Home | แหล่งท่องเที่ยว | สำนักสงฆ์ดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 3 | ชมรมจักายานอำเภอจะแนะ Dpcc Club | ชมรมจักรยานดซงญอไบด์ Dusongyo Bike | ผู้นำดุซงญอ | เบิกฟ้าชมวังพระยาระแงะ | Selamat Datang Dusongyo | ประวัติบ้านดุซงญอ | สภาพทั่วไปบ้านดุซงญอ | มัสยิดดุซงญอ(ร้อยเสา) | ตำนาน'กบฏดุซงญอ' | ตราพระยาระแงะ | ข้อมูลพื้นฐานชุมชน 1 | ข้อมูลพื้นฐานชุมชน 2 | ทำเนียบผู้บริหารและสมาชิก อบต.ดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 5 | แผ่นที่ตั้งตำบลดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 4 | แผ่นที่ตั้งชุมชนในตำบล | ชมรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 1 | ข้อมูลตำบล 2 | สมาคมและสุสานคนจีนดุซงญอ | ติดต่อเรา


Category
   ผู้นำของเรา บ้านดุซงญอ
   ผู้นำศาสนาตำบลดุซงญอ
   เยาวชนคนเก่ง'บ้านดุซงญอ'
   ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงค์ นักเขียนชื่อดัง
   ชัย สานุวัฒน์ คนดุซงญอ
   ทำไม?เรียกกบฏ'ดุซงญอ'
   ดุซงญอเหรอ ''กบฏ''
   อนุสาวรีย์ 'กบฏดุซงญอ' ยังอยู่
   เหตุการณ์ ๕๑ บ้านดุซงญอ
   คนจีนรุ่นแรก'บ้านดุซงญอ'
   คนจีนรุ่นสุดท้าย'บ้านดุซงญอ'
   จากอีสานสู่ 'บ้านดุซงญอ'
   โรงเรียนสวนพระยา'ดุซงญอวิทยา'
   องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
   หัวหน้าส่วนราชการ ท้องถิ่นดุซงญอ
   โรงเรียนบ้านดุซงญอ
   สถานีตำรวจ 'บ้านดุซงญอ'
   รพ.สต.ตำบลดุซงญอ
   ที่ทำการไปรษณีย์ 'ปณ ดุซงญอ'
   บ้านแมะแซ ม.2
   บ้านสุแฆ ม.3
   บ้านรือเปาะ ม.4
   บ้านกาแย ม.5
   บ้านกาเต๊าะ ม.6
   บ้านน้ำหอม ม.7
   บ้านสาเม๊าะ ม.8
   บ้านดุซงญอ ม.1
   ผู้ก่อตั้ง จัดทำ Web sibe
   โครงการฝายในพระดำริตำบลดุซงญอ
   บ้านแอเจะ,บือจะ,ริแงตำบลผดุงมาตร
   บ้านเมาะตาโก๊ะ,ไอร์ปีแซ,ลูโบ๊ะตำบลผดุงมาตร
   บ้านน้ำวน,กูมุง,ไอร์ซือเร๊ะตำบลช้างเผือก
   บ้านไอร์บือแต,ไอร์โซ,ไอร์บาลอ,ช้างเผือกตำบลช้างเผือก
    บ้านยะออ,จะแนะตำบลจะแนะ
   บ้านมะนังกาแยง,ปารีตำบลจะแนะ
   บ้านสะโก,ไอร์กรอสตำบลจะแนะ
   บ้านตือกอ,บือแตตำบลจะแนะ
   บ้านไอร์มือแซ,ยารอตำบลจะแนะ
   อนุสาวรีย์กบฏดุซงญอ ถูกทุบ
   ดุซงญอกบฎลุกขึ้นสู้
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
Link

free counters
Sine,November 16,2011
 

Online: 001
Visitors : 2431

 

(ต่อ)

ข้อมูลพื้นฐาน

 บ้านไอร์บือแต หมู่ที่ ๔ ตำบลช้างเผือก

ประวัติความเป็นมา

                บ้านไอร์บือแต แต่ก่อนจะเป็นหมู่บ้านจะมีหมอส้มโอมารับสัมปทานป่าไม้และเป็นทางเกวียนและทางลากโค้ง และมีชาวจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ ๕  ๖ ครอบครัวเข้ามาจับจองที่ดินทำกิน ทำสวนยาง สวนผลไม้ เป็นอาชีพหลัก  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๑  ได้มีกลุ่มคนมาจากอำเภอจะแนะ มาอยู่กันเป็นจำนวนมาก และตั้งชื่อว่า บ้านไอร์บือแต

สภาพทั่วไปของชุมชนบ้านไอร์บือแต

               พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงล้อมรอบด้วยภูเขาและมีน้ำไหลผ่าน

อาณาเขตหมู่บ้าน

              ทิศเหนือ  ติดต่อกับบ้านดุซงญอ    ตำบลดุซงญอ  อำเภอจะแนะ  จังหวัดนราธิวาส

              ทิศใต้  ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย

              ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านผดุงมาตร  ตำบลผดุงมาตร  อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

              ทิศตะวันตก  ติดต่อกับบ้านศรีสาคร    ตำบลศรีสาคร  อำเภอศรีสาคร  จังหวัดนราธิวาส

จำนวนประชากร

              จำนวนครัวเรือน  ๑๑๙  ครัวเรือน  จำนวนประชากรทั้งหมด  ๓๖๒  คน  ชาย  ๒๐๖ คน

หญิง  ๑๕๖ คน

การคมนาคมและการสื่อสาร

            ถนนนายที่อยู่เฉพาะภายในเขตพื้นที่ของหมู่บ้าน  ถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๗ กิโลเมตร

ถนนที่ใช้เดินทางไปยังอำเภอ มีจำนวน ๒ เส้นทาง  เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากหมู่บ้านถึงอำเภอที่ใกล้ที่สุด ระยะทาง ๒๕ กิโลเมตร  แยกเป็นถนนลาดยางหรือคอนกรีต  ๒๕ กิโลเมตร  ใช้เวลาเดินทางประมาณ  ๓๐ นาที

ลักษณะภูมิประเทศ

         . ตั้งอยู่บนที่ราบสูง ล้อมรอบด้วยภูเขาและมีน้ำไหลผ่าน

         ๒. ราษฎรประกอบอาชีพทำสวนยาง สวนผลไม้ตามที่ราบและเนินเขา

ประเพณี/วัฒนธรรมของหมู่บ้าน

            ๑. เมาลิด

            ๒. อาซุรอ

ด้านการศึกษา

            ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียน  จำนวน  ๒  แห่ง  ได้แก่

            ๑. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

            ๒. โรงเรียนตาดีกา

ด้านศาสนา

           ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  ภายในหมู่บ้านมีศาสนสถาน  จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่

            ๑. มัสยิด

            ๒. สำนักสงฆ์

 กิจกรรมที่มีอยู่ในหมู่บ้าน

           ๑. กลุ่มปลูกผักสวนครัว

           ๒. กลุ่มเยาวชนเลี้ยงไก่

           ๓. กลุ่มร้านค้าชุมชน

                                                        

ข้อมูลพื้นฐาน

 บ้านไอร์โซ  หมู่ที่ ๕ ตำบลช้างเผือก

ประวัติความเป็นมา

ประชากรส่วนใหญ่ เดิมอพยพมาจากอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี และได้ตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕ และได้ทำมาหากินตั้งรกรากอยู่จนถึงปัจจุบัน  ที่มาของชื่อหมู่บ้าน มาจากแม่น้ำทั้งสองสายซึ่งมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำสายเดียว หรือเรียกตามภาษามาลายูว่า (ไอร์ซอ) และปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น ไอร์โซ และได้แต่ตั้งผู้ใหญ่บ้านคือ นายแวปะยูนัน  สิเดะ เพื่อที่จะดูแลความเป็นอยู่และพัฒนาหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน

สภาพทั่วไปของชุมชนบ้านไอร์โซ

ลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาสลับเนินและหุบเขามีแม่น้ำสายบุรีไหลผ่าน

จำนวนประชากร    

จำนวนครัวเรือน  ๒๒๐  ครัวเรือน   จำนวนประชากร ทั้งหมด   ๖๗๓  คน  ชาย   ๓๙๑  คน

หญิง   ๒๘๒  คน

อาณาเขตหมู่บ้าน

          ทิศเหนือ  ติดต่อกับบ้านน้ำวน   ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

ทิศใต้  ติดต่อกับบ้านไอร์ซือเร๊ะ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านไอร์กรอส ตำบลจะแนะ    อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านศรีสาคร     ตำบลศรีสาคร  อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

 การคมนาคมและการสื่อสาร

                 ถนนสายที่อยู่เฉพาะภายในเขตพื้นที่ของหมู่บ้าน ถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๓ กิโลเมตร ถนนที่ใช้เดินทางไปยังอำเภอมีจำนวน ๑ เส้นทาง เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากหมู่บ้าน ถึงอำเภอที่ใกล้ที่สุดระยะทางทั้งหมด ๑๖ กิโลเมตร แยกเป็น ถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๑๖ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๓๐นาที

ประเพณี/วัฒนธรรมของหมู่บ้าน

            ๑. เมาลิด

            ๒.อาซูรอ

ด้านการศึกษา

        ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียน จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่

            ๑. โรงเรียนบ้านไอร์โซ

            ๒. โรงเรียนตาดีกานูรุลยากีน

ด้านศาสนา

       ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามทั้งหมด ภายในหมู่บ้านมีศาสนสถาน จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่

           - มัสยิด

กิจกรรมที่มีอยู่ในหมู่บ้าน

          ๑. กลุ่มปลูกผักสวนครัว

          ๒. กลุ่มเยาวชนเลี้ยงไก่

          ๓. กลุ่มร้านค้าชุมชน

          ๔. กลุ่มตัดเย็บเสื้อ

 

ข้อมูลพื้นฐาน

บ้านไอร์บาลอ หมู่ที่ ๖ ตำบลช้างเผือก

ประวัติความเป็นมา

หมู่บ้านนี้มีภูมิศาสตร์ เป็นภูเขา ป่าดงดิบ มีแม่น้ำสายหนึ่ง ปัจจุบันมีชื่อว่า แม่น้ำสายบุรี และมีสายน้ำ ลำธาร จำนวนไม่น้อยไหลลงแม่น้ำ และเป็นป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้เล็ก ต้นไม้ใหญ่ และสัตว์ป่าหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าเขตนี้ ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ทางรัฐเปรัค ต่อมามีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งนำโดย นายโต๊ะสนุง เป็นชาวมุสลิม ได้ข้ามแม่น้ำสายบุรีไปล่าสัตว์ และได้เดินตามซอกเขาตามสายน้ำ ลำธาร ล่าสัตว์เป็นอาหารอยู่บ่อย ๆ ต่อมาได้รวมกลุ่มทำไร่ข้าวบนเนินเขา กลุ่มของโต๊ะสนุงได้จัดทำกระท่อมที่พักเพื่อทำไร่ข้าวบนเนินเขา เพื่อทำการเลี้ยงชีพได้ซักพักใหญ่ ๆ ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต และมีช่วงเวลาวิกฤติช่วงหนึ่ง

 สภาพทั่วไปของบ้านไอร์บาลอ

          ลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาสลับเนินและหุบเขา มีแม่น้ำสายบุรีไหลผ่าน

 อาณาเขตหมู่บ้าน

                 ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านไอร์ซือเร๊ะ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

                 ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

                 ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย

                 ทิศตะวันตก  ติดต่อกับบ้านช้างเผือก ตำบลช้างเผือก  อำเภอจะแนะ

จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรือน  ๘๗  ครัวเรือน จำนวนทั้งหมดประชากร  ๓๓๐  คน ชาย ๑๗๙  คน 

หญิง ๑๕๑  คน

 การคมนาคมและการสื่อสาร

            ถนนสายที่อยู่เฉพาะภายในเขตพื้นที่ของหมู่บ้าน ถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๑๐ กิโลเมตร ถนนที่ใช้เดินทางไปยังอำเภอมีจำนวน ๑ เส้นทาง เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากหมู่บ้าน ถึงอำเภอที่ใกล้ที่สุดระยะทางทั้งหมด ๑๕ กิโลเมตร แยกเป็น ถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๑๕ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๒๕ นาที

 ประเพณี  /  เทศกาลประจำปี

            - งานบวช

            - เทศกาลสงกรานต์                 

 ศาสนา

             ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ  มีสำนักสงฆ์ ๑  แห่ง  คือ สำนักสงฆ์ บ้านไอร์บาลอ  

 กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้าน

          ๑. กลุ่มเลี้ยงสัตว์

          ๒. กลุ่มปักจักร

          ๓. กลุ่มจักรสาน

         ๔. กลุ่มทำขนม

         5. กลุ่มผลิตน้ำยาล้างจาน

 

ข้อมูลพื้นฐาน

 บ้านช้างเผือก หมู่ที่ ๗ ตำบลช้างเผือก

ประวัติความเป็นมา

                บ้านช้างเผือก เดิมเป็นส่วนหนึ่งของบ้านไอร์ซือเร๊ะ หมู่ที่ ๓ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส  เดิมมี ๕ หมู่บ้าน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ตำบลช้างเผือก ได้ขอขยายเขตการปกครองเป็น ๗ หมู่บ้าน บ้านช้างเผือก เป็นหมู่ที่ ๗  เดิมหมู่ที่ ๗ ชื่อบ้านมูบาแรแน แปลว่า ต้นหลุมพอเตี้ย ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งมีเนื้อไม้สีแดง ประเภทไม้เนื้อแข็ง  ทางอำเภอและชาวบ้านได้ประชุม เรียกชื่อหมู่บ้านใหม่ ชื่อว่า บ้านช้างเผือก  เนื่องจากในพื้นที่นี้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้มีราษฎรไปทำสวน ได้จับลูกช้างตัวหนึ่งมา และได้นำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ต่อมาปรากฏว่าเป็นช้างเผือก จึงนำเป็นชื่อตำบลและชื่อหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน

สภาพทั่วไปของชุมชนบ้านช้างเผือก

               พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงล้อมรอบด้วยภูเขาและมีน้ำไหลผ่าน

อาณาเขตหมู่บ้าน           

              ทิศเหนือ  ติดต่อกับบ้านไอร์โซ  ตำบลช้างเผือก  อำเภอจะแนะ  จังหวัดนราธิวาส

              ทิศใต้  ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตำบลช้างเผือก  อำเภอจะแนะ   จังหวัดนราธิวาส

              ทิศตะวันออก  ติดต่อกับบ้านไอร์บาลอ  ตำบลช้างเผือก   อำเภอจะแนะ  จังหวัดนราธิวาส

              ทิศตะวันตก  ติดต่อกับบ้านไอร์โซ    ตำบลช้างเผือก   อำเภอจะแนะ   จังหวัดนราธิวาส

จำนวนประชากร

              จำนวนครัวเรือน  ๑๓๕  ครัวเรือน  จำนวนประชากรทั้งหมด  ๕๓๓  คน  ชาย  ๒๘๒ คน

หญิง  ๒๕๑ คน

การคมนาคมและการสื่อสาร

            ถนนนายที่อยู่เฉพาะภายในเขตพื้นที่ของหมู่บ้าน  ถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๗ กิโลเมตรถนนที่ใช้เดินทางไปยังอำเภอ มีจำนวน ๒ เส้นทาง  เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากหมู่บ้านถึงอำเภอที่ใกล้ที่สุด ระยะทาง ๒๕ กิโลเมตร  แยกเป็นถนนลาดยางหรือคอนกรีต  ๒๕ กิโลเมตร  ใช้เวลาเดินทางประมาณ  ๓๐ นาที

ลักษณะภูมิประเทศ

         ๑. ตั้งอยู่บนที่ราบสูง ล้อมรอบด้วยภูเขาและมีน้ำไหลผ่าน

         ๒. ราษฎรประกอบอาชีพทำสวนยาง สวนผลไม้ตามที่ราบและเนินเขา

ประเพณี/วัฒนธรรมของหมู่บ้าน

            ๑. เมาลิด

            ๒. กวนอาซุรอ

ด้านการศึกษา

            ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียน  จำนวน  ๑  แห่ง  ได้แก่

            ๑. โรงเรียนตาดีกา

ด้านศาสนา

           ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  ภายในหมู่บ้านมีศาสนสถาน  จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่

            ๑. มัสยิด

            ๒. สำนักสงฆ์

กิจกรรมที่มีอยู่ในหมู่บ้าน

           ๑. กลุ่มปลูกผักสวนครัว                    ๓. กลุ่มร้านค้าชุมชน

           ๒. กลุ่มเยาวชนเลี้ยงไก่                     ๔. กลุ่มอาชีพปักจักร

           

ที่มา : พัฒนาชุมชนที่ทำการอำเภอจะแนะ,บัณฑิตกองทุนหมู่่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ๒๕๔๕,ผู้นำชุมชน,ผู้นำศาสนา,ผู้นำท้องถิ่น.ปรับปรุงข้อมูล ๒๕๖๐

 

 

 


Page 1/1
1
Copyright © 2005 หมู่บ้านดุซงญอ Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com