศาสนา

ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามทั้งหมด ภายในหมู่บ้านมีศาสนสถาน จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่

          ๑. มัสยิดไอร์กือมารา

          ๒. มัสยิดไอร์ปราดะห์

          ๓. มัสยิดกือโล๊ะ

กิจกรรมที่มีอยู่ในหมู่บ้าน

          ๑. กลุ่มปลูกผักสวนครัว

          ๒. กลุ่มเยาวชนเลี้ยงไก่

          ๓. กลุ่มร้านค้าชุมชน

 

ข้อมูลพื้นฐาน

 บ้านกูมุง หมู่ที่ ๒ ตำบลช้างเผือก  

 

ประวัติความเป็นมา

           หมู่บ้านกูมุงก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ โดย นายละเย็งมะแซ สาเหตุที่ตั้งชื่อบ้านว่า กูมุง เนื่องจากในสมัยก่อนมีต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า กือมุง ซึ่งต้นไม่ชนิดนี้มีมากแถวริมคลองและก็ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านในปี พ.ศ.๒๕๑๐ ได้ชื่อว่า ไอร์กือมุง ต่อมาได้ปรับปรุงและพัฒนาหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้านคนแรก  ชื่อนายแวยูโซ๊ะ บินแวดาโอ๊ะ ร่วมกับชาวบ้าน และในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ได้มีกองกำลังนาวิกโยธินมาประจำการอยู่ที่หัวสะพานเก่า (โรงเรียนพิทักษ์วิทยากูมุงในปัจจุบัน) เพื่อมาพัฒนาและปราบปรามโจรคอมมิวนิส (จคม.) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๒ ได้เปลี่ยนผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ชื่อ นายมะลาวี มาหะมะ ได้ดำรงตำแหน่งมาจนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๑  ปัจจุบัน นายไซนูเด็น  สตอปา เป็นผู้ใหญ่บ้านและกำนันตำบลช้างเผือก

สภาพทั่วไปของชุมชนบ้านกูมุง

          พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มล้อมรอบด้วยภูเขาสลับเนินและหุบเขา     มีแม่น้ำสายบุรีและลำธารไหลผ่าน  

อาณาเขตหมู่บ้าน

    ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านน้ำวน ตำบลช้างเผือก  อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

               ทิศใต้  ติดต่อกับบ้านไอร์ซือเร๊ะ  ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

               ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านไอร์กรอส  ตำบลจะแนะ    อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

               ทิศตะวันตก   ติดจาอกับบ้านน้ำหอม     ตำบลดุซงญอ   อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรือน ๑๙๖   ครัวเรือน   จำนวนประชากรทั้งหมด  ๘๒๑  คน ชาย   ๔๑๙  คน

หญิง   ๔๐๒   คน

การคมนาคมและการสื่อสาร

ถนนสายที่อยู่เฉพาะภายในเขตพื้นที่ของหมู่บ้าน ถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๒ กิโลเมตร ถนนที่ใช้เดินทางไปยังอำเภอมีจำนวน  ๑  เส้นทาง  เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากหมู่บ้าน ถึงอำเภอที่ใกล้ที่สุดระยะทางทั้งหมด ๑๕ กิโลเมตร แยกเป็น ถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๑๕ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒๐ นาที   การติดต่อสื่อสารไม่สะดวก  เนื่องจากสัญญาณไม่ชัด

ลักษณะภูมิประเทศ

             ๑. เป็นภูเขาสลับเนินและหุบเขา

             ๒. มีแม่น้ำสายบุรีและลำธารไหลผ่าน

ประเพณี/วัฒนธรรมของหมู่บ้าน

          . เมาลิด          ๒. อาซูรอ           ๓. ลิเกฮูลู

ด้านการศึกษา

ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียน จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่

          ๑. โรงเรียนพิทักษ์วิทยากุมุง                                   ๓. โรงเรียนปอเนาะศาสตร์ตราวิทยา

          ๒. โรงเรียนตาดีกาฟัจรุลอิสลาม

ด้านศาสนา

ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามทั้งหมด ภายในหมู่บ้านมีศาสนสถาน จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่

         ๑.  มัสยิดกะมุง                               ๔. มัดราเซาะไอร์สกูวา

         ๒.  มัดราเซาะไอร์สกูวา                      ๕. มัดราเซาะบือแนกือมุง

         ๓. มัดราไอร์ยือรุส

กิจกรรมที่มีอยู่ในหมู่บ้าน

            ๑. กลุ่มปลูกผักสวนครัว                   ๓. กลุ่มร้านค้าชุมชน           ๕. กลุ่มอาชีพส้มแขก

            ๒. กลุ่มเยาวชนเลี้ยงไก่                    ๔. กลุ่มปักจักร

 

 

ข้อมูลพื้นฐาน

 บ้านไอร์ซือเร๊ะ  หมู่ที่ ๓ ตำบลช้างเผือก 

ประวัติความเป็นมา

หมู่บ้านนี้มีภูมิศาสตร์ เป็นภูเขา ป่าดงดิบ มีแม่น้ำสายหนึ่ง ปัจจุบันมีชื่อว่า แม่น้ำสายบุรี และมีสายน้ำ ลำธาร จำนวนไม่น้อยไหลลงสู่แม่น้ำ และเป็นป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้เล็ก ต้นไม้ใหญ่ และสัตว์ป่าหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าเขตนี้ ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ทางรัฐเปรัค ต่อมามีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งนำโดย นายโต๊ะสนุง เป็นชาวมุสลิม ได้ข้ามแม่น้ำสายบุรีไปล่าสัตว์ และได้เดินตามซอกเขาตามสายน้ำ ลำธาร ล่าสัตว์เป็นอาหารอยู่บ่อย ๆ ต่อมาได้รวมกลุ่มทำไร่ข้าวบนเนินเขา กลุ่มของโต๊ะสนุงได้จัดทำกระท่อมที่พักเพื่อทำไร่ข้าวบนเนินเขา เพื่อทำการเลี้ยงชีพ ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต และมีช่วงเวลาวิกฤติช่วงหนึ่ง  มีกลุ่มสัตว์ป่าลงมาทำลายไร่ข้าวและพืชผลของกลุ่มโต๊ะสนุง ทำให้เสียหายหมด พวกสัตว์ป่า เช่น ลิง ช้าง วัว กระทิง หมู นก กา ทุกชนิดลงมาทำลายไร่ข้าวและพืชผล ทางกลุ่มโต๊ะสนุง หาวิธีไล่พวกสัตว์ที่ลงมาทำลายไร่ข้าวที่ปลูก จนสุดท้ายทางกลุ่มโต๊ะสนุงหมดหนทางในการจัดการกับพวกสัตว์ป่า จึงได้อพยพออกมาจากที่นั้นกลับสู่บ้านเกิดตามเดิม กลับมาถึงบ้านได้มีคำถามจากเพื่อนบ้านว่า เพราะอะไรจึงได้อพยพกลับ  โต๊ะสนุงตอบว่า ซือเร๊ะ (แปลว่าเข็ดแล้ว,ยอมแล้ว) จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน

สภาพทั่วไปของชุมชนบ้านไอร์ซือเร๊ะ

ลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาสลับเนินและหุบเขา มีแม่น้ำสายบุรีไหลผ่าน

อาณาเขตหมู่บ้าน

      ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านน้ำวน   ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

               ทิศใต้  ติดต่อกับบ้านไอร์บาลอ  ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

               ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านน้ำวน   ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

               ทิศตะวันตก  ติดต่อกับบ้านไอร์โซ    ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรือน  ๑๔๑   ครัวเรือน   จำนวนประชากรทั้งหมด  ๔๘๔  คน  ชาย  ๒๕๐  คน   หญิง   ๒๓๔  คน

การคมนาคมและการสื่อสาร

ถนนสายที่อยู่เฉพาะภายในเขตพื้นที่ของหมู่บ้าน ถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๑๐ กิโลเมตร

ถนนที่ใช้เดินทางไปยังอำเภอมีจำนวน ๑ เส้นทาง  เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากหมู่บ้าน ถึงอำเภอที่ใกล้ที่สุดระยะทางทั้งหมด ๑๕ กิโลเมตร แยกเป็น ถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๑๕ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๒๐ นาที

ประเพณี/วัฒนธรรมของหมู่บ้าน

            ๑. งานเมาลิต

            ๒. งานอาหารซูรอ

            ๓. ประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทยพุทธ

ด้านการศึกษา

         ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียน จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่

           ๑. โรงเรียนร่วมจิตประชา

           ๒. โรงเรียนตาดีกานูรุลจาบา

           ๓. โรงเรียนตาดีกาอัตตัรบียะห์อิสลามมียะห์

           ๔. โรงเรียนตาดีกาอัตตัรบียาตุลดีนียะห์

           ๕. โรงเรียนตาดีกานูรุลกอลบี

ด้านศาสนา

         ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและมีศาสนาพุทธบ้างเล็กน้อย ภายในหมู่บ้านมี

ศาสนสถาน จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่

                 ๑. มัสยิดบูยง

                 ๒. มัสยิดไอร์ซือเร๊ะ

                 ๓. มัสยิดไอร์กือซา

 กิจกรรมที่มีอยู่ในหมู่บ้าน

                 .กลุ่มปลูกผักสวนครัว

                 ๒.กลุ่มเยาวชนเลี้ยงไก่

                 ๓.กลุ่มร้านค้าชุมชน

                 ๔. กลุ่มอาชีพปักจักร

 

ที่มา : พัฒนาชุมชนที่ทำการอำเภอจะแนะ,บัณฑิตกองทุนหมู่บ้านและชุมชมเมืองแห่งชาติ ๒๕๔๕,ผู้นำชุมชน,ผู้นำศาสนา,ผู้นำท้องถิ่น.ปรับปรุงข้อมูล ๒๕๖๐

 


Page 1/1
1
Copyright © 2005 หมู่บ้านดุซงญอ Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com