Home | Service | News | เว็บบัญชี ที่น่าสนใจ | สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน | Easy_acc for Windows | Link Ranong | แบบจำลองการเริ่มต้นธุรกิจ SME | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มิถุนายน 2551 | การหักภาษี ณ ที่จ่าย | สำนักงานประกันสังคม | การยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ต | รู้เรื่องภาษี | รวมแบบฟอร์ม หนังสือสัญญาต่าง ๆ บริการฟรี | ศัพท์บัญชี | การยื่นงบการเงิน | สัมมนาที่น่าสนใจ ปี 2549 จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | บิซิเนสไทย | ถาม-ตอบ เกี่ยวกับภาษีอากร จากกรมสรรพากร | ถาม-ตอบ ยื่นแบบ/ชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต | ข้อหารือภาษีอากร จากกรมสรรพากร | เกร็ดความรู้ทางธุรกิจ | การจำหน่ายหนี้สูญที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม | เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี | วางแผนการเงิน 6 แผนการเงินที่ควรทำ


Category
   ความเป็นมา
   แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากร พ.ศ.2548-2551
   หน้าที่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
   สมุดบัญชีที่ผู้ทำบัญชี ต้องจัดทำ ตาม พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
   เอกสารที่ต้องนำส่งเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   ข้อควรระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
   ข้อควรปฏิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้
   สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป
   สำนักงานบัญชีไทย V.S. ยุโรป,อเมริกา
   เตรียมรับมือสรรพากรอย่างไร?
   การยกเลิกใบกำกับภาษี แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร?
   การออกใบแทนใบกำกับภาษี ฉบับที่สูญหาย ทำอย่างไร?
   หน้าที่ตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไร?
   เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงานบัญชียุคพัฒนา
   กรมสรรพากรให้บริการไอที Web Services ถึง 8 รายการ
   การแจ้งเปลี่ยนแปลงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
   สิทธิตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   ใครบ้าง ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 1
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 2
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 3
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 4
   ราชการใสสะอาด - วินัย/จรรยาบรรณ
   ดีเอสไอ. จับหนุ่มโกงภาษี
   บทความที่น่าสนใจจาก เว็บนักบัญชี.คอม
   แผนที่ชีวิตของคุณ?
   ถนอมสุขภาพตาอย่างไร เมื่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ
   เลือกซอฟท์แวร์อย่างไร สำหรับ SMEs
   การเสียเบี้ยปรับ ในกรณียื่นแบบ ภพ.30 เอง
   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั่วโลก
   การจัดตั้งคณะบุคคลทำอย่างไรบ้าง?
   การวางแผนภาษี เลือกจัดตั้งองค์กรธุรกิจ อย่างไรจึงเหมาะสม
   ค่าจดทะเบียนพาณิชย์, ห้างหุ้นส่วน และ บริษัทจำกัด
   ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ทางอินเตอร์เน็ต
   คำเตือนในการนำส่งงบการเงินประจำปีของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
   กรณีศึกษา - หมึกแดงกับการวางระบบบัญชีที่ตรวจสอบได้
   การขอเพิ่มสิทธิ์การติดตั้งโปรแกรม EASY_ACC
   คำแนะนำการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ สำหรับการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษจากกรมสรรพากร
   พรบ.การบัญชี 2543 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี
   การหักภาษี ณ ที่จ่าย
   เลขทะเบียนนิติบุคคลใหม่ 13 หลัก
   กลยุทธ์การป้องกันการถูกยึดกิจการ
   5 สัญญาณเตือนไทย ระวังการควบรวมกิจการ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการคัดสำเนาหนังสือรับรองผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
   สัมมนาหลักสูตรพื้นฐานสำหรับพัฒนาสำนักงานบัญชี ปี 2549
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2549 (ฟรี)
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดอบรมการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการ
   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เปลี่ยนแปลงเมื่อไร?
   เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
   การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามประมวลรัษฎากร
   อบรมเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2549
   การบริหารร้านค้าปลีกแบบมืออาชีพ
   การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
   การทำความเข้าใจกับลูกค้า
   คำอธิบายระหว่าง RMF. และ LTF.
   RMF. & LTF. (2)
   RMF. & LTF. (3)
   RMF. & LTF. (4)
   RMF. & LTF. (5)
   RMF. & LTF. (6)
   กลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นสรรพากรเรียกรับผลประโยชน์ในทางมิชอบ
   แบบสอบถามความเห็น การปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน
   เปิดเว็บไซต์ ฟรี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   5 อุปนิสัยในการประมวลผลที่ดี
   กิจวัตรประจำวัน และ จำนวนวันที่มีในชีวิตของคนเรา
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (1)
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (2)
   ปรับตัว/เตรียมใจอย่างไร? หากเกิดการเลย์ออฟ
   จดแล้วไม่จนจริงหรือ?
   สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
   โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
   หน่วยงานที่ให้บริการแก่ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง SME
   เตือนให้ส่งงบการเงินปี 2548 ภายใน 31 พฤษภาคม 2549
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้ กรณีขายบัตรเงินสด
   คำถาม-ตอบในการสัมมนา "การยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต"
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
   กรมสรรพากรจัดสัมมนาภาษีอากร ฟรี
   การตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดใช้งานไม่ได้
   กรณี - ความผิดการใช้ใบกำกับภาษีปลอม และพิสูจน์ผู้รับเงินไม่ได้
   อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินปี 2554 ล่าช้า (เริ่มใช้ เมษายน 2555)
   อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ใช้ทั่วประเทศ - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กรณีย้ายสถานประกอบการ ใบกำกับภาษีฉบับเดิมยังใช้ได้หรือไม่
   กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการแล้ว ผู้ขายไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ จะทำอย่างไร?
   วางแผนภาษีกับ การลงทุนใน RMF. & LTF.
   การวางแผนภาษี นั้นสำคัญไฉน??
   คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
   การอัพเกรด Easy_Acc for Windows
   ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
   ประเด็นความผิดเกี่ยวกับใบกำกับภาษี ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ร่าง พรบ.ของแถมของรางวัล
   สปส. ประกาศกฎกระทรวง เพิ่มคุ้มครอง 6 โรคเรื้อรัง
   ผู้ประกันตน ตาม ม.39 สิ้นสภาพ อย่าลืมรับเงินออม
   สิทธิและหน้าที่ที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ควรรู้
   ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย - น้องเดียว
   กรณีศึกษา - ภาษีน่ารู้
   เคล็ดลับหาเงินทุน บุกเบิกธุรกิจด้วยตนเอง
   ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีแล้ว (ภงด.94/49)
   ให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต
   การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
   กรณีศึกษา - การส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนกัน
   กรณีศีกษา - รายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วไม่จด ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
   กรณีศึกษา - นายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันให้พนักงาน
   ดับค้าปลีกต่างชาติในเยอรมัน-เกาหลี
   เสียภาษีอย่างไรให้ประหยัด
   เทคนิคการเลือก "กองทุน"
   บริษัท/ห้างฯ ที่จดทะเบียนใหม่จะต้องทำอะไรบ้าง?
   การเลือกซื้อกองทุน LTF
   การทำกิจการ "ค้าของเก่า"
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2550 (ฟรี)
   รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรทั้งหมด และที่ถูกพักใบอนุญาต
   เกณฑ์การรับรู้รายได้ รายจ่ายทางภาษีอากร (เกณฑ์สิทธิ) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550
   ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้
   SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร?
   สิทธิของผู้ประกันตน กรณีว่างงาน
   ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องทำบัญชีหรือแสดงรายได้เพื่อเสียภาษีอย่างไร?
   หลากกฎเตือนใจช่วยประหยัด-ฉลาดจ่าย
   กลยุทธ์ปั้นธุรกิจสู่เส้นชัย จาก 5 บริษัทชั้นนำระดับโลก
   กานต์ ตระกูลฮุน บ่มภาวะผู้นำ "คนปูน"
   ขอคืนภาษี โดยไม่สุจริต ระวังติดคุก?
   ข้อแตกต่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท ปี 2538 กับ 2549
   หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ
   ปรัชญานายห้างเทียม
   คดีภาษีขึ้นศาลภาษีอากรกลาง เพิ่มขึ้น 100%
   ภาษีมรดกในประเทศไทย
   ค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตรตามกฎหมายภาษีไทย
   ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 และ 94
   วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภงด.50 และ ภงด.51
   วางแผนการเงินให้ครอบครัวเภสัชกร
   ช่วยผู้บริหารสานสัมพันธ์ ผูกมิตรกับพนักงานระดับล่าง
   เงินได้ของแพทย์เสียภาษีอย่างไร?
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนให้ยื่นงบการเงินปี 2549 ภายใน 1 มิถุนายน 2550
   เมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัท/ห้างฯ แล้ว จะต้องชำระบัญชีเมื่อไร?
   ก่อนเริ่มต้น ทำพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์
   ข้อชี้แนะในการเลือกนักบัญชี (สำนักงานบัญชี)
   กรณีขายน้ำผลไม้สดคั้น
   ปฏิวัติ พ่อแม่
   The Future of Accounting
   สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
   อยากให้ลูกเรียนกฎหมาย
   การลงทุนในเวียตนาม
   ถึงเวลาแล้ว ต้องยื่น ภงด.50 รอบปีบัญชี 2550 แล้ว
   สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของผู้ส่งออกที่ดี
   ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี
   พิธีการศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกสินค้ากับพม่า
   สรรพากรจะให้ร้านค้าใช้เครื่องเก็บเงินในปีหน้า
   ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% ใช้ถึง 30 กันยายน 2551
   สรรพากรเอาผิดผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือขอคืนภาษีเป็นเท็จ
   ระวัง มิจฉาชีพ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรทางโทรศัพท์
   ลูกจ้างควรวางแผนภาษีเงินได้อย่างไร
   คำถามยอดนิยมจากเว็ปกรมสรรพากร
   สวนดุสิตโพลล์ชี้ผลวิจัยล่าสุด บัญชี แพทย์ บริหาร คอมฯ วิศวะ ครองแชมป์ได้งานสูง
   ถอนทะเบียนบริษัทร้าง 4,216 ราย
   สัมมนา "เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสำนักงานบัญชี
   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ.2550
   เตือนผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินประจำปี 2550
   มาตรการภาษี กระตุ้นเศรษฐกิจใช้บังคับปีภาษี 2551
   รายงานที่ต้องจัดทำในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ระเบียบใหม่ - การจัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
   การเสียภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใหม่
   จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ภายในวันเดียว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2551
   กฎหมายใหม่สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มใช้ 1 มกราคม 2551
   สรุปประเด็นข้อผิดพลาดในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
   ฏีกาภาษี ประเด็นมาตรา 40 (2) หรือ 40 (8)
   เงินได้นอกจากเงินเดือน ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 48 (2)
   ด่วน.... สัมนาภาษีอากร ฟรี กับกรมสรรพากร
   ภาษีที่เกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์
   ภาษีที่ดิน
   การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 6 เดือน
   สรรพากรไล่บี้สำนักงานบัญชี และผู้ประกอบการที่เลี่ยงภาษี
   เป้าเก็บภาษีปี 2553 - กรมสรรพากร
   กรมสรรพากร - เตือนผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
   การวิเคราะห์ภาระภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และการขยายฐานภาษี
   งบการเงิน ใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2553
   มีอะไรใหม่ ในการยื่นชำระภาษีปี 2552 (ภงด.90 / 91)
   หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ.2553 - ใหม่
   ข้อบกพร่องในการรับงบการเงิน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สัมมนาฟรี เรื่อง "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   ขยายเวลา การยื่นงบการเงิน ปี 2552 (3 เขต ใน กทม.)
   กรณีการเสียภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเงินได้ภรรยา ยื่นรวมกับสามี
   สัมมนาฟรี "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   สัมมนาฟรี "ฝ่าวิกฤต พิชิตปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคล"
   คัดสำเนาหนังสือรับรอง, เอกสารการจดทะเบียน และงบการเงินทาง e_Service
   การทำธุรกรรมทางออนไลน์ เสียภาษีหรือไม่?
   สำนักงานบัญชี ที่ต้องวางหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม 3%
   "สมคิด" เสนอปฏิรูปการคลัง ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
   สัมมนาฟรี "ลด แลก แจก แถม อย่างไร สบายใจ เรื่องภาษี"
   สรรพากรรื้อใหญ่ขยายฐานรายได้ ไม่เน้นขึ้นภาษี หันเก็บทั่วถึง-เป็นธรรม
   สรรพากรประกาศนโยบาย BIG CHANGE ตั้งเป้าปี54 เก็บภาษี 1.3 ล้านล้าน
   บริหารภาษีอย่างถูกวิธี - น่าสนใจ จริง ๆ
   ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
   ข้อควรทราบเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง?
   มาตราการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
   คลังลุยรื้อภาษีมุ่งลดเหลื่อมล้ำ
   โค้งสุดท้าย ซื้อ RMF/LTF ประหยัดภาษีปี 2553
   ชง ครม. เรียกเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา รัฐได้เพิ่ม 4,000 ล้านบาท
   การจัดทำบัญชีอย่างง่าย ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กำไรจากการขาย LTF
   สรรพากรเตือนผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภงด.90/91
   ประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงินของกรมสรรพากร
   เตรียมลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เริ่ม 1 มค.2555
   กรมสรรพากร - คู่มือประชาชน
   แนวปฏิบัติของผู้เสียภาษ๊ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย 2554
   บริการ 3 กรมภาษี กระทรวงการคลัง
   กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554
   ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน จาก 5% เหลือ 3% และ 4%
   ผู้หญิงเฮ ! แยกยื่นเสียภาษีกับสามี จ่ายน้อยลง ผลงานโบว์แดงผู้ตรวจการแผ่นดิน ???
   1 กุมภาพันธ์ 2555 เริ่มใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก
   ขอหนังสือรับรองจดทะเบียนหุ้นส่วน/บริษัท ผ่านธนาคาร ได้แล้ว
   กรณีกรมสรรพากรให้หักค่าลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถเนื่องจากน้ำท่วม ปี 2554
   กรมสรรพากร ให้ยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต มากขึ้น
   ค่าจ้างแรงงานต่อวัน เริ่มใช้ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
   ผู้หญิงมีสามีเฮ! ศาลรธน.ตัดสินกม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว
   ข่าวกรมสรรพากรที่น่ารู้
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีสามี-ภรรยา แยกกันยื่นแบบทุกภาษี เริ่มปีภาษี 2555 เป็นต้นไป
   การยื่นแบบแสดงรายการภาษี และยื่นแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย ตามประกาศของ ป.ป.ช. เริ่ม 1 เมษายน 2555
   ระเบียบใหม่ การจัดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด เริ่มใช้ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีเงินได้ กรณีสามีภรรยา (ฉบับใหม่) เริ่มใช้ 14 มกราคม 2556
   ขยายเวลาการใช้เลขภาษี 10 หลัก ถึง 31.7.2556
   คำแนะนำในการยื่นบัญชีแสดงรายรับ-รายจ่ายของโครงการ ตาม (บช.1)
   สิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2556 .....ใหม่ล่าสุด
   เพิ่มข้อความ "เลขภาษี 13หลัก" และ "สาขาที่ออกใบกำกับภาษี" ลงในใบกำกับภาษีขาย และใบกำกับภาษีซื้อ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2557
   สัมมนา ฟรี กับสรรพากร (ครึ่งวัน ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556 จำนวน 4 รอบ)
   ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่..... มาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฯ เริ่มใช้ 1 มค.2556
   การลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556
   ข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ที่จะเริ่มใช้ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
   สามีภรรยาร่วมกันทำการค้าถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT
   หลักเกณฑ์การประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
   หสม. หรือ คณะบุคคล ตามกฎหมายใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2558
   ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบทางออนไลน์ของกรมสรรพากรไปถึง มค.2560
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
สำนักงานบัญชี
1. ให้บริการวางระบบบัญชีของธุรกิจ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี&lt;br&gt;<br>

2. ให้บริการจัดทำบัญชี และรายงานผลการดำเนินธุรกิจเป็นรายเดือน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี EASY_ACC&lt;br&gt;<br>

3. ให้บริการและให้คำแนะนำในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี <br>

ได้แก่ ภพ.30 ภงด.1,3,53,50,51,90,91,94 ทางอินเทอร์เน็ต ให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลารอและการเดินทางของพนักงานสำหรับการยื่นแบบและชำระภาษี &lt;br&gt;<br>

4. ให้บริการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯ ก่อนการ เข้าตรวจสอบของเจ้าพนักงาน&lt;br&gt;<br>

5. จัดทำบัญชีและส่งมอบเอกสารบัญชี, สมุดบัญชีให้ผู้ประกอบการเก็บไว้ตาม พรบ.การบัญชี &lt;br&gt;<br>

สอบถามได้ที่ 077-811694, แฟ็กซ์ 077-813156หรือ E_mail :<a href=mailto:info@teinpun.com>info@teinpun.com</a>; &amp;:<a href=mailto:teinpun@yahoo.com>teinpun@yahoo.com</a>;
 

Online: 001
Visitors : 79213

กรณีการเสียภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น เมื่อเงินได้ของภรรยา ยื่นรวมกับสามี

ชำแหละปัญหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เหตุไฉน ผู้ที่มีคู่สมรส จ่ายแพงกว่าคนโสดเป็นแสน

ปัจจุบัน การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ที่มีคู่สมรส ก่อภาระภาษีของครอบครัวสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ทำให้คู่สามีภรรรยาไม่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แย่กว่านั้น เกิดการหย่าร้าง แยกกันเพื่อผลทางกฎหมาย ล่าสุด "ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม" ผู้เชี่ยวชาญภาษี นำเสนอบทวิเคราะห์และทางออกที่น่าสนใจ

ประเด็นปัญหา     ๑.   ตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๕๗ ตรี และ ๕๗ เบญจ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อสถานะบุคคล กล่าวคือ เมื่อบุคคลที่มีสถานะเป็นโสดทั้งหญิงและชาย ต่างฝ่ายต่างแยกยื่น การคำนวณภาษีจะคำนวณของแต่ละบุคคล แต่เมื่อบุคคลทั้งสองเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว รายได้ที่นอกเหนือจากมาตรา ๔๐ (๑) จะต้องนำไปยื่นรวมกับสามี และทำให้เสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 

 


 ก่อนการสมรส

 


  นาย ก.มีเงินได้จากเงินเดือนรวมทั้งปี ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
   - เงินเดือน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
   - หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ๔๐ % แต่ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท
   - เหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ๙๔๐,๐๐๐ บาท
   - หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว ๓๐,๐๐๐ บาท
   - เหลือเป็นเงินได้สุทธิ ๙๑๐,๐๐๐ บาท
   - เงินได้สุทธิ ๑๕๐,๐๐๐ บาท แรกได้รับการยกเว้นภาษี
    เงินได้สุทธิ ๓๕๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี ๑๐ % = ๓๕,๐๐๐ บาท
    เงินได้สุทธิ ๔๑๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี ๒๐ % = ๘๒,๐๐๐ บาท
    รวมเสียภาษี ๓๕,๐๐๐ + ๘๒,๐๐๐ ๑๑๗,๐๐๐ บาท
  นางสาว ข. มีเงินได้จากการเป็นตัวแทนนายหน้าประกันชีวิต ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
   - ค่านายหน้า ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
   - หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ๔๐ % แต่ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท
   - เหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ๙๔๐,๐๐๐ บาท
   - หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว ๓๐,๐๐๐ บาท
   - เหลือเป็นเงินได้สุทธิ ๙๑๐,๐๐๐ บาท
   - เงินได้สุทธิ ๑๕๐,๐๐๐ บาท แรกได้รับการยกเว้นภาษี
    เงินได้สุทธิ ๓๕๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี ๑๐ % = ๓๕,๐๐๐ บาท
    เงินได้สุทธิ ๔๑๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี ๒๐ % = ๘๒,๐๐๐ บาท
    รวมเสียภาษี ๓๕,๐๐๐ + ๘๒,๐๐๐ ๑๑๗,๐๐๐ บาท
 
 หลังสมรส
    ภาษีของนาย ก.
   - เงินเดือน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
   - หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ๔๐ % แต่ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท
   - เหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ๙๔๐,๐๐๐ บาท
   - ค่านายหน้า ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
   - หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ๔๐ % แต่ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท
   - เหลือค่านายหน้าหลังหักค่าใช้จ่าย ๙๔๐,๐๐๐ บาท
   - รวมเงินเดือนและค่านายหน้าหลังหักค่าใช้จ่าย ๑,๘๘๐,๐๐๐ บาท
   - หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว + ค่าลดหย่อนคู่สมรส ๖๐,๐๐๐ บาท
   - เหลือเป็นเงินได้สุทธิ ๑,๘๒๐,๐๐๐ บาท
   - เงินได้สุทธิ ๑๕๐,๐๐๐ บาท แรกได้รับการยกเว้นภาษี
    เงินได้สุทธิ ๓๕๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี ๑๐ % = ๓๕,๐๐๐ บาท
    เงินได้สุทธิ ๕๐๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี ๒๐ % = ๑๐๐,๐๐๐ บาท
    เงินได้สุทธิ ๘๒๐,๐๐๐ บาท เสียภาษี ๓๐ % = ๒๔๖,๐๐๐ บาท
    รวมเสียภาษี ๓๕,๐๐๐ + ๑๐๐,๐๐๐ + ๒๔๖,๐๐๐ = ๓๘๑,๐๐๐ บาท

 

 

 

 ดังนั้น การสมรสทำให้เสียภาษีเพิ่ม ๓๘๑,๐๐๐ – ๑๑๗,๐๐๐ – ๑๑๗,๐๐๐ = ๑๔๗,๐๐๐ บาท

 

 

 

 ๒. ตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๕๗ ตรี และ ๕๗ เบญจ นำมาสู่ผลกระทบกับการส่งเสริมความสถาบันครอบครัว ทำให้
  - ภาระภาษีของครอบครัวสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น
  - คู่สามีภรรรยาไม่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
  - เกิดการหย่าร้าง แยกกันเพื่อผลทางกฎหมาย
  - คู่สมรสที่มิได้อยู่ร่วมกัน แต่ยังมีการจดทะเบียนสมรส เมื่อฝ่ายชายยื่นภาษีและได้รับเงินคืน กลับไม่คืนให้ภรรยา ซึ่งควรได้รับการคืนเงินภาษีด้วย
  - ตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล, ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัทจำกัด
  
ประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 ๑. ประมวลรัษฎากร     มาตรา ๔๐ เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

 


  (๑) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

 


  (๒)เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว

 


  (๓)ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

 


  (๔)เงินได้ที่เป็น

 


  (ก)  ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม

 


  (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือ ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว

 


  เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน

 


  ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ด้วยโดยอนุโลม

 


  (ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
  (จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน
  (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
  (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
  (๕)เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
   (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน
   (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
   (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

 


   ในกรณี (ก) ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไป ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ และให้ถือว่าจำนวนเงินที่ประเมินนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้ ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน ๒ หมวด ๒ ลักษณะ ๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 


   ในกรณี (ข) และ (ค) ให้ถือว่าเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้วแต่วันทำสัญญาจนถึงวันผิดสัญญาทั้งสิ้น เป็นเงินได้พึงประเมินของปีที่มีการผิดสัญญานั้น

 


  (๖) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

 


  (๗) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

 


  (๘) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (๑) ถึง (๗) แล้ว

 


  เงินค่าภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทใด ไม่ว่าทอดใดหรือในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทและของ ปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่ออกแทนให้นั้น

 

 

 

  มาตรา ๔๐ ทวิ ผู้ใดส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่ หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา ตัวการ ตัวแทน นายจ้างหรือลูกจ้าง ให้ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ส่งไปนั้น

 


  ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สินค้านั้น
  (๑) เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ
  (๒) เป็นของผ่านแดน
  (๓) เป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วส่งกลับออกไปให้ผู้ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
  (๔) เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วส่งกลับคืนเข้ามาให้ผู้ส่งเข้าในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร

 

 

 

  มาตรา ๕๗ ตรี ในการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยานั้น ถ้าสามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แต่ถ้าภาษีค้างชำระและภริยาได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วันแล้ว ให้ภริยาร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย
  ถ้าสามีหรือภริยามีความประสงค์จะยื่นรายการแยกกันก็ให้ทำได้ โดยแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบภายในเวลาซึ่งกำหนดให้ยื่นรายการ แต่การแยกกันยื่นรายการนั้น ไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลงอย่างใด
  ถ้าเห็นสมควร เจ้าพนักงานประเมินอาจแบ่งภาษีออกตามส่วนของเงินได้พึงประเมินที่สามีและภริยาแต่ละฝ่ายได้รับ และแจ้งให้สามีและภริยาเสียภาษีเป็นคนละส่วนก็ได้ แต่ถ้าภาษีส่วนของฝ่ายใดค้างชำระและอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วันแล้ว ให้อีกฝ่ายหนึ่งนั้นร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย

 


  การที่สามีภริยาอยู่ต่างท้องที่กันหรือต่างคนต่างอยู่เป็นครั้งคราวยังคงถือว่าอยู่ร่วมกัน

 

  มาตรา ๕๗ เบญจ ถ้าภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินอื่นด้วยหรือไม่ ภริยาจะแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) โดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีตามมาตรา ๕๗ ตรี ก็ได้
  ในกรณีที่ภริยาแยกยื่นรายการตามวรรคหนึ่ง ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้ดังนี้
  (๑) สำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา ๔๗ (๑) (ก)
  (๒) สำหรับบุตรที่หักลดหย่อนได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๗ (๑) (ค) (ฉ) และ (ฎ) คนละกึ่งหนึ่ง
  (๓) สำหรับเบี้ยประกันตามมาตรา ๔๗ (๑) (ง) วรรคหนึ่ง
  (๔) สำหรับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ตามมาตรา ๔๗ (๑) (ฌ)
  (๕) สำหรับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุน สำรองเลี้ยงชีพ ตามมาตรา ๔๗ (๑) (ช)
  (๖) สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา ๔๗ (๑) (ซ) กึ่งหนึ่ง
  (๗) สำหรับเงินบริจาคส่วนของตนตามมาตรา ๔๗ (๗)
  ในกรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย การหักลดหย่อนตาม (๒) ให้หักได้เฉพาะบุตรที่อยู่ในประเทศไทย
  ถ้าสามีและภริยามีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะตามมาตรา ๔๐ (๑) ประเภทเดียวรวมกันไม่เกินจำนวนตามมาตรา ๕๖ (๔) ไม่ว่าแต่ละฝ่ายจะมีเงินได้เป็นจำนวนเท่าใด สามีและภริยาไม่ต้องยื่นรายการเงินได้พึงประเมิน

 

 ๒. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๔๘/๒๕๔๕
  ประมวลรัษฎากร มาตรา ๕๗ ตรี กำหนดให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและให้สามีมีหน้าที่ยื่นรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแทนภริยานั้น แม้จะกระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลผู้เป็นสามีอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็เป็นไปเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีของรัฐ มิได้กระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพทั้งส่วนบุคคล ครอบครัว และทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๒๙ นอกจากนี้บทบัญญัติมาตราดังกล่าว มีผลใช้บังคับกับสามีและภริยาทั้งหมดที่มีเงินได้พึงประเมินเป็นการทั่วไปอย่างเท่าเทียมกัน จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เพศ อายุ ... ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐ วรรคสาม
  ส่วนมาตรา ๕๗ เบญจ ที่บัญญัติให้ภริยาแยกยื่นเสียภาษีต่างหากจากสามีได้ หากมีรายได้ตามมาตรา ๔๐ (๑) ด้วยนั้น เห็นว่าบทบัญญัติมาตราดังกล่าว เป็นข้อยกเว้นของมาตรา ๕๗ ตรี และมิได้เป็นบทบังคับแต่อย่างใด เพียงแต่ให้สิทธิภริยาแยกยื่นเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะเงินได้ที่มาจากน้ำพักน้ำแรงของหญิงผู้เป็นภริยาเท่านั้น ซึ่งสิทธิดังกล่าวย่อมเป็นประโยชน์ทั้งสามีและภริยา มิได้เป็นประโยชน์แก่ภริยาฝ่ายเดียว จึงไม่ใช่กฎหมายที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศหรือสถานะบุคคล ทั้งยังเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีของรัฐที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๙ กำหนดไว้เท่าที่จำเป็น โดยมิได้กระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพของสามีหรือภริยาแต่อย่างใด
  สำหรับบัญชีอัตราภาษีเงินได้ที่เป็นอัตราภาษีก้าวหน้านั้น ประมวลรัษฎากรกำหนดตามความสามารถในการเสียภาษีของบุคคลและใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่คนโสดและคู่สามีและภริยาทุกคน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และด้วยเหตุผลดังกล่าวมาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ ไม่ได้ขัดขวางต่อการส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย หรือขัดขวางต่อการเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๐ ดังนั้น ประมวลรัษฎากรมาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๘๐

 


 ๓. คำพิพากษาศาลฎีกา
  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๖๕๒/๒๕๔๒

 


  ประมวลรัษฎากร มาตรา ๕๗ ตรี วรรคแรก เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้โดยให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แต่หากภริยาเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมิน ส่วนสามีไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมา ก็ไม่อยู่ในบังคับให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีที่สามีจะต้องรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีตามมาตรา ๕๗ ตรี วรรคแรก แต่อย่างใด เมื่อสามีของโจทก์ไม่มีเงินได้พึงประเมินและไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีประกอบกับไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา ๕๗ ตรี มาใช้บังคับได้กรณีจึงต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎาก มาตรา ๕๖ วรรคแรก ที่กำหนดให้บุคคลทุกคน มีหน้าที่ในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับเกิน ๖๐,๐๐๐ บาทในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินประมาณ ๔ ล้านเศษโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นรายการและชำระภาษี เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว

 


  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๒๒๐/๒๕๔๙
  ประมวลรัษฎากร มาตรา ๔๒ ทวิ เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้มีเงินได้พึงประเมินที่จะได้รับประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่ายจากเงินได้ของตน ทั้งที่เป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา ๔๐ (๑) และเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ตามมาตรา ๔๐ (๒) โดยยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ ๔๐ แต่จะหักค่าใช้จ่ายจากเงินได้ทั้งสองประเภทรวมกันได้ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท โดยมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียดเป็นการบังคับว่าต้องหักจากเงินได้พึงประเมินประเภทใด ในสัดส่วนเท่าใด หรือต้องถัวเฉลี่ยกันอย่างไร ผู้มีเงินได้พึงประเมินจึงมีสิทธิที่จะเลือกว่าควรหักค่าใช้จ่ายจากเงินได้ประเภทใด จำนวนเท่าใด ในกรณีที่มีเงินได้พึงประเมินที่อาจหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งสองประเภทเพื่อประโยชน์ในการบรรเทาภาระภาษีของตน ดังนั้น กรณีที่โจทก์แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา ๕๗ เบญจ เฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทเงินเดือนตามมาตรา ๔๐ (๑) โดยมีเงินได้พึงประเมินอื่นด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) ประเภทเดียวเต็มจำนวน ๖๐,๐๐๐ บาท ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๒ ทวิ วรรคหนึ่ง ได้

 

 ๔. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
  มาตรา ๓๐ วรรค ๓ การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

 


  มาตรา ๒๔๕ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้ เมื่อเห็นว่ามีกรณีดังต่อไปนี้
  (๑) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

 

 ๕. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒
  มาตรา ๑๔ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้ เมื่อเห็นว่ามีกรณีดังต่อไปนี้
  (๑) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
  มาตรา ๓๒ เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงในเรื่องใดเสร็จแล้ว ให้จัดทำรายงานสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขส่งให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ  ฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบหรือพิจารณาดำเนินการต่อไป

 


  เรื่องใดที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ปรากฏว่าการกระทำในเรื่องใดของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นได้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้น ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือความไม่เสมอกันในกฎหมาย หรือเป็นการเลือกปฏิบัติ หรือล้าสมัย ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอแนะต่อหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาดำเนินการให้มีการปรับปรุง หรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวต่อไป ในกรณีที่เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีให้ส่งรายงานดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วย

 


  ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอให้หน่วยงานตามวรรคสองปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ และระเบียบ หากหน่วยงานนั้นไม่ดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวในเวลาอันควร ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอไปยังองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายตามรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการต่อไป และรายงานเรื่องนั้นเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบเป็นกรณีเร่งด่วน

 


สรุปข้อเสนอ

 


  ๑. การส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องมีข้อมูลเสนอที่ชัดเจน การรวมยื่นหรือแยกยื่นมิใช่ประเด็น ประเด็นอยู่ที่การรวมกันแล้วทำให้ครอบครัวตามกฎหมายเสียหาย ได้รับความเดือดร้อนต้องจ่ายภาษีที่มากกว่าเดิม ก่อให้เกิดภาระกับบุคคลที่เสียภาษีเกินควร

 


  ๒. ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้เสนอตามมาตรา ๓๒ วรรค ๒ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒ แม้ว่ากรมสรรพากรจะทำถูกต้องตามกฎหมายประมวลรัษฎากรแล้ว แต่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติดังกล่า ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม หรือความไม่เสมอกัน หรือล้าสมัย ผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้แก้ได้ ยกร่างไปส่งให้แก้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง แต่หากหน่วยงานยังไม่ดำเนินการหรือล่าช้า สามารถใช้วรรคสาม ซึ่งมีหลายรูปแบบทั้ง ส่งไปที่องค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายซึ่งมีอยู่แล้ว หรือส่งวุฒิสภา ส่งผู้แทน แถลงข่าวหนังสือพิมพ์

 

 

ที่มา - หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ


Page 1/1
1
Copyright © 2005 www.teinpun.com Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com