Home | Service | News | เว็บบัญชี ที่น่าสนใจ | สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน | Easy_acc for Windows | Link Ranong | แบบจำลองการเริ่มต้นธุรกิจ SME | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มิถุนายน 2551 | การหักภาษี ณ ที่จ่าย | สำนักงานประกันสังคม | การยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ต | รู้เรื่องภาษี | รวมแบบฟอร์ม หนังสือสัญญาต่าง ๆ บริการฟรี | ศัพท์บัญชี | การยื่นงบการเงิน | สัมมนาที่น่าสนใจ ปี 2549 จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | บิซิเนสไทย | ถาม-ตอบ เกี่ยวกับภาษีอากร จากกรมสรรพากร | ถาม-ตอบ ยื่นแบบ/ชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต | ข้อหารือภาษีอากร จากกรมสรรพากร | เกร็ดความรู้ทางธุรกิจ | การจำหน่ายหนี้สูญที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม | เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี | วางแผนการเงิน 6 แผนการเงินที่ควรทำ


Category
   ความเป็นมา
   แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากร พ.ศ.2548-2551
   หน้าที่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
   สมุดบัญชีที่ผู้ทำบัญชี ต้องจัดทำ ตาม พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
   เอกสารที่ต้องนำส่งเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   ข้อควรระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
   ข้อควรปฏิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้
   สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป
   สำนักงานบัญชีไทย V.S. ยุโรป,อเมริกา
   เตรียมรับมือสรรพากรอย่างไร?
   การยกเลิกใบกำกับภาษี แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร?
   การออกใบแทนใบกำกับภาษี ฉบับที่สูญหาย ทำอย่างไร?
   หน้าที่ตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไร?
   เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงานบัญชียุคพัฒนา
   กรมสรรพากรให้บริการไอที Web Services ถึง 8 รายการ
   การแจ้งเปลี่ยนแปลงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
   สิทธิตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   ใครบ้าง ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 1
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 2
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 3
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 4
   ราชการใสสะอาด - วินัย/จรรยาบรรณ
   ดีเอสไอ. จับหนุ่มโกงภาษี
   บทความที่น่าสนใจจาก เว็บนักบัญชี.คอม
   แผนที่ชีวิตของคุณ?
   ถนอมสุขภาพตาอย่างไร เมื่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ
   เลือกซอฟท์แวร์อย่างไร สำหรับ SMEs
   การเสียเบี้ยปรับ ในกรณียื่นแบบ ภพ.30 เอง
   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั่วโลก
   การจัดตั้งคณะบุคคลทำอย่างไรบ้าง?
   การวางแผนภาษี เลือกจัดตั้งองค์กรธุรกิจ อย่างไรจึงเหมาะสม
   ค่าจดทะเบียนพาณิชย์, ห้างหุ้นส่วน และ บริษัทจำกัด
   ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ทางอินเตอร์เน็ต
   คำเตือนในการนำส่งงบการเงินประจำปีของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
   กรณีศึกษา - หมึกแดงกับการวางระบบบัญชีที่ตรวจสอบได้
   การขอเพิ่มสิทธิ์การติดตั้งโปรแกรม EASY_ACC
   คำแนะนำการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ สำหรับการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษจากกรมสรรพากร
   พรบ.การบัญชี 2543 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี
   การหักภาษี ณ ที่จ่าย
   เลขทะเบียนนิติบุคคลใหม่ 13 หลัก
   กลยุทธ์การป้องกันการถูกยึดกิจการ
   5 สัญญาณเตือนไทย ระวังการควบรวมกิจการ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการคัดสำเนาหนังสือรับรองผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
   สัมมนาหลักสูตรพื้นฐานสำหรับพัฒนาสำนักงานบัญชี ปี 2549
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2549 (ฟรี)
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดอบรมการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการ
   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เปลี่ยนแปลงเมื่อไร?
   เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
   การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามประมวลรัษฎากร
   อบรมเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2549
   การบริหารร้านค้าปลีกแบบมืออาชีพ
   การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
   การทำความเข้าใจกับลูกค้า
   คำอธิบายระหว่าง RMF. และ LTF.
   RMF. & LTF. (2)
   RMF. & LTF. (3)
   RMF. & LTF. (4)
   RMF. & LTF. (5)
   RMF. & LTF. (6)
   กลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นสรรพากรเรียกรับผลประโยชน์ในทางมิชอบ
   แบบสอบถามความเห็น การปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน
   เปิดเว็บไซต์ ฟรี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   5 อุปนิสัยในการประมวลผลที่ดี
   กิจวัตรประจำวัน และ จำนวนวันที่มีในชีวิตของคนเรา
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (1)
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (2)
   ปรับตัว/เตรียมใจอย่างไร? หากเกิดการเลย์ออฟ
   จดแล้วไม่จนจริงหรือ?
   สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
   โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
   หน่วยงานที่ให้บริการแก่ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง SME
   เตือนให้ส่งงบการเงินปี 2548 ภายใน 31 พฤษภาคม 2549
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้ กรณีขายบัตรเงินสด
   คำถาม-ตอบในการสัมมนา "การยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต"
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
   กรมสรรพากรจัดสัมมนาภาษีอากร ฟรี
   การตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดใช้งานไม่ได้
   กรณี - ความผิดการใช้ใบกำกับภาษีปลอม และพิสูจน์ผู้รับเงินไม่ได้
   อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินปี 2554 ล่าช้า (เริ่มใช้ เมษายน 2555)
   อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ใช้ทั่วประเทศ - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กรณีย้ายสถานประกอบการ ใบกำกับภาษีฉบับเดิมยังใช้ได้หรือไม่
   กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการแล้ว ผู้ขายไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ จะทำอย่างไร?
   วางแผนภาษีกับ การลงทุนใน RMF. & LTF.
   การวางแผนภาษี นั้นสำคัญไฉน??
   คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
   การอัพเกรด Easy_Acc for Windows
   ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
   ประเด็นความผิดเกี่ยวกับใบกำกับภาษี ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ร่าง พรบ.ของแถมของรางวัล
   สปส. ประกาศกฎกระทรวง เพิ่มคุ้มครอง 6 โรคเรื้อรัง
   ผู้ประกันตน ตาม ม.39 สิ้นสภาพ อย่าลืมรับเงินออม
   สิทธิและหน้าที่ที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ควรรู้
   ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย - น้องเดียว
   กรณีศึกษา - ภาษีน่ารู้
   เคล็ดลับหาเงินทุน บุกเบิกธุรกิจด้วยตนเอง
   ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีแล้ว (ภงด.94/49)
   ให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต
   การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
   กรณีศึกษา - การส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนกัน
   กรณีศีกษา - รายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วไม่จด ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
   กรณีศึกษา - นายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันให้พนักงาน
   ดับค้าปลีกต่างชาติในเยอรมัน-เกาหลี
   เสียภาษีอย่างไรให้ประหยัด
   เทคนิคการเลือก "กองทุน"
   บริษัท/ห้างฯ ที่จดทะเบียนใหม่จะต้องทำอะไรบ้าง?
   การเลือกซื้อกองทุน LTF
   การทำกิจการ "ค้าของเก่า"
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2550 (ฟรี)
   รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรทั้งหมด และที่ถูกพักใบอนุญาต
   เกณฑ์การรับรู้รายได้ รายจ่ายทางภาษีอากร (เกณฑ์สิทธิ) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550
   ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้
   SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร?
   สิทธิของผู้ประกันตน กรณีว่างงาน
   ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องทำบัญชีหรือแสดงรายได้เพื่อเสียภาษีอย่างไร?
   หลากกฎเตือนใจช่วยประหยัด-ฉลาดจ่าย
   กลยุทธ์ปั้นธุรกิจสู่เส้นชัย จาก 5 บริษัทชั้นนำระดับโลก
   กานต์ ตระกูลฮุน บ่มภาวะผู้นำ "คนปูน"
   ขอคืนภาษี โดยไม่สุจริต ระวังติดคุก?
   ข้อแตกต่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท ปี 2538 กับ 2549
   หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ
   ปรัชญานายห้างเทียม
   คดีภาษีขึ้นศาลภาษีอากรกลาง เพิ่มขึ้น 100%
   ภาษีมรดกในประเทศไทย
   ค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตรตามกฎหมายภาษีไทย
   ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 และ 94
   วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภงด.50 และ ภงด.51
   วางแผนการเงินให้ครอบครัวเภสัชกร
   ช่วยผู้บริหารสานสัมพันธ์ ผูกมิตรกับพนักงานระดับล่าง
   เงินได้ของแพทย์เสียภาษีอย่างไร?
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนให้ยื่นงบการเงินปี 2549 ภายใน 1 มิถุนายน 2550
   เมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัท/ห้างฯ แล้ว จะต้องชำระบัญชีเมื่อไร?
   ก่อนเริ่มต้น ทำพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์
   ข้อชี้แนะในการเลือกนักบัญชี (สำนักงานบัญชี)
   กรณีขายน้ำผลไม้สดคั้น
   ปฏิวัติ พ่อแม่
   The Future of Accounting
   สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
   อยากให้ลูกเรียนกฎหมาย
   การลงทุนในเวียตนาม
   ถึงเวลาแล้ว ต้องยื่น ภงด.50 รอบปีบัญชี 2550 แล้ว
   สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของผู้ส่งออกที่ดี
   ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี
   พิธีการศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกสินค้ากับพม่า
   สรรพากรจะให้ร้านค้าใช้เครื่องเก็บเงินในปีหน้า
   ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% ใช้ถึง 30 กันยายน 2551
   สรรพากรเอาผิดผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือขอคืนภาษีเป็นเท็จ
   ระวัง มิจฉาชีพ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรทางโทรศัพท์
   ลูกจ้างควรวางแผนภาษีเงินได้อย่างไร
   คำถามยอดนิยมจากเว็ปกรมสรรพากร
   สวนดุสิตโพลล์ชี้ผลวิจัยล่าสุด บัญชี แพทย์ บริหาร คอมฯ วิศวะ ครองแชมป์ได้งานสูง
   ถอนทะเบียนบริษัทร้าง 4,216 ราย
   สัมมนา "เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสำนักงานบัญชี
   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ.2550
   เตือนผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินประจำปี 2550
   มาตรการภาษี กระตุ้นเศรษฐกิจใช้บังคับปีภาษี 2551
   รายงานที่ต้องจัดทำในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ระเบียบใหม่ - การจัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
   การเสียภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใหม่
   จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ภายในวันเดียว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2551
   กฎหมายใหม่สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มใช้ 1 มกราคม 2551
   สรุปประเด็นข้อผิดพลาดในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
   ฏีกาภาษี ประเด็นมาตรา 40 (2) หรือ 40 (8)
   เงินได้นอกจากเงินเดือน ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 48 (2)
   ด่วน.... สัมนาภาษีอากร ฟรี กับกรมสรรพากร
   ภาษีที่เกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์
   ภาษีที่ดิน
   การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 6 เดือน
   สรรพากรไล่บี้สำนักงานบัญชี และผู้ประกอบการที่เลี่ยงภาษี
   เป้าเก็บภาษีปี 2553 - กรมสรรพากร
   กรมสรรพากร - เตือนผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
   การวิเคราะห์ภาระภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และการขยายฐานภาษี
   งบการเงิน ใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2553
   มีอะไรใหม่ ในการยื่นชำระภาษีปี 2552 (ภงด.90 / 91)
   หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ.2553 - ใหม่
   ข้อบกพร่องในการรับงบการเงิน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สัมมนาฟรี เรื่อง "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   ขยายเวลา การยื่นงบการเงิน ปี 2552 (3 เขต ใน กทม.)
   กรณีการเสียภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเงินได้ภรรยา ยื่นรวมกับสามี
   สัมมนาฟรี "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   สัมมนาฟรี "ฝ่าวิกฤต พิชิตปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคล"
   คัดสำเนาหนังสือรับรอง, เอกสารการจดทะเบียน และงบการเงินทาง e_Service
   การทำธุรกรรมทางออนไลน์ เสียภาษีหรือไม่?
   สำนักงานบัญชี ที่ต้องวางหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม 3%
   "สมคิด" เสนอปฏิรูปการคลัง ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
   สัมมนาฟรี "ลด แลก แจก แถม อย่างไร สบายใจ เรื่องภาษี"
   สรรพากรรื้อใหญ่ขยายฐานรายได้ ไม่เน้นขึ้นภาษี หันเก็บทั่วถึง-เป็นธรรม
   สรรพากรประกาศนโยบาย BIG CHANGE ตั้งเป้าปี54 เก็บภาษี 1.3 ล้านล้าน
   บริหารภาษีอย่างถูกวิธี - น่าสนใจ จริง ๆ
   ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
   ข้อควรทราบเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง?
   มาตราการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
   คลังลุยรื้อภาษีมุ่งลดเหลื่อมล้ำ
   โค้งสุดท้าย ซื้อ RMF/LTF ประหยัดภาษีปี 2553
   ชง ครม. เรียกเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา รัฐได้เพิ่ม 4,000 ล้านบาท
   การจัดทำบัญชีอย่างง่าย ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กำไรจากการขาย LTF
   สรรพากรเตือนผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภงด.90/91
   ประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงินของกรมสรรพากร
   เตรียมลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เริ่ม 1 มค.2555
   กรมสรรพากร - คู่มือประชาชน
   แนวปฏิบัติของผู้เสียภาษ๊ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย 2554
   บริการ 3 กรมภาษี กระทรวงการคลัง
   กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554
   ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน จาก 5% เหลือ 3% และ 4%
   ผู้หญิงเฮ ! แยกยื่นเสียภาษีกับสามี จ่ายน้อยลง ผลงานโบว์แดงผู้ตรวจการแผ่นดิน ???
   1 กุมภาพันธ์ 2555 เริ่มใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก
   ขอหนังสือรับรองจดทะเบียนหุ้นส่วน/บริษัท ผ่านธนาคาร ได้แล้ว
   กรณีกรมสรรพากรให้หักค่าลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถเนื่องจากน้ำท่วม ปี 2554
   กรมสรรพากร ให้ยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต มากขึ้น
   ค่าจ้างแรงงานต่อวัน เริ่มใช้ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
   ผู้หญิงมีสามีเฮ! ศาลรธน.ตัดสินกม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว
   ข่าวกรมสรรพากรที่น่ารู้
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีสามี-ภรรยา แยกกันยื่นแบบทุกภาษี เริ่มปีภาษี 2555 เป็นต้นไป
   การยื่นแบบแสดงรายการภาษี และยื่นแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย ตามประกาศของ ป.ป.ช. เริ่ม 1 เมษายน 2555
   ระเบียบใหม่ การจัดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด เริ่มใช้ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีเงินได้ กรณีสามีภรรยา (ฉบับใหม่) เริ่มใช้ 14 มกราคม 2556
   ขยายเวลาการใช้เลขภาษี 10 หลัก ถึง 31.7.2556
   คำแนะนำในการยื่นบัญชีแสดงรายรับ-รายจ่ายของโครงการ ตาม (บช.1)
   สิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2556 .....ใหม่ล่าสุด
   เพิ่มข้อความ "เลขภาษี 13หลัก" และ "สาขาที่ออกใบกำกับภาษี" ลงในใบกำกับภาษีขาย และใบกำกับภาษีซื้อ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2557
   สัมมนา ฟรี กับสรรพากร (ครึ่งวัน ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556 จำนวน 4 รอบ)
   ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่..... มาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฯ เริ่มใช้ 1 มค.2556
   การลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556
   ข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ที่จะเริ่มใช้ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
   สามีภรรยาร่วมกันทำการค้าถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT
   หลักเกณฑ์การประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
   หสม. หรือ คณะบุคคล ตามกฎหมายใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2558
   ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบทางออนไลน์ของกรมสรรพากรไปถึง มค.2560
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
สำนักงานบัญชี
1. ให้บริการวางระบบบัญชีของธุรกิจ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี&lt;br&gt;<br>

2. ให้บริการจัดทำบัญชี และรายงานผลการดำเนินธุรกิจเป็นรายเดือน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี EASY_ACC&lt;br&gt;<br>

3. ให้บริการและให้คำแนะนำในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี <br>

ได้แก่ ภพ.30 ภงด.1,3,53,50,51,90,91,94 ทางอินเทอร์เน็ต ให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลารอและการเดินทางของพนักงานสำหรับการยื่นแบบและชำระภาษี &lt;br&gt;<br>

4. ให้บริการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯ ก่อนการ เข้าตรวจสอบของเจ้าพนักงาน&lt;br&gt;<br>

5. จัดทำบัญชีและส่งมอบเอกสารบัญชี, สมุดบัญชีให้ผู้ประกอบการเก็บไว้ตาม พรบ.การบัญชี &lt;br&gt;<br>

สอบถามได้ที่ 077-811694, แฟ็กซ์ 077-813156หรือ E_mail :<a href=mailto:info@teinpun.com>info@teinpun.com</a>; &amp;:<a href=mailto:teinpun@yahoo.com>teinpun@yahoo.com</a>;
 

Online: 002
Visitors : 79121

วางแผนการลงทุน - บุกเบิกธุรกิจด้วยตัวเอง

ที่มา - http://www.msnth.com/msn/money/investmentplanning/article9.asp

  วางแผนการลงทุน : เคล็ดลับหาเงินทุน บุกเบิกธุรกิจด้วยตัวเอง  

หลังจากนำเสนอข้อมูลเพื่อมนุษย์เงินเดือนชาวไทยทั้งใน และต่างประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากความเป็นไปได้อาจมีการเลย์ออฟไปแล้ว 2 ตอน ซึ่งตอนล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คอลัมนิสต์ของนิตยสารมันนี่ ได้รวบรวมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เรียบเรียงและถ่ายทอดออกมาเป็น 5 ทางเลือก สำหรับอาชีพที่ตลาดต้องการมีรายได้งาม

เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง คอลัมน์ Tricks and Tips ฉบับนี้ จึงขอนำเสนอข้อมูล อันเป็นกลเม็ดเคล็ดลับที่น่าจะมีส่วนช่วย และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับมนุษย์เงินเดือน ที่เปลี่ยนใจเบนเข็มออกจากงานประจำที่ทำอยู่ซ้ำซากจำเจ มีแต่ความไม่แน่ไม่นอนว่าจะถูกเลย์ออฟเมื่อใด ให้สามารถเสาะหาเม็ดเงินมาลงทุนทำธุรกิจได้ด้วยตัวเอง

"ศิลปะแห่งการทำด้วยตัวเอง" (The Art of Doing It Yourself ) เป็นหัวเรื่องที่วิเวค วัทวา คอลัมนิสต์อิสระที่ฟังจากชื่อแล้ว น่าจะมีเชื้อสายชาวเอเชียใต้ของบิซิเนส วีค ตั้งขึ้นมาจูงใจให้มนุษย์เงินเดือน ที่ชอบความท้าทายคิดเองทำเองได้นำข้อมูลไปประยุกต์ เตรียมความพร้อมเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในโลกของผู้ประกอบการรายใหม่ โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือการเงินจากนายทุนอิสระ ซึ่งในสหรัฐเรียกนายทุนรายใหญ่ว่า venture capitalists หรือนายทุนส่วนบุคคลอย่าง angel investors

สำหรับวัทวาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทซอฟต์แวร์ 2 แห่ง และเป็นศาสตราจารย์ด้านExecutive-in-Residence/Adjunct ประจำมหาวิทยาลัยดุ๊ค การนำเสนอข้อมูลและคำแนะนำของวัทวา ครั้งนี้ หากแฟนๆคอลัมน์สนใจอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเขา สามารถอีเมลถามตอบกับทางออนไลน์ vivek@wadhwa.com

ทั้งนี้วัทวาเตือนว่าการเข้าหาเรียกความสนใจจาก venture capitalists และ angel investors ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่คิดผันตัวเองเป็นผู้ประกอบการใหม่ จะต้องมีแผนเป็นไปได้ในการปั้นธุรกิจให้เติบโตทำกำไรได้ในอนาคต และแม้นักบุกเบิกธุรกิจรุ่นใหม่โชคดี ได้โอกาสให้เข้าไปนำเสนอไอเดียต่อหน้านายทุนอิสระ

แต่กระบวนการตรวจสอบตัวเลขการเงิน จะลากแผนพัฒนาธุรกิจของผู้คิดบุกเบิกธุรกิจใหม่ต้องล่าช้าออกไปอีกหลายเดือน และไม่ใช่ว่าแผนพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการหน้าใหม่ทุกราย จะได้รับความเห็นชอบ สมควรได้รับเงินทุนไปต่อยอดธุรกิจได้ เพราะทุกสัปดาห์ venture capitalists จะได้รับแผนพัฒนาธุรกิจของผู้คิดเป็นผู้ประกอบการธุรกิจหน้าใหม่มากมายหลายร้อยแผน แต่จะมีเพียงไม่กี่แผนที่ได้รับการสนับสนุนและได้เงินช่วยเหลือ

ดังนั้นคำถามน่าสนใจ คือ ผู้คิดผันตัวเองไปเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ควรทำอย่างไร จึงจะได้ทุนสนับสนุนเอง โดยไม่ต้องรอความหวังและรอเวลาตัดสินใจจากทั้ง venture capitalists หรือ angel investors ซึ่งเรื่องนี้วัทวาได้ให้คำแนะนำ ที่สามารถปรับใช้เป็นแนวทาง เลือกคิดเลือกทำสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ในอนาคต

"เริ่มต้นด้วยตัวเอง" ในทุกๆ เรื่อง เป็นประโยคสั้นๆ และเป็นหัวใจในการให้คำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์อย่างวัทวา เขาแนะให้ผู้ประกอบการใหม่ต้องมุ่งมั่นคิดอย่างมีเหตุและผล พูดหรืออธิบายแล้วเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ สามารถสร้างสรรค์ไอเดียเป็นรูปธรรม และที่สำคัญสามารถขายไอเดียหนุนธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปได้

ผู้ประกอบการใหม่ต้องจริงใจและจริงจัง เปิดใจยอมรับและขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ และคนในครอบครัว มองหาที่ปรึกษาและต้องยอมควักเงินออมหรือบริหารบัตรพลาสติกบ้าง วัทวาเตือนว่าการเริ่มต้นกิจการหรือธุรกิจเป็นของตัวเอง ไม่เหมือน และไม่ใช่อาหารสำเร็จรูป แต่เขามีคำแนะนำหลายข้อ อันเป็นองค์ประกอบหรือเป็นส่วนผสมสำคัญ ให้กับมนุษย์เงินเดือนเก็บไว้พิจารณา หากตัดสินใจเปลี่ยนเข็มเป็นผู้ประกอบการใหม่ในอนาคต

"เก็บข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์ทำธุรกิจที่ตัวเองสนใจมาก่อน" การแลกเปลี่ยนความคิด และประสบการณ์กับผู้มีประสบการณ์เคยทำมาก่อน ถือเป็นเรื่องดีที่วัทวาย้ำว่าควรทำ ผู้ประกอบการหน้าใหม่สามารถเรียนรู้ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว จากผู้ที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาวในงานอาชีพนั้นๆ มาก่อน

ผู้มีประสบการณ์ตรงจึงมีวิธีการ และคำแนะนำมากมาย ที่สามารถแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นความสามารถซ่อนเร้นที่ผู้ประกอบการใหม่อาจไม่รู้ ดังนั้นการเข้าหากลุ่มคนเจอเรื่องจริง และทำจริงมาแล้ว จะช่วยให้ผู้ประกอบการใหม่เรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้ง และได้ไอเดียใหม่ที่จะช่วยสนับสนุนกิจการหรือธุรกิจของตัวเองในอนาคต

"หาลู่ทางเชื่อมโยงสานสัมพันธ์กับทุกฝ่ายในตลาด" ขอให้ขยันสื่อสาร โดยพูดคุยกับหุ้นส่วนทำธุรกิจ นักวิเคราะห์และบรรดาลูกค้าที่มีศักยภาพ สามารถใช้บริการได้ต่อเนื่อง หรือใครก็ตามที่สามารถช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการใหม่ตีโจทย์ หรือเข้าใจเป้าหมายการทำธุรกิจกับการตลาดของตัวเองได้ชัดเจน

หากผู้ประกอบการใหม่สามารถขายแนวความคิดตัวเองให้ลูกค้าได้ กลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้อาจจะช่วยให้ผู้ประกอบการใหม่มีทุนสนับสนุนระยะแรก หรือตกลงใจที่จะเป็นกลุ่มทดสอบตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถอ้างอิงถึงได้ เพราะลูกค้ามักจะไม่รู้ว่าพวกเขาต้องการอะไร แต่ในทางตรงกันข้ามพวกเขารู้อยู่เสมอว่าอะไรบ้างที่ตัวเองไม่ต้องการ สรุปแล้วข้อนี้ขอให้ผู้ประกอบการใหม่แน่ใจด้วยว่า จะมีตลาดจริงรองรับสินค้าหรือบริการ

"เริ่มต้นแบบจิ๋วแต่แจ๋ว" ไอเดียของผู้ประกอบการใหม่อาจดูยิ่งใหญ่ และมีศักยภาพเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้ เพียงแต่ว่าผู้ประกอบการใหม่ต้องก้าวไปข้างหน้าที่ละก้าว มองหาลู่ทางแก้ปัญหาแบบง่ายๆ ทดสอบไอเดีย และเรียนรู้จากเสียงตอบกลับมา

วัทวายกตัวอย่าง หากผู้ประกอบการใหม่กำลังเริ่มต้นทำร้านอาหาร ขอให้เขาหรือเธอทำงานเรียนรู้จากคนอื่นๆ ที่มีร้านอาหารเสียก่อน หรือหากผู้ประกอบการใหม่สร้างสรรค์สินค้าประเภทซอฟต์แวร์ ขอให้เรียนรู้จากการทำส่วนประกอบ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าซอฟต์แวร์ตัวใดตัวหนึ่งก่อน ไม่จำเป็นต้องทำเพื่อให้ได้สินค้าที่อยู่ในความคิดออกมาทันที หรือไม่จำเป็นต้องให้เสร็จสำเร็จรูปออกมาเป็นสินค้าในฝัน

"มุ่งมั่นไปที่ความสามารถทำกำไรกับรายได้ช่วงเริ่มต้น" ให้คำนวณถี่ถ้วนทุกบาททุกสตางค์ หาทางทำเงินสดจากการขายในหลายๆ ทาง เช่น จากค่าลอยัลตี้ จากใบอนุญาตหรือจากตัวผลิตภัณฑ์ ให้ค่าตอบแทนพนักงานเป็นหุ้นของบริษัท

ถ้าทำได้วัทวาแนะผู้ประกอบการใหม่ ประหยัดต้นทุนลงมือดูแลความสะอาดปัดกวาดบริษัทด้วยตัวเอง เป็นตัวอย่างให้ลูกน้องเห็นในระยะแรก แต่ภายใต้ความพยายามดูแลบริหารงบให้ลงตัว ขอให้มองหาโอกาสให้ได้มาซึ่งอุปกรณ์ เครื่องมือหรือฮาร์ดแวร์บางตัว ที่อาจได้ฟรีหรือจ่ายน้อยลงจากแหล่งต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุนผู้ประกอบการใหม่ และจากเพื่อนฝูงคนรู้จัก เพื่อลดต้นทุนการลงทุนช่วงบุกเบิก

"ให้คิดถึงเงินสดหมุนเวียนว่าสำคัญ" วัทวาให้คำแนะนำข้อนี้ เพราะมองว่าผู้ประกอบการใหม่ต้องปล่อยวางโอกาสสำคัญไปให้ถึงเป้าหมายใหญ่บ้าง แต่ให้เขาหรือเธอตั้งใจกับดีลเล็กๆ น้อยๆ ตรงหน้า ที่จะสามารถทำให้วงจรการขายช่วงสั้นๆ จบลงด้วยความสำเร็จ และก่อเกิดรายได้เข้ามาเป็นเงินสดหมุนเวียนต่อเนื่อง

"คิดนอกกรอบเสียบ้าง" การริเริ่ม หรือการเริ่มต้นทำอะไรสักอย่างหนึ่ง จากมุมมองของวัทวาเชื่อว่ามักจะมีหนทางดีกว่าเสมอ ที่จะแก้ปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค แต่ผู้ประกอบการใหม่จะไม่มีจุดยืนอะไรเลย หากคิดเดินตามเส้นทางของคนอื่นๆ ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า ผู้ประกอบการใหม่กำลังเข้าสู่สนามรบ ที่มีคู่แข่งขันมากมายรออยู่

"เรียนรู้ที่จะขายอยู่เสมอ" เพื่อให้ผู้ประกอบการใหม่พบกับความสำเร็จในชีวิต เขาหรือเธอจะต้องชักชวนหรือโน้มน้าวผู้คนทั่วไปยอมจ่าย เพื่อซื้อสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการ แต่ผู้ประกอบการใหม่ทำได้สำเร็จต่อเมื่อทำให้ผู้คนเหล่านี้รู้ว่า ผู้ประกอบการใหม่กำลังให้สิ่งดีแก่พวกเขา

ดังนั้นเมื่อตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการใหม่ เขาหรือเธอจะต้องมีความสามารถในการขายเป็นทักษะพื้นฐานจำเป็น และมีความสำคัญอยู่เสมอ เพราะทักษะนี้จะต้องนำไปใช้ เพื่อทำการตลาดสินค้าของตัวเอง การสรรหาบุคลากรมีความสามารถ หรือการระดมทุนหาเม็ดเงินมาพัฒนาธุรกิจ และหากผู้ประกอบการใหม่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเปิดดูข้อมูลจากเวบไซต์ http://www.businessweek.com เจาะเข้าไปดูในหัวข้อ "Selling for Survive"

"เตรียมลู่ทางรับเหตุเลวร้าย" การบุกเบิกทำธุรกิจใหม่ ผู้ประกอบการหัดขับต้องคิดเผื่อปัญหาในวันข้างหน้าไว้บ้าง เพราะมีแนวโน้มที่เกิดปัญหาท้าทายมากมายรออยู่ข้างหน้า ทั้งปัญหาการเงิน ค่าตอบแทนพนักงาน ความรู้สึกไม่พอใจของลูกค้า และปัญหาอันเกิดจากคุณภาพสินค้า

ผู้ประกอบการใหม่อาจล้มเหลวมาหลายต่อหลายครั้ง ก่อนประสบความสำเร็จไปสู่จุดหมายหรือเป้าหมายของตัวเอง อย่างไรก็ตามการเรียนรู้จากผู้อื่น ที่เดินทางไปบนเส้นทางเดียวกันหรือเหมือนกัน ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ประสบการณ์ทั้งสองด้านนี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการใหม่พบกับคำตอบและการปรับตัวที่เหมาะสมในที่สุด ผู้สนใจหาข้อมูลส่วนนี้เพิ่มเติม สามารถเข้าเวบไซต์ http://www.businessweek.com เจาะเข้าไปอ่านในหัวเรื่อง "When Life Hands You Lemons"

"อย่าลืมนึกถึงจริยธรรมกับความซื่อสัตย์" เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่วัทวาย้ำว่า ผู้ประกอบการใหม่ไม่ควรลืม และต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก บนพื้นฐานของนักธุรกิจมีจิตใจงดงาม อยากช่วยเหลือสนับสนุนให้ลูกค้าพบแต่ความสำเร็จ จากการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ

จริยธรรมในมุมมองของวัทวาแล้ว จำเป็นต้องสั่งสมบ่มเพาะด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ ให้ฝังรากลึกลงไปในธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น และหนทางเดียวที่จะไปให้ถึงความสำเร็จในระยะยาว คือ การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าประสบผลสำเร็จจากการใช้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าเวบไซต์ http://www.businessweek.com เจาะเข้าไปอ่านเรื่อง "Integrating Ethics at the Core"

วัทวายังทิ้งท้ายให้กำลังใจ มนุษย์เงินเดือนที่คิดผันตัวเองไปเป็นผู้ประกอบการใหม่ในอนาคตว่า การทำงานหนักพร้อมกับความโชคดี บนพื้นฐานของความพยายามในทุกๆ ข้อเสนอแนะที่เขาให้มา จะช่วยให้ผู้ประกอบการใหม่คนไทยทั้งใน และต่างประเทศ สามารถก่อตั้งบริษัทที่มีแต่ความสำเร็จ ขณะเดียวกันลูกค้าของบริษัทจะได้สิ่งที่พวกเขาต้องการอย่างแท้จริงด้วย

บทความจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ





Page 1/1
1
Copyright © 2005 www.teinpun.com Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com