ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านไอร์มือเซ
๑.สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ประวัติความเป็นมา
บ้านไอร์มือเซ หมู่ที่ ๙ ตำบลจะแนะ เป็นหมู่บ้าน ๑ ใน ๑๐ ของตำบลจะแนะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอจะแนะ ห่างจากจังหวัดนราธิวาส ประมาณ ๕๓ กิโลเมตร มีพื้นที่ ประมาณ ๗,๖๖๔ ไร่ สภาพพื้นที่ของหมู่บ้าน มีลักษณะเป็นที่ราบ มีภูเขาสลับ และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ จรดกับ บ้านไอร์กรอส
ทิศใต้ จรดกับ บ้านร่มไทร อำเภอสุคิริน
ทิศตะวันออก จรดกับ อำเภอศรีสาคร
ทิศตะวันตก จรดกับ บ้านไอร์ซือเร๊ะ
ที่ตั้ง อยู่ห่างจากจังหวัดนราธิวาส ประมาณ ๕๓ กิโลเมตร
เนื้อที่ บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านมีเนื้อที่ประมาณ ๗,๖๖๔ กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและมีภูเขาผสม มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่านตลอดทั้งปี สภาพดินเป็นดินร่วน ทำให้บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปลูกพืชสวน พืชไร่ และการเลี้ยงสัตว์
การติดต่อกับภายนอกชุมชน / หมู่บ้าน
การเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ สามารถใช้เส้นทางถนนที่ตัดผ่านหมู่บ้านและเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านอื่นได้โดยทางรถยนต์ จักรยานยนต์ และเดินเท้า
๒.สภาพทางสังคม / ประชากร
ประชากรมีจำนวน ๑๑๖ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๔๘๓ คน
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ภายในหมู่บ้านมีศาสนสถาน จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ สุเหร่า ๑ แห่ง และมัสยิด ๑ แห่ง
ประเพณี / วัฒนธรรมของหมู่บ้าน
- ลิเกฮุลู
- การเข้าสุนัต
- งานเมาลิต
- งานอาซูรอ
๓.สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ปลูกผักสวนครัว ทำนา เลี้ยงปลา และเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เช่น แพะ วัว แกะ ไก่ เป็ด เป็นต้น
แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน
แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน ได้มีการระดมทุนของชาวบ้าน และรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองและงบประมาณอื่นๆ
๔.โครงสร้างพื้นฐาน
การสาธารณสุข
- ประชากรในหมู่บ้านมีและใช้ส้วมถูกสุขลักษณะทุกครัวเรือน ( ๑๐๐ %)
- ประชากรในหมู่บ้านมีการใช้ถังขยะและหลุมกำจัดขยะทุกครัวเรือน
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน ๑ แห่ง
- มีสมาชิก อสม. คอยให้คำแนะนำศึกษาแก่ประชาชน
ด้านการศึกษา
ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนตาดีกา จำนวน ๑ แห่ง
ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านยารอ
๑.สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ประวัติความเป็นมา
บ้านยารอ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลจะแนะ เป็นชื่อภาษาบาลี หมายความว่า ตารางหรือคุก หมู่บ้านยารอ เป็นชื่อที่ถูกเรียกจากชาวบ้านผู้มาบุกเบิกหมู่บ้านแห่งนี้ในสมัยก่อน โดยชาวบ้านได้ทำกรงดักสัตว์ป่าดุร้าย เช่น เสือ และในบริเวณที่ชาวบ้านอาศัย มีเสือโคร่งเป็นจำนวนมาก คำว่ายารอจึงมีที่มาจากกรงดักสัตว์ป่าและเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านอีกเช่นกัน
ลักษณะการตั้งบ้านเรือน ชาวบ้านจะสร้างบ้านเรือนตามแนวถนนโดยมีลักษณะการเกาะกลุ่มกันอยู่เป็นกลุ่มบ้าน โดยปัจจุบันภายในหมู่บ้านสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ชุมชนหรือ ๓ กลุ่มบ้าน คือ
๑. ชุมชนกายูคละ
๒. ชุมชนยารอ
๓. ชุมชนกาแซ
เขตติดต่อ ทิศเหนือ จรดบ้านจะแนะ ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศใต้ จรดบ้านสะโก ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก จรดบ้านริแง ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก จรดบ้านตือกอ ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและมีภูเขาผสม มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่านตลอดทั้งปี สภาพดินเป็นลักษณะดินร่วนทำให้บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ ในการเพาะปลูกพืชผักต่าง ๆ และเหมาะสมกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
การติดต่อกับภายนอกชุมชน / หมู่บ้าน
การเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ สามารถใช้เส้นทางลาดยางที่ตัดผ่านหมู่บ้านและเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านอื่นได้โดยทางรถยนต์ จักรยานยนต์ และเดินเท้า
๒.สภาพทางสังคม /ประชากร
ประชากรมีจำนวน ๑๑๔ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๕๓๙ คน
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ภายในหมู่บ้านมีศาสนสถาน จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่
๑. มัสยิดบ้านยารอ
๒. มัสยิดบ้านกาแซ
๓. บาลาเซาะห์บานกายูคละ
๔. บาลาเซาะห์ที่กูโบร์
ประเพณี / วัฒนธรรมของหมู่บ้าน
- ลิเกฮุลู
- การเข้าสุนัต
- งานเมาลิต
- งานอาซูรอ
๓.สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ปลูกผักสวนครัว ทำนา เลี้ยงปลา และเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เช่น แพะ วัว แกะ ไก่ เป็ด เป็นต้น
แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน
แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน ได้มีการระดมทุนของชาวบ้านและรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองและงบประมาณอื่นๆ
๔.โครงสร้างพื้นฐาน
การสาธารณสุข
- ประชากรในหมู่บ้านมีและใช้ส้วมถูกสุขลักษณะทุกครัวเรือน ( ๑๐๐ %)
- ประชากรในหมู่บ้านมีการใช้ถังขยะและหลุมกำจัดขยะทุกครัวเรือน
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน ๑ แห่ง
- มีสมาชิก อสม. คอยให้คำแนะนำศึกษาแก่ประชาชน
ด้านการศึกษา
ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนตาดีกา จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงเรียนตาดีกาบ้านยารอ
ที่มา : พัฒนาชุมชนที่ทำการอำเภอจะแนะ,บัณฑิตกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ๒๕๔๕,ผู้นำชุมชน,ผู้นำศาสนา,ผู้นำท้องถิ่น.ปรับปรุง ๒๕๖๐
|