ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านยะออ
๑.สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ประวัติความเป็นมา
บ้านยะออ หมู่ที่ ๑ ตำบลจะแนะ ตั้งมาประมาณ ๒๐๐ ปี (ไม่ทราบ พ.ศ. ที่จัดตั้ง ) ผู้ที่มาบุกเบิกครั้งแรกเป็นชนเผ่าซาไก (คนป่า) จำนวน ๒ ครอบครัว ชื่อ ยะออ กับ ยานาฮา ได้พากันมาตั้งหลักแหล่งในพื้นที่บริเวณที่ราบใกล้แหล่งน้ำ ในสมัยนั้นผู้คนชอบเรียกเผ่าซาไกติดปากว่า “ยะออ” และจึงตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านยะออ มาจนถึงปัจจุบัน และน้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ก็ตั้งชื่อว่าห้วย ยะออเช่นกัน บ้านยะออเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของอำเภอจะแนะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอจะแนะ ห่างจากตัวอำเภอประมาณ ๘ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนราธิวาส ประมาณ ๓๙ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๔,๗๒๙ ไร่ มีผู้ใหญ่บ้าน ๖ คน จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมีนายอับดุลเลาะ ปาเนาะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
อาณาเขต ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอจะแนะ ห่างจากตัวอำเภอประมาณ ๘ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนราธิวาส ประมาณ ๓๙ กิโลเมตร
เขตติดต่อ
ทิศเหนือ จรดบ้านดุซงญอ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศใต้ จรดบ้านจะแนะ ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก จรดบ้านไอร์ปีแซ ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก จรดบ้านสุแฆ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่านตลอดทั้งปี สภาพดินเป็นดินร่วนทำให้บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตรกรรม และการปลูกพืชสวน พืชไร่ และการเลี้ยงสัตว์
การติดต่อกับภายนอกชุมชน / หมู่บ้าน
การเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ สามารถใช้เส้นทางถนนลาดยางที่ตัดผ่านหมู่บ้านและเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านอื่นได้โดยทางรถยนต์ จักรยานยนต์ และเดินเท้า การคมนาคมขนส่งสะดวกสบาย
๒.สภาพทางสังคม
ประชากร มีประชากรอาศัยอยู่ จำนวน ๑๔๙ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๗๔๑ คน
ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ภายในหมู่บ้านมีศาสนสถาน จำนวน ๔แห่ง คือ มัสยิดอัลวูลสตอ และมีสุเหร่าอีก จำนวน ๓ แห่ง
ประเพณี / วัฒนธรรมของหมู่บ้าน
- ลิเกฮุลู
- การเข้าสุนัต
- งานเมาลิต
- งานอาซูรอ
๓.สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ปลูกผักสวนครัว ทำนา เลี้ยงปลา และเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เช่น แพะ วัว แกะ ไก่ เป็ด เป็นต้น
แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน
แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน เกิดจากการระดมทุนของชาวบ้าน และรัฐบาล สนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองและงบประมาณอื่นๆ
๔.โครงสร้างพื้นฐาน
การสาธารณสุข
- ประชากรในหมู่บ้านมีและใช้ส้วมถูกสุขลักษณะทุกครัวเรือน ( ๑๐๐ %)
- ประชากรในหมู่บ้านมีการใช้ถังขยะและหลุมกำจัดขยะทุกครัวเรือน
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน ๑ แห่ง
- มีสมาชิก อสม. คอยให้คำแนะนำศึกษาแก่ประชาชน
ด้านการศึกษา
- มีโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง คือโรงเรียนบ้านยะออ
- มีโรงเรียนตาดีกา จำนวน ๑ แห่ง
ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านจะแนะ
ประวัติความเป็นมา
บ้านจะแนะ หมู่ที่ ๒ เมื่อประมาณ ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ย้ายถิ่นฐานมาตั้ง ณ ที่แห่งนี้และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านจะแนะ ซึ่งคำว่าจะแนะ มีที่มาจาก ต้นบอนชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะสีเขียวใบมันแวว ต้นบอนชนิดนี้สามารถใช้เป็นไม้ประดับตกแต่งบ้านเรือนให้ดูสวยงามได้ จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน
๑.สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
เขตติดต่อ
ทิศเหนือ จรด ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศใต้ จรดตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก จรดตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก จรดตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่านตลอดทั้งปี สภาพดินเป็นดินร่วนทำให้บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชสวน พืชไร่ และการเลี้ยงสัตว์
การติดต่อกับภายนอกชุมชน / หมู่บ้าน
การเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ สามารถใช้เส้นทางถนนที่ตัดผ่านหมู่บ้านและเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านอื่นได้โดยทางรถยนต์ จักรยานยนต์ และเดินเท้า
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และมีศาสนาพุทธบ้างเล็กน้อย มีศาสนสถาน จำนวน ๖ แห่ง ได้แก่
๑. มัสยิดดารุลวาอีม
๒. มัสยิดปาแดญอ
๓. มัสยิดอัลวาตอนี
๔. มัสยิดเมาะตูรอ
๕. สุเหร่าบ้านบือแด
๖. สุเหร่าบ้านบือแนบือแด
๒.สภาพทางสังคม / ประเพณี / วัฒนธรรมของหมู่บ้าน
- ลิเกฮุลู
- การเข้าสุนัต
- งานเมาลิต
- งานอาซูรอ
๓.สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ปลูกผักสวนครัว ทำนา เลี้ยงปลา และเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เช่น แพะ วัว แกะ ไก่ เป็ด เป็นต้น
แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน
แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน ได้มีการระดมทุนกลุ่มผู้ผลิต และรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองและงบประมาณอื่นๆ
๔.โครงสร้างพื้นฐาน
การสาธารณสุข
- ประชากรในหมู่บ้านมีและใช้ส้วมถูกสุขลักษณะทุกครัวเรือน ( ๑๐๐ %)
- ประชากรในหมู่บ้านมีการใช้ถังขยะและหลุมกำจัดขยะทุกครัวเรือน
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน ๑ แห่ง
- มีสมาชิก อสม. คอยให้คำแนะนำศึกษาแก่ประชาชน
ด้านการศึกษา
ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียน จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่
๑.โรงเรียนปรเลม
๒. โรงเรียนตาดีกาเมาะตูรอ
๓. โรงเรียนตาดีกาจะแนะ
๔. โรงเรียนตาดีกาดารุลนาอิน
ที่มา : พัฒนาชุมชนที่ทำการปกครองอำเภอจะแนะ,บัณฑิตกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ๒๕๔๕,ผู้นำชุมชน,ผู้นำศาสนา,ผู้นำท้องถิ่น.ปรับปรุง ๒๕๖๐
|