Home | Service | News | เว็บบัญชี ที่น่าสนใจ | สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน | Easy_acc for Windows | Link Ranong | แบบจำลองการเริ่มต้นธุรกิจ SME | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มิถุนายน 2551 | การหักภาษี ณ ที่จ่าย | สำนักงานประกันสังคม | การยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ต | รู้เรื่องภาษี | รวมแบบฟอร์ม หนังสือสัญญาต่าง ๆ บริการฟรี | ศัพท์บัญชี | การยื่นงบการเงิน | สัมมนาที่น่าสนใจ ปี 2549 จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | บิซิเนสไทย | ถาม-ตอบ เกี่ยวกับภาษีอากร จากกรมสรรพากร | ถาม-ตอบ ยื่นแบบ/ชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต | ข้อหารือภาษีอากร จากกรมสรรพากร | เกร็ดความรู้ทางธุรกิจ | การจำหน่ายหนี้สูญที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม | เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี | วางแผนการเงิน 6 แผนการเงินที่ควรทำ


Category
   ความเป็นมา
   แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากร พ.ศ.2548-2551
   หน้าที่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
   สมุดบัญชีที่ผู้ทำบัญชี ต้องจัดทำ ตาม พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
   เอกสารที่ต้องนำส่งเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   ข้อควรระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
   ข้อควรปฏิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้
   สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป
   สำนักงานบัญชีไทย V.S. ยุโรป,อเมริกา
   เตรียมรับมือสรรพากรอย่างไร?
   การยกเลิกใบกำกับภาษี แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร?
   การออกใบแทนใบกำกับภาษี ฉบับที่สูญหาย ทำอย่างไร?
   หน้าที่ตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไร?
   เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงานบัญชียุคพัฒนา
   กรมสรรพากรให้บริการไอที Web Services ถึง 8 รายการ
   การแจ้งเปลี่ยนแปลงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
   สิทธิตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   ใครบ้าง ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 1
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 2
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 3
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 4
   ราชการใสสะอาด - วินัย/จรรยาบรรณ
   ดีเอสไอ. จับหนุ่มโกงภาษี
   บทความที่น่าสนใจจาก เว็บนักบัญชี.คอม
   แผนที่ชีวิตของคุณ?
   ถนอมสุขภาพตาอย่างไร เมื่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ
   เลือกซอฟท์แวร์อย่างไร สำหรับ SMEs
   การเสียเบี้ยปรับ ในกรณียื่นแบบ ภพ.30 เอง
   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั่วโลก
   การจัดตั้งคณะบุคคลทำอย่างไรบ้าง?
   การวางแผนภาษี เลือกจัดตั้งองค์กรธุรกิจ อย่างไรจึงเหมาะสม
   ค่าจดทะเบียนพาณิชย์, ห้างหุ้นส่วน และ บริษัทจำกัด
   ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ทางอินเตอร์เน็ต
   คำเตือนในการนำส่งงบการเงินประจำปีของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
   กรณีศึกษา - หมึกแดงกับการวางระบบบัญชีที่ตรวจสอบได้
   การขอเพิ่มสิทธิ์การติดตั้งโปรแกรม EASY_ACC
   คำแนะนำการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ สำหรับการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษจากกรมสรรพากร
   พรบ.การบัญชี 2543 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี
   การหักภาษี ณ ที่จ่าย
   เลขทะเบียนนิติบุคคลใหม่ 13 หลัก
   กลยุทธ์การป้องกันการถูกยึดกิจการ
   5 สัญญาณเตือนไทย ระวังการควบรวมกิจการ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการคัดสำเนาหนังสือรับรองผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
   สัมมนาหลักสูตรพื้นฐานสำหรับพัฒนาสำนักงานบัญชี ปี 2549
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2549 (ฟรี)
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดอบรมการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการ
   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เปลี่ยนแปลงเมื่อไร?
   เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
   การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามประมวลรัษฎากร
   อบรมเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2549
   การบริหารร้านค้าปลีกแบบมืออาชีพ
   การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
   การทำความเข้าใจกับลูกค้า
   คำอธิบายระหว่าง RMF. และ LTF.
   RMF. & LTF. (2)
   RMF. & LTF. (3)
   RMF. & LTF. (4)
   RMF. & LTF. (5)
   RMF. & LTF. (6)
   กลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นสรรพากรเรียกรับผลประโยชน์ในทางมิชอบ
   แบบสอบถามความเห็น การปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน
   เปิดเว็บไซต์ ฟรี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   5 อุปนิสัยในการประมวลผลที่ดี
   กิจวัตรประจำวัน และ จำนวนวันที่มีในชีวิตของคนเรา
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (1)
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (2)
   ปรับตัว/เตรียมใจอย่างไร? หากเกิดการเลย์ออฟ
   จดแล้วไม่จนจริงหรือ?
   สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
   โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
   หน่วยงานที่ให้บริการแก่ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง SME
   เตือนให้ส่งงบการเงินปี 2548 ภายใน 31 พฤษภาคม 2549
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้ กรณีขายบัตรเงินสด
   คำถาม-ตอบในการสัมมนา "การยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต"
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
   กรมสรรพากรจัดสัมมนาภาษีอากร ฟรี
   การตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดใช้งานไม่ได้
   กรณี - ความผิดการใช้ใบกำกับภาษีปลอม และพิสูจน์ผู้รับเงินไม่ได้
   อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินปี 2554 ล่าช้า (เริ่มใช้ เมษายน 2555)
   อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ใช้ทั่วประเทศ - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กรณีย้ายสถานประกอบการ ใบกำกับภาษีฉบับเดิมยังใช้ได้หรือไม่
   กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการแล้ว ผู้ขายไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ จะทำอย่างไร?
   วางแผนภาษีกับ การลงทุนใน RMF. & LTF.
   การวางแผนภาษี นั้นสำคัญไฉน??
   คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
   การอัพเกรด Easy_Acc for Windows
   ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
   ประเด็นความผิดเกี่ยวกับใบกำกับภาษี ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ร่าง พรบ.ของแถมของรางวัล
   สปส. ประกาศกฎกระทรวง เพิ่มคุ้มครอง 6 โรคเรื้อรัง
   ผู้ประกันตน ตาม ม.39 สิ้นสภาพ อย่าลืมรับเงินออม
   สิทธิและหน้าที่ที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ควรรู้
   ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย - น้องเดียว
   กรณีศึกษา - ภาษีน่ารู้
   เคล็ดลับหาเงินทุน บุกเบิกธุรกิจด้วยตนเอง
   ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีแล้ว (ภงด.94/49)
   ให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต
   การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
   กรณีศึกษา - การส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนกัน
   กรณีศีกษา - รายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วไม่จด ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
   กรณีศึกษา - นายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันให้พนักงาน
   ดับค้าปลีกต่างชาติในเยอรมัน-เกาหลี
   เสียภาษีอย่างไรให้ประหยัด
   เทคนิคการเลือก "กองทุน"
   บริษัท/ห้างฯ ที่จดทะเบียนใหม่จะต้องทำอะไรบ้าง?
   การเลือกซื้อกองทุน LTF
   การทำกิจการ "ค้าของเก่า"
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2550 (ฟรี)
   รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรทั้งหมด และที่ถูกพักใบอนุญาต
   เกณฑ์การรับรู้รายได้ รายจ่ายทางภาษีอากร (เกณฑ์สิทธิ) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550
   ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้
   SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร?
   สิทธิของผู้ประกันตน กรณีว่างงาน
   ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องทำบัญชีหรือแสดงรายได้เพื่อเสียภาษีอย่างไร?
   หลากกฎเตือนใจช่วยประหยัด-ฉลาดจ่าย
   กลยุทธ์ปั้นธุรกิจสู่เส้นชัย จาก 5 บริษัทชั้นนำระดับโลก
   กานต์ ตระกูลฮุน บ่มภาวะผู้นำ "คนปูน"
   ขอคืนภาษี โดยไม่สุจริต ระวังติดคุก?
   ข้อแตกต่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท ปี 2538 กับ 2549
   หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ
   ปรัชญานายห้างเทียม
   คดีภาษีขึ้นศาลภาษีอากรกลาง เพิ่มขึ้น 100%
   ภาษีมรดกในประเทศไทย
   ค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตรตามกฎหมายภาษีไทย
   ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 และ 94
   วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภงด.50 และ ภงด.51
   วางแผนการเงินให้ครอบครัวเภสัชกร
   ช่วยผู้บริหารสานสัมพันธ์ ผูกมิตรกับพนักงานระดับล่าง
   เงินได้ของแพทย์เสียภาษีอย่างไร?
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนให้ยื่นงบการเงินปี 2549 ภายใน 1 มิถุนายน 2550
   เมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัท/ห้างฯ แล้ว จะต้องชำระบัญชีเมื่อไร?
   ก่อนเริ่มต้น ทำพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์
   ข้อชี้แนะในการเลือกนักบัญชี (สำนักงานบัญชี)
   กรณีขายน้ำผลไม้สดคั้น
   ปฏิวัติ พ่อแม่
   The Future of Accounting
   สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
   อยากให้ลูกเรียนกฎหมาย
   การลงทุนในเวียตนาม
   ถึงเวลาแล้ว ต้องยื่น ภงด.50 รอบปีบัญชี 2550 แล้ว
   สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของผู้ส่งออกที่ดี
   ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี
   พิธีการศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกสินค้ากับพม่า
   สรรพากรจะให้ร้านค้าใช้เครื่องเก็บเงินในปีหน้า
   ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% ใช้ถึง 30 กันยายน 2551
   สรรพากรเอาผิดผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือขอคืนภาษีเป็นเท็จ
   ระวัง มิจฉาชีพ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรทางโทรศัพท์
   ลูกจ้างควรวางแผนภาษีเงินได้อย่างไร
   คำถามยอดนิยมจากเว็ปกรมสรรพากร
   สวนดุสิตโพลล์ชี้ผลวิจัยล่าสุด บัญชี แพทย์ บริหาร คอมฯ วิศวะ ครองแชมป์ได้งานสูง
   ถอนทะเบียนบริษัทร้าง 4,216 ราย
   สัมมนา "เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสำนักงานบัญชี
   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ.2550
   เตือนผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินประจำปี 2550
   มาตรการภาษี กระตุ้นเศรษฐกิจใช้บังคับปีภาษี 2551
   รายงานที่ต้องจัดทำในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ระเบียบใหม่ - การจัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
   การเสียภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใหม่
   จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ภายในวันเดียว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2551
   กฎหมายใหม่สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มใช้ 1 มกราคม 2551
   สรุปประเด็นข้อผิดพลาดในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
   ฏีกาภาษี ประเด็นมาตรา 40 (2) หรือ 40 (8)
   เงินได้นอกจากเงินเดือน ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 48 (2)
   ด่วน.... สัมนาภาษีอากร ฟรี กับกรมสรรพากร
   ภาษีที่เกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์
   ภาษีที่ดิน
   การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 6 เดือน
   สรรพากรไล่บี้สำนักงานบัญชี และผู้ประกอบการที่เลี่ยงภาษี
   เป้าเก็บภาษีปี 2553 - กรมสรรพากร
   กรมสรรพากร - เตือนผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
   การวิเคราะห์ภาระภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และการขยายฐานภาษี
   งบการเงิน ใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2553
   มีอะไรใหม่ ในการยื่นชำระภาษีปี 2552 (ภงด.90 / 91)
   หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ.2553 - ใหม่
   ข้อบกพร่องในการรับงบการเงิน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สัมมนาฟรี เรื่อง "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   ขยายเวลา การยื่นงบการเงิน ปี 2552 (3 เขต ใน กทม.)
   กรณีการเสียภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเงินได้ภรรยา ยื่นรวมกับสามี
   สัมมนาฟรี "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   สัมมนาฟรี "ฝ่าวิกฤต พิชิตปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคล"
   คัดสำเนาหนังสือรับรอง, เอกสารการจดทะเบียน และงบการเงินทาง e_Service
   การทำธุรกรรมทางออนไลน์ เสียภาษีหรือไม่?
   สำนักงานบัญชี ที่ต้องวางหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม 3%
   "สมคิด" เสนอปฏิรูปการคลัง ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
   สัมมนาฟรี "ลด แลก แจก แถม อย่างไร สบายใจ เรื่องภาษี"
   สรรพากรรื้อใหญ่ขยายฐานรายได้ ไม่เน้นขึ้นภาษี หันเก็บทั่วถึง-เป็นธรรม
   สรรพากรประกาศนโยบาย BIG CHANGE ตั้งเป้าปี54 เก็บภาษี 1.3 ล้านล้าน
   บริหารภาษีอย่างถูกวิธี - น่าสนใจ จริง ๆ
   ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
   ข้อควรทราบเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง?
   มาตราการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
   คลังลุยรื้อภาษีมุ่งลดเหลื่อมล้ำ
   โค้งสุดท้าย ซื้อ RMF/LTF ประหยัดภาษีปี 2553
   ชง ครม. เรียกเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา รัฐได้เพิ่ม 4,000 ล้านบาท
   การจัดทำบัญชีอย่างง่าย ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กำไรจากการขาย LTF
   สรรพากรเตือนผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภงด.90/91
   ประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงินของกรมสรรพากร
   เตรียมลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เริ่ม 1 มค.2555
   กรมสรรพากร - คู่มือประชาชน
   แนวปฏิบัติของผู้เสียภาษ๊ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย 2554
   บริการ 3 กรมภาษี กระทรวงการคลัง
   กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554
   ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน จาก 5% เหลือ 3% และ 4%
   ผู้หญิงเฮ ! แยกยื่นเสียภาษีกับสามี จ่ายน้อยลง ผลงานโบว์แดงผู้ตรวจการแผ่นดิน ???
   1 กุมภาพันธ์ 2555 เริ่มใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก
   ขอหนังสือรับรองจดทะเบียนหุ้นส่วน/บริษัท ผ่านธนาคาร ได้แล้ว
   กรณีกรมสรรพากรให้หักค่าลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถเนื่องจากน้ำท่วม ปี 2554
   กรมสรรพากร ให้ยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต มากขึ้น
   ค่าจ้างแรงงานต่อวัน เริ่มใช้ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
   ผู้หญิงมีสามีเฮ! ศาลรธน.ตัดสินกม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว
   ข่าวกรมสรรพากรที่น่ารู้
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีสามี-ภรรยา แยกกันยื่นแบบทุกภาษี เริ่มปีภาษี 2555 เป็นต้นไป
   การยื่นแบบแสดงรายการภาษี และยื่นแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย ตามประกาศของ ป.ป.ช. เริ่ม 1 เมษายน 2555
   ระเบียบใหม่ การจัดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด เริ่มใช้ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีเงินได้ กรณีสามีภรรยา (ฉบับใหม่) เริ่มใช้ 14 มกราคม 2556
   ขยายเวลาการใช้เลขภาษี 10 หลัก ถึง 31.7.2556
   คำแนะนำในการยื่นบัญชีแสดงรายรับ-รายจ่ายของโครงการ ตาม (บช.1)
   สิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2556 .....ใหม่ล่าสุด
   เพิ่มข้อความ "เลขภาษี 13หลัก" และ "สาขาที่ออกใบกำกับภาษี" ลงในใบกำกับภาษีขาย และใบกำกับภาษีซื้อ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2557
   สัมมนา ฟรี กับสรรพากร (ครึ่งวัน ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556 จำนวน 4 รอบ)
   ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่..... มาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฯ เริ่มใช้ 1 มค.2556
   การลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556
   ข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ที่จะเริ่มใช้ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
   สามีภรรยาร่วมกันทำการค้าถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT
   หลักเกณฑ์การประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
   หสม. หรือ คณะบุคคล ตามกฎหมายใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2558
   ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบทางออนไลน์ของกรมสรรพากรไปถึง มค.2560
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
สำนักงานบัญชี
1. ให้บริการวางระบบบัญชีของธุรกิจ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี&lt;br&gt;<br>

2. ให้บริการจัดทำบัญชี และรายงานผลการดำเนินธุรกิจเป็นรายเดือน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี EASY_ACC&lt;br&gt;<br>

3. ให้บริการและให้คำแนะนำในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี <br>

ได้แก่ ภพ.30 ภงด.1,3,53,50,51,90,91,94 ทางอินเทอร์เน็ต ให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลารอและการเดินทางของพนักงานสำหรับการยื่นแบบและชำระภาษี &lt;br&gt;<br>

4. ให้บริการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯ ก่อนการ เข้าตรวจสอบของเจ้าพนักงาน&lt;br&gt;<br>

5. จัดทำบัญชีและส่งมอบเอกสารบัญชี, สมุดบัญชีให้ผู้ประกอบการเก็บไว้ตาม พรบ.การบัญชี &lt;br&gt;<br>

สอบถามได้ที่ 077-811694, แฟ็กซ์ 077-813156หรือ E_mail :<a href=mailto:info@teinpun.com>info@teinpun.com</a>; &amp;:<a href=mailto:teinpun@yahoo.com>teinpun@yahoo.com</a>;
 

Online: 002
Visitors : 79236

กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน เริ่มตั้งแต่่วันที่ 1 มกราคม 2554

ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554

ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เรื่อง  กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
พ.ศ. ๒๕๕๔



               อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

               ข้อ ๑ให้ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๒  ลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒

               ข้อ ๒ งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ คือ
                     (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๑
                     (๒) บริษัทจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๒
                     (๓) บริษัทมหาชนจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๓
                     (๔) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๔
                     (๕) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๕

               ข้อ ๓ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร  ที่ลักษณะหรือสภาพธุรกิจไม่เป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด  ต้องจัดทำงบการเงินที่มีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๓

               ข้อ ๔ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด  นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ที่ลักษณะหรือสภาพธุรกิจเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด  แต่มีความประสงค์จะจัดทำบัญชีและงบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนดโดยอ้างอิงมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Report Standard: IFRS) ต้องจัดทำงบการเงินที่มีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ ๓

               ข้อ ๕ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่จัดทำงบการเงินตามแบบ ๓ ให้เลือกแสดงงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแบบใดแบบหนึ่ง  ดังต่อไปนี้
                     (๑)  แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย แสดงแบบงบเดียว
                     (๒)  แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย แสดงแบบสองงบ
                     (๓)  แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบขั้นเดียว  แสดงแบบงบเดียว
                     (๔)  แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบขั้นเดียว  แสดงแบบสองงบ
                     (๕)  แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบหลายขั้น แสดงแบบงบเดียว
                     (๖)  แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบหลายขั้น  แสดงแบบสองงบ

               ข้อ ๖ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ที่จัดทำงบการเงินตามแบบ ๑ แบบ ๒ แบบ ๔ และแบบ ๕ ตามลำดับ ให้เลือกแสดงงบกำไรขาดทุนแบบใดแบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                     (๑)  แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย
                     (๒)  แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบขั้นเดียว
                     (๓)  แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ - แบบหลายขั้น

               ข้อ ๗ ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของธุรกิจไม่มีรายการที่ต้องแสดงรายการย่อครบตามแบบที่กำหนดไว้ ก็ให้งดเว้นไม่ต้องแสดงรายการย่อที่ไม่มีดังกล่าว

               ข้อ ๘ในกรณีที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดให้มีการแสดงรายการที่แตกต่างหรือนอกเหนือจากรายการที่กำหนดไว้ตามประกาศฉบับนี้ ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

               ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔  เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่  ๒๘  เดือน กันยายน  พ.ศ. ๒๕๕๔
นายบรรยงค์  ลิ้มประยูรวงศ์
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 


คำชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
พ.ศ. ๒๕๕๔



              ตามที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๔ โดยยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๒ และกำหนดให้งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องมีรายการย่อ ดังต่อไปนี้
              ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องมีรายการย่อตามแบบ ๑
              บริษัทจำกัด ต้องมีรายการย่อตามแบบ ๒
              บริษัทมหาชนจำกัด ต้องมีรายการย่อตามแบบ ๓
              นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องมีรายการย่อตามแบบ ๔
              กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการย่อตามแบบ ๕

              เพื่อให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเข้าใจถึงแนวคิดในการกำหนดรูปแบบและความหมายของรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน รวมทั้งเพื่อให้การจัดทำงบการเงินมีมาตรฐานเดียวกัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงขอชี้แจง ดังต่อไปนี้

๑. การกำหนดความหมายและรูปแบบของรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
              ๑.๑ ความหมายของศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะตามประกาศฉบับนี้
                    กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities : NPAEs) หมายถึง กิจการที่ไม่เข้าลักษณะ ดังต่อไปนี้
                    (๑) กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการ ซึ่งมีการซื้อขายต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศ หรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ (Over the Counter) รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค หรือกิจการที่นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนำส่งงบการเงินของกิจการให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่น เพื่อวัตถุประสงค์ในการออกขายหลักทรัพย์ใดๆ ต่อประชาชน
                    (๒) กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง เช่น สถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เป็นต้น
                    (๓) บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
                    (๔) กิจการอื่นที่สภาวิชาชีพบัญชีจะกำหนดเพิ่มเติม

              ๑.๒ การกำหนดรูปแบบรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
                    (๑) รูปแบบรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ ๓) กำหนดขึ้นโดยอ้างอิงมาจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนดตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Report Standard : IFRS)
                    (๒) รูปแบบรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (แบบ ๑) บริษัทจำกัด (แบบ ๒) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (แบบ ๔) และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร (แบบ ๕) กำหนดขึ้นโดยอ้างอิงมาจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for Non-Publicly Accountable Entities : TFRS for NPAEs) ที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด

              ๑.๓ การกำหนดความหมายของรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
                    ความหมายของรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินที่แนบท้ายคำชี้แจงฉบับนี้ จะอธิบายเฉพาะคำนิยามของแต่ละรายการเท่านั้น สำหรับการรับรู้รายการ และการวัดมูลค่า ให้กิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง

๒. การจัดทำงบการเงิน
              ๒.๑ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ต้องจัดทำงบการเงินตามประกาศฉบับนี้ ได้แก่
                    (๑) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ต้องจัดทำงบการเงิน และต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
                    (๒) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ คือ นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยและเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยในทุกกรณี ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตาม โดยครอบคลุมถึงสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศและสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติด้วย
                    (๓) การกำหนดรายการย่อของงบการเงินตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นการกำหนดรายการย่อของงบการเงินสำหรับธุรกิจโดยทั่วไปเท่านั้น สำหรับธุรกิจที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะ เช่น สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้ใช้รายการย่อตามที่กำหนดในกฎหมายเฉพาะนั้นๆ

              ๒.๒ หลักการจัดทำงบการเงิน
                    (๑) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแต่ละประเภทต้องจัดทำงบการเงิน ดังนี้

แบบ/
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

งบแสดง
ฐานะการเงิน
งบกำไร
ขาดทุน
เบ็ดเสร็จ
งบกำไร
ขาดทุน
งบแสดง
การเปลี่ยนแปลง
ส่วนของเจ้าของ
งบกระแส
เงินสด
งบการเงิน
รวม
หมายเหตุ
ประกอบ
งบการเงิน
งบการเงิน
เปรียบเทียบ
กับปีก่อน
๑ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน      /      -      /      -      -      -      /      /
๒ บริษัทจำกัด      /      -      /      /      -      -      /      /
๓ บริษัทมหาชนจำกัด      /      /      -      /      /      /      /      /
๔ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม
     กฎหมายต่างประเทศ
     /      -      /      /      -      -      /      /
๕ กิจการร่วมค้าตาม
     ประมวลรัษฎากร
     /      -      /      /      -      -      /      /

                    (๒) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ที่เข้าเงื่อนไขเป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะหรือเข้าเงื่อนไขเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะแต่มีความประสงค์จะจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนดโดยอ้างอิงมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังกล่าวจัดทำงบการเงินโดยนำรูปแบบรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ ๓) มาใช้ โดยปรับปรุงรายการที่เกี่ยวข้องกับส่วนของเจ้าของให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงตามกฎหมายและข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
                    (๓) เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเลือกแสดงงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแบบใดแบบหนึ่งตามข้อ ๕ ของประกาศฉบับนี้ หรือเลือกแสดงงบกำไรขาดทุนแบบใดแบบหนึ่งตามข้อ ๖ ของประกาศฉบับนี้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีควรถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตาม หากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงแบบที่เลือกไว้ให้กิจการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องและให้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย
                    (๔) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ตามข้อ ๒.๑ (๒) เมื่อจัดทำรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินตามแบบ ๔ ในรายการทุนขั้นต่ำตามกฎหมายแยกตามประเภทธุรกิจ ให้แยกทุนขั้นต่ำตามกฎหมายที่ได้รับจากสำนักงานใหญ่ตามประเภทธุรกิจนั้น โดยอาจแสดงรายละเอียดแต่ละประเภทในงบการเงิน หรืออาจแสดงยอดรวมไว้ในงบการเงินแล้วเปิดเผยรายละเอียดแยกตามประเภทธุรกิจไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินก็ได้
                             กรณีที่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลายประเภท เช่น ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการเป็นสำนักงานผู้แทน และได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการเป็นสำนักงานสาขาเพื่อประกอบธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้วย ให้จัดทำงบการเงินฉบับเดียวในภาพรวมโดยถือเป็นหนึ่งหน่วยธุรกิจ
                    (๕) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีฐานะเป็นคนต่างด้าวและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวให้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับรายการดังต่อไปนี้ด้วย
                             - ลักษณะการประกอบธุรกิจ และรายการทุนขั้นต่ำตามกฎหมายแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต
                             - รายได้ และค่าใช้จ่ายแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต
                    (๖) กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดทำงบการเงินตามแบบ ๓ และได้นำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง หรือการปรับงบการเงินย้อนหลัง หรือเมื่อกิจการมีการจัดประเภทรายการในงบการเงินใหม่ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องนำเสนองบแสดงฐานะการเงิน ณ วันต้นงวดของงวดที่นำมาเปรียบเทียบที่ใกล้ที่สุดด้วย
                             สำหรับงบการเงินซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ และเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่กิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๑ (ปรับปรุง ๒๕๕๒) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ถือเป็นการนำนโยบายการบัญชีมาปรับปรุงย้อนหลัง หรือจัดประเภทรายการในงบการเงินใหม่ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีสามารถเลือกที่จะแสดงงบแสดงฐานะการเงินเพียงสองงบ โดยไม่แสดงงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันต้นงวดของงวดที่นำมาเปรียบเทียบ
                    (๗) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่จัดทำงบการเงินตามประกาศฉบับนี้ หรือกรณีที่มีการแปรสภาพกิจการระหว่างปี งบการเงินของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนที่นำมาเปรียบเทียบอาจมีการจัดประเภทรายการหรือมีรูปแบบที่แตกต่างจากประกาศฉบับนี้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีควรจัดประเภทรายการหรือรูปแบบที่จะนำมาเปรียบเทียบให้สอดคล้องกับประกาศฉบับนี้ด้วย เว้นแต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้
                             กรณีที่มีการแปรสภาพกิจการในระหว่างปี การจัดทำงบการเงินให้ถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน ตัวอย่างเช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัดปิดบัญชีตามปีปฏิทิน และห้างหุ้นส่วนดังกล่าวได้แปรสภาพจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ ดังนั้น รอบระยะเวลาบัญชีแรกภายหลังการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด คือ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ สิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีควรเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการแปรสภาพกิจการในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย
                    (๘) การจัดประเภทรายการในงบการเงิน ให้พิจารณา ดังนี้
                             - ให้พิจารณาลักษณะการดำเนินงานของธุรกิจ และมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ รวมทั้งคำนึงถึงนโยบายการกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                             - ให้พิจารณาเนื้อหาเชิงเศรษฐกิจมากกว่ารูปแบบทางกฎหมาย เช่น หุ้นบุริมสิทธิซึ่งให้สิทธิผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ออกหุ้นในการบังคับไถ่ถอนด้วยจำนวนเงินที่แน่นอนหรือที่สามารถทราบได้ ณ วันที่กำหนดไว้หรือวันที่ทราบได้ หรือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการเรียกร้องให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไถ่ถอนหุ้นในหรือหลังวันที่ที่กำหนดไว้ด้วยจำนวนเงินที่แน่นอนหรือที่สามารถทราบได้ หุ้นบุริมสิทธินั้นต้องจัดประเภทเป็นหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้สอดคล้องตามข้อเท็จจริงและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องด้วย
                    (๙) รูปแบบรายการย่อเป็นเพียงแนวทางที่กำหนดให้แสดงรายการแยกเป็นแต่ละบรรทัดพร้อมจำนวนเงินหากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่มีรายการตามที่แบบรายการย่อกำหนดไว้ก็ไม่ต้องแสดงรายการดังกล่าวไว้ในงบการเงิน เช่น
                             - งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่มีรายการกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ก็ไม่ต้องแสดงรายการดังกล่าว โดยให้แสดงรายการกำไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี ต่อจากรายการกำไร (ขาดทุน) สำหรับปี
                             - งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้าในระหว่างปีมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะกำไร (ขาดทุน) สำหรับปีเท่านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในรายการอื่น ก็ให้แสดงเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในกำไร (ขาดทุน) สำหรับปีเท่านั้น
                    (๑๐) กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีรายการนอกเหนือจากที่รูปแบบรายการย่อกำหนดไว้ให้แสดงรายการนั้นได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมแก่กรณี เช่น แบบรายการย่อกำหนดให้แสดงรายการย่อไว้เพียงรายการเดียว ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะแสดงรายละเอียดภายใต้รายการนั้นก็ได้ แต่ต้องแสดงรายการให้ถูกต้องตามประเภทและลักษณะของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้หรือค่าใช้จ่าย เป็นต้น
                    กรณีที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดให้มีรายการย่อนอกเหนือจากรายการที่กำหนดในประกาศฉบับนี้ ให้แสดงรายการนั้นเพิ่มเติมตามที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนด
                     (๑๑) การแสดงรายการส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ หรือส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้นสามัญ หากมีทั้งส่วนเกินและส่วนต่ำของหุ้นทุนประเภทเดียวกันและมีเนื้อหาเศรษฐกิจเดียวกันสามารถนำมาหักกลบ และแสดงเป็นมูลค่าสุทธิได้ เช่น ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญสามารถหักกลบกับส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญได้ แต่ไม่ให้หักกลบส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญกับส่วนเกินมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ เนื่องจากเป็นหุ้นทุนคนละประเภทและมีสิทธิตามกฎหมายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ การหักกลบดังกล่าวเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลในงบการเงินเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในการบันทึกรายการบัญชีจะต้องแยกบันทึกรายการส่วนเกินมูลค่าหุ้น และส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นของทั้งหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญเป็นแต่ละบัญชีแยกจากกัน
                    รายการส่วนเกินมูลค่าหุ้น ต้องเป็นเงินหรือสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการขายหุ้นส่วนที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนหรือที่ได้มาจากการลดทุนจดทะเบียนในส่วนที่ได้มีการชำระเงินจากผู้ถือหุ้นแล้วและมิได้คืนกลับให้ผู้ถือหุ้น
                    (๑๒) การกำหนดหน่วยจำนวนเงินบาท อาจแสดงเป็นหน่วยของหลักพัน หลักหมื่น หลักแสน หลักล้านได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องระบุหน่วยของหลักที่ใช้ไว้ในงบการเงิน
                    (๑๓) หมายเลขกำกับรายการที่ปรากฏในงบการเงินมีไว้เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงเท่านั้น ในการจัดทำงบการเงินไม่ต้องแสดงหมายเลขดังกล่าว
                    (๑๔) รายการย่อของงบการเงินตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 28 กันยายน 2554 มีความหมายโดยย่อดังที่ได้แนบท้ายคำชี้แจงนี้

                    อนึ่ง ในทางปฏิบัติอาจมีบางกรณีที่นอกเหนือจากคำชี้แจงที่ให้ไว้นี้ และอาจจำเป็นต้องพิจารณามาตรฐานการรายงานทางการเงินเพิ่มเติม โดยไม่จำกัดขอบเขตเพียงคำชี้แจงและตัวอย่างที่ให้ไว้ในที่นี้เท่านั้น

                    จึงขอชี้แจงให้ทราบทั่วกัน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๔

ความหมายของรายการย่อในงบการเงิน ได้ที่ http://dbd.go.th/mainsite/fileadmin/contents/law/law06_account/file/acc_shortlist?2554/explain.pdf

ที่มา www.dbd.go.th


Page 1/1
1
Copyright © 2005 www.teinpun.com Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com