Home | ธุรกิจ BPM | สมัครงาน | ข่าวสาร BPM | ติดต่อเรา


Category
   แนะนำบริษัท
   ห้องกฎหมาย Bpm
   ข่าวสารอสังหาริมทรัพย์
   LINK เพื่อนบ้านBPM
   กิจกรรม BPM
   สมัครงาน
   แผนที่
   ถาม-ตอบปัญหา
   ซื้อ-ขาย ให้เช่า
   ราชการ-สถาบันการเงิน
   ผลงาน BPM
   หนังสือพิมพ์-ทีวี-วิทยุ
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
Bpm
Smart Management
บริการดี มีประสิทธิภาพ
เพิ่มมูลค่า รักษาผลประโยชน์

 

Online: 001
Visitors : 76608

การตรวจสอบอาคาร

รายชื่อผู้ตรวจสอบอาคาร http://www.dpt.go.th/building_audit


คำแนะนำสำหรับเจ้าของอาคารในการปฏิบัติตามกฎหมาย

เรื่องการตรวจสอบสภาพอาคาร 

1. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบสภาพอาคาร 

 คำถามที่เจ้าของอาคารมักสงสัยว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากการตรวจสอบสภาพอาคาร
กฎหมายบังคับเกินความจำเป็นหรือไม่ คงต้องพิจารณาถึงที่มาของการออกกฎหมาย แนวความคิดและวัตถุประสงค์ของกฎหมายก่อน

 เนื่องจากอาคารจะมีโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ภายในอาคารที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
ของประชาชน เช่น ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ระบบไฟฟ้า ระบบลิฟต์ ฯลฯ ซึ่งระบบต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อมีการใช้งานไประยะหนึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจสอบดูแลและบำรุงรักษา เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา ซึ่งในการใช้อาคารอย่างถูกต้องและปลอดภัยแล้ว แม้กฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องทำการตรวจสอบสภาพอาคารและบำรุงรักษา แต่ก็เป็นเรื่องที่เจ้าของอาคารควรจะดำเนินการอยู่แล้ว
 มีหลายกรณีที่เกิดเหตุการณ์อาคารถล่มหรือไฟไหม้ โดยเฉพาะอาคารสาธารณะที่มีคนเข้าไปใช้สอยเป็นจำนวนมาก แม้จะมีเหตุที่บ่งชี้ว่าโครงสร้างของอาคารเกิดการวิบัติขึ้นแล้ว และจะอันตรายอย่างร้ายแรงถึงขั้นอาคารถล่มหากไม่ได้รับการแก้ไข แต่เจ้าของอาคารก็ไม่ทราบและไม่คาดคิดว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นร้ายแรงเพียงใด หรือกรณีเพลิงไหม้โรงแรมบางแห่งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะมี
การติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ แต่เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ระบบกลับไม่ทำงาน ทำให้ผู้ใช้อาคารไม่ทันได้ระวังตัวและหนีไม่ทัน ได้ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจสอบสภาพระบบต่างๆ ของอาคารได้เป็นอย่างดี 

 ในปัจจุบันนี้มีหลายอาคารที่คำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่ใช้อาคาร โดยจัดให้มีการบำรุงรักษาโครงสร้างและระบบต่างๆ ของอาคารให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมออยู่แล้ว ถึงกระนั้นการตรวจสอบสภาพอาคารก็ยังมีความจำเป็น เนื่องจากเป็นระบบการตรวจทานมิให้เกิดข้อผิดพลาดจากการดูแลบำรุงรักษาอาคารโดยผู้ตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นบุคคลที่สามหรือ Third party

2. บทบาทของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร 

 กฎหมายได้กำหนดให้เจ้าของอาคารต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารด้านวิศวกรรมหรือผู้
ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ต้องทำการตรวจสอบสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

(1) ความมั่นคงแข็งแรงอาคาร ได้แก่

(ก) การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
(ข) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นที่อาคาร
(ค) การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
(ง) การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
(จ) การชำรุดสึกหรอของอาคาร
(ฉ) การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
(ช) การทรุดตัวของฐานรากอาคาร

(2) ระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร ได้แก่

(ก) ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
(1) ระบบลิฟต์
(2) ระบบบันไดเลื่อน
(3) ระบบไฟฟ้า
(4) ระบบปรับอากาศ

(ข) ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
(1) ระบบประปา
(2) ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
(3) ระบบระบายน้ำฝน
(4) ระบบจัดการมูลฝอย
(5) ระบบระบายอากาศ
(6) ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง

(ค) ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
(1) บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
(2) เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
(3) ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
(4) ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
(5) ระบบลิฟต์ดับเพลิง
(6) ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
(7) ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
(8) ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง
(9) ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
(10) ระบบป้องกันฟ้าผ่า

(3) สมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร ได้แก่

(ก) สมรรถนะบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
(ข) สมรรถนะเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
(ค) สมรรถนะระบบแจ้งสัญญาณเหตุเพลิงไหม้

(4) ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร ได้แก่

(ก) แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร
(ข) แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร
(ค) แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร
(ง) แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร 

3. ประเภทอาคารที่ต้องตรวจสอบและกำหนดวันที่ต้องส่งรายงานการตรวจสอบ 

 อาคารที่ต้องตรวจสอบมี 9 ประเภท ได้แก่

 3.1 อาคารสูง (อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ยี่สิบสามเมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด)

 3.2 อาคารขนาดใหญพิเศษ (อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่หนึ่งหมื่นตารางเมตรขึ้นไป)

 3.3 อาคารชุมนุมคน (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป)

 3.4 โรงมหรสพ (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม)

 3.5 โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตังแต่แปดสิบห้องขึ้นไป

 3.6 อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม (อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ ละครอบครัว) ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป

 สำหรับอาคารชุดและอาคารอยู่อาศัยรวมที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่
พิเศษจะได้รับการผ่อนผันเรื่องกำหนดเวลาการตรวจสอบคือ

 - กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2555

 - กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันเกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2553

3.7 อาคารโรงงานที่สูงกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป

 3.8 ป้ายสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปหรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป

3.9 สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
 

 ทั้งนี้ อาคารทั้ง 9 ประเภท (เว้นแต่อาคารตามข้อ 3.6 ที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ) ต้องถูกตรวจสอบและส่งรายงานการตรวจสอบก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2550

 สำหรับกรณีพื้นที่นอกเขตควบคุมอาคาร (พื้นที่ที่ยังไม่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือพื้นที่นอกเขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง)
อาคารที่ต้องทำการตรวจสอบมี 4 ประเภท ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ

4. คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบ 

 ผู้ตรวจสอบจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ โดยต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

 (1) ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา

 (ก) มีสัญชาติไทย

 (ข) ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก แล้วแต่กรณี

 (ค) ผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบ ของอาคารตามที่คณะกรรมการควบคุมอาคารรับรอง

 (ง) ไม่เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบในระยะเวลาสองปีก่อนวันขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ

 (2) ถ้าเป็นนิติบุคคล

 (ก) ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย โดยทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องเป็นของ ผู้มีสัญชาติไทย และมีผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือกรรมการเป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือกรรมการทั้งหมด

 (ข) ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก แล้วแต่กรณี

 (ค) สมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคลจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารที่คณะกรรมการควบคุม อาคารรับรอง

 (ง) สมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคลตาม (ค) ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียน เป็นผู้ตรวจสอบในระยะเวลาสองปีก่อนวันขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ


 สมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคล ได้แก่ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการ กรรมการ
ผู้จัดการหรือผู้บริหารตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลในการตรวจสอบอาคาร

 ผู้ตรวจสอบดังกล่าวต้องขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการควบคุมอาคาร โดยจะได้รับ
หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ ตามแบบ รต. 1 จากคณะกรรมการควบคุมอาคาร

 

. จะหาผู้ตรวจสอบได้จากที่ใด


 เจ้าของอาคารสามารถค้นหารายละเอียดข้อมูลของผู้ตรวจสอบอาคารได้ในเว็บไซต์กรม
โยธาธิการและผังเมือง (
www.dpt.go.th) ซึ่งจะมีรายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของผู้ตรวจสอบอาคาร แสดง
ไว้เพื่อให้เจ้าของอาคารได้พิจารณาเลือกผู้ตรวจสอบอาคารด้วยตนเอง

.. ราคาค่าตรวจสอบ
ราคาค่าตรวจสอบขึ้นอยู่กับ


1. ลักษณะและขอบเขตของการทำงานตรวจสอบ ซึ่งเป็นการตรวจสอบแบบ Audit ด้วย
สายตา ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบเพื่อสังเกตว่ามีสิ่งที่ผิดปกติกับระบบนั้นๆ หรือไม่ ระบบต่างๆ มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานที่ไม่สลับซับซ้อน หากพบว่ามีสิ่งที่ผิดปกติ ผู้ตรวจสอบจะรายงานให้เจ้าของอาคารทราบเพื่อจัดหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นเข้ามาทำการตรวจวิเคราะห์ และซ่อมแซมแก้ไข แล้วผู้ตรวจสอบจะทำหน้าที่ตรวจว่า การแก้ไขนั้นถูกต้องสมบูรณ์และทำให้ระบบที่ได้รับการซ่อมแซมแก้ไขอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
2. ชนิด ประเภทและขนาดของอาคาร รวมทั้งจำนวนของระบบต่างๆ ของอาคารนั้น
และความสลับซับซ้อนของระบบ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดปริมาณงานที่ต้องตรวจสอบ
ทั้งนี้ เจ้าของอาคารต้องเป็นผู้เจรจาตกลงราคากับผู้ตรวจสอบ

5. รายละเอียดการตรวจสอบ

.. การตรวจสอบใหญ่
เป็นการตรวจสอบโครงสร้างอาคารและระบบทุกระบบ ตามที่กล่าวมาแล้วข้อ 2. โดยให้กระทำทุก 5 ปี ในการตรวจสอบใหญ่ทุกครั้ง ผู้ตรวจสอบต้องจัดทำแผนต่างๆ ดังนี้
(1) แผนปฏิบัติการการตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร รวมทั้งคู่มือปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวให้แก่เจ้าของอาคาร เพื่อเป็นแนวทางการตรวจบำรุงรักษาและการบันทึกข้อมูล
การตรวจบำรุงรักษาอาคาร

(2) แผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปี รวมทั้งแนวทางการตรวจสอบตามแผนดังกล่าวให้แก่เจ้าของอาคาร เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปี

.. การตรวจสอบประจำปี

เป็นการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร
ประจำปีที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทำไว้ในการตรวจสอบใหญ่ การตรวจสอบประจำปีให้กระทำทุกปี 

6. ขั้นตอนที่เจ้าของอาคารต้องดำเนินการ

 6.1 เจ้าของอาคารต้องปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารและคู่มือปฏิบัติตามแผนดังกล่าวที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทำไว้ในการตรวจสอบใหญ่ เพื่อเป็นแนวทางการตรวจบำรุงรักษาและการบันทึกข้อมูล การตรวจบำรุงรักษาอาคาร นอกจากนี้ยังต้องจัดให้มีการบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคารตามคู่มือปฏิบัติของผู้ผลิตหรือผู้ติดตั้งระบบและอุปกรณ์อาคาร หรือตามแผนปฏิบัติการการตรวจบำรุงรักษาที่ผู้ตรวจสอบกำหนด และจัดให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจบำรุงรักษาอาคารตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด

 หากผู้ตรวจสอบเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ควรดำเนินการตามข้อเสนอแนะให้แล้วเสร็จ แล้วให้ผู้ตรวจสอบทำการตรวจสอบอีกครั้งแล้วทำรายงานเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

 6.2 เจ้าของอาคารต้องเสนอรายงานผลการตรวจสอบของอาคารและอุปกรณ์ของอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี โดยจะต้องเสนอในสามสิบวันวันก่อนวันที่ใบรับรองการตรวจสอบอาคารฉบับเดิมจะมีระยะเวลาครบหนึ่งปี

 เมื่อได้รับใบรับรองการตรวจสอบแล้ว ให้แสดงใบรับรองการตรวจสอบไว้ในที่เปิดเผยเห็น ได้ง่าย ณ อาคารนั้น (ใบรับรองการตรวจสอบอาคารสามารถเปิดดูได้จากเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผัง
เมือง
www.dpt.go.th)
 

 6.3 สำหรับอาคารที่ก่อสร้างแล้วเสร็จหรือได้รับใบรับรองประเภทอาคารควบคุมการใช้มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประเภทการตรวจสอบใหญ่เป็นครั้งแรก

7. ก่อนการตรวจสอบผู้ตรวจสอบต้องเตรียมตัวอย่างไร


 เจ้าของอาคารต้องจัดหาแปลนหรือแผนผังรายการเกี่ยวกับการก่อสร้างหรือจัดทำแบบแปลนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคารไว้ให้ผู้ตรวจสอบเพื่อทำการตรวจสอบสภาพอาคาร

 8. การดำเนินการตรวจสอบอาคาร

 เมื่อผู้ตรวจสอบอาคารได้ตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารแล้วพบว่า อาคาร มีความปลอดภัยเพียงพอและถูกต้องตามกฎหมายและมาตรฐานแล้ว ผู้ตรวจสอบจึงลงนามรับรองผลการตรวจสอบสภาพอาคารนั้น แต่ถ้าผู้ตรวจสอบพบว่าอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารบางส่วนหรือ บางรายการไม่ผ่านหลักเกณฑ์หรือมาตรฐาน ผู้ตรวจสอบจะต้องทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงอาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารเพื่อให้อาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารดังกล่าวให้แก่
เจ้าของอาคาร

 การจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงอาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารนั้น หาก ผู้ตรวจสอบเห็นว่า จำเป็นต้องทำการตรวจสอบแบบเชิงวิเคราะห์และคำนวณทางหลักวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรมให้เป็นความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบอาคารนั้นแนะนำหรือจัดหาวิศวกรหรือสถาปนิกให้แก่เจ้าของอาคารที่สามารถดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์ หรือคำนวณพิสูจน์ หรือให้คำปรึกษาในการแก้ไขเพื่อให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น โดยวิศวกรหรือสถาปนิกนั้นต้องมีคุณสมบัติการประกอบวิชาชีพที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 หรือพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543

9. เจ้าของอาคารจะยื่นเอกสารอย่างไร 

 เจ้าของอาคารจะต้องเสนอรายงานผลการตรวจสอบอาคารที่ผู้ตรวจสอบลงนามรับรองให้แก่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ที่อาคารของตนตั้งอยู่ ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมอาคาร ได้แก่

9.1 นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
9.2 นายกองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
9.3 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
9.4 นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา

10. ระยะเวลาพิจารณาดำเนินการของเจ้าพนักงานท้องถิ่น 

 เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับรายงานผลการตรวจสอบแล้วจะต้องพิจารณารายงานผลการ
ตรวจสอบภายใน 30 วัน และเมื่อเห็นว่า อาคารดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายและมีความปลอดภัย เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องออกใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคารโดยไม่ชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ

11. หากเจ้าของอาคารไม่จัดให้มีการตรวจสอบสภาพอาคารจะมีโทษตามกฎหมายอย่างไร

 หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตรวจสอบอาคารจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

12. กฎหมายที่อ้างอิง


1. มาตรา 2 มาตรา 4 และมาตรา 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
2. กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและ
การเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548
3. กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548 

 

 


แบบฟอร์มคำขอตรวจสอบอาคาร
แบบฟอร์มขอใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร ของกทม (word 2003)

กทม ได้กำหนดแบบฟอร์มสำหรับเจ้าของอาคาร ในการกรอกเพื่อยื่นรายงานผลการตรวจสอบอาคารต่อสำนักการโยธากรุงเทพมหานคร เพื่อความสะดวกในการกรอกฟอร์ม สามารถดาวน์โหลดฟอร์ม ในรูป win word 2003 ได้ที่นี่

ดาวน์โหลด ขั้นตอนการเตรียมเอกสารขอรับใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร ของผู้ประกอบการตามกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๕๔๘

แบบฟอร์ม ขั้นตอนการเตรียมเอกสารขอรับใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร ของผ้ประกอบการตามกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๕๔๘

 

 

 

ดาวน์โหลด คำขอใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคารตามมาตรา ๓๒ ทวิ (ขร ๑.)

แบบฟอร์ม คำขอใบรับรองการตรวจสอบสภาพอคารตามมาตรา ๓๒ ทวิ (ขร ๑.)

 ดาวน์โหลด หนังสือรับรองของ ผู้ตรวจสอบอาคารตามมาตรา ๓๒ ทวิ

แบบฟอร์ม หนังสือรับรองของ ผู้ตรวจสอบอาคารตามมาตรา ๓๒ ทวิ

 ดาวน์โหลด หนังสือมอบอำนาจ การตรวจสอบสภาพอาคารตามมาตรา ๓๒ ทวิ

แบบฟอร์ม หนังสือมอบอำนาจ การตรวจสอบสภาพอาคารตามมาตรา ๓๒ ทวิ


บทกำหนดโทษตาม พรบ.อาคารชุด 2551

    

Smart Management  Smart Management Smart Management Smart Management

 

บทกำหนดโทษ

ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด(ฉบับที่ 4 ) พ.ศ.2551

 

มาตรา 63 ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารตามมาตรา 6 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6/1 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 6/2 วรรค 1 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

( มาตรา 6/1 วรรคหนึ่งในกรณีที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารตามมาตรา 6 ทำการโฆษณาขายห้องชุดในอาคารชุด ต้องเก็บสำเนาข้อความหรือภาพที่โฆษณาหรือหนังสือชักชวนที่นำออกโฆษณาแก่บุคคลทั่วไปไม่ว่าจะทำในรูปแบบใดไว้ในสถานที่ทำการจนกว่าจะมีการขายห้องชุดหมดและต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้นิติบุคคลอาคารชุดจัดเก็บไว้อย่างน้อยหนึ่งชุด )

( มาตรา 6/2 วรรคหนึ่ง สัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายห้องชุดระหว่างผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารตามมาตรา 6 กับผู้จะซื้อหรือผู้ซื้อห้องชุดต้องทำตามแบบสัญญาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด )

 

มาตรา 64 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6/1 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 100,000 บาท

                ( มาตรา 6/1 วรรคสอง การโฆษณาขายห้องชุดในอาคารชุดในส่วนที่เกี่ยวกับหลักฐานและรายละเอียดที่กำหนดไว้ในมาตรา 6 ข้อความหรือภาพที่โฆษณาจะต้องตรงกับหลักฐานและรายละเอียดที่ยื่นพร้อมคำขอจดทะเบียนและต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 ให้ชัดเจน )

 

มาตรา 65 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 17/1 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาทและปรับอีกไม่เกินวันละ 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่

                ( มาตรา 17/1 ในกรณีที่มีการจัดพื้นที่ของอาคารชุดเพื่อประกอบการค้า ต้องจัดระบบการเข้าออกในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการเฉพาะไม่ให้รบกวนความเป็นอยู่โดยปกติสุขของเจ้าของร่วม

                ห้ามผู้ใดประกอบการค้าในอาคารชุด เว้นแต่เป็นการประกอบการค้าในพื้นที่ของอาคารชุดที่จัดไว้ตามวรรคหนึ่ง )

                ข้อยกเว้น  มาตรา 32 มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา 17/1 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่อาคารชุดซึ่งได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดและมีห้องชุดที่ใช้เพื่อการประกอบการค้าอยู่ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา 66 คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวผู้ใดไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบถึงการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 เบญจ วรรคสอง มาตรา 19 สัตต มาตรา 19 อัฏฐ มาตรา 19 นว มาตรา 19 ทศและมาตรา 19 เอกาทศ ภายในเวลาที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน10,000 บาทและปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่

 

มาตรา 67 บุคคลใดถือกรรมสิทธ์ในห้องชุดในฐานะเป็นเจ้าของแทนคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว ไม่ว่าคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลดังกล่าวจะมีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้นำบทบัญญัติในมาตรา 19 เบญจ วรรคสี่มาใช้บังคับ โยอนุโลม

 

มาตรา 68 ผู้จัดการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 วรรค 3 และมาตรา 36 (5) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาทและปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง

                ( มาตรา 29 วรรค 3 ผู้จัดการต้องดำเนินการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามวรรคสองแก่เจ้าของร่วมภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอและเจ้าของร่วมได้ชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ครบถ้วนแล้ว

                ( มาตรา 36 (5) จัดให้มีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายประจำเดือนและติดประกาศให้เของร่วมทราบภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันสิ้นเดือนและต้องติดประกาศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วันต่อเนื่องกัน )

 

มาตรา 69 ผู้จัดการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรค สอง และมาตรา 35/2 มาตรา 37 วรรคห้า มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

                ( มาตรา 32 วรรคสอง การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับที่ได้จดทะเบียนไว้ จะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม และผู้จัดการต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติ )

                (มาตรา 35/2 การแต่งตั้งผู้จัดการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมตามมาตรา 49 และให้ผู้จัดการซึ่งได้รับแต่งตั้งนำหลักฐานหรือสัญญาจ้างไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติ )

                (มาตรา 37 วรรคห้า การแต่งตั้งกรรมการ ให้ผู้จัดการนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติ )

                (มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ให้ผู้จัดการจัดให้มีการประชุมใหญ่ โดยถือว่าเป็นการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายในหกเดือนนับแต่วันที่ไดจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการและพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อบังคับและผู้จัดการที่จดทะเบียนตามที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดไว้แล้ว ) 

มาตรา 70 ประธานกรรมการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 37/5 และมาตรา 38(3) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

(มาตรา-37/5 ให้ประธานกรรมการเป็นผู้เรียกประชุมกรรมการ และในกรณีที่มี

กรรมการตั้งแต่สองคนขึ้นไปร้องขอให้เรียกประชุมกรรมการ ให้ประธานกรรมการกำหนดวันประชุมภายในเจ็ดวันนับแต้วันที่ได้รับการร้องขอ )

                (มาตรา 38(3) จัดประชุมคณะกรรมการหนึ่งครั้งในทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย )

 

มาตรา 71 นิติบุคคลอาคารชุดใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 38/1 มาตรา 38/2 และมาตรา 38/3 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท 

                ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ผู้จัดการต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งด้วย เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้น

                ( มาตรา 38/1 ให้นิติบุคคลอาคารชุดจัดทำงบดุลอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกรอบสิบสองเดือนโดยให้ถือว่าเป็นรอบปีในทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น

                งบดุลตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินของนิติบุคคลอาคารชุดกับทั้งบัญชี

รายรับรายจ่ายและต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ แล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นปีทางบัญชี )

                (มาตรา 38/2 ให้นิติบุคคลอาคารชุดจัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมพร้อมกับการเสนองบดุล และให้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่เจ้าของร่วมก่อนวันนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน )

( มาตรา 38/3 .ให้นิติบุคคลอาคารชุดเก็บรักษารายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานและงบดุล พร้อมทั้งข้อบังคับไว้ที่สำนักงานของนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าของร่วมตรวจดูได้

รายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานและงบดุลและงบดุลตามวรรคหนึ่ง ให้นิติบุคคลอาคารชุดเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม )

 

มาตรา 72 เจ้าของร่วมผู้ใดดำเนินการก่อสร้าง ตกแต่ง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือต่อเติมห้องชุดของตนโดยฝ่าฝืนมาตรา 48 ( 3) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

 

                (มาตรา 48 มติเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน

คะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด

(3).การอนุญาตให้เจ้าของร่วมคนใดทำการก่อสร้าง ตกแต่งหรือปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมห้องชุดของตนเองที่มีผลต่อทรัพย์ส่วนกลาง หรือลักษณะภายนอกของอาคาร โดยค่าใช้จ่ายของผู้นั้นเอง )

 

มาตรา 73 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา 60/1 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 6,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

โทร.0-2713-7713-5  โทรสาร 0-2713-7716
www.bpmprop.com  E-Mail :bpm_group@hotmail.com 

 


 

  บริษัท บิซิเนส พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด  1350/153 อาคารไทยรงค์ ทาวเวอร์ ชั้น 10 ถนนพัฒนาการ  แขวงสวนหลวง  เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ


ทำไมต้องแก้ไขข้อบังคับ

การแก้ไขข้อบังคับ

ของนิติบุคคลอาคารชุด

 

ทำไมต้องแก้ไขข้อบังคับ

 

1.แก้ไขให้เป็นไปตามกฎหมายอาคารชุด ฉบับปี 2551

2.เพื่อประโยชน์ในการบริหารการจัดการ

3.เพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับให้ทันสมัยและครอบคลุมผู้พักอาศัยทุกท่าน

4.เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องกับระเบียบต่างๆที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม

5.เพื่อให้ฝ่ายจัดการ กรรมการ ผู้จัดการนิติบุคคล ดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายและ เป็นประโยชน์กับอาคารชุดมากขึ้น

6.เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และตรวจสอบได้

 

เจ้าของร่วม ผู้พักอาศัย ได้ประโยชน์อะไรจากการแก้ไขข้อบังคับ

1.ข้อบังคับที่แก้ไขใหม่ จะทำให้การบริหารงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมี

   ประสิทธิภาพมากขึ้น  และมีบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน

2.กรรมการและผู้บริหาร มีระยะเวลาการทำงานนานขึ้น ทำให้การบริหารงานมีความ

   ต่อเนื่อง แต่เจ้าของร่วมสามารถถอดถอนได้ง่ายขึ้น

3.เปิดโอกาสให้เจ้าของร่วมได้เข้ามาส่วนร่วมในการบริหารงานมากขึ้น โดยเจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 สามารถจัดประชุมใหญ่สามัญได้

4.ข้อบังคับใหม่ป้องกันการรวบอำนาจและการมอบฉันทะให้คนของตัวเองเข้าประชุม ของกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้จัดการนิติบุคคลฯ เนื่องจาก ห้ามกรรมการ ผู้จัดการ  ฝ่ายจัดการ และพนักงานอื่นๆ รับมอบฉันทะ เนื่องจากเจตนารมณ์ต้องการให้เจ้าของร่วมเข้าประชุมเอง

5.ป้องกันบุคคลที่มีประวัติไม่ดี มีการทุจริตในราชการและเอกชน รวมทั้งบุคคลที่ค้างค่า ส่วนกลาง เข้ามาเป็นกรรมการหรือผู้จัดการนิติบุคคลฯ เนื่องจากมีข้อห้ามไว้

6.การปรับค่าส่วนกลาง การแก้ไขข้อบังคับ การประชุม ทำได้ง่ายขึ้นเนื่องจากกฎหมายใหม่ได้ลดคะแนนเสียงลง

7.ผู้บริหาร กรรมการ ต้องทำงานด้วยความโปร่งใสมากขึ้นเนื่องจากต้องการตรวจสอบบัญชีทุกปีและต้องติดประกาศรายรับรายจ่ายให้เจ้าของร่วมทราบทุกเดือน

8.กรรมการต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก 6 เดือน ซึ่งป้องกันกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งมาแล้ว ไม่ทำหน้าที่ตามที่ควร 

 


บริษัท บิซิเนส พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด  1350/153 อาคารไทยรงค์ ทาวเวอร์ ชั้น 10 ถนนพัฒนาการ  แขวงสวนหลวง  เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ โทร.0-2713-7713-5
โทรสาร 0-2713-7716
www.bpmprop.com  E-Mail :bpm_group@hotmail.com


ห้องกฎหมาย

                                                        LINK กฎหมายที่น่ารู้      


กระทรวงมหาดไทย                                          http://www.moi.go.th/   

กระทรวงยุติธรรม                                              http://www.moj.go.th/

กระทรวงแรงงาน                                               http://www.mol.go.th/

กรุงเทพมหานคร                                              http://city.bangkok.go.th/

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค    http://www.thaiconsumer.net/

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา                    http://www.krisdika.go.th/

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ                      http://www.reic.or.th/

กรมที่ดิน                                                           http://www.dol.go.th/

กรมธนารักษ์                                              http://www.treasury.go.th/ 

กรมบรรเทาและป้องกันสาธารณะ                    http://www.disaster.go.th/

กรมโยธาธิการและผังเมือง                                   http://www.dtcp.go.th/

สภาทนายความ                                         http://www.lawsociety.or.th/

สำนักงานประกันสังคม                                    http://www.molsw.go.th/ 


บริษัท บิซิเนส พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด  1350/153 อาคารไทยรงค์ ทาวเวอร์ ชั้น 10 ถนนพัฒนาการ  แขวงสวนหลวง  เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ

 โทร.0-2713-7713-5 โทรสาร 0-2713-7716
www.bpmprop.com  E-Mail :bpm_group@hotmail.com 


Page 1/1
1
Copyright © 2005 www.bpmprop.com Allrights Reserved.
Powered By Freethailand.com