Home | Service | News | เว็บบัญชี ที่น่าสนใจ | สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน | Easy_acc for Windows | Link Ranong | แบบจำลองการเริ่มต้นธุรกิจ SME | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มิถุนายน 2551 | การหักภาษี ณ ที่จ่าย | สำนักงานประกันสังคม | การยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ต | รู้เรื่องภาษี | รวมแบบฟอร์ม หนังสือสัญญาต่าง ๆ บริการฟรี | ศัพท์บัญชี | การยื่นงบการเงิน | สัมมนาที่น่าสนใจ ปี 2549 จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | บิซิเนสไทย | ถาม-ตอบ เกี่ยวกับภาษีอากร จากกรมสรรพากร | ถาม-ตอบ ยื่นแบบ/ชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต | ข้อหารือภาษีอากร จากกรมสรรพากร | เกร็ดความรู้ทางธุรกิจ | การจำหน่ายหนี้สูญที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม | เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี | วางแผนการเงิน 6 แผนการเงินที่ควรทำ


Category
   ความเป็นมา
   แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากร พ.ศ.2548-2551
   หน้าที่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
   สมุดบัญชีที่ผู้ทำบัญชี ต้องจัดทำ ตาม พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
   เอกสารที่ต้องนำส่งเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   ข้อควรระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
   ข้อควรปฏิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้
   สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป
   สำนักงานบัญชีไทย V.S. ยุโรป,อเมริกา
   เตรียมรับมือสรรพากรอย่างไร?
   การยกเลิกใบกำกับภาษี แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร?
   การออกใบแทนใบกำกับภาษี ฉบับที่สูญหาย ทำอย่างไร?
   หน้าที่ตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไร?
   เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงานบัญชียุคพัฒนา
   กรมสรรพากรให้บริการไอที Web Services ถึง 8 รายการ
   การแจ้งเปลี่ยนแปลงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
   สิทธิตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   ใครบ้าง ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 1
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 2
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 3
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 4
   ราชการใสสะอาด - วินัย/จรรยาบรรณ
   ดีเอสไอ. จับหนุ่มโกงภาษี
   บทความที่น่าสนใจจาก เว็บนักบัญชี.คอม
   แผนที่ชีวิตของคุณ?
   ถนอมสุขภาพตาอย่างไร เมื่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ
   เลือกซอฟท์แวร์อย่างไร สำหรับ SMEs
   การเสียเบี้ยปรับ ในกรณียื่นแบบ ภพ.30 เอง
   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั่วโลก
   การจัดตั้งคณะบุคคลทำอย่างไรบ้าง?
   การวางแผนภาษี เลือกจัดตั้งองค์กรธุรกิจ อย่างไรจึงเหมาะสม
   ค่าจดทะเบียนพาณิชย์, ห้างหุ้นส่วน และ บริษัทจำกัด
   ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ทางอินเตอร์เน็ต
   คำเตือนในการนำส่งงบการเงินประจำปีของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
   กรณีศึกษา - หมึกแดงกับการวางระบบบัญชีที่ตรวจสอบได้
   การขอเพิ่มสิทธิ์การติดตั้งโปรแกรม EASY_ACC
   คำแนะนำการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ สำหรับการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษจากกรมสรรพากร
   พรบ.การบัญชี 2543 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี
   การหักภาษี ณ ที่จ่าย
   เลขทะเบียนนิติบุคคลใหม่ 13 หลัก
   กลยุทธ์การป้องกันการถูกยึดกิจการ
   5 สัญญาณเตือนไทย ระวังการควบรวมกิจการ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการคัดสำเนาหนังสือรับรองผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
   สัมมนาหลักสูตรพื้นฐานสำหรับพัฒนาสำนักงานบัญชี ปี 2549
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2549 (ฟรี)
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดอบรมการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการ
   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เปลี่ยนแปลงเมื่อไร?
   เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
   การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามประมวลรัษฎากร
   อบรมเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2549
   การบริหารร้านค้าปลีกแบบมืออาชีพ
   การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
   การทำความเข้าใจกับลูกค้า
   คำอธิบายระหว่าง RMF. และ LTF.
   RMF. & LTF. (2)
   RMF. & LTF. (3)
   RMF. & LTF. (4)
   RMF. & LTF. (5)
   RMF. & LTF. (6)
   กลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นสรรพากรเรียกรับผลประโยชน์ในทางมิชอบ
   แบบสอบถามความเห็น การปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน
   เปิดเว็บไซต์ ฟรี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   5 อุปนิสัยในการประมวลผลที่ดี
   กิจวัตรประจำวัน และ จำนวนวันที่มีในชีวิตของคนเรา
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (1)
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (2)
   ปรับตัว/เตรียมใจอย่างไร? หากเกิดการเลย์ออฟ
   จดแล้วไม่จนจริงหรือ?
   สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
   โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
   หน่วยงานที่ให้บริการแก่ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง SME
   เตือนให้ส่งงบการเงินปี 2548 ภายใน 31 พฤษภาคม 2549
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้ กรณีขายบัตรเงินสด
   คำถาม-ตอบในการสัมมนา "การยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต"
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
   กรมสรรพากรจัดสัมมนาภาษีอากร ฟรี
   การตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดใช้งานไม่ได้
   กรณี - ความผิดการใช้ใบกำกับภาษีปลอม และพิสูจน์ผู้รับเงินไม่ได้
   อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินปี 2554 ล่าช้า (เริ่มใช้ เมษายน 2555)
   อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ใช้ทั่วประเทศ - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กรณีย้ายสถานประกอบการ ใบกำกับภาษีฉบับเดิมยังใช้ได้หรือไม่
   กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการแล้ว ผู้ขายไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ จะทำอย่างไร?
   วางแผนภาษีกับ การลงทุนใน RMF. & LTF.
   การวางแผนภาษี นั้นสำคัญไฉน??
   คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
   การอัพเกรด Easy_Acc for Windows
   ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
   ประเด็นความผิดเกี่ยวกับใบกำกับภาษี ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ร่าง พรบ.ของแถมของรางวัล
   สปส. ประกาศกฎกระทรวง เพิ่มคุ้มครอง 6 โรคเรื้อรัง
   ผู้ประกันตน ตาม ม.39 สิ้นสภาพ อย่าลืมรับเงินออม
   สิทธิและหน้าที่ที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ควรรู้
   ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย - น้องเดียว
   กรณีศึกษา - ภาษีน่ารู้
   เคล็ดลับหาเงินทุน บุกเบิกธุรกิจด้วยตนเอง
   ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีแล้ว (ภงด.94/49)
   ให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต
   การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
   กรณีศึกษา - การส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนกัน
   กรณีศีกษา - รายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วไม่จด ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
   กรณีศึกษา - นายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันให้พนักงาน
   ดับค้าปลีกต่างชาติในเยอรมัน-เกาหลี
   เสียภาษีอย่างไรให้ประหยัด
   เทคนิคการเลือก "กองทุน"
   บริษัท/ห้างฯ ที่จดทะเบียนใหม่จะต้องทำอะไรบ้าง?
   การเลือกซื้อกองทุน LTF
   การทำกิจการ "ค้าของเก่า"
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2550 (ฟรี)
   รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรทั้งหมด และที่ถูกพักใบอนุญาต
   เกณฑ์การรับรู้รายได้ รายจ่ายทางภาษีอากร (เกณฑ์สิทธิ) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550
   ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้
   SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร?
   สิทธิของผู้ประกันตน กรณีว่างงาน
   ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องทำบัญชีหรือแสดงรายได้เพื่อเสียภาษีอย่างไร?
   หลากกฎเตือนใจช่วยประหยัด-ฉลาดจ่าย
   กลยุทธ์ปั้นธุรกิจสู่เส้นชัย จาก 5 บริษัทชั้นนำระดับโลก
   กานต์ ตระกูลฮุน บ่มภาวะผู้นำ "คนปูน"
   ขอคืนภาษี โดยไม่สุจริต ระวังติดคุก?
   ข้อแตกต่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท ปี 2538 กับ 2549
   หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ
   ปรัชญานายห้างเทียม
   คดีภาษีขึ้นศาลภาษีอากรกลาง เพิ่มขึ้น 100%
   ภาษีมรดกในประเทศไทย
   ค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตรตามกฎหมายภาษีไทย
   ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 และ 94
   วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภงด.50 และ ภงด.51
   วางแผนการเงินให้ครอบครัวเภสัชกร
   ช่วยผู้บริหารสานสัมพันธ์ ผูกมิตรกับพนักงานระดับล่าง
   เงินได้ของแพทย์เสียภาษีอย่างไร?
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนให้ยื่นงบการเงินปี 2549 ภายใน 1 มิถุนายน 2550
   เมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัท/ห้างฯ แล้ว จะต้องชำระบัญชีเมื่อไร?
   ก่อนเริ่มต้น ทำพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์
   ข้อชี้แนะในการเลือกนักบัญชี (สำนักงานบัญชี)
   กรณีขายน้ำผลไม้สดคั้น
   ปฏิวัติ พ่อแม่
   The Future of Accounting
   สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
   อยากให้ลูกเรียนกฎหมาย
   การลงทุนในเวียตนาม
   ถึงเวลาแล้ว ต้องยื่น ภงด.50 รอบปีบัญชี 2550 แล้ว
   สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของผู้ส่งออกที่ดี
   ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี
   พิธีการศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกสินค้ากับพม่า
   สรรพากรจะให้ร้านค้าใช้เครื่องเก็บเงินในปีหน้า
   ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% ใช้ถึง 30 กันยายน 2551
   สรรพากรเอาผิดผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือขอคืนภาษีเป็นเท็จ
   ระวัง มิจฉาชีพ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรทางโทรศัพท์
   ลูกจ้างควรวางแผนภาษีเงินได้อย่างไร
   คำถามยอดนิยมจากเว็ปกรมสรรพากร
   สวนดุสิตโพลล์ชี้ผลวิจัยล่าสุด บัญชี แพทย์ บริหาร คอมฯ วิศวะ ครองแชมป์ได้งานสูง
   ถอนทะเบียนบริษัทร้าง 4,216 ราย
   สัมมนา "เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสำนักงานบัญชี
   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ.2550
   เตือนผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินประจำปี 2550
   มาตรการภาษี กระตุ้นเศรษฐกิจใช้บังคับปีภาษี 2551
   รายงานที่ต้องจัดทำในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ระเบียบใหม่ - การจัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
   การเสียภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใหม่
   จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ภายในวันเดียว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2551
   กฎหมายใหม่สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มใช้ 1 มกราคม 2551
   สรุปประเด็นข้อผิดพลาดในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
   ฏีกาภาษี ประเด็นมาตรา 40 (2) หรือ 40 (8)
   เงินได้นอกจากเงินเดือน ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 48 (2)
   ด่วน.... สัมนาภาษีอากร ฟรี กับกรมสรรพากร
   ภาษีที่เกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์
   ภาษีที่ดิน
   การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 6 เดือน
   สรรพากรไล่บี้สำนักงานบัญชี และผู้ประกอบการที่เลี่ยงภาษี
   เป้าเก็บภาษีปี 2553 - กรมสรรพากร
   กรมสรรพากร - เตือนผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
   การวิเคราะห์ภาระภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และการขยายฐานภาษี
   งบการเงิน ใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2553
   มีอะไรใหม่ ในการยื่นชำระภาษีปี 2552 (ภงด.90 / 91)
   หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ.2553 - ใหม่
   ข้อบกพร่องในการรับงบการเงิน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สัมมนาฟรี เรื่อง "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   ขยายเวลา การยื่นงบการเงิน ปี 2552 (3 เขต ใน กทม.)
   กรณีการเสียภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเงินได้ภรรยา ยื่นรวมกับสามี
   สัมมนาฟรี "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   สัมมนาฟรี "ฝ่าวิกฤต พิชิตปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคล"
   คัดสำเนาหนังสือรับรอง, เอกสารการจดทะเบียน และงบการเงินทาง e_Service
   การทำธุรกรรมทางออนไลน์ เสียภาษีหรือไม่?
   สำนักงานบัญชี ที่ต้องวางหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม 3%
   "สมคิด" เสนอปฏิรูปการคลัง ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
   สัมมนาฟรี "ลด แลก แจก แถม อย่างไร สบายใจ เรื่องภาษี"
   สรรพากรรื้อใหญ่ขยายฐานรายได้ ไม่เน้นขึ้นภาษี หันเก็บทั่วถึง-เป็นธรรม
   สรรพากรประกาศนโยบาย BIG CHANGE ตั้งเป้าปี54 เก็บภาษี 1.3 ล้านล้าน
   บริหารภาษีอย่างถูกวิธี - น่าสนใจ จริง ๆ
   ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
   ข้อควรทราบเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง?
   มาตราการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
   คลังลุยรื้อภาษีมุ่งลดเหลื่อมล้ำ
   โค้งสุดท้าย ซื้อ RMF/LTF ประหยัดภาษีปี 2553
   ชง ครม. เรียกเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา รัฐได้เพิ่ม 4,000 ล้านบาท
   การจัดทำบัญชีอย่างง่าย ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กำไรจากการขาย LTF
   สรรพากรเตือนผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภงด.90/91
   ประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงินของกรมสรรพากร
   เตรียมลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เริ่ม 1 มค.2555
   กรมสรรพากร - คู่มือประชาชน
   แนวปฏิบัติของผู้เสียภาษ๊ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย 2554
   บริการ 3 กรมภาษี กระทรวงการคลัง
   กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554
   ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน จาก 5% เหลือ 3% และ 4%
   ผู้หญิงเฮ ! แยกยื่นเสียภาษีกับสามี จ่ายน้อยลง ผลงานโบว์แดงผู้ตรวจการแผ่นดิน ???
   1 กุมภาพันธ์ 2555 เริ่มใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก
   ขอหนังสือรับรองจดทะเบียนหุ้นส่วน/บริษัท ผ่านธนาคาร ได้แล้ว
   กรณีกรมสรรพากรให้หักค่าลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถเนื่องจากน้ำท่วม ปี 2554
   กรมสรรพากร ให้ยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต มากขึ้น
   ค่าจ้างแรงงานต่อวัน เริ่มใช้ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
   ผู้หญิงมีสามีเฮ! ศาลรธน.ตัดสินกม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว
   ข่าวกรมสรรพากรที่น่ารู้
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีสามี-ภรรยา แยกกันยื่นแบบทุกภาษี เริ่มปีภาษี 2555 เป็นต้นไป
   การยื่นแบบแสดงรายการภาษี และยื่นแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย ตามประกาศของ ป.ป.ช. เริ่ม 1 เมษายน 2555
   ระเบียบใหม่ การจัดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด เริ่มใช้ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีเงินได้ กรณีสามีภรรยา (ฉบับใหม่) เริ่มใช้ 14 มกราคม 2556
   ขยายเวลาการใช้เลขภาษี 10 หลัก ถึง 31.7.2556
   คำแนะนำในการยื่นบัญชีแสดงรายรับ-รายจ่ายของโครงการ ตาม (บช.1)
   สิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2556 .....ใหม่ล่าสุด
   เพิ่มข้อความ "เลขภาษี 13หลัก" และ "สาขาที่ออกใบกำกับภาษี" ลงในใบกำกับภาษีขาย และใบกำกับภาษีซื้อ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2557
   สัมมนา ฟรี กับสรรพากร (ครึ่งวัน ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556 จำนวน 4 รอบ)
   ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่..... มาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฯ เริ่มใช้ 1 มค.2556
   การลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556
   ข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ที่จะเริ่มใช้ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
   สามีภรรยาร่วมกันทำการค้าถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT
   หลักเกณฑ์การประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
   หสม. หรือ คณะบุคคล ตามกฎหมายใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2558
   ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบทางออนไลน์ของกรมสรรพากรไปถึง มค.2560
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
สำนักงานบัญชี
1. ให้บริการวางระบบบัญชีของธุรกิจ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี&lt;br&gt;<br>

2. ให้บริการจัดทำบัญชี และรายงานผลการดำเนินธุรกิจเป็นรายเดือน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี EASY_ACC&lt;br&gt;<br>

3. ให้บริการและให้คำแนะนำในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี <br>

ได้แก่ ภพ.30 ภงด.1,3,53,50,51,90,91,94 ทางอินเทอร์เน็ต ให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลารอและการเดินทางของพนักงานสำหรับการยื่นแบบและชำระภาษี &lt;br&gt;<br>

4. ให้บริการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯ ก่อนการ เข้าตรวจสอบของเจ้าพนักงาน&lt;br&gt;<br>

5. จัดทำบัญชีและส่งมอบเอกสารบัญชี, สมุดบัญชีให้ผู้ประกอบการเก็บไว้ตาม พรบ.การบัญชี &lt;br&gt;<br>

สอบถามได้ที่ 077-811694, แฟ็กซ์ 077-813156หรือ E_mail :<a href=mailto:info@teinpun.com>info@teinpun.com</a>; &amp;:<a href=mailto:teinpun@yahoo.com>teinpun@yahoo.com</a>;
 

Online: 002
Visitors : 79208

สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
ที่มา - http://www.tax-thai.com/viewnews.asp?id=4933
 
 
    สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
  สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
จากประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3878 (3078)

สรรพากรเอาจริงจัดทำแผนที่ภาษีเอกซเรย์ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ บี้เจ้าหน้าที่ทำงานเต็มกำลัง กัดไม่ปล่อยทั้งธุรกิจ-บุคคลธรรมดา เผยทุกวันที่ 8 ของเดือนเจอกันทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์พร้อมกันทุกจังหวัด ผงะใบกำกับภาษีปลอมรายเดียว 500 ล้านบาท เผยข้อมูลผู้ส่งออกข้าว-ยาง-ธุรกิจใน กทม.-ท่าอากาศยานอยู่ในมือ

นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวได้กระทบการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรหลายตัวต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ เป็นต้น

ทำให้กรมสรรพากรมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพ อุดรูรั่วไหลทุกช่องทางโดยจะใช้ฐานข้อมูลภาษีที่มีอยู่มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของหน่วยงานภายนอก ซึ่งกรมสรรพากรได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเบื้องต้น (MOU) กับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลภาษีทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นภาษีโรงเรือนและที่ดิน, ภาษีบำรุงท้องที่และภาษีป้ายโฆษณาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ขณะนี้กรมสรรพากรได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์แล้ว พบว่ามีผู้ประกอบการจำนวนมากน่าจะเสียภาษีไม่ถูกต้อง ซึ่งขั้นตอนต่อไปคงจะต้องเรียกให้เข้ามาเสียภาษีให้ถูกต้อง ส่วนผู้ประกอบการที่เข้าไปรับสัมปทานหรือทำธุรกิจต่างๆ ภายในอาคารสนามบินสุวรรณภูมิ ขณะนี้บริษัท ท่า อากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดส่งข้อมูลมาให้แล้ว และอีกส่วนหนึ่งได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปเดินสำรวจสถานประกอบการต่างๆ ภายในอาคาร จากนั้นนำมาจัดทำเป็นแผนที่ภาษี (tax map) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบการเสียภาษีต่อไป

นอกจากนี้ เมื่อในวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา ได้ประชุมผู้บริหารระดับสูงของกรมสรรพากร และได้มอบนโยบายในการจัดเก็บภาษีให้กับสรรพากรจังหวัดทั่วประเทศ โดยถ่ายทอดผ่านดาวเทียมในระบบ VDO conference ต่อจากนี้ไปก็จะมีการประชุมในแบบนี้ทุกวันที่ 8 ของทุกเดือน เพื่อติดตามงานที่มอบหมาย และปัญหาอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีทุกพื้นที่

เชื่อมต่อข้อมูลภาษีคลุมทุกธุรกิจ

ด้านนายสาธิต รังคสิริ รองอธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ในสภาวการณ์แบบนี้เจ้าหน้าที่สรรพากรจะต้องออกแรงมากพอสมควร วิธีการคือต้องสำรวจหรือลงไปเอกซเรย์ทุกพื้นที่ดูว่าในสภาพธุรกิจแบบนี้จะมีธุรกิจอะไรบ้างที่ยังดีอยู่ให้เน้นไปที่ธุรกิจประเภทนี้ ธุรกิจที่มีปัญหาอยู่แล้วต้องไม่ทำให้เขาเดือดร้อน ส่วนเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภายนอกเพื่อดูกันตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงธุรกิจปลายน้ำ อย่างเช่น ผู้ประกอบการที่ไปรับสัมปทานพื้นที่มาจากบริษัทการท่าอากาศยานไทยมีกี่ราย บริษัทอะไรบ้าง และมีการนำพื้นที่ไปแบ่งให้เช่าช่วงต่อกี่ราย มีรายได้จากค่าเช่าเท่าไร แล้วมาแจ้งเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ กลไกเหล่านี้ได้ถูกวางเอาไว้ครอบคลุมทุกธุรกิจไม่ใช่เฉพาะธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น


บี้ผู้ส่งออกข้าว-ยาง

อย่างธุรกิจผู้ส่งออก กรมสรรพากรได้มีการหารือกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2550 กรณีปัญหาผู้ส่งออกข้าวก็คือ การไปซื้อข้าวมาจากผู้รวบรวมข้าว (หยง) หรือ เกษตรกรบางรายแล้วจะไม่มีหลักฐานการซื้อ-ขาย เมื่อไม่มีหลักฐานดังกล่าวมาแสดงกับกรมสรรพากรก็ไม่สามารถนำมาลงบัญชีหักเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ ผลคือเสียภาษีเต็มๆ ทางออกคือผู้ส่งออกข้าวต้องไปซื้อข้าวกับหยงที่อยู่ในระบบ ทุกครั้งที่ผู้ส่งออกจ่ายเงินซื้อข้าวจากหยง ผู้ส่งออกต้องออกใบภาษีหัก ณ ที่จ่ายนำส่งกรมสรรพากรทุกเดือน ตรงจุดนี้คือกลไกที่กรมสรรพากรวางเอาไว้ นอกจากผู้ส่งออกข้าวแล้วยังมีผู้ส่งออกยางพาราก็มีปัญหาในลักษณะเดียวกัน ทางกรมสรรพากรกำลังอยู่ในระหว่างการนัดหมายกับสมาคมผู้ส่งออกยางมาหารือเป็นคิวต่อไป

นายสาธิตกล่าวต่อไปอีกว่า ในเรื่องของการอุดรูรั่วไหล ใช้มาตรการป้องกันและปราบปรามการใช้ใบกำกับปลอมอย่างเข้มข้น ล่าสุดกรมสรรพากรได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปจับกุมผู้ที่ปลอมแปลงใบกำกับภาษีรายใหญ่ 1 ราย ผลิตใบกำกับภาษีปลอมออกจำหน่ายคิดเป็นมูลค่าเกือบ 500 ล้านบาท ทางเจ้าหน้าที่กำลังดำเนินการขยายผลการสืบสวนไปยังบริษัทหรือห้างร้านอื่นๆ ที่เป็นลูกค้าเข้ามาซื้อใบกำกับภาษีปลอมจากบริษัทแห่งนี้ไปใช้ในการขอคืนภาษีกับกรมสรรพากร ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ทันที ถ้าได้ผู้ต้องหาครบจะเปิดแถลงข่าว

ลุย กทม.เจาะข้อมูลลึก

รีดบ้านเช่า-เจ้าของป้าย

แหล่งข่าวจากกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาทาง กทม.จะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปเดินสำรวจข้อมูลสถานประกอบการอย่างเข้มข้น และมีการจัดทำเป็นแผนที่ภาษีแยกย่อยออกเป็นระดับถนน, ซอย และตัวอาคาร รู้ถึงขนาดที่ว่าบ้านพักอาศัยหลังนี้กั้นห้องให้คนเช่า 2 ห้อง เป็นต้น ส่วนข้อมูลแผนที่ภาษีสรรพากรจะมีจุดแข็งตรงที่มีข้อมูลรายละเอียดเจาะลึกไปที่ตัวธุรกิจภายในตัวอาคาร เช่น ห้างสรรพสินค้ามีร้านตัดผมกี่ร้าน ร้านอาหารกี่ร้าน จ่ายค่าเช่ากันเท่าไร จ่ายให้ใคร เป็นต้น ส่วนภายนอกอาคารจะไม่ละเอียดเท่าของแผนที่ภาษีของ กทม. เช่น ตลาดนัด หาบเร่แผงลอยตามจุดผ่อนปรนชั่วคราว ข้อมูลเหล่านี้เจ้าหน้าที่เทศกิจมีครบ

ประโยชน์ที่จะเห็นเป็นรูปธรรมชัดๆ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการคอนโดมิเนียม อพาร์ต เมนต์บางราย ไปแจ้งเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินกับ กทม.ต่ำกว่าความเป็นจริง เก็บค่าเช่ามาเดือนละ 5,000 บาท แต่ไปแจ้งกับ กทม.แค่ 3,000 บาท เพื่อทำให้ฐานภาษีโรงเรือนต่ำ ส่วนอีก 2,000 บาทไปลงบัญชีเป็นรายรับจากค่าสาธารณูปโภค หรือค่าบริหารส่วนกลาง โดยผู้ประกอบการเหล่านี้หารู้ไม่ว่าเงินที่เก็บจากค่าสาธารณูปโภคเดือนละ 2,000 บาท ถ้ารวมทุกห้องแล้วคิดเป็นรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องเข้ามาเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ด้วย





ภาษีสรรพากรวืดเป้า

นอกจากนี้ ทางกรมสรรพากรก็ยังได้ข้อมูลการเสียภาษีป้ายโฆษณา พร้อมรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจาก กทม.ให้ปิดป้ายโฆษณาตามสถานีรถไฟฟ้าและโฆษณาภายในขบวนรถไฟ ป้ายรถประจำทางมาด้วย ข้อมูลเหล่านี้กรมสรรพากรจะนำไปวิเคราะห์ร่วมกับแบบเสียภาษีที่ผู้ประกอบการเคยยื่นเอาไว้ ถ้าเสียไม่ถูกต้องก็จับเสียให้ถูกต้อง

ส่วนสถานการณ์การจัดเก็บภาษี ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 นายสมชัย สัจจพงษ์ โฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลเก็บได้ประมาณ 103,115 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 0.1% (หักคืนภาษีสรรพากร, จัดสรร vat ให้ อบจ. และกันเงินชดเชยส่งออก) โดยกรมสรรพากรเก็บได้ 73,445 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 547 ล้านบาท กรมสรรพสามิตเก็บได้ 23,667 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 435 ล้านบาท กรมศุลกากรเก็บได้ 7,213 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ

สาเหตุที่ทำให้กรมสรรพากรเก็บภาษีในเดือนนี้ต่ำกว่าประมาณการเกิดจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเก็บได้ 35,544 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,378 ล้านบาท ภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บได้ 13,150 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 919 ล้านบาท ภาษีธุรกิจเฉพาะเก็บได้ 2,644 ล้านบาท

ต่ำกว่าประมาณการ 123 ล้านบาท และอากรแสตมป์เก็บได้ 579 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 72 ล้านบาท

กทม.เล็งผลเลิศ

ด้านนายพงษ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม. กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กทม.ได้เซ็นลงนามกับทางกรมสรรพากรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยกรมสรรพากรจะได้ข้อมูลจากแผนที่ GIS 1 : 4000 เป็นแผนที่ที่ กทม.พัฒนาขึ้นมาเพื่อแสดงที่ตั้งและรายละเอียดต่างๆ ในพื้นที่ของ กทม.ทั้งหมด ทางกรมสรรพากรจะนำแผนที่นี้ไปใช้ในการขยายฐาน และตรวจสอบการจัดเก็บภาษี ส่วน กทม.จะได้ประโยชน์จากโนว์ฮาวระบบภาษีทั้งหมดของกรมสรรพากรมาช่วยบริหารและจัดวางระบบการจัดเก็บรายได้ของ กทม.

"นอกจากนี้ กทม.ยังได้ร่วมกับกรมที่ดินในการสำรวจที่ดินรกร้างทั่ว กทม.ที่ไม่มีเจ้าของ กทม.ไม่สามารถจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ได้ ให้สามารถตรวจสอบหาเจ้าของได้โดยใช้ข้อมูลจากกรมที่ดิน ซึ่งจะช่วยให้การจัดเก็บภาษีครอบคลุมมากขึ้น"

นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ในปี 2550 นี้ได้มีการปรับเป้าการจัดเก็บภาษีของ กทม.เพิ่มขึ้นประมาณ 10% หรือ 8,748 ล้านบาท โดยภาษีโรงเรือนตั้งเป้าจะจัดเก็บ 8,000 ล้านบาท จากที่ประมาณการไว้ 7,400 ล้านบาท ปีที่แล้วจัดเก็บได้ 7,337 ล้านบาท ภาษีบำรุงท้องที่ตั้งเป้าจัดเก็บ 133 ล้านบาท จากที่ประมาณการไว้ 130 ล้านบาท ปีที่แล้วจัดเก็บได้ 134 ล้านบาท และภาษีป้ายตั้งเป้าจัดเก็บ 615 ล้านบาท จากประมาณการ 600 ล้านบาท ปีที่แล้วจัดเก็บได้ 585 ล้านบาท

นอกจากนี้ จะเพิ่มรายได้จากการขยายฐานไปจัดเก็บภาษีตัวใหม่ โดยขณะนี้กำลังดำเนินการขอกระทรวงมหาดไทยจัดเก็บภาษีบุหรี่ในอัตรามวนละ 10 สตางค์ จะทำให้ กทม.มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 400-500 ล้านบาท และยังได้ขอความร่วมมือไปยังกระทรวงการท่องเที่ยวฯ จะขอเก็บค่าธรรมเนียมห้องพักในโรงแรม โดยจะจัดเก็บในอัตรา 1% จะทำให้ กทม.มีรายได้เพิ่มอีกหลายร้อยล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมทั้ง 2 ภาษีแล้วจะทำให้ กทม.มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกปีละ 1,000 ล้านบาท
 
12/3/2007    
เรื่องอื่น ๆ - "สรรพากร"ตั้งทีมพิเศษรีดภาษี ไล่บี้ทั่วกทม.เจาะรายธุรกิจ-บุคคล http://www.tax-thai.com/viewnews.asp?id=4929

 

 


Page 1/1
1
Copyright © 2005 www.teinpun.com Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com