Home | Service | News | เว็บบัญชี ที่น่าสนใจ | สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน | Easy_acc for Windows | Link Ranong | แบบจำลองการเริ่มต้นธุรกิจ SME | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มิถุนายน 2551 | การหักภาษี ณ ที่จ่าย | สำนักงานประกันสังคม | การยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ต | รู้เรื่องภาษี | รวมแบบฟอร์ม หนังสือสัญญาต่าง ๆ บริการฟรี | ศัพท์บัญชี | การยื่นงบการเงิน | สัมมนาที่น่าสนใจ ปี 2549 จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | บิซิเนสไทย | ถาม-ตอบ เกี่ยวกับภาษีอากร จากกรมสรรพากร | ถาม-ตอบ ยื่นแบบ/ชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต | ข้อหารือภาษีอากร จากกรมสรรพากร | เกร็ดความรู้ทางธุรกิจ | การจำหน่ายหนี้สูญที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม | เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี | วางแผนการเงิน 6 แผนการเงินที่ควรทำ


Category
   ความเป็นมา
   แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากร พ.ศ.2548-2551
   หน้าที่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
   สมุดบัญชีที่ผู้ทำบัญชี ต้องจัดทำ ตาม พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
   เอกสารที่ต้องนำส่งเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   ข้อควรระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
   ข้อควรปฏิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้
   สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป
   สำนักงานบัญชีไทย V.S. ยุโรป,อเมริกา
   เตรียมรับมือสรรพากรอย่างไร?
   การยกเลิกใบกำกับภาษี แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร?
   การออกใบแทนใบกำกับภาษี ฉบับที่สูญหาย ทำอย่างไร?
   หน้าที่ตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไร?
   เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงานบัญชียุคพัฒนา
   กรมสรรพากรให้บริการไอที Web Services ถึง 8 รายการ
   การแจ้งเปลี่ยนแปลงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
   สิทธิตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   ใครบ้าง ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 1
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 2
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 3
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 4
   ราชการใสสะอาด - วินัย/จรรยาบรรณ
   ดีเอสไอ. จับหนุ่มโกงภาษี
   บทความที่น่าสนใจจาก เว็บนักบัญชี.คอม
   แผนที่ชีวิตของคุณ?
   ถนอมสุขภาพตาอย่างไร เมื่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ
   เลือกซอฟท์แวร์อย่างไร สำหรับ SMEs
   การเสียเบี้ยปรับ ในกรณียื่นแบบ ภพ.30 เอง
   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั่วโลก
   การจัดตั้งคณะบุคคลทำอย่างไรบ้าง?
   การวางแผนภาษี เลือกจัดตั้งองค์กรธุรกิจ อย่างไรจึงเหมาะสม
   ค่าจดทะเบียนพาณิชย์, ห้างหุ้นส่วน และ บริษัทจำกัด
   ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ทางอินเตอร์เน็ต
   คำเตือนในการนำส่งงบการเงินประจำปีของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
   กรณีศึกษา - หมึกแดงกับการวางระบบบัญชีที่ตรวจสอบได้
   การขอเพิ่มสิทธิ์การติดตั้งโปรแกรม EASY_ACC
   คำแนะนำการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ สำหรับการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษจากกรมสรรพากร
   พรบ.การบัญชี 2543 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี
   การหักภาษี ณ ที่จ่าย
   เลขทะเบียนนิติบุคคลใหม่ 13 หลัก
   กลยุทธ์การป้องกันการถูกยึดกิจการ
   5 สัญญาณเตือนไทย ระวังการควบรวมกิจการ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการคัดสำเนาหนังสือรับรองผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
   สัมมนาหลักสูตรพื้นฐานสำหรับพัฒนาสำนักงานบัญชี ปี 2549
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2549 (ฟรี)
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดอบรมการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการ
   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เปลี่ยนแปลงเมื่อไร?
   เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
   การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามประมวลรัษฎากร
   อบรมเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2549
   การบริหารร้านค้าปลีกแบบมืออาชีพ
   การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
   การทำความเข้าใจกับลูกค้า
   คำอธิบายระหว่าง RMF. และ LTF.
   RMF. & LTF. (2)
   RMF. & LTF. (3)
   RMF. & LTF. (4)
   RMF. & LTF. (5)
   RMF. & LTF. (6)
   กลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นสรรพากรเรียกรับผลประโยชน์ในทางมิชอบ
   แบบสอบถามความเห็น การปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน
   เปิดเว็บไซต์ ฟรี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   5 อุปนิสัยในการประมวลผลที่ดี
   กิจวัตรประจำวัน และ จำนวนวันที่มีในชีวิตของคนเรา
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (1)
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (2)
   ปรับตัว/เตรียมใจอย่างไร? หากเกิดการเลย์ออฟ
   จดแล้วไม่จนจริงหรือ?
   สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
   โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
   หน่วยงานที่ให้บริการแก่ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง SME
   เตือนให้ส่งงบการเงินปี 2548 ภายใน 31 พฤษภาคม 2549
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้ กรณีขายบัตรเงินสด
   คำถาม-ตอบในการสัมมนา "การยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต"
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
   กรมสรรพากรจัดสัมมนาภาษีอากร ฟรี
   การตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดใช้งานไม่ได้
   กรณี - ความผิดการใช้ใบกำกับภาษีปลอม และพิสูจน์ผู้รับเงินไม่ได้
   อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินปี 2554 ล่าช้า (เริ่มใช้ เมษายน 2555)
   อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ใช้ทั่วประเทศ - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กรณีย้ายสถานประกอบการ ใบกำกับภาษีฉบับเดิมยังใช้ได้หรือไม่
   กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการแล้ว ผู้ขายไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ จะทำอย่างไร?
   วางแผนภาษีกับ การลงทุนใน RMF. & LTF.
   การวางแผนภาษี นั้นสำคัญไฉน??
   คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
   การอัพเกรด Easy_Acc for Windows
   ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
   ประเด็นความผิดเกี่ยวกับใบกำกับภาษี ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ร่าง พรบ.ของแถมของรางวัล
   สปส. ประกาศกฎกระทรวง เพิ่มคุ้มครอง 6 โรคเรื้อรัง
   ผู้ประกันตน ตาม ม.39 สิ้นสภาพ อย่าลืมรับเงินออม
   สิทธิและหน้าที่ที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ควรรู้
   ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย - น้องเดียว
   กรณีศึกษา - ภาษีน่ารู้
   เคล็ดลับหาเงินทุน บุกเบิกธุรกิจด้วยตนเอง
   ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีแล้ว (ภงด.94/49)
   ให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต
   การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
   กรณีศึกษา - การส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนกัน
   กรณีศีกษา - รายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วไม่จด ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
   กรณีศึกษา - นายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันให้พนักงาน
   ดับค้าปลีกต่างชาติในเยอรมัน-เกาหลี
   เสียภาษีอย่างไรให้ประหยัด
   เทคนิคการเลือก "กองทุน"
   บริษัท/ห้างฯ ที่จดทะเบียนใหม่จะต้องทำอะไรบ้าง?
   การเลือกซื้อกองทุน LTF
   การทำกิจการ "ค้าของเก่า"
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2550 (ฟรี)
   รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรทั้งหมด และที่ถูกพักใบอนุญาต
   เกณฑ์การรับรู้รายได้ รายจ่ายทางภาษีอากร (เกณฑ์สิทธิ) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550
   ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้
   SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร?
   สิทธิของผู้ประกันตน กรณีว่างงาน
   ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องทำบัญชีหรือแสดงรายได้เพื่อเสียภาษีอย่างไร?
   หลากกฎเตือนใจช่วยประหยัด-ฉลาดจ่าย
   กลยุทธ์ปั้นธุรกิจสู่เส้นชัย จาก 5 บริษัทชั้นนำระดับโลก
   กานต์ ตระกูลฮุน บ่มภาวะผู้นำ "คนปูน"
   ขอคืนภาษี โดยไม่สุจริต ระวังติดคุก?
   ข้อแตกต่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท ปี 2538 กับ 2549
   หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ
   ปรัชญานายห้างเทียม
   คดีภาษีขึ้นศาลภาษีอากรกลาง เพิ่มขึ้น 100%
   ภาษีมรดกในประเทศไทย
   ค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตรตามกฎหมายภาษีไทย
   ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 และ 94
   วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภงด.50 และ ภงด.51
   วางแผนการเงินให้ครอบครัวเภสัชกร
   ช่วยผู้บริหารสานสัมพันธ์ ผูกมิตรกับพนักงานระดับล่าง
   เงินได้ของแพทย์เสียภาษีอย่างไร?
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนให้ยื่นงบการเงินปี 2549 ภายใน 1 มิถุนายน 2550
   เมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัท/ห้างฯ แล้ว จะต้องชำระบัญชีเมื่อไร?
   ก่อนเริ่มต้น ทำพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์
   ข้อชี้แนะในการเลือกนักบัญชี (สำนักงานบัญชี)
   กรณีขายน้ำผลไม้สดคั้น
   ปฏิวัติ พ่อแม่
   The Future of Accounting
   สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
   อยากให้ลูกเรียนกฎหมาย
   การลงทุนในเวียตนาม
   ถึงเวลาแล้ว ต้องยื่น ภงด.50 รอบปีบัญชี 2550 แล้ว
   สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของผู้ส่งออกที่ดี
   ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี
   พิธีการศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกสินค้ากับพม่า
   สรรพากรจะให้ร้านค้าใช้เครื่องเก็บเงินในปีหน้า
   ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% ใช้ถึง 30 กันยายน 2551
   สรรพากรเอาผิดผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือขอคืนภาษีเป็นเท็จ
   ระวัง มิจฉาชีพ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรทางโทรศัพท์
   ลูกจ้างควรวางแผนภาษีเงินได้อย่างไร
   คำถามยอดนิยมจากเว็ปกรมสรรพากร
   สวนดุสิตโพลล์ชี้ผลวิจัยล่าสุด บัญชี แพทย์ บริหาร คอมฯ วิศวะ ครองแชมป์ได้งานสูง
   ถอนทะเบียนบริษัทร้าง 4,216 ราย
   สัมมนา "เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสำนักงานบัญชี
   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ.2550
   เตือนผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินประจำปี 2550
   มาตรการภาษี กระตุ้นเศรษฐกิจใช้บังคับปีภาษี 2551
   รายงานที่ต้องจัดทำในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ระเบียบใหม่ - การจัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
   การเสียภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใหม่
   จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ภายในวันเดียว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2551
   กฎหมายใหม่สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มใช้ 1 มกราคม 2551
   สรุปประเด็นข้อผิดพลาดในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
   ฏีกาภาษี ประเด็นมาตรา 40 (2) หรือ 40 (8)
   เงินได้นอกจากเงินเดือน ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 48 (2)
   ด่วน.... สัมนาภาษีอากร ฟรี กับกรมสรรพากร
   ภาษีที่เกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์
   ภาษีที่ดิน
   การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 6 เดือน
   สรรพากรไล่บี้สำนักงานบัญชี และผู้ประกอบการที่เลี่ยงภาษี
   เป้าเก็บภาษีปี 2553 - กรมสรรพากร
   กรมสรรพากร - เตือนผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
   การวิเคราะห์ภาระภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และการขยายฐานภาษี
   งบการเงิน ใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2553
   มีอะไรใหม่ ในการยื่นชำระภาษีปี 2552 (ภงด.90 / 91)
   หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ.2553 - ใหม่
   ข้อบกพร่องในการรับงบการเงิน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สัมมนาฟรี เรื่อง "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   ขยายเวลา การยื่นงบการเงิน ปี 2552 (3 เขต ใน กทม.)
   กรณีการเสียภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเงินได้ภรรยา ยื่นรวมกับสามี
   สัมมนาฟรี "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   สัมมนาฟรี "ฝ่าวิกฤต พิชิตปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคล"
   คัดสำเนาหนังสือรับรอง, เอกสารการจดทะเบียน และงบการเงินทาง e_Service
   การทำธุรกรรมทางออนไลน์ เสียภาษีหรือไม่?
   สำนักงานบัญชี ที่ต้องวางหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม 3%
   "สมคิด" เสนอปฏิรูปการคลัง ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
   สัมมนาฟรี "ลด แลก แจก แถม อย่างไร สบายใจ เรื่องภาษี"
   สรรพากรรื้อใหญ่ขยายฐานรายได้ ไม่เน้นขึ้นภาษี หันเก็บทั่วถึง-เป็นธรรม
   สรรพากรประกาศนโยบาย BIG CHANGE ตั้งเป้าปี54 เก็บภาษี 1.3 ล้านล้าน
   บริหารภาษีอย่างถูกวิธี - น่าสนใจ จริง ๆ
   ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
   ข้อควรทราบเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง?
   มาตราการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
   คลังลุยรื้อภาษีมุ่งลดเหลื่อมล้ำ
   โค้งสุดท้าย ซื้อ RMF/LTF ประหยัดภาษีปี 2553
   ชง ครม. เรียกเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา รัฐได้เพิ่ม 4,000 ล้านบาท
   การจัดทำบัญชีอย่างง่าย ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กำไรจากการขาย LTF
   สรรพากรเตือนผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภงด.90/91
   ประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงินของกรมสรรพากร
   เตรียมลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เริ่ม 1 มค.2555
   กรมสรรพากร - คู่มือประชาชน
   แนวปฏิบัติของผู้เสียภาษ๊ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย 2554
   บริการ 3 กรมภาษี กระทรวงการคลัง
   กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554
   ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน จาก 5% เหลือ 3% และ 4%
   ผู้หญิงเฮ ! แยกยื่นเสียภาษีกับสามี จ่ายน้อยลง ผลงานโบว์แดงผู้ตรวจการแผ่นดิน ???
   1 กุมภาพันธ์ 2555 เริ่มใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก
   ขอหนังสือรับรองจดทะเบียนหุ้นส่วน/บริษัท ผ่านธนาคาร ได้แล้ว
   กรณีกรมสรรพากรให้หักค่าลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถเนื่องจากน้ำท่วม ปี 2554
   กรมสรรพากร ให้ยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต มากขึ้น
   ค่าจ้างแรงงานต่อวัน เริ่มใช้ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
   ผู้หญิงมีสามีเฮ! ศาลรธน.ตัดสินกม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว
   ข่าวกรมสรรพากรที่น่ารู้
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีสามี-ภรรยา แยกกันยื่นแบบทุกภาษี เริ่มปีภาษี 2555 เป็นต้นไป
   การยื่นแบบแสดงรายการภาษี และยื่นแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย ตามประกาศของ ป.ป.ช. เริ่ม 1 เมษายน 2555
   ระเบียบใหม่ การจัดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด เริ่มใช้ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีเงินได้ กรณีสามีภรรยา (ฉบับใหม่) เริ่มใช้ 14 มกราคม 2556
   ขยายเวลาการใช้เลขภาษี 10 หลัก ถึง 31.7.2556
   คำแนะนำในการยื่นบัญชีแสดงรายรับ-รายจ่ายของโครงการ ตาม (บช.1)
   สิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2556 .....ใหม่ล่าสุด
   เพิ่มข้อความ "เลขภาษี 13หลัก" และ "สาขาที่ออกใบกำกับภาษี" ลงในใบกำกับภาษีขาย และใบกำกับภาษีซื้อ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2557
   สัมมนา ฟรี กับสรรพากร (ครึ่งวัน ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556 จำนวน 4 รอบ)
   ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่..... มาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฯ เริ่มใช้ 1 มค.2556
   การลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556
   ข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ที่จะเริ่มใช้ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
   สามีภรรยาร่วมกันทำการค้าถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT
   หลักเกณฑ์การประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
   หสม. หรือ คณะบุคคล ตามกฎหมายใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2558
   ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบทางออนไลน์ของกรมสรรพากรไปถึง มค.2560
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
สำนักงานบัญชี
1. ให้บริการวางระบบบัญชีของธุรกิจ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี&lt;br&gt;<br>

2. ให้บริการจัดทำบัญชี และรายงานผลการดำเนินธุรกิจเป็นรายเดือน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี EASY_ACC&lt;br&gt;<br>

3. ให้บริการและให้คำแนะนำในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี <br>

ได้แก่ ภพ.30 ภงด.1,3,53,50,51,90,91,94 ทางอินเทอร์เน็ต ให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลารอและการเดินทางของพนักงานสำหรับการยื่นแบบและชำระภาษี &lt;br&gt;<br>

4. ให้บริการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯ ก่อนการ เข้าตรวจสอบของเจ้าพนักงาน&lt;br&gt;<br>

5. จัดทำบัญชีและส่งมอบเอกสารบัญชี, สมุดบัญชีให้ผู้ประกอบการเก็บไว้ตาม พรบ.การบัญชี &lt;br&gt;<br>

สอบถามได้ที่ 077-811694, แฟ็กซ์ 077-813156หรือ E_mail :<a href=mailto:info@teinpun.com>info@teinpun.com</a>; &amp;:<a href=mailto:teinpun@yahoo.com>teinpun@yahoo.com</a>;
 

Online: 002
Visitors : 78415

ภาษีที่ดิน

รัฐบาลถังแตกรีดรายได้ภาษีที่ดิน

วันอังคาร ที่ 21 กรกฎาคม 2552 เวลา 8:01 น

Bookmark and Share

'กรณ์'ดัน ก.ม.ฝ่ามรสุมการเมือง 
              
ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลให้รัฐบาลไม่สามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมาย ดังนั้นการหยิบยกประเด็นเรื่องมาตรการภาษี เพื่อมารีดรายได้เพิ่มจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะที่ผ่านมาทุกรัฐบาลก็ดำเนินการเช่นนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ยกร่างกฎหมายมาหลายครั้งหลายครา แต่ไม่เคยสามารถฝ่าด่านมรสุมทางการเมืองได้สำเร็จ จนมาถึงวันนี้ วันที่ขุนคลังคนปัจจุบัน “กรณ์ จาติกวณิช” ได้บัญชาการให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) นำขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง
   
ส่วนความคืบหน้าจะมีมากน้อยเพียงใด “เดลินิวส์” ขอถ่ายทอดจากผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง อย่าง “สมชัย สัจจพงษ์” ผู้อำนวยการ สศค. เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป
   
ถาม:ความคืบหน้าของการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ
   
ตอบ:สศค. อยู่ระหว่างจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความ คิดเห็นจากประชาชนในทุกพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการแล้วในหลายพื้นที่ ทั้ง สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่ ขอนแก่น อุบลราชธานี เชียงใหม่ และในสัปดาห์หน้าจะไปจัดประชาพิจารณ์ที่ชลบุรี คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.นี้ เพื่อให้ รมว.คลัง ขอความเห็นจาก ครม. ภายในเดือน ส.ค. ก่อนเสนอให้ที่สภาลงความเห็นได้ภายในเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 53 ปัจจุบันได้ส่งร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ในภาพรวมให้นายกรณ์ แล้ว รอเพียงแค่การตัดสินใจเท่านั้น ระหว่างนี้ สศค. จะนำข้อมูลที่ได้รับมาปรับปรุงร่างกฎหมายต่อไป
   
ถาม:ประชาชนยังกังวลหรือเห็นด้วยอย่างไร
   
ตอบ:การจัดประชาพิจารณ์แต่ละครั้ง ได้รับการตอบรับจากประชาชนดีมาก และยังเข้าใจถึงการสนับสนุนให้ภาษีที่ดินฯ เกิดขึ้น และคำถามยอดฮิตที่ได้รับ คือ ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นหรือไม่ และต้องทำอย่างไรเพื่อบริหารจัดการที่ดินของตนเอง ผู้ที่มีที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะเสียภาษีมากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ รัฐจะเริ่มเก็บภาษีเมื่อใด และอัตราเท่าใด พ.ร.ก.ภาษีที่ดินฯ นั้น ดีจริงหรือไม่ เป็นต้น
   
ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของ สศค. ที่ต้องอธิบายถึงข้อดีและข้อเสียของ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ให้ประชาชนรับทราบว่า ปัจจุบันนี้ประชาชนทั่วประเทศกว่า 90% ถือครองที่ดินโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 1 ไร่ ขณะที่ประชาชนเพียง 10% เท่านั้น ที่ถือครองที่ดินมากกว่า 100 ไร่ขึ้นไป ซึ่งนี่คือความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้น เป็นตัวชี้ให้เห็นว่าการถือครองที่ดินในประเทศไทยยังลักลั่นอยู่ และรัฐบาลไม่มีกลไกใด ๆ ที่จะแก้ปัญหานี้ อีกทั้งในสัดส่วน 10% นี้ มีถึง 75% ที่ถือครองที่ดินโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด เป็นเพียงการซื้อที่ดินเปล่าทิ้งไว้เพื่อเก็งกำไร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการไม่มีระบบภาษีมาดูแลการกระจายการถือครองที่ดิน เพื่อส่งเสริมให้ใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ
   
ขณะเดียวกันรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะมาจากการจัดเก็บเองประมาณ 10% หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท เท่านั้น โดยมาจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับภาษีบำรุงท้องที่ ส่วนที่เหลืออีก 90% มาจากการจัดสรรเงินรายได้จากรัฐบาลกลาง เมื่อเทียบกับประเทศอื่น เช่น นิวซีแลนด์ อปท. ของเขาสามารถจัดเก็บรายได้เองได้ถึง 90% หรือที่มาเลเซีย จัดเก็บรายได้เอง 85% ขณะที่ อปท. ของไทย จัดเก็บรายได้เองได้น้อยมาก แสดงให้เห็นว่าต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ทำให้ประชาชนไม่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ขณะที่ท้องถิ่นก็ไม่มีอิสระในการบริหารจัดการตนเองให้เข้มแข็ง
   
ถาม:ข้อดี ข้อเสียของภาษีที่ดินฯ เป็นอย่างไรบ้าง
   
ตอบ:ภาษีที่ อปท. จัดเก็บเองมีเพียง 2 รายการคือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งมีข้อบกพร่องมาก และต้องยกเลิกไปเมื่อมี พ.ร.บ.ภาษีที่ดินมาใช้แทน โดยภาษีโรงเรือนฯ มีข้อเสียคือ ข้อแรกฐานภาษีนั้นจะคิดจากค่าเช่า ดังนั้นจึงไม่ใช่ภาษีทรัพย์สินที่แท้จริง เพราะไม่ทราบถึงมูลค่าทรัพย์สินนั้น ๆ เช่น นาย ก มีบ้าน 2 หลัง หลังแรกอยู่เองไม่ต้องเสียภาษี แต่หลังที่ 2 ปล่อยให้เช่า ก็ไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน เพราะนาย ก ผลักภาระให้ผู้เช่า เท่ากับว่าคนจนต้องจ่ายมากกว่าคนรวยอยู่ดี ถัดมาอัตราภาษีที่สูงถึง 12.5% และมีช่องโหว่ทางกฎหมาย เช่น นาย ข ใช้บ้านที่อยู่อาศัยเปิดเป็นร้านโชห่วยด้วย ถามว่าต้องเสียภาษีที่ดินหรือไม่ คำตอบก็คือ เสีย โดยในส่วนของที่อยู่อาศัยเองไม่เสีย แต่ส่วนที่เป็นร้านโชห่วย ต้องเสีย ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมาประเมินราคาให้ หากรู้จักกับนาย ข อาจประเมินราคาภาษีให้ต่ำ หากไม่รู้จักอาจประเมินราคาสูง
   
ส่วนภาษีบำรุงท้องที่นั้น นับได้ว่าใกล้จะเป็นกฎหมายภาษีที่ดินที่ดีที่สุด เพียงแต่ว่าฐานภาษีที่ใช้ประเมินราคาที่ดินนั้น ใช้มาตั้งแต่ปี 2524 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง อีกทั้งที่ดินราคาแพงกลับเสียภาษีถูก แต่ที่ดินราคาถูกกลับต้องเสียภาษีแพง ซึ่งไม่ทราบว่าใครคิดกฎหมายตัวนี้ออกมา คือมูลค่าที่ดินราคาตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป เสียภาษีเพียง 0.25% แต่ราคาต่ำกว่า 30,000 บาท ลงมา เสียภาษีถึง 0.5% โดยไม่มีข้อยกเว้น
   
ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ แต่ถ้ามีที่ดินไม่ถึง 50 ตารางเมตร ในกรุงเทพฯ และไม่เกิน 5 ไร่ ในต่างจังหวัด ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี เท่ากับว่าได้รับการยกเว้น
   
ดังนั้น การมีภาษีที่ดินฉบับใหม่ต้องดีกว่าฉบับเดิม และต้องมีแนวทางที่ถูกต้องคือ ภาษีที่ดินต้องมาจากการใช้ราคาที่ดินที่ประเมินในปัจจุบัน และราคาสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบัน เพราะชัดเจนและยุติธรรมที่สุด ล่าสุดกรมธนารักษ์กำลังจัดทำราคาประเมินที่ดิน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงทุก 4 ปี โดยไทยมีที่ดินทั้งประเทศ 30 ล้านแปลง ประเมินไปแล้ว 5 ล้านแปลง ยังเหลืออีก 25 ล้านแปลง ที่ต้องเร่งประเมินให้แล้วเสร็จก่อนปี 2555 ส่วนกรมที่ดินต้องจัดทำแผนที่ดิจิทัลพร้อมราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างรายแปลงทั่วประเทศภายในปีนี้
   
เท่ากับว่าภาษีที่ดินฉบับใหม่นี้ ทุกคนจะเสียภาษีที่ดินเหมือนกันหมด โดยมีฐานภาษีที่มีอัตราต่างกันไปตามขนาดและมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขณะที่อัตราภาษีจะกำหนดเพดานไว้ตามการใช้ที่ดิน คือ ในเชิงพาณิชย์กำหนดเพดานไว้ที่ 0.5% ของมูลค่า โดยจะมีคณะกรรมการกลางที่พิจารณาจัดเก็บอัตราภาษีที่ชัดเจน และจะปรับทุก ๆ 4 ปี เช่น เชิงพาณิชย์อาจคิด 0.2% ส่วนที่อยู่อาศัยเองอาจคิดน้อยกว่า 0.1% ส่วนที่ดินทำการเกษตรกรรม อาจกำหนดเพดานน้อยกว่า 0.05% แต่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า จะกำหนดอัตราสูงที่สุด และสูงกว่าอัตราเชิงพาณิชย์ด้วย เช่น หากกำหนดอัตราภาษีในเชิงพาณิชย์ไว้ที่ 0.4% จะต้องเก็บที่ดินเปล่า 0.45-0.5% เป็นต้น และหากยังคงปล่อยที่รกร้างว่างเปล่าทิ้งไว้อีก 3 ปี ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว แต่จะไม่เกิน 2% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
   
ส่วนข้อดีที่ยังคงอยู่คือ อปท. จะเป็นผู้จัดเก็บภาษีที่ดินเองโดยไม่ต้องส่งเข้างบประมาณส่วนกลาง และบริหารจัดการเงินดังกล่าวเพื่อใช้พัฒนาพื้นที่ของตนเองได้ทันที ซึ่งทำให้มีความสามารถจัดเก็บจากปัจจุบันที่ 10% เพิ่มเป็น 70-80% ได้ โดยอย่างน้อยที่สุดจะเก็บภาษีเพิ่มจาก 20,000 ล้านบาท เป็น 40,000 ล้านบาท ขึ้นไปในช่วง 2 ปีแรก และหากเก็บเต็มเพดานจะได้กว่า 90,000 ล้านบาท ทีเดียว

ถาม:กฎหมายภาษีที่ดินฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อใด
   
ตอบ:กระทรวงการคลังวางกำหนดการไว้ว่ากฎหมายภาษี ที่ดินจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 53 เป็นต้นไป แต่กำหนดช่วงเวลาให้ประชาชนปรับตัวก่อน 2 ปีแรก เท่ากับว่าจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2555 เป็นต้นไป แต่ 3 ปีแรกที่เริ่มบังคับใช้นั้น จะให้อปท.ทุกแห่งใช้กฎหมายแบบขั้นบันได คือ ในปีแรกจะเก็บภาษีเพียง 50% ปีที่ 2 จัดเก็บเพิ่มเป็น 75% และปีที่ 3 เป็นต้นไป จึงจะเก็บภาษีเต็ม 100% เท่ากับว่าใช้เวลานานถึง 5 ปี อปท. ถึงจะได้เงินจากภาษีที่ดินแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย
   
ส่วนคนจนจะไม่เก็บภาษี ด้วยการกำหนดเกณฑ์ว่าต้องมีที่ดินถือครองเท่าใด จึงไม่ต้องเสียภาษี แต่ขณะนี้ยังไม่สรุปตัวเลข แต่ผู้สูงอายุหรือคนชราไม่ยกเว้นให้ เพราะเกรงว่าอาจมีช่องโหว่ทางกฎหมาย ที่ลูกหลานจะให้เป็นชื่อของผู้สูงอายุแทน เพื่อเลี่ยงไม่จ่ายภาษี ขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมนั้นจะคิดอีกอัตราหนึ่ง และหากมีมูลค่าไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี จึงแสดงให้เห็นว่า กฎหมายภาษีที่ดินนี้ หากมีผลบังคับใช้แล้วจะมีผลทำให้ทุกคนให้ความสำคัญกับท้องถิ่นของตัวเอง เพราะเงินที่เก็บไป อปท. ต้องบริหารจัดการเอง ขณะเดียวกันผู้ที่มีที่ดินว่างเปล่าที่ซื้อเก็บไว้เพื่อเก็งกำไร ต้องกลับไปคิดใหม่ เพราะหากเก็บไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ถึง 80% จะต้องเสียภาษีแพงมาก ช่วยลดปัญหาการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ลงได้พอสมควร
   
ต้องจับตาดูว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์จะฝ่าด่านการเมืองครั้งสำคัญนี้ จนสามารถผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้ลุล่วง มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายได้มากน้อยเพียงใด และจากนี้ไปใครที่มีที่ดินจำนวนมาก และไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่แล้ว คงต้องคิดให้หนักว่าคุ้มค่าหรือไม่ที่จะถือครองไว้.


Page 1/1
1
Copyright © 2005 www.teinpun.com Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com