Home | แหล่งท่องเที่ยว | สำนักสงฆ์ดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 3 | ชมรมจักายานอำเภอจะแนะ Dpcc Club | ชมรมจักรยานดซงญอไบด์ Dusongyo Bike | ผู้นำดุซงญอ | เบิกฟ้าชมวังพระยาระแงะ | Selamat Datang Dusongyo | ประวัติบ้านดุซงญอ | สภาพทั่วไปบ้านดุซงญอ | มัสยิดดุซงญอ(ร้อยเสา) | ตำนาน'กบฏดุซงญอ' | ตราพระยาระแงะ | ข้อมูลพื้นฐานชุมชน 1 | ข้อมูลพื้นฐานชุมชน 2 | ทำเนียบผู้บริหารและสมาชิก อบต.ดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 5 | แผ่นที่ตั้งตำบลดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 4 | แผ่นที่ตั้งชุมชนในตำบล | ชมรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพดุซงญอ | ข้อมูลตำบล 1 | ข้อมูลตำบล 2 | สมาคมและสุสานคนจีนดุซงญอ | ติดต่อเรา


Category
   ผู้นำของเรา บ้านดุซงญอ
   ผู้นำศาสนาตำบลดุซงญอ
   เยาวชนคนเก่ง'บ้านดุซงญอ'
   ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงค์ นักเขียนชื่อดัง
   ชัย สานุวัฒน์ คนดุซงญอ
   ทำไม?เรียกกบฏ'ดุซงญอ'
   ดุซงญอเหรอ ''กบฏ''
   อนุสาวรีย์ 'กบฏดุซงญอ' ยังอยู่
   เหตุการณ์ ๕๑ บ้านดุซงญอ
   คนจีนรุ่นแรก'บ้านดุซงญอ'
   คนจีนรุ่นสุดท้าย'บ้านดุซงญอ'
   จากอีสานสู่ 'บ้านดุซงญอ'
   โรงเรียนสวนพระยา'ดุซงญอวิทยา'
   องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
   หัวหน้าส่วนราชการ ท้องถิ่นดุซงญอ
   โรงเรียนบ้านดุซงญอ
   สถานีตำรวจ 'บ้านดุซงญอ'
   รพ.สต.ตำบลดุซงญอ
   ที่ทำการไปรษณีย์ 'ปณ ดุซงญอ'
   บ้านแมะแซ ม.2
   บ้านสุแฆ ม.3
   บ้านรือเปาะ ม.4
   บ้านกาแย ม.5
   บ้านกาเต๊าะ ม.6
   บ้านน้ำหอม ม.7
   บ้านสาเม๊าะ ม.8
   บ้านดุซงญอ ม.1
   ผู้ก่อตั้ง จัดทำ Web sibe
   โครงการฝายในพระดำริตำบลดุซงญอ
   บ้านแอเจะ,บือจะ,ริแงตำบลผดุงมาตร
   บ้านเมาะตาโก๊ะ,ไอร์ปีแซ,ลูโบ๊ะตำบลผดุงมาตร
   บ้านน้ำวน,กูมุง,ไอร์ซือเร๊ะตำบลช้างเผือก
   บ้านไอร์บือแต,ไอร์โซ,ไอร์บาลอ,ช้างเผือกตำบลช้างเผือก
    บ้านยะออ,จะแนะตำบลจะแนะ
   บ้านมะนังกาแยง,ปารีตำบลจะแนะ
   บ้านสะโก,ไอร์กรอสตำบลจะแนะ
   บ้านตือกอ,บือแตตำบลจะแนะ
   บ้านไอร์มือแซ,ยารอตำบลจะแนะ
   อนุสาวรีย์กบฏดุซงญอ ถูกทุบ
   ดุซงญอกบฎลุกขึ้นสู้
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
Link

free counters
Sine,November 16,2011
 

Online: 001
Visitors : 2431

บ้านสะโก,ไอร์กรอสตำบลจะแนะ

 

 

 ข้อมูลพื้นฐาน

บ้านสะโก   

๑.สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน

ประวัติความเป็นมา

                       บ้านสะโก  หมู่ที่  ๕  ตำบลจะแนะ  ตั้งมาได้ประมาณ  ๑๐๐ กว่าปี  (ไม่ทราบปี พ.ศ.) แต่เดิมชาวบ้านอาศัยอยู่บนภูเขา  และอพยพลงมาที่พื้นที่อุดมสมบูรณ์ล้อมรอบด้วยภูเขา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ปลูกพืชผัก  ทำสวนทำไร่  ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของชาวบ้านนั้นจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและบ้านเรือนก็จะอยู่เรียงกันไปตามแนวถนน  มีการตั้งบ้านเรือนแบบกระจัดกระจายบ้างเล็กน้อย

เขตติดต่อ    ทิศเหนือ จรดบ้านตือกอ   ตำบลจะแนะ  อำเภอจะแนะ  จังหวัดนราธิวาส

                ทิศใต้  จรดบ้านไอร์กรอส  ตำบลจะแนะ  อำเภอจะแนะ   จังหวัดนราธิวาส

                ทิศตะวันออก จรดบ้านเม๊าะตาโก๊ะ  ตำบลผดุงมาตร  อำเภอจะแนะ   จังหวัดนราธิวาส

                ทิศตะวันตก  จรดบ้านปารี  ตำบลจะแนะ  อำเภอจะแนะ  จังหวัดนราธิวาส

ลักษณะภูมิประเทศ

                      พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา  มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่านตลอดทั้งปี  สภาพดินเป็นดินร่วนทำให้บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชสวน   พืชไร่   และการเลี้ยงสัตว์

การติดต่อกับภายนอกชุมชน / หมู่บ้าน

                      การเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ สามารถใช้เส้นทางถนนที่ตัดผ่านหมู่บ้านและเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านอื่นได้โดยทางรถยนต์  จักรยานยนต์  และเดินเท้า

๒.สภาพทางสังคม / ประชากร

              มีประชากรจำนวน  ๑๐๕ ครัวเรือน  มีประชากรทั้งสิ้น  ๗๑๙ คน  เฉลี่ยครัวเรือนละ ๗  คน

ศาสนา

              ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม   มีศาสนสถาน จำนวน ๑ แห่ง  คือมัสยิดสะโก

ประเพณี / วัฒนธรรมของหมู่บ้าน

-                   ลิเกฮุลู

-                   การเข้าสุนัต

-                   งานเมาลิต

-                   งานอาซูรอ

๓.สภาพทางเศรษฐกิจ

                      ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร  เช่น  ทำสวนยางพารา  ทำสวนผลไม้ปลูกผักสวนครัว  ทำนา  เลี้ยงปลา  และเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ  เช่น  แพะ  วัว  แกะ  ไก่  เป็ด  เป็นต้น

แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน

                      แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน  ได้มีการระดมทุนเงินทุนจัดตั้งกลุ่ม    และรัฐบาลสนับสนุนเงินกองทุนหมู่บ้านและงบประมาณอื่นๆ

๔.โครงสร้างพื้นฐาน

การสาธารณสุข

-                   ประชากรในหมู่บ้านมีและใช้ส้วมถูกสุขลักษณะทุกครัวเรือน  ( ๑๐๐ %)

-                   ประชากรในหมู่บ้านมีการใช้ถังขยะและหลุมกำจัดขยะทุกครัวเรือน

-                   ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน  ๑  แห่ง

-                   มีสมาชิก  อสม.  คอยให้คำแนะนำศึกษาแก่ประชาชน

ด้านการศึกษา

                      ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนตาดีกาสอนศาสนา

 

ข้อมูลพื้นฐาน

บ้านไอร์กรอส   

๑.สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน

ประวัติความเป็นมา

                       บ้านไอร์กรอส  หมู่ที่  ๖  ตำบลจะแนะ  เป็นหมู่บ้าน  ๑  ใน  ๑๐  ของตำบลจะแนะ  อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอจะแนะ  ห่างจากตัวจังหวัดนราธิวาส  ประมาณ  ๔๗  กิโลเมตร  มีพื้นที่  ประมาณ  ๙,๗๒๗  ไร่ สภาพพื้นที่มีลักษณะพื้นราบ  และมีแนวภูเขากั้น  และมีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

เขตติดต่อ          ทิศเหนือ  จรดกับ บ้านปารี

                      ทิศใต้ จรดกับ บ้านไอร์มือเซ

                      ทิศตะวันออก จรดกับ บ้านยาบี  อำเภอศรีสาคร

                      ทิศตะวันตก จรดกับ  บ้านบือแนกูมุง

ที่ตั้ง                 อยู่ห่างจากจังหวัดนราธิวาส  ประมาณ  ๔๗  กิโลเมตร

เนื้อที่                บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านมีเนื้อที่ประมาณ  ๙,๗๒๗  กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

                      พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มสลับภูเขา  มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่านตลอดทั้งปี  สภาพดินเป็นดินร่วนทำให้บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์  เหมาะแก่การปลูกพืชสวน   พืชไร่   และการเลี้ยงสัตว์

การติดต่อกับภายนอกชุมชน / หมู่บ้าน

                      การเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ สามารถใช้เส้นทางถนนที่ตัดผ่านหมู่บ้านและเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านอื่นด้วย  ซึ่งสามารถเดินทางได้โดยทางรถยนต์  จักรยานยนต์  และเดินเท้า

๒.สภาพทางสังคม / ประชากร

                      ประชากรมีจำนวน  ๑๙๔  ครัวเรือน  มีประชากรทั้งสิ้น  ๑,๐๘๒  คน  

ศาสนา

                      ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม   ภายในหมู่บ้านมีศาสนสถาน  จำนวน  ๒  แห่ง   ได้แก่  สุเหร่า  ชุมชนบ้านไอร์รายอ  และมัสยิดบ้านไอร์กรอส

ประเพณี / วัฒนธรรมของหมู่บ้าน

-                   ลิเกฮุลู

-                   การเข้าสุนัต

-                   งานเมาลิต

-                   งานอาซูรอ

๓.สภาพทางเศรษฐกิจ

                      ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร  เช่น  ทำสวนยางพารา  ทำสวนผลไม้ปลูกผักสวนครัว  ทำนา  เลี้ยงปลา  และเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ  เช่น  แพะ  วัว  แกะ  ไก่  เป็ด  เป็นต้น

แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน

                      แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน  ได้มีการระดมทุนของชาวบ้าน  และรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

๔.โครงสร้างพื้นฐาน

การสาธารณสุข

-                   ประชากรในหมู่บ้านมีและใช้ส้วมถูกสุขลักษณะทุกครัวเรือน  ( ๑๐๐ %)

-                   ประชากรในหมู่บ้านมีการใช้ถังขยะและหลุมกำจัดขยะทุกครัวเรือน

-                   ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน  ๑  แห่ง

-                   มีสมาชิก  อสม.  คอยให้คำแนะนำศึกษาแก่ประชาชน

ด้านการศึกษา

                      ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียน     จำนวน    ๒   แห่ง    ได้แก่

                      ๑.  โรงเรียนตาดีกา

                      ๒.   โรงเรียนบ้านไอร์กรอส

                      ๓.   ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน

 

ที่มา : พัฒนาชมุชมที่ทำการปกครองอำเภอจะแนะ,บัณฑิตกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ๒๕๔๕,ผู้นำชุมชน,ผู้นำศาสนา,ผู้นำท้องถิ่น.ปรับปรุง ๒๕๖๐ 

 

 

 

 

 

 

 

 


Page 1/1
1
Copyright © 2005 หมู่บ้านดุซงญอ Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com