Home | Service | News | เว็บบัญชี ที่น่าสนใจ | สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน | Easy_acc for Windows | Link Ranong | แบบจำลองการเริ่มต้นธุรกิจ SME | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มิถุนายน 2551 | การหักภาษี ณ ที่จ่าย | สำนักงานประกันสังคม | การยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ต | รู้เรื่องภาษี | รวมแบบฟอร์ม หนังสือสัญญาต่าง ๆ บริการฟรี | ศัพท์บัญชี | การยื่นงบการเงิน | สัมมนาที่น่าสนใจ ปี 2549 จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | บิซิเนสไทย | ถาม-ตอบ เกี่ยวกับภาษีอากร จากกรมสรรพากร | ถาม-ตอบ ยื่นแบบ/ชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต | ข้อหารือภาษีอากร จากกรมสรรพากร | เกร็ดความรู้ทางธุรกิจ | การจำหน่ายหนี้สูญที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม | เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี | วางแผนการเงิน 6 แผนการเงินที่ควรทำ


Category
   ความเป็นมา
   แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากร พ.ศ.2548-2551
   หน้าที่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
   สมุดบัญชีที่ผู้ทำบัญชี ต้องจัดทำ ตาม พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
   เอกสารที่ต้องนำส่งเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   ข้อควรระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
   ข้อควรปฏิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้
   สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป
   สำนักงานบัญชีไทย V.S. ยุโรป,อเมริกา
   เตรียมรับมือสรรพากรอย่างไร?
   การยกเลิกใบกำกับภาษี แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร?
   การออกใบแทนใบกำกับภาษี ฉบับที่สูญหาย ทำอย่างไร?
   หน้าที่ตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไร?
   เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงานบัญชียุคพัฒนา
   กรมสรรพากรให้บริการไอที Web Services ถึง 8 รายการ
   การแจ้งเปลี่ยนแปลงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
   สิทธิตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   ใครบ้าง ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 1
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 2
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 3
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 4
   ราชการใสสะอาด - วินัย/จรรยาบรรณ
   ดีเอสไอ. จับหนุ่มโกงภาษี
   บทความที่น่าสนใจจาก เว็บนักบัญชี.คอม
   แผนที่ชีวิตของคุณ?
   ถนอมสุขภาพตาอย่างไร เมื่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ
   เลือกซอฟท์แวร์อย่างไร สำหรับ SMEs
   การเสียเบี้ยปรับ ในกรณียื่นแบบ ภพ.30 เอง
   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั่วโลก
   การจัดตั้งคณะบุคคลทำอย่างไรบ้าง?
   การวางแผนภาษี เลือกจัดตั้งองค์กรธุรกิจ อย่างไรจึงเหมาะสม
   ค่าจดทะเบียนพาณิชย์, ห้างหุ้นส่วน และ บริษัทจำกัด
   ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ทางอินเตอร์เน็ต
   คำเตือนในการนำส่งงบการเงินประจำปีของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
   กรณีศึกษา - หมึกแดงกับการวางระบบบัญชีที่ตรวจสอบได้
   การขอเพิ่มสิทธิ์การติดตั้งโปรแกรม EASY_ACC
   คำแนะนำการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ สำหรับการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษจากกรมสรรพากร
   พรบ.การบัญชี 2543 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี
   การหักภาษี ณ ที่จ่าย
   เลขทะเบียนนิติบุคคลใหม่ 13 หลัก
   กลยุทธ์การป้องกันการถูกยึดกิจการ
   5 สัญญาณเตือนไทย ระวังการควบรวมกิจการ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการคัดสำเนาหนังสือรับรองผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
   สัมมนาหลักสูตรพื้นฐานสำหรับพัฒนาสำนักงานบัญชี ปี 2549
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2549 (ฟรี)
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดอบรมการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการ
   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เปลี่ยนแปลงเมื่อไร?
   เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
   การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามประมวลรัษฎากร
   อบรมเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2549
   การบริหารร้านค้าปลีกแบบมืออาชีพ
   การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
   การทำความเข้าใจกับลูกค้า
   คำอธิบายระหว่าง RMF. และ LTF.
   RMF. & LTF. (2)
   RMF. & LTF. (3)
   RMF. & LTF. (4)
   RMF. & LTF. (5)
   RMF. & LTF. (6)
   กลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นสรรพากรเรียกรับผลประโยชน์ในทางมิชอบ
   แบบสอบถามความเห็น การปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน
   เปิดเว็บไซต์ ฟรี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   5 อุปนิสัยในการประมวลผลที่ดี
   กิจวัตรประจำวัน และ จำนวนวันที่มีในชีวิตของคนเรา
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (1)
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (2)
   ปรับตัว/เตรียมใจอย่างไร? หากเกิดการเลย์ออฟ
   จดแล้วไม่จนจริงหรือ?
   สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
   โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
   หน่วยงานที่ให้บริการแก่ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง SME
   เตือนให้ส่งงบการเงินปี 2548 ภายใน 31 พฤษภาคม 2549
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้ กรณีขายบัตรเงินสด
   คำถาม-ตอบในการสัมมนา "การยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต"
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
   กรมสรรพากรจัดสัมมนาภาษีอากร ฟรี
   การตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดใช้งานไม่ได้
   กรณี - ความผิดการใช้ใบกำกับภาษีปลอม และพิสูจน์ผู้รับเงินไม่ได้
   อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินปี 2554 ล่าช้า (เริ่มใช้ เมษายน 2555)
   อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ใช้ทั่วประเทศ - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กรณีย้ายสถานประกอบการ ใบกำกับภาษีฉบับเดิมยังใช้ได้หรือไม่
   กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการแล้ว ผู้ขายไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ จะทำอย่างไร?
   วางแผนภาษีกับ การลงทุนใน RMF. & LTF.
   การวางแผนภาษี นั้นสำคัญไฉน??
   คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
   การอัพเกรด Easy_Acc for Windows
   ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
   ประเด็นความผิดเกี่ยวกับใบกำกับภาษี ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ร่าง พรบ.ของแถมของรางวัล
   สปส. ประกาศกฎกระทรวง เพิ่มคุ้มครอง 6 โรคเรื้อรัง
   ผู้ประกันตน ตาม ม.39 สิ้นสภาพ อย่าลืมรับเงินออม
   สิทธิและหน้าที่ที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ควรรู้
   ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย - น้องเดียว
   กรณีศึกษา - ภาษีน่ารู้
   เคล็ดลับหาเงินทุน บุกเบิกธุรกิจด้วยตนเอง
   ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีแล้ว (ภงด.94/49)
   ให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต
   การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
   กรณีศึกษา - การส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนกัน
   กรณีศีกษา - รายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วไม่จด ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
   กรณีศึกษา - นายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันให้พนักงาน
   ดับค้าปลีกต่างชาติในเยอรมัน-เกาหลี
   เสียภาษีอย่างไรให้ประหยัด
   เทคนิคการเลือก "กองทุน"
   บริษัท/ห้างฯ ที่จดทะเบียนใหม่จะต้องทำอะไรบ้าง?
   การเลือกซื้อกองทุน LTF
   การทำกิจการ "ค้าของเก่า"
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2550 (ฟรี)
   รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรทั้งหมด และที่ถูกพักใบอนุญาต
   เกณฑ์การรับรู้รายได้ รายจ่ายทางภาษีอากร (เกณฑ์สิทธิ) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550
   ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้
   SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร?
   สิทธิของผู้ประกันตน กรณีว่างงาน
   ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องทำบัญชีหรือแสดงรายได้เพื่อเสียภาษีอย่างไร?
   หลากกฎเตือนใจช่วยประหยัด-ฉลาดจ่าย
   กลยุทธ์ปั้นธุรกิจสู่เส้นชัย จาก 5 บริษัทชั้นนำระดับโลก
   กานต์ ตระกูลฮุน บ่มภาวะผู้นำ "คนปูน"
   ขอคืนภาษี โดยไม่สุจริต ระวังติดคุก?
   ข้อแตกต่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท ปี 2538 กับ 2549
   หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ
   ปรัชญานายห้างเทียม
   คดีภาษีขึ้นศาลภาษีอากรกลาง เพิ่มขึ้น 100%
   ภาษีมรดกในประเทศไทย
   ค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตรตามกฎหมายภาษีไทย
   ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 และ 94
   วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภงด.50 และ ภงด.51
   วางแผนการเงินให้ครอบครัวเภสัชกร
   ช่วยผู้บริหารสานสัมพันธ์ ผูกมิตรกับพนักงานระดับล่าง
   เงินได้ของแพทย์เสียภาษีอย่างไร?
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนให้ยื่นงบการเงินปี 2549 ภายใน 1 มิถุนายน 2550
   เมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัท/ห้างฯ แล้ว จะต้องชำระบัญชีเมื่อไร?
   ก่อนเริ่มต้น ทำพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์
   ข้อชี้แนะในการเลือกนักบัญชี (สำนักงานบัญชี)
   กรณีขายน้ำผลไม้สดคั้น
   ปฏิวัติ พ่อแม่
   The Future of Accounting
   สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
   อยากให้ลูกเรียนกฎหมาย
   การลงทุนในเวียตนาม
   ถึงเวลาแล้ว ต้องยื่น ภงด.50 รอบปีบัญชี 2550 แล้ว
   สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของผู้ส่งออกที่ดี
   ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี
   พิธีการศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกสินค้ากับพม่า
   สรรพากรจะให้ร้านค้าใช้เครื่องเก็บเงินในปีหน้า
   ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% ใช้ถึง 30 กันยายน 2551
   สรรพากรเอาผิดผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือขอคืนภาษีเป็นเท็จ
   ระวัง มิจฉาชีพ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรทางโทรศัพท์
   ลูกจ้างควรวางแผนภาษีเงินได้อย่างไร
   คำถามยอดนิยมจากเว็ปกรมสรรพากร
   สวนดุสิตโพลล์ชี้ผลวิจัยล่าสุด บัญชี แพทย์ บริหาร คอมฯ วิศวะ ครองแชมป์ได้งานสูง
   ถอนทะเบียนบริษัทร้าง 4,216 ราย
   สัมมนา "เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสำนักงานบัญชี
   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ.2550
   เตือนผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินประจำปี 2550
   มาตรการภาษี กระตุ้นเศรษฐกิจใช้บังคับปีภาษี 2551
   รายงานที่ต้องจัดทำในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ระเบียบใหม่ - การจัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
   การเสียภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใหม่
   จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ภายในวันเดียว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2551
   กฎหมายใหม่สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มใช้ 1 มกราคม 2551
   สรุปประเด็นข้อผิดพลาดในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
   ฏีกาภาษี ประเด็นมาตรา 40 (2) หรือ 40 (8)
   เงินได้นอกจากเงินเดือน ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 48 (2)
   ด่วน.... สัมนาภาษีอากร ฟรี กับกรมสรรพากร
   ภาษีที่เกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์
   ภาษีที่ดิน
   การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 6 เดือน
   สรรพากรไล่บี้สำนักงานบัญชี และผู้ประกอบการที่เลี่ยงภาษี
   เป้าเก็บภาษีปี 2553 - กรมสรรพากร
   กรมสรรพากร - เตือนผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
   การวิเคราะห์ภาระภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และการขยายฐานภาษี
   งบการเงิน ใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2553
   มีอะไรใหม่ ในการยื่นชำระภาษีปี 2552 (ภงด.90 / 91)
   หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ.2553 - ใหม่
   ข้อบกพร่องในการรับงบการเงิน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สัมมนาฟรี เรื่อง "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   ขยายเวลา การยื่นงบการเงิน ปี 2552 (3 เขต ใน กทม.)
   กรณีการเสียภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเงินได้ภรรยา ยื่นรวมกับสามี
   สัมมนาฟรี "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   สัมมนาฟรี "ฝ่าวิกฤต พิชิตปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคล"
   คัดสำเนาหนังสือรับรอง, เอกสารการจดทะเบียน และงบการเงินทาง e_Service
   การทำธุรกรรมทางออนไลน์ เสียภาษีหรือไม่?
   สำนักงานบัญชี ที่ต้องวางหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม 3%
   "สมคิด" เสนอปฏิรูปการคลัง ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
   สัมมนาฟรี "ลด แลก แจก แถม อย่างไร สบายใจ เรื่องภาษี"
   สรรพากรรื้อใหญ่ขยายฐานรายได้ ไม่เน้นขึ้นภาษี หันเก็บทั่วถึง-เป็นธรรม
   สรรพากรประกาศนโยบาย BIG CHANGE ตั้งเป้าปี54 เก็บภาษี 1.3 ล้านล้าน
   บริหารภาษีอย่างถูกวิธี - น่าสนใจ จริง ๆ
   ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
   ข้อควรทราบเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง?
   มาตราการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
   คลังลุยรื้อภาษีมุ่งลดเหลื่อมล้ำ
   โค้งสุดท้าย ซื้อ RMF/LTF ประหยัดภาษีปี 2553
   ชง ครม. เรียกเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา รัฐได้เพิ่ม 4,000 ล้านบาท
   การจัดทำบัญชีอย่างง่าย ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กำไรจากการขาย LTF
   สรรพากรเตือนผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภงด.90/91
   ประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงินของกรมสรรพากร
   เตรียมลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เริ่ม 1 มค.2555
   กรมสรรพากร - คู่มือประชาชน
   แนวปฏิบัติของผู้เสียภาษ๊ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย 2554
   บริการ 3 กรมภาษี กระทรวงการคลัง
   กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554
   ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน จาก 5% เหลือ 3% และ 4%
   ผู้หญิงเฮ ! แยกยื่นเสียภาษีกับสามี จ่ายน้อยลง ผลงานโบว์แดงผู้ตรวจการแผ่นดิน ???
   1 กุมภาพันธ์ 2555 เริ่มใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก
   ขอหนังสือรับรองจดทะเบียนหุ้นส่วน/บริษัท ผ่านธนาคาร ได้แล้ว
   กรณีกรมสรรพากรให้หักค่าลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถเนื่องจากน้ำท่วม ปี 2554
   กรมสรรพากร ให้ยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต มากขึ้น
   ค่าจ้างแรงงานต่อวัน เริ่มใช้ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
   ผู้หญิงมีสามีเฮ! ศาลรธน.ตัดสินกม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว
   ข่าวกรมสรรพากรที่น่ารู้
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีสามี-ภรรยา แยกกันยื่นแบบทุกภาษี เริ่มปีภาษี 2555 เป็นต้นไป
   การยื่นแบบแสดงรายการภาษี และยื่นแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย ตามประกาศของ ป.ป.ช. เริ่ม 1 เมษายน 2555
   ระเบียบใหม่ การจัดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด เริ่มใช้ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีเงินได้ กรณีสามีภรรยา (ฉบับใหม่) เริ่มใช้ 14 มกราคม 2556
   ขยายเวลาการใช้เลขภาษี 10 หลัก ถึง 31.7.2556
   คำแนะนำในการยื่นบัญชีแสดงรายรับ-รายจ่ายของโครงการ ตาม (บช.1)
   สิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2556 .....ใหม่ล่าสุด
   เพิ่มข้อความ "เลขภาษี 13หลัก" และ "สาขาที่ออกใบกำกับภาษี" ลงในใบกำกับภาษีขาย และใบกำกับภาษีซื้อ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2557
   สัมมนา ฟรี กับสรรพากร (ครึ่งวัน ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556 จำนวน 4 รอบ)
   ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่..... มาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฯ เริ่มใช้ 1 มค.2556
   การลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556
   ข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ที่จะเริ่มใช้ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
   สามีภรรยาร่วมกันทำการค้าถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT
   หลักเกณฑ์การประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
   หสม. หรือ คณะบุคคล ตามกฎหมายใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2558
   ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบทางออนไลน์ของกรมสรรพากรไปถึง มค.2560
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
สำนักงานบัญชี
1. ให้บริการวางระบบบัญชีของธุรกิจ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี&lt;br&gt;<br>

2. ให้บริการจัดทำบัญชี และรายงานผลการดำเนินธุรกิจเป็นรายเดือน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี EASY_ACC&lt;br&gt;<br>

3. ให้บริการและให้คำแนะนำในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี <br>

ได้แก่ ภพ.30 ภงด.1,3,53,50,51,90,91,94 ทางอินเทอร์เน็ต ให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลารอและการเดินทางของพนักงานสำหรับการยื่นแบบและชำระภาษี &lt;br&gt;<br>

4. ให้บริการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯ ก่อนการ เข้าตรวจสอบของเจ้าพนักงาน&lt;br&gt;<br>

5. จัดทำบัญชีและส่งมอบเอกสารบัญชี, สมุดบัญชีให้ผู้ประกอบการเก็บไว้ตาม พรบ.การบัญชี &lt;br&gt;<br>

สอบถามได้ที่ 077-811694, แฟ็กซ์ 077-813156หรือ E_mail :<a href=mailto:info@teinpun.com>info@teinpun.com</a>; &amp;:<a href=mailto:teinpun@yahoo.com>teinpun@yahoo.com</a>;
 

Online: 001
Visitors : 79161

สรรพากรประกาศนโยบาย BIG CHANGE ตั้งเป้าปี54 เก็บภาษี 1.3 ล้านล้าน

วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 10:17:16 น.  มติชนออนไลน์
 

 


สรรพากรประกาศนโยบาย BIG CHANGE ตั้งเป้าปี54 เก็บภาษี 1.3 ล้านล้าน

กรมสรรพากรจัดกระบวนทัพใหม่ ประกาศนโยบาย BIG CHANGE เดินหน้าปรับโครงสร้างภาษีแบบมีส่วนร่วม  ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใช้กำกับดูแลผู้เสียภาษีใกล้ชิด พัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ   สร้างนวัตกรรมบริการรูปแบบใหม่ ๆ และเสริมการบริการที่มีอยู่ ให้มีบริการที่หลากหลาย  สะดวกรวดเร็วโดนใจผู้ประกอบการและผู้เสียภาษีมากยิ่งขึ้น

 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

Text size
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size

 
 
 
Home สาธิต รังคสิริ ความท้าทายในการทำงานของกรมสรรพากร และนโยบาย RD Big Change
ความท้าทายในการทำงานของกรมสรรพากร และนโยบาย RD Big Change PDF พิมพ์ อีเมล
User Rating: / 1
แย่ดีที่สุด 
คอลัมนิสต์ผู้ทรงคุณวุฒิ - สาธิต รังคสิริ
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ   
วันพุธที่ 09 มีนาคม 2011 เวลา 10:14 น.

ในวันที่ 2 กันยายน 2554 ที่จะถึงนี้ กรมสรรพากรจะมีอายุครบ 96 ปี หรือ 8 รอบ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากรมสรรพากรได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหน่วยงานหลักด้านการจัดหารายได้ให้แก่รัฐบาล เพื่อนำไปเป็นรายจ่ายในการบริหารและพัฒนาประเทศ ผ่านกระบวนการจัดเก็บภาษีอากรประเภทต่างๆ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
 ทั้งนี้ ในการจัดเก็บภาษีตลอดระยะเวลากว่า 80 ปีที่ผ่านมา กรมสรรพากรจะได้รับเป้าหมายของการจัดเก็บภาษีผ่านกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งปกติแล้วเป้าหมายในแต่ละปีก็จะเพิ่มขึ้นตามอัตราการขยายตัวของรายจ่ายรัฐบาล และเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งกรมสรรพากรก็สามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายหรือมากกว่าตลอดมา เว้นแต่ในช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ เช่น วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 หรือ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ปี 2550 ที่อาจจะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายไปบ้าง
 อย่างไรก็ตาม การทำงานของกรมสรรพากรในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ นอกจากปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นตามปกติแล้ว กรมสรรพากรจะมีความท้าทายเพิ่มเติมอีกหลายประการ ได้แก่ 
 1. การเปิดเสรีทางการค้า
 เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องเปิดเสรีทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ไปจนกระทั่งในระดับนอกอาเซียนที่เป็นลักษณะทวิภาคี (Free Trade Agreement: FTA) ทำให้ประเทศไทยต้องมีการปรับลดอัตราภาษีขาเข้าเพื่อให้เป็นไปภายใต้กรอบเจรจาการค้าระหว่างประเทศ การปรับลดอัตราอากรดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการลดลงของรายได้ภาษีศุลกากร และยังส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากสินค้าอีกด้วย
ดังนั้น ในการจัดทำประมาณการรายได้ของรัฐบาลนั้น กรมสรรพากรนอกจากจะได้รับเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นในส่วนของตนเองแล้ว ยังจะต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมอีก ทั้งนี้ เพื่อทดแทนในส่วนของกรมอื่นที่จะจัดเก็บได้ลดลงอีกด้วย เช่น เป้าหมายในปีงบประมาณ 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับของปีงบประมาณ 2554 กรมสรรพากรได้รับเป้าหมายเพิ่มขึ้นประมาณ 8%  ขณะที่ 2 กรมที่เหลือได้รับเพิ่มขึ้นประมาณ กว่า 4% เท่านั้น
 2. การจัดทำงบประมาณสมดุลภายใน 5 ปี
 ตามที่กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนปฏิบัติการด้านรายได้ งบประมาณรายจ่าย และการบริหารหนี้สาธารณะของรัฐบาล เพื่อให้งบประมาณเข้าสู่ภาวะสมดุลภายในระยะเวลา 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 เป็นต้นไป ทำให้เป้าหมายการจัดเก็บภาษีเปรียบเทียบระหว่างปี 2554 กับปี 2558 ของกรมสรรพากร จะมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 30%  ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ปกติทั่วไป จึงถือเป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่งของกรมสรรพากร
 3. ภาษีสูญเสียจากการนำเสนอมาตรการภาษี
 บทบาทหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของกรมสรรพากร นอกจากภารกิจในด้านการจัดเก็บภาษีแล้ว กรมยังมีหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การนำเสนอมาตรการภาษีเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยในช่วงระยะเวลา 2 - 3 ปีที่ผ่านมา กรมได้มีการออกมาตรการภาษีเป็นจำนวนมาก เช่น มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุน ROH & IPC มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือคนพิการ มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ชุมนุม มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศ เป็นต้น ในการออกมาตรการภาษีเหล่านี้จะมีผลทำให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีได้ลดลง หรือที่เรียกว่ารายจ่ายทางภาษี (Tax Expenditure) ดังนั้นในภาพรวมการจัดเก็บภาษีของกรมก็จะมีความยากลำบากขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
 4. การปรับบุคลากรลดลงตามกรอบการลดอัตรากำลังของ ก.พ.
 ตามที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะทำการลดอัตรากำลังของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐลงเมื่อมีการเกษียณอายุ โดยนำระบบ IT เข้ามาแทนที่นั้น นโยบายดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อกรมสรรพากรโดยตรง เนื่องจากลักษณะงานของกรมสรรพากรจะมีลักษณะเป็น Profit Center ที่มีภารกิจเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ไม่ใช้ Cost Center ดังนั้น จึงไม่สมควรปรับลดอัตรากำลัง นอกจากนี้ในการจัดเก็บภาษีนั้น ภารกิจบางอย่างต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการบริหารจัดการ เช่น การตรวจสอบเอกสาร การประเมินต่างๆ 
 5. ข้อจำกัดของงบประมาณรายจ่ายของกรมสรรพากร
 โดยเฉลี่ยแล้ว กรมสรรพากรจะได้รับงบประมาณรายจ่ายประมาณ 7,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อรับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งกว่าร้อยละ 70 นั้นจะเป็นงบบุคลากร ทำให้กรมสรรพากรไม่งบประมาณมากพอที่จะไปลงทุนในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี รวมทั้งในเรื่องภาษีอากรนั้นจำเป็นต้องมีงบประมาณเพื่อทำการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ต่อบุคคลภายนอกและผู้เสียภาษีอีกด้วย
 ดังนั้น ภายใต้ภารกิจหน้าที่และข้อจำกัดในด้านต่างๆ ที่ได้กล่าวข้างต้น กรมสรรพากรจึงได้มีการปรับกระบวนทัพใหม่ ภายใต้นโยบาย RD BIG CHANGE โดยมีแผนงานที่สำคัญ ดังนี้
 1. การปรับโครงสร้างภาษีแบบมีส่วนร่วม 
 การปรับโครงสร้างภาษีที่จะเกิดขึ้น จะเป็นการดำเนินงานโดยมีผู้แทนจากภาคเอกชนเข้ามามีส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูล เสนอความคิดเห็น และร่วมกำหนดแนวทาง ทั้งนี้โครงสร้างภาษีใหม่นี้จะมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ คือ การยกระดับรายได้ สร้างโอกาสและเข้าถึงโอกาส การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน การเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุน
 2. การปฏิรูปกฎหมายภาษี 
 จะมีการปฏิรูปกฎหมายภาษี โดยการทำให้กฎหมายมีความชัดเจน เข้าใจง่าย สอดคล้องกับหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีและเป็นธรรม รวมทั้ง กฎหมายจะต้องมีทิศทางที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม และจะต้องมีการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากร ขณะเดียวกันต้องช่วยขจัดอุปสรรคทางภาษี
  นอกจากนี้จะมีการเพิ่มบทบัญญัติของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีระหว่างประเทศ เช่น เรื่อง DTA, TP, APA, Thin Cap, Treaty shopping, GAAR - substance over form, CFC เป็นต้น ซึ่งผมจะเขียนสรุปในรายละเอียดของเรื่องเหล่านี้ในโอกาสต่อไปครับ
 3. การปรับระบบงานโดยใช้ IT ที่ทันสมัย 
 กรมสรรพากรจะมีการปรับระบบงานโดยใช้ IT ที่ทันสมัย ทั้งนี้ เพื่อบูรณาการฐานข้อมูลร่วมกับภาครัฐและเอกชน พัฒนาระบบงานเพื่อการบริหารจัดเก็บด้วยระบบ IT การใช้ IT ช่วยป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี และการนำผู้ที่อยู่นอกระบบภาษีเข้าสู่ระบบ และดูแลผู้เสียภาษีในระบบอย่างมีคุณภาพ
 4. สร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อการบริการ 
 กรมสรรพากรมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับการให้บริการประชาชน ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และทัศนคติที่ดีในการให้บริการ รวมทั้งเสริมสร้างความสมัครใจในการเสียภาษี โดยจะมีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การพัฒนาระบบชำระภาษีด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (Tax Smart Card) การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการยื่นแบบและบันทึกข้อมูลด้วย Bar Code และการพัฒนาระบบควบคุมการออกใบกำกับภาษีด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) เป็นต้น
 นอกจากแนวทางข้างต้น 4 ประการแล้ว กรมสรรพากรยังได้เพิ่มเติมรูปแบบการทำงานใหม่ คือ "การบริหารงานแบบ Matrix" โดยมอบหมายให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจ ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวทั้งหมด ถึงแม้จะไม่ใช่ลูกน้องตามสายการบังคับบัญชา ทั้งนี้เพื่อให้คณะทำงานสามารถพิจารณาประเด็นต่างๆ ได้เป็นที่ยุติในชั้นคณะทำงาน แล้วจึงส่งให้กรมสรรพากรพิจารณาได้เลย โดยไม่ต้องส่งไปกลับตามสายการบังคับบัญชาตามรูปแบบเดิม ซึ่งจะเป็นการลดขั้นตอนและระยะเวลาการทำงานลง เช่น คณะทำงานการส่งเสริมความรู้ให้ผู้เสียภาษี คณะทำงานพัฒนาตลาดทุน คณะทำงานปิดช่องโหว่กฎหมายภาษี คณะทำงานปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ คณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี เป็นต้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,616   10-12  มีนาคม พ.ศ. 2554

 

busy
 

 
*

 

6.532

 

Loading...
 
     
     
     

 

 

 

 

 

วันนี้ (27 ตุลาคม 2553)  นายสาธิต  รังคสิริ  อธิบดีกรมสรรพากร  เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม/สัมมนา สรรพากรภาค  สรรพากรพื้นที่ ทั่วราชอาณาจักรประจำปีงบประมาณ 2554 ระหว่างวันที่ 27-29  ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่  การจัดประชุม / สัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบนโยบายและทิศทางการบริหารจัดเก็บภาษีสำหรับปีงบประมาณ 2554 ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกรมสรรพากรจากทั่วประเทศ และเพื่อร่วมจัดทำแผนงานการบริหารจัดเก็บภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อให้ได้ภาษีอากรตามที่กรมฯ ได้รับมอบหมาย  ตามเอกสารงบประมาณจำนวน 1.30 ล้านล้านบาท  รวมทั้งมีการวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ของภาคธุรกิจและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคและโอกาสในการบริหารจัดเก็บภาษีเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้รับ   ซึ่งหลักการสำคัญมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงพอสรุปได้โดยสังเขป มีดังต่อไปนี้


 

 

1.การเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในฐานต่างๆ  บูรณาการให้เป็นเครือข่ายฐานข้อมูลร่วม ที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานอยู่บนฐานความถูกต้องเป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยสามารถลดโอกาสการหลีกเลี่ยงภาษีได้ไปพร้อมๆ กัน
 

 

 

2.รณรงค์และกระตุ้นให้ผู้เสียภาษีหันมาใช้บริการยื่นแบบฯ และชำระภาษีผ่านระบบ Internet ให้มากที่สุด  โดยพัฒนาระบบที่เพิ่มเติมความสะดวกในการทำธุรกรรมกับกรมสรรพากร และขจัดความผิดพลาดของการบันทึกข้อมูล (Data Entry) ที่เกิดจากการยื่นแบบฯ กระดาษแบบเก่า  ซึ่งการดำเนินนโยบายนี้ยังช่วยให้กรมฯ พัฒนาฐานข้อมูล เช่น ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  ภาษีมูลค่าเพิ่ม เสริมประสิทธิภาพการทำงานได้อีกด้วย
 

 

3.พัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เอื้อต่อการตรวจสอบ และพัฒนาแนวทางการตรวจสอบโดยใช้ระบบ "บัญชีตรวจ" (Check list) ที่จะทำให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปภายใต้มาตรฐานเดียว สร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

 

 

 

4. จัดทำคู่มือช่วยคำนวณภาษีในแต่ละกลุ่มธุรกิจ หรือ Tax Kit  ที่เมื่อปฏิบัติตามคู่มือ ก็จะอยู่บนพื้นฐานความถูกต้องเบื้องต้น ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติด้านภาษีของผู้ประกอบการและลดภาระงาน ด้านตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
 

 

5.การปรับปรุงโครงสร้างภาษี ให้เกิดความเป็นธรรม และก่อภาระภาษีในลักษณะที่ทั่วถึง โดยการปรับปรุงแต่ละเรื่องต้องคำนึงถึงผลกระทบรอบด้าน เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ภายใต้หลักความสามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้และเป็นไปตามความสามารถในการจ่ายภาษี  เป็นต้น

 

 

 

"กรมสรรพากรมีความตั้งใจที่จะให้บริการที่ดีแก่ผู้เสียภาษีและประชาชน  ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อราชการกับกรมสรรพากร  เพื่อสร้างความพึงพอใจและความสมัครใจในการเสียภาษี และจะอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ ในการควบคุมดูแลผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบมีการเสียภาษีถูกต้องมากยิ่งขึ้น  ทั้งนี้  เพื่อให้เกิดความทั่วถึงและเป็นธรรม  ถึงแม้ตัวเลขเป้าหมายการจัดเก็บที่ได้รับในปี 2554 จะสูงถึง 1.30 ล้านล้านบาท  แต่กรมสรรพากรก็เชื่อมั่นว่า  ด้วยความทุ่มเททำงานหนักของเจ้าหน้าที่สรรพากร  จะส่งผลให้การจัดเก็บภาษีในปีงบประมาณ 2554 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามที่ได้รับมอบหมาย โดยสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของธุรกิจ และเหมาะสมกับผู้ประกอบการแต่ละราย "นายสาธิตกล่าว

 

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

- ศาลสั่งจำคุกกก.บริษัทSCH4ปีร่วมฉ้อโกงเสี่ยงภาษีให้การเป็นประโยชน์ลดเหลือ3ปีไม่รอลงอาญา -
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1289544902&grpid=&catid=05&subcatid=0500 

- เปิดแผนรีดภาษี 3 ล้านล้านบาท -http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=50769:3&catid=104:-financial-&Itemid=443

 

- คลังลุยรื้อภาษีมุ่งลดเหลื่อมล้ำ -http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=51718:2010-12-29-02-17-49&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417

 

 


Page 1/1
1
Copyright © 2005 www.teinpun.com Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com