ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านมะนังกาแยง
๑.สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
บ้านมะนังกาแยง หมู่ที่ ๓ ตำบลจะแนะ ตั้งมาได้ประมาณ ๑๐๐ กว่าปี (ไม่ทราบปี พ.ศ.) แต่เดิมชาวบ้านอาศัยอยู่บนภูเขา และอพยพลงลงมาที่พื้นที่อุดมสมบูรณ์ล้อมรอบด้วยภูเขา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชผัก ทำสวนทำไร่ แต่มีปัญหาที่ทำให้แปลงพืชผักต้องเสียหายอยู่เป็นประจำ เนื่องมาจากบริเวณที่ทำไร่นี้ เป็นที่อยู่ของช้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งมันมีนิสัยดุร้าย และบ่อยครั้งที่เข้ามาทำลายพืชผักของชาวบ้าน ต่อมาชาวบ้านได้คิดวิธีที่จะแก้ปัญหาแปลงผักถูกทำลายเสียหายโดยการพร้อมใจกันจับช้างป่า และนำมาเลี้ยงไว้ จนช้างป่าตัวนั้นมีนิสัยเชื่องและเชื่อฟังคำสั่ง ชาวบ้านจึงได้พากันตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านมะนังกาแยง
เขตติดต่อ ทิศเหนือ จรดตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศใต้ จรดตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก จรดตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก จรดตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่านตลอดทั้งปี สภาพดินเป็นดินร่วนทำให้บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชสวน พืชไร่ และการเลี้ยงสัตว์
การติดต่อกับภายนอกชุมชน / หมู่บ้าน
การเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ สามารถใช้เส้นทางถนนที่ตัดผ่านหมู่บ้านและเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านอื่นได้โดยทางรถยนต์ จักรยานยนต์ และเดินเท้า
๒.สภาพทางสังคม / ประชากร
มีประชากรอาศัยอยู่ จำนวน ๒๓๘ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๑,๑๙๑ คน จำนวนเฉลี่ยครัวเรือนละ ๖ คน
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ภายในหมู่บ้านมีศาสนสถาน จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ มัสยิด จำนวน ๒ แห่ง และสุเหร่า จำนวน ๒ แห่ง
ประเพณี / วัฒนธรรมของหมู่บ้าน
- ลิเกฮุลู
- การเข้าสุนัต
- งานเมาลิต
- งานอาซูรอ
๓.สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ปลูกผักสวนครัว ทำนา เลี้ยงปลา และเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เช่น แพะ วัว แกะ ไก่ เป็ด เป็นต้น
แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน
แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน ได้มีการระดมทุนผลิตสินค้า และรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองและงบประมาณอื่นๆ
๔.โครงสร้างพื้นฐาน
การสาธารณสุข
- ประชากรในหมู่บ้านมีและใช้ส้วมถูกสุขลักษณะทุกครัวเรือน ( ๑๐๐ %)
- ประชากรในหมู่บ้านมีการใช้ถังขยะและหลุมกำจัดขยะทุกครัวเรือน
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน ๑ แห่ง
- มีสมาชิก อสม. คอยให้คำแนะนำศึกษาแก่ประชาชน
ด้านการศึกษา
ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียน จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่
๑.โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนบ้านละหาร
๒. โรงเรียนตาดีกา จำนวน ๒ แห่ง คือ
- มัสยิดตารุลเราะห์ฮะห์ละหารมาร์
- มัสยิดตักวียาตุซซอลีฮะห์บือแนกาแย
ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านปารี
๑.สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ประวัติความเป็นมา
บ้านปารี หมู่ที่ ๔ ตำบลจะแนะ ตั้งมาได้ประมาณ ๑๐๐ กว่าปีแล้ว (ไม่ทราบ พ.ศ.) แต่เดิมชาวบ้านอาศัยอยู่บนภูเขาและอพยพลงมาพื้นที่ราบลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์ประกอบอาชีเกษตรกรรม ปลูกพืชผักทำสวนทำไร่ ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของชาวบ้านนั้นจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและบ้านเรือนก็จะเรียงกันไปตามแนวถนน มีการตั้งบ้านเรือนแบบกระจัดกระจายบ้างเล็กน้อย
เขตติดต่อ ทิศเหนือ จรดบ้านมะนังกาแยง ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศใต้ จรดบ้านไอร์กรอส ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก จรดบ้านสะโก ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก จรดบ้านน้ำวน ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและเชิงเขา มีแม่น้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี สภาพดินเป็นลักษณะดินร่วนทำให้บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
การติดต่อกับภายนอกชุมชน / หมู่บ้าน
การเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ สามารถใช้เส้นทางลาดยางที่ตัดผ่านหมู่บ้านและเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านอื่น ซึ่งสามารถเดินทางได้โดยรถยนต์ จักรยานยนต์ และเดินเท้า
๒.สภาพทางสังคม / ประชากร
ประชากร จำนวน ๑๑๔ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๕๓๙ คน
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีศาสนสถาน จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่
๑. มัสยิดบ้านยารอ
๒. มัสยิดบ้านกาแซ
๓. บาลาเซาะห์บานกายูคละ
๔. บาลาเซาะห์ที่กูโบร์
ประเพณี / วัฒนธรรม
- ลิเกฮุลู
- การเข้าสุนัต
- งานเมาลิต
- งานอาซูรอ
๓.สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ ปลูกผักสวนครัว ทำนา เลี้ยงปลา และเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เช่น แพะ วัว แกะ ไก่ เป็ด เป็นต้น
แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน
แหล่งเงินทุนของหมู่บ้านได้มีการระดมทุนในรูปกลุ่มและรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
๔.โครงสร้างพื้นฐาน
การสาธารณสุข
- ประชากรในหมู่บ้านมีและใช้ส้วมถูกสุขลักษณะทุกครัวเรือน ( ๑๐๐ %)
- ประชากรในหมู่บ้านมีการใช้ถังขยะและหลุมกำจัดขยะทุกครัวเรือน
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน ๑ แห่ง
- มีสมาชิก อสม. คอยให้คำแนะนำศึกษาแก่ประชาชน
ด้านการศึกษา
ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนตาดีกา จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงเรียนตาดีกาบ้านยารอ
ที่มา : พัฒนาชุมชนที่ทำการอำเภอจะแนะ,บัณฑิตกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ๒๕๔๕,ผู้นำชุมชน,ผู้นำศาสนา,ผู้นำท้องถิ่น.ปรับปรุง ๒๕๖๐
|