Home | Service | News | เว็บบัญชี ที่น่าสนใจ | สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน | Easy_acc for Windows | Link Ranong | แบบจำลองการเริ่มต้นธุรกิจ SME | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มิถุนายน 2551 | การหักภาษี ณ ที่จ่าย | สำนักงานประกันสังคม | การยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ต | รู้เรื่องภาษี | รวมแบบฟอร์ม หนังสือสัญญาต่าง ๆ บริการฟรี | ศัพท์บัญชี | การยื่นงบการเงิน | สัมมนาที่น่าสนใจ ปี 2549 จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | บิซิเนสไทย | ถาม-ตอบ เกี่ยวกับภาษีอากร จากกรมสรรพากร | ถาม-ตอบ ยื่นแบบ/ชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต | ข้อหารือภาษีอากร จากกรมสรรพากร | เกร็ดความรู้ทางธุรกิจ | การจำหน่ายหนี้สูญที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม | เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี | วางแผนการเงิน 6 แผนการเงินที่ควรทำ


Category
   ความเป็นมา
   แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากร พ.ศ.2548-2551
   หน้าที่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
   สมุดบัญชีที่ผู้ทำบัญชี ต้องจัดทำ ตาม พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
   เอกสารที่ต้องนำส่งเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   ข้อควรระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
   ข้อควรปฏิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้
   สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป
   สำนักงานบัญชีไทย V.S. ยุโรป,อเมริกา
   เตรียมรับมือสรรพากรอย่างไร?
   การยกเลิกใบกำกับภาษี แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร?
   การออกใบแทนใบกำกับภาษี ฉบับที่สูญหาย ทำอย่างไร?
   หน้าที่ตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไร?
   เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงานบัญชียุคพัฒนา
   กรมสรรพากรให้บริการไอที Web Services ถึง 8 รายการ
   การแจ้งเปลี่ยนแปลงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
   สิทธิตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   ใครบ้าง ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 1
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 2
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 3
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 4
   ราชการใสสะอาด - วินัย/จรรยาบรรณ
   ดีเอสไอ. จับหนุ่มโกงภาษี
   บทความที่น่าสนใจจาก เว็บนักบัญชี.คอม
   แผนที่ชีวิตของคุณ?
   ถนอมสุขภาพตาอย่างไร เมื่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ
   เลือกซอฟท์แวร์อย่างไร สำหรับ SMEs
   การเสียเบี้ยปรับ ในกรณียื่นแบบ ภพ.30 เอง
   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั่วโลก
   การจัดตั้งคณะบุคคลทำอย่างไรบ้าง?
   การวางแผนภาษี เลือกจัดตั้งองค์กรธุรกิจ อย่างไรจึงเหมาะสม
   ค่าจดทะเบียนพาณิชย์, ห้างหุ้นส่วน และ บริษัทจำกัด
   ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ทางอินเตอร์เน็ต
   คำเตือนในการนำส่งงบการเงินประจำปีของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
   กรณีศึกษา - หมึกแดงกับการวางระบบบัญชีที่ตรวจสอบได้
   การขอเพิ่มสิทธิ์การติดตั้งโปรแกรม EASY_ACC
   คำแนะนำการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ สำหรับการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษจากกรมสรรพากร
   พรบ.การบัญชี 2543 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี
   การหักภาษี ณ ที่จ่าย
   เลขทะเบียนนิติบุคคลใหม่ 13 หลัก
   กลยุทธ์การป้องกันการถูกยึดกิจการ
   5 สัญญาณเตือนไทย ระวังการควบรวมกิจการ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการคัดสำเนาหนังสือรับรองผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
   สัมมนาหลักสูตรพื้นฐานสำหรับพัฒนาสำนักงานบัญชี ปี 2549
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2549 (ฟรี)
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดอบรมการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการ
   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เปลี่ยนแปลงเมื่อไร?
   เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
   การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามประมวลรัษฎากร
   อบรมเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2549
   การบริหารร้านค้าปลีกแบบมืออาชีพ
   การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
   การทำความเข้าใจกับลูกค้า
   คำอธิบายระหว่าง RMF. และ LTF.
   RMF. & LTF. (2)
   RMF. & LTF. (3)
   RMF. & LTF. (4)
   RMF. & LTF. (5)
   RMF. & LTF. (6)
   กลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นสรรพากรเรียกรับผลประโยชน์ในทางมิชอบ
   แบบสอบถามความเห็น การปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน
   เปิดเว็บไซต์ ฟรี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   5 อุปนิสัยในการประมวลผลที่ดี
   กิจวัตรประจำวัน และ จำนวนวันที่มีในชีวิตของคนเรา
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (1)
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (2)
   ปรับตัว/เตรียมใจอย่างไร? หากเกิดการเลย์ออฟ
   จดแล้วไม่จนจริงหรือ?
   สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
   โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
   หน่วยงานที่ให้บริการแก่ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง SME
   เตือนให้ส่งงบการเงินปี 2548 ภายใน 31 พฤษภาคม 2549
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้ กรณีขายบัตรเงินสด
   คำถาม-ตอบในการสัมมนา "การยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต"
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
   กรมสรรพากรจัดสัมมนาภาษีอากร ฟรี
   การตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดใช้งานไม่ได้
   กรณี - ความผิดการใช้ใบกำกับภาษีปลอม และพิสูจน์ผู้รับเงินไม่ได้
   อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินปี 2554 ล่าช้า (เริ่มใช้ เมษายน 2555)
   อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ใช้ทั่วประเทศ - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กรณีย้ายสถานประกอบการ ใบกำกับภาษีฉบับเดิมยังใช้ได้หรือไม่
   กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการแล้ว ผู้ขายไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ จะทำอย่างไร?
   วางแผนภาษีกับ การลงทุนใน RMF. & LTF.
   การวางแผนภาษี นั้นสำคัญไฉน??
   คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
   การอัพเกรด Easy_Acc for Windows
   ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
   ประเด็นความผิดเกี่ยวกับใบกำกับภาษี ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ร่าง พรบ.ของแถมของรางวัล
   สปส. ประกาศกฎกระทรวง เพิ่มคุ้มครอง 6 โรคเรื้อรัง
   ผู้ประกันตน ตาม ม.39 สิ้นสภาพ อย่าลืมรับเงินออม
   สิทธิและหน้าที่ที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ควรรู้
   ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย - น้องเดียว
   กรณีศึกษา - ภาษีน่ารู้
   เคล็ดลับหาเงินทุน บุกเบิกธุรกิจด้วยตนเอง
   ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีแล้ว (ภงด.94/49)
   ให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต
   การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
   กรณีศึกษา - การส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนกัน
   กรณีศีกษา - รายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วไม่จด ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
   กรณีศึกษา - นายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันให้พนักงาน
   ดับค้าปลีกต่างชาติในเยอรมัน-เกาหลี
   เสียภาษีอย่างไรให้ประหยัด
   เทคนิคการเลือก "กองทุน"
   บริษัท/ห้างฯ ที่จดทะเบียนใหม่จะต้องทำอะไรบ้าง?
   การเลือกซื้อกองทุน LTF
   การทำกิจการ "ค้าของเก่า"
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2550 (ฟรี)
   รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรทั้งหมด และที่ถูกพักใบอนุญาต
   เกณฑ์การรับรู้รายได้ รายจ่ายทางภาษีอากร (เกณฑ์สิทธิ) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550
   ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้
   SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร?
   สิทธิของผู้ประกันตน กรณีว่างงาน
   ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องทำบัญชีหรือแสดงรายได้เพื่อเสียภาษีอย่างไร?
   หลากกฎเตือนใจช่วยประหยัด-ฉลาดจ่าย
   กลยุทธ์ปั้นธุรกิจสู่เส้นชัย จาก 5 บริษัทชั้นนำระดับโลก
   กานต์ ตระกูลฮุน บ่มภาวะผู้นำ "คนปูน"
   ขอคืนภาษี โดยไม่สุจริต ระวังติดคุก?
   ข้อแตกต่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท ปี 2538 กับ 2549
   หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ
   ปรัชญานายห้างเทียม
   คดีภาษีขึ้นศาลภาษีอากรกลาง เพิ่มขึ้น 100%
   ภาษีมรดกในประเทศไทย
   ค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตรตามกฎหมายภาษีไทย
   ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 และ 94
   วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภงด.50 และ ภงด.51
   วางแผนการเงินให้ครอบครัวเภสัชกร
   ช่วยผู้บริหารสานสัมพันธ์ ผูกมิตรกับพนักงานระดับล่าง
   เงินได้ของแพทย์เสียภาษีอย่างไร?
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนให้ยื่นงบการเงินปี 2549 ภายใน 1 มิถุนายน 2550
   เมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัท/ห้างฯ แล้ว จะต้องชำระบัญชีเมื่อไร?
   ก่อนเริ่มต้น ทำพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์
   ข้อชี้แนะในการเลือกนักบัญชี (สำนักงานบัญชี)
   กรณีขายน้ำผลไม้สดคั้น
   ปฏิวัติ พ่อแม่
   The Future of Accounting
   สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
   อยากให้ลูกเรียนกฎหมาย
   การลงทุนในเวียตนาม
   ถึงเวลาแล้ว ต้องยื่น ภงด.50 รอบปีบัญชี 2550 แล้ว
   สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของผู้ส่งออกที่ดี
   ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี
   พิธีการศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกสินค้ากับพม่า
   สรรพากรจะให้ร้านค้าใช้เครื่องเก็บเงินในปีหน้า
   ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% ใช้ถึง 30 กันยายน 2551
   สรรพากรเอาผิดผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือขอคืนภาษีเป็นเท็จ
   ระวัง มิจฉาชีพ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรทางโทรศัพท์
   ลูกจ้างควรวางแผนภาษีเงินได้อย่างไร
   คำถามยอดนิยมจากเว็ปกรมสรรพากร
   สวนดุสิตโพลล์ชี้ผลวิจัยล่าสุด บัญชี แพทย์ บริหาร คอมฯ วิศวะ ครองแชมป์ได้งานสูง
   ถอนทะเบียนบริษัทร้าง 4,216 ราย
   สัมมนา "เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสำนักงานบัญชี
   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ.2550
   เตือนผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินประจำปี 2550
   มาตรการภาษี กระตุ้นเศรษฐกิจใช้บังคับปีภาษี 2551
   รายงานที่ต้องจัดทำในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ระเบียบใหม่ - การจัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
   การเสียภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใหม่
   จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ภายในวันเดียว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2551
   กฎหมายใหม่สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มใช้ 1 มกราคม 2551
   สรุปประเด็นข้อผิดพลาดในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
   ฏีกาภาษี ประเด็นมาตรา 40 (2) หรือ 40 (8)
   เงินได้นอกจากเงินเดือน ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 48 (2)
   ด่วน.... สัมนาภาษีอากร ฟรี กับกรมสรรพากร
   ภาษีที่เกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์
   ภาษีที่ดิน
   การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 6 เดือน
   สรรพากรไล่บี้สำนักงานบัญชี และผู้ประกอบการที่เลี่ยงภาษี
   เป้าเก็บภาษีปี 2553 - กรมสรรพากร
   กรมสรรพากร - เตือนผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
   การวิเคราะห์ภาระภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และการขยายฐานภาษี
   งบการเงิน ใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2553
   มีอะไรใหม่ ในการยื่นชำระภาษีปี 2552 (ภงด.90 / 91)
   หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ.2553 - ใหม่
   ข้อบกพร่องในการรับงบการเงิน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สัมมนาฟรี เรื่อง "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   ขยายเวลา การยื่นงบการเงิน ปี 2552 (3 เขต ใน กทม.)
   กรณีการเสียภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเงินได้ภรรยา ยื่นรวมกับสามี
   สัมมนาฟรี "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   สัมมนาฟรี "ฝ่าวิกฤต พิชิตปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคล"
   คัดสำเนาหนังสือรับรอง, เอกสารการจดทะเบียน และงบการเงินทาง e_Service
   การทำธุรกรรมทางออนไลน์ เสียภาษีหรือไม่?
   สำนักงานบัญชี ที่ต้องวางหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม 3%
   "สมคิด" เสนอปฏิรูปการคลัง ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
   สัมมนาฟรี "ลด แลก แจก แถม อย่างไร สบายใจ เรื่องภาษี"
   สรรพากรรื้อใหญ่ขยายฐานรายได้ ไม่เน้นขึ้นภาษี หันเก็บทั่วถึง-เป็นธรรม
   สรรพากรประกาศนโยบาย BIG CHANGE ตั้งเป้าปี54 เก็บภาษี 1.3 ล้านล้าน
   บริหารภาษีอย่างถูกวิธี - น่าสนใจ จริง ๆ
   ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
   ข้อควรทราบเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง?
   มาตราการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
   คลังลุยรื้อภาษีมุ่งลดเหลื่อมล้ำ
   โค้งสุดท้าย ซื้อ RMF/LTF ประหยัดภาษีปี 2553
   ชง ครม. เรียกเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา รัฐได้เพิ่ม 4,000 ล้านบาท
   การจัดทำบัญชีอย่างง่าย ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กำไรจากการขาย LTF
   สรรพากรเตือนผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภงด.90/91
   ประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงินของกรมสรรพากร
   เตรียมลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เริ่ม 1 มค.2555
   กรมสรรพากร - คู่มือประชาชน
   แนวปฏิบัติของผู้เสียภาษ๊ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย 2554
   บริการ 3 กรมภาษี กระทรวงการคลัง
   กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554
   ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน จาก 5% เหลือ 3% และ 4%
   ผู้หญิงเฮ ! แยกยื่นเสียภาษีกับสามี จ่ายน้อยลง ผลงานโบว์แดงผู้ตรวจการแผ่นดิน ???
   1 กุมภาพันธ์ 2555 เริ่มใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก
   ขอหนังสือรับรองจดทะเบียนหุ้นส่วน/บริษัท ผ่านธนาคาร ได้แล้ว
   กรณีกรมสรรพากรให้หักค่าลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถเนื่องจากน้ำท่วม ปี 2554
   กรมสรรพากร ให้ยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต มากขึ้น
   ค่าจ้างแรงงานต่อวัน เริ่มใช้ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
   ผู้หญิงมีสามีเฮ! ศาลรธน.ตัดสินกม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว
   ข่าวกรมสรรพากรที่น่ารู้
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีสามี-ภรรยา แยกกันยื่นแบบทุกภาษี เริ่มปีภาษี 2555 เป็นต้นไป
   การยื่นแบบแสดงรายการภาษี และยื่นแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย ตามประกาศของ ป.ป.ช. เริ่ม 1 เมษายน 2555
   ระเบียบใหม่ การจัดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด เริ่มใช้ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีเงินได้ กรณีสามีภรรยา (ฉบับใหม่) เริ่มใช้ 14 มกราคม 2556
   ขยายเวลาการใช้เลขภาษี 10 หลัก ถึง 31.7.2556
   คำแนะนำในการยื่นบัญชีแสดงรายรับ-รายจ่ายของโครงการ ตาม (บช.1)
   สิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2556 .....ใหม่ล่าสุด
   เพิ่มข้อความ "เลขภาษี 13หลัก" และ "สาขาที่ออกใบกำกับภาษี" ลงในใบกำกับภาษีขาย และใบกำกับภาษีซื้อ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2557
   สัมมนา ฟรี กับสรรพากร (ครึ่งวัน ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556 จำนวน 4 รอบ)
   ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่..... มาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฯ เริ่มใช้ 1 มค.2556
   การลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556
   ข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ที่จะเริ่มใช้ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
   สามีภรรยาร่วมกันทำการค้าถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT
   หลักเกณฑ์การประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
   หสม. หรือ คณะบุคคล ตามกฎหมายใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2558
   ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบทางออนไลน์ของกรมสรรพากรไปถึง มค.2560
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
สำนักงานบัญชี
1. ให้บริการวางระบบบัญชีของธุรกิจ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี&lt;br&gt;<br>

2. ให้บริการจัดทำบัญชี และรายงานผลการดำเนินธุรกิจเป็นรายเดือน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี EASY_ACC&lt;br&gt;<br>

3. ให้บริการและให้คำแนะนำในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี <br>

ได้แก่ ภพ.30 ภงด.1,3,53,50,51,90,91,94 ทางอินเทอร์เน็ต ให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลารอและการเดินทางของพนักงานสำหรับการยื่นแบบและชำระภาษี &lt;br&gt;<br>

4. ให้บริการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯ ก่อนการ เข้าตรวจสอบของเจ้าพนักงาน&lt;br&gt;<br>

5. จัดทำบัญชีและส่งมอบเอกสารบัญชี, สมุดบัญชีให้ผู้ประกอบการเก็บไว้ตาม พรบ.การบัญชี &lt;br&gt;<br>

สอบถามได้ที่ 077-811694, แฟ็กซ์ 077-813156หรือ E_mail :<a href=mailto:info@teinpun.com>info@teinpun.com</a>; &amp;:<a href=mailto:teinpun@yahoo.com>teinpun@yahoo.com</a>;
 

Online: 001
Visitors : 78875

การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย เริ่มใช้ 1 มีนาคม 2548

คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป.132/2548

เรื่อง การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 มาตรา 65 ทวิ (5) มาตรา 65 ทวิ (8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร

--------------------------

  

  

                             เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนำเกี่ยวกับการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 มาตรา 65 ทวิ (5) มาตรา 65 ทวิ (8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

 

                            ข้อ 1 ให้ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.71/2541 เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในการปฏิบัติการเพื่อหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การหักภาษีตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การออกใบ  กำกับภาษี และการลงรายการในรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2541

 

                            ข้อ 2 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดมีเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคำนวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ และให้คำนวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร

                                กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด มีเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี  ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

                               ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง หมายถึง เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับหรือมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระเป็นเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนเงินที่กำหนดไว้แน่นอน เช่น เงินฝากธนาคาร (Cash) ลูกหนี้การค้า (Account Receivable) ลูกหนี้และตั๋วเงินรับจากการขายสินค้า (Accounts and Notes Receivable)

                               หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (Marketable Securities) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดทันทีที่ต้องการ แต่ไม่รวมถึงตราสารทุนซึ่งเป็นเงินลงทุนระยะยาวที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อหวังเงินปันผลในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือเดียวกัน (Loan to Subsidiaries) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expense) เจ้าหนี้จากการซื้อสินค้า (Accounts Payable) ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expense) เป็นต้น

 

                      ข้อ  3 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับมาหรือจ่ายไปซึ่งเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคสอง แห่งประมวล  รัษฎากร

                               ราคาตลาดตามวรรคหนึ่ง กรณีการบันทึกบัญชี ณ วันที่เกิดรายการทรัพย์สิน หรือหนี้สิน หมายถึง

                              (1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อหรืออัตราขาย) หรือ

                              (2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยหรืออัตราขายถัวเฉลี่ย)

                                   ราคาตลาดตามวรรคหนึ่ง กรณีการได้รับเงินหรือจ่ายเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นจริงในทางปฏิบัติจากการนำเงินสกุลบาทไปแลกเป็นเงินสกุลต่างประเทศ หรือเกิดจากการนำเงินสกุลต่างประเทศไปแลกเป็นเงินสกุลบาท

 

   ตัวอย่าง

 

                               (1) บริษัท ก จำกัด  ประกอบกิจการขายเม็ดพลาสติก ได้มีการขายเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัทในต่างประเทศ โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ก จำกัด ดำเนินการส่งออกสินค้าและบันทึกบัญชีในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 บริษัท ก จำกัด    มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้

                                    (1/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 หรือ

                                    (1/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้)   ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพุธที่ 2 มีนาคม 2548

                              (2) บริษัท ข จำกัด  ประกอบกิจการขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าให้แก่บริษัทในต่างประเทศ โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ข จำกัดดำเนินการส่งออกสินค้าและบันทึกบัญชีในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2548 บริษัท ข จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้                                   

                                  (2/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2548 หรือ

                                 (2/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2548 เนื่องจากวันเสาร์ที่ 12 และวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2548 เป็นวันหยุดราชการ

                              (3) บริษัท ค จำกัด ประกอบกิจการเป็นนายหน้าตัวแทน ได้ให้บริการแก่บริษัทในต่างประเทศ โดยตกลงราคาค่าบริการเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ค จำกัดดำเนินการออกใบแจ้งหนี้และบันทึกบัญชีในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2548 บริษัท ค จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้

                                   (3/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2548 หรือ

                                   (3/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 5 เมษายน 2548 เนื่องจากวันพุธที่ 6 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดทำการของธนาคาร

                              (4) บริษัท ง จำกัด ประกอบกิจการโรงแรมและภัตตาคาร ได้กู้ยืมเงินจากธนาคารในต่างประเทศ บริษัท ง จำกัด บันทึกบัญชีเจ้าหนี้เงินกู้ยืมในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2548 หรือวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548 บริษัท ง จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้

                                   (4/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2548 กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2548 หรือในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548

                                   (4/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2548 กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2548 และใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 29 เมษายน2548 กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548 เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ  สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ

 

                         ข้อ 4 การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร การหักภาษีตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร การหักภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมิน การจำหน่ายเงินกำไรหรือการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ  ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จำหน่ายเงินกำไร หรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มต้องคำนวณจำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการดังต่อไปนี้ เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ทั้งนี้ ตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

                              (1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย   ว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยใน   แต่ละวัน (อัตราขาย) หรือ

                              (2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคาร   แห่งประเทศไทยประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย)

                              การใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการหนึ่งวิธีการใดแล้ว ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรานั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงจะเปลี่ยนแปลงวิธีการได้ ทั้งนี้ ตามข้อ 2 วรรคสอง ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา9 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

                              ในกรณีที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจำหน่ายเงินกำไรตามวรรคหนึ่งด้วยเช็ค ให้คำนวณจำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งตามวันที่ที่ลงในเช็ค และให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามวรรคหนึ่ง

 

 ตัวอย่าง

                             (1) บริษัท ก จำกัด  จ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ให้แก่บริษัทในต่างประเทศในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 บริษัท ก จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ดังนี้

                                   (1/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 หรือ

                                    (1/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพุธที่ 2 มีนาคม 2548 

                             (2) บริษัท ข จำกัด  จ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัทในต่างประเทศในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 บริษัท ข จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ดังนี้

                                  (2/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 หรือ

                                 (2/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 12 เมษายน 2548 เนื่องจากวันพุธที่ 13 วันพฤหัสบดีที่ 14 วันศุกร์ที่ 15 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดทำการของธนาคาร และ วันเสาร์ที่ 16 วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดราชการ   

                            (3) บริษัท ค จำกัด จ่ายเงินค่าดอกเบี้ยให้แก่บริษัทในต่างประเทศในวันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2548 บริษัท ค จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ดังนี้          

                                (3/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2548 หรือ

                                (3/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2548 เนื่องจากวันเสาร์ที่ 23 และวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดราชการ

                          (4) บริษัท ง  จำกัด จ่ายเงินค่าบริการเช่าพื้นที่บนเว็บไซต์ (Web Site) ให้แก่บริษัทในต่างประเทศในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 เวลาประมาณ 13.00 น. บริษัท ง จำกัด  มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.พ.36 ดังนี้

                               (4/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 หรือ

                              (4/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขาย

ถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2548

                         (5) บริษัท จ จำกัด จ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานซึ่งเป็นชาวต่างประเทศทุกวันที่ 30 ของเดือน โดยการโอนเงินเดือนของพนักงานเข้าบัญชีธนาคารของพนักงาน ซึ่งในวันที่ 30 เมษายน 2548 ตรงกับวันเสาร์ บริษัท จ จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ดังนี้

                             (5/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 หรือ

                             5/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ

 

                  ข้อ 5 เว้นแต่กรณีตามข้อ 6 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการและมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 มาตรา 86/5 มาตรา 86/6 และมาตรา 86/7 แห่งประมวลรัษฎากร และผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ตกลงราคาสินค้าหรือค่าบริการเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีข้อตกลงให้ออกใบแจ้งหนี้เป็นเงินบาทหรือชำระราคาสินค้าหรือค่าบริการเป็นเงินบาท ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องแสดงมูลค่าของสินค้าหรือของบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นหน่วยเงินตราไทยในใบกำกับภาษี โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการดังต่อไปนี้ เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ทั้งนี้ ตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

                          (1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อ) หรือ

                          (2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ย)

                               การใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการหนึ่งวิธีการใดแล้ว ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรานั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงจะเปลี่ยนแปลงวิธีการได้ ทั้งนี้ ตามข้อ 2 วรรคสอง ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

                             กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับชำระราคาสินค้าและค่าบริการด้วยเช็ค ให้คำนวณมูลค่าของสินค้าหรือของบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นหน่วยเงินตราไทยตามวันที่ที่ลงในเช็ค และให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามวรรคหนึ่ง

                            กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ออกใบกำกับภาษีเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 86/4 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากรไว้ในใบกำกับภาษีด้วย

 

 ตัวอย่าง

 

                           (1) บริษัท ก จำกัด  ประกอบกิจการขายเม็ดพลาสติก ได้มีการขายเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัท ข จำกัด โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ก จำกัด ส่งมอบสินค้าในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 บริษัท ก จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้

                               (1/1)  ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 หรือ

                              (1/2)  ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้)   ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพุธที่ 2 มีนาคม 2548

                         (2) บริษัท ค จำกัด  ประกอบกิจการให้บริการเป็นที่ปรึกษา ได้ให้บริการแก่บริษัท ง จำกัด โดยตกลงราคาค่าบริการเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ค จำกัด ดำเนินการออกใบแจ้งหนี้ในวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2548 แต่บริษัท ง จำกัด ชำระราคาค่าบริการในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2548 บริษัท ค จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษีดังนี้

                             (2/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2548 หรือ

                            (2/2)  ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพุธที่ 16 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2548

                       (3) บริษัท ก จำกัด  ประกอบกิจการขายเม็ดพลาสติก  ได้มีการขายเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัท ข จำกัด โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ก จำกัด ส่งมอบสินค้าในวันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2548 บริษัท ก จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้

                            (3/1)  ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2548 หรือ

                           (3/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2548

                      (4) บริษัท ก จำกัด ประกอบกิจการขายเม็ดพลาสติก ได้มีการขายเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัท ข จำกัด โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ก จำกัด ส่งมอบสินค้าในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 บริษัท ก จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้

                           (4/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 หรือ

                           (4/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 12 เมษายน 2548 เนื่องจากวันพุธที่ 13 วันพฤหัสบดีที่ 14 วันศุกร์ที่ 15 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดทำการของธนาคาร และวันเสาร์ที่ 16 วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดราชการ

                     (5) บริษัท ง จำกัด ประกอบกิจการโรงแรมและภัตตาคาร ได้รับชำระราคาค่าบริการในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 เวลาประมาณ 11.00 น. บริษัท ง จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้

                         (5/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 หรือ 

                         (5/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งอาจจะเป็น SIGH หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2548

                    (6) บริษัท ง จำกัด ประกอบกิจการโรงแรมและภัตตาคาร ได้รับชำระราคาค่าบริการในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548 บริษัท ง จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้

                         (6/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 หรือ

                         (6/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งอาจจะเป็น SIGH หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ

                   (7) บริษัท จ จำกัด ประกอบกิจการขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ได้ขายน้ำมันให้แก่บริษัท ฉ จำกัด โดยตกลงราคาน้ำมันเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท จ จำกัด ส่งมอบน้ำมันในวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2548 เป็นจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกบริษัท จ จำกัด ส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ธนาคารพาณิชย์จะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในแต่ละวัน และเป็นเวลาก่อนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันในแต่ละวัน (ธนาคารพาณิชย์จะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในแต่ละวัน เริ่มต้นในเวลาประมาณ 08.00 น. ของแต่ละวัน ซึ่งอาจมีการประกาศอีกหลายครั้งในแต่ละวัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันในแต่ละวันในเวลาประมาณ 08.00 น. ของแต่ละวัน) และครั้งที่สองเวลา 08.30 น. ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในแต่ละวัน และธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันในแต่ละวันแล้ว บริษัท จ จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้

                        (7/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. และใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันเวลา 08.30 น. หรือ

                        (7/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งอาจจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. และใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งอาจจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันเวลา 08.30 น.

                   (8) บริษัท ช จำกัด ประกอบกิจการขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ได้ขายน้ำมันให้แก่บริษัท ซ จำกัด โดยตกลงราคาน้ำมันเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ช จำกัด ส่งมอบน้ำมันในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548 เป็นจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกบริษัท ช จำกัด ส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. ครั้งที่สองเวลา 09.00 น. และส่งมอบน้ำมันในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2548 เป็นจำนวน 1 ครั้ง เวลา 11.00 น. บริษัท ช จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้

                      (8/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันทั้ง 3 ครั้งดังกล่าว หรือ

                      (8/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งอาจจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันทั้ง 3 ครั้งดังกล่าว เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ

                 (9) บริษัท ฌ จำกัด ประกอบกิจการขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันได้ขายน้ำมันให้แก่บริษัท ญ จำกัด โดยตกลงราคาน้ำมันเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ฌ จำกัด ส่งมอบน้ำมันในวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2548 เป็นจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรก บริษัท ฌ จำกัด ส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. ครั้งที่สองเวลา 09.00 น. บริษัท ฌ จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยน  ในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้

                     (9/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. และใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันเวลา 09.00 น. หรือ

                    (9/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งอาจจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันทั้งสองครั้งดังกล่าว เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ

 

                 ข้อ 6 กรณีการออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการดังต่อไปนี้ ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 5

                         (1)  การออกใบกำกับภาษีกรณีการขายสินค้าโดยการส่งออก ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิใช้ใบกำกับสินค้าหรืออินวอยซ์ซึ่งผู้ส่งออกได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศเป็นใบกำกับภาษี ถ้าใบกำกับสินค้าหรืออินวอยซ์ได้ออกเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ใบกำกับภาษีในกรณีดังกล่าวจึงแสดงมูลค่าของสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศได้

                        (2) การออกใบกำกับภาษีกรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิใช้ใบแจ้งหนี้หรืออินวอยซ์ซึ่งได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศเป็นใบกำกับภาษี ถ้าใบแจ้งหนี้หรืออินวอยซ์ได้ออกเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ใบกำกับภาษีในกรณีดังกล่าวจึงแสดงมูลค่าของสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศได้

                         (3) การออกใบกำกับภาษีสำหรับการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน ผู้ประกอบการมีสิทธิใช้แอร์เวย์บิลหรือเฮาส์แอร์เวย์บิลที่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนรับขนส่งได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศเป็นใบกำกับภาษี ถ้าแอร์เวย์บิลหรือเฮาส์แอร์เวย์บิลได้ออกเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงแสดงมูลค่าของบริการเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศได้      

                                                   

               ข้อ 7 กรณีการลงรายการในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 5 และข้อ 6 ให้ปฏิบัติดังนี้

                         (1) การลงรายการในรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งได้ออกใบกำกับภาษีตามข้อ 5 จะต้องลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี สำหรับการคำนวณมูลค่าของสินค้าหรือของบริการในรายงานภาษีขายให้ถือมูลค่าของสินค้าหรือของบริการซึ่งได้คำนวณเป็นหน่วยเงินตราไทยตามใบกำกับภาษี

                         (2) การลงรายการในรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าซึ่งได้ออกใบกำกับภาษีตามข้อ 6(1) จะต้องลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ชำระอากรขาออก หรือวางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออก เว้นแต่กรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาออกหรือได้รับยกเว้นอากรขาออก ก็ให้ลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร โดยให้คำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในรายงานภาษีขาย ดังต่อไปนี้

                            (ก) ถ้าได้รับเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าในขณะที่ออกใบกำกับภาษีตามข้อ 6(1) และได้มีการขายเงินตราต่างประเทศที่ได้รับชำระนั้นเป็นเงินตราไทยในเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ถือเงินตราไทยจากการขายนั้นเป็นมูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้า เว้นแต่มิได้มีการขายเงินตราต่างประเทศในเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ถือตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ในวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 79/4(1) แห่งประมวลรัษฎากร

                           (ข) ถ้ายังไม่ได้รับเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าในขณะที่ออกใบกำกับภาษีตามข้อ  6(1) ให้คำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร

                           กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตาม (ก) หรือ (ข) ในเดือนภาษีที่ลงรายงานแล้ว ให้ถือมูลค่าของสินค้าซึ่งได้คำนวณเป็นเงินตราไทยเพื่อการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีนั้น ถ้าได้รับชำระราคาค่าสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศในเดือนภาษีอื่น หรือได้มีการขายเงินตราต่างประเทศในเดือนภาษีอื่น ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในเดือนภาษีที่ได้รับเงินตราต่างประเทศ หรือในเดือนภาษีที่มีการขายเงินตราต่างประเทศ

                     (3) การลงรายการในรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งการให้บริการได้กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามข้อ 6(2) ต้องลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ออกใบแจ้งหนี้หรืออินวอยซ์  โดยให้คำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในรายงานภาษีขายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร

                     (4) การลงรายการในรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยานซึ่งได้ออกใบกำกับภาษีตามข้อ 6(3) ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการลงรายการในรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ส่งออกสินค้าตาม (2)

 

             ข้อ 8   กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ให้คำนวณราคา   ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้านำเข้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามอัตราที่กรมศุลกากรใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 79/4(2) แห่งประมวลรัษฎากร

 

            ข้อ 9 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 5 ออกใบกำกับภาษีโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้องหรือ ไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบกำกับภาษีไม่มีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

 

             ข้อ 10  กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกใบกำกับภาษีและส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไปแล้ว ต่อมาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เนื่องจากไม่ใช่กรณีการออกใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตามมาตรา 82/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีสิทธิออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/9 และมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราดังกล่าวไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมาตรา 82/9 และมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ผลต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนถือเป็นผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมิใช่มูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยน

 

          ข้อ 11 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก

 

             ข้อ 12  คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป

 

 สั่ง ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548

 

     ศิโรตม์  สวัสดิ์พาณิชย์

     (นายศิโรตม์  สวัสดิ์พาณิชย์)

  อธิบดีกรมสรรพากร

 


Last update : Friday, October 14, 2005

Page 1/1
1
Copyright © 2005 www.teinpun.com Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com