Home | Service | News | เว็บบัญชี ที่น่าสนใจ | สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน | Easy_acc for Windows | Link Ranong | แบบจำลองการเริ่มต้นธุรกิจ SME | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มิถุนายน 2551 | การหักภาษี ณ ที่จ่าย | สำนักงานประกันสังคม | การยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ต | รู้เรื่องภาษี | รวมแบบฟอร์ม หนังสือสัญญาต่าง ๆ บริการฟรี | ศัพท์บัญชี | การยื่นงบการเงิน | สัมมนาที่น่าสนใจ ปี 2549 จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | บิซิเนสไทย | ถาม-ตอบ เกี่ยวกับภาษีอากร จากกรมสรรพากร | ถาม-ตอบ ยื่นแบบ/ชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต | ข้อหารือภาษีอากร จากกรมสรรพากร | เกร็ดความรู้ทางธุรกิจ | การจำหน่ายหนี้สูญที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม | เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี | วางแผนการเงิน 6 แผนการเงินที่ควรทำ


Category
   ความเป็นมา
   แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากร พ.ศ.2548-2551
   หน้าที่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
   สมุดบัญชีที่ผู้ทำบัญชี ต้องจัดทำ ตาม พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
   เอกสารที่ต้องนำส่งเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   ข้อควรระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
   ข้อควรปฏิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้
   สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป
   สำนักงานบัญชีไทย V.S. ยุโรป,อเมริกา
   เตรียมรับมือสรรพากรอย่างไร?
   การยกเลิกใบกำกับภาษี แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร?
   การออกใบแทนใบกำกับภาษี ฉบับที่สูญหาย ทำอย่างไร?
   หน้าที่ตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไร?
   เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงานบัญชียุคพัฒนา
   กรมสรรพากรให้บริการไอที Web Services ถึง 8 รายการ
   การแจ้งเปลี่ยนแปลงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
   สิทธิตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   ใครบ้าง ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 1
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 2
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 3
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 4
   ราชการใสสะอาด - วินัย/จรรยาบรรณ
   ดีเอสไอ. จับหนุ่มโกงภาษี
   บทความที่น่าสนใจจาก เว็บนักบัญชี.คอม
   แผนที่ชีวิตของคุณ?
   ถนอมสุขภาพตาอย่างไร เมื่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ
   เลือกซอฟท์แวร์อย่างไร สำหรับ SMEs
   การเสียเบี้ยปรับ ในกรณียื่นแบบ ภพ.30 เอง
   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั่วโลก
   การจัดตั้งคณะบุคคลทำอย่างไรบ้าง?
   การวางแผนภาษี เลือกจัดตั้งองค์กรธุรกิจ อย่างไรจึงเหมาะสม
   ค่าจดทะเบียนพาณิชย์, ห้างหุ้นส่วน และ บริษัทจำกัด
   ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ทางอินเตอร์เน็ต
   คำเตือนในการนำส่งงบการเงินประจำปีของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
   กรณีศึกษา - หมึกแดงกับการวางระบบบัญชีที่ตรวจสอบได้
   การขอเพิ่มสิทธิ์การติดตั้งโปรแกรม EASY_ACC
   คำแนะนำการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ สำหรับการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษจากกรมสรรพากร
   พรบ.การบัญชี 2543 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี
   การหักภาษี ณ ที่จ่าย
   เลขทะเบียนนิติบุคคลใหม่ 13 หลัก
   กลยุทธ์การป้องกันการถูกยึดกิจการ
   5 สัญญาณเตือนไทย ระวังการควบรวมกิจการ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการคัดสำเนาหนังสือรับรองผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
   สัมมนาหลักสูตรพื้นฐานสำหรับพัฒนาสำนักงานบัญชี ปี 2549
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2549 (ฟรี)
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดอบรมการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการ
   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เปลี่ยนแปลงเมื่อไร?
   เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
   การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามประมวลรัษฎากร
   อบรมเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2549
   การบริหารร้านค้าปลีกแบบมืออาชีพ
   การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
   การทำความเข้าใจกับลูกค้า
   คำอธิบายระหว่าง RMF. และ LTF.
   RMF. & LTF. (2)
   RMF. & LTF. (3)
   RMF. & LTF. (4)
   RMF. & LTF. (5)
   RMF. & LTF. (6)
   กลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นสรรพากรเรียกรับผลประโยชน์ในทางมิชอบ
   แบบสอบถามความเห็น การปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน
   เปิดเว็บไซต์ ฟรี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   5 อุปนิสัยในการประมวลผลที่ดี
   กิจวัตรประจำวัน และ จำนวนวันที่มีในชีวิตของคนเรา
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (1)
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (2)
   ปรับตัว/เตรียมใจอย่างไร? หากเกิดการเลย์ออฟ
   จดแล้วไม่จนจริงหรือ?
   สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
   โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
   หน่วยงานที่ให้บริการแก่ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง SME
   เตือนให้ส่งงบการเงินปี 2548 ภายใน 31 พฤษภาคม 2549
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้ กรณีขายบัตรเงินสด
   คำถาม-ตอบในการสัมมนา "การยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต"
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
   กรมสรรพากรจัดสัมมนาภาษีอากร ฟรี
   การตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดใช้งานไม่ได้
   กรณี - ความผิดการใช้ใบกำกับภาษีปลอม และพิสูจน์ผู้รับเงินไม่ได้
   อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินปี 2554 ล่าช้า (เริ่มใช้ เมษายน 2555)
   อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ใช้ทั่วประเทศ - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กรณีย้ายสถานประกอบการ ใบกำกับภาษีฉบับเดิมยังใช้ได้หรือไม่
   กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการแล้ว ผู้ขายไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ จะทำอย่างไร?
   วางแผนภาษีกับ การลงทุนใน RMF. & LTF.
   การวางแผนภาษี นั้นสำคัญไฉน??
   คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
   การอัพเกรด Easy_Acc for Windows
   ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
   ประเด็นความผิดเกี่ยวกับใบกำกับภาษี ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ร่าง พรบ.ของแถมของรางวัล
   สปส. ประกาศกฎกระทรวง เพิ่มคุ้มครอง 6 โรคเรื้อรัง
   ผู้ประกันตน ตาม ม.39 สิ้นสภาพ อย่าลืมรับเงินออม
   สิทธิและหน้าที่ที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ควรรู้
   ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย - น้องเดียว
   กรณีศึกษา - ภาษีน่ารู้
   เคล็ดลับหาเงินทุน บุกเบิกธุรกิจด้วยตนเอง
   ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีแล้ว (ภงด.94/49)
   ให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต
   การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
   กรณีศึกษา - การส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนกัน
   กรณีศีกษา - รายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วไม่จด ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
   กรณีศึกษา - นายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันให้พนักงาน
   ดับค้าปลีกต่างชาติในเยอรมัน-เกาหลี
   เสียภาษีอย่างไรให้ประหยัด
   เทคนิคการเลือก "กองทุน"
   บริษัท/ห้างฯ ที่จดทะเบียนใหม่จะต้องทำอะไรบ้าง?
   การเลือกซื้อกองทุน LTF
   การทำกิจการ "ค้าของเก่า"
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2550 (ฟรี)
   รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรทั้งหมด และที่ถูกพักใบอนุญาต
   เกณฑ์การรับรู้รายได้ รายจ่ายทางภาษีอากร (เกณฑ์สิทธิ) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550
   ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้
   SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร?
   สิทธิของผู้ประกันตน กรณีว่างงาน
   ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องทำบัญชีหรือแสดงรายได้เพื่อเสียภาษีอย่างไร?
   หลากกฎเตือนใจช่วยประหยัด-ฉลาดจ่าย
   กลยุทธ์ปั้นธุรกิจสู่เส้นชัย จาก 5 บริษัทชั้นนำระดับโลก
   กานต์ ตระกูลฮุน บ่มภาวะผู้นำ "คนปูน"
   ขอคืนภาษี โดยไม่สุจริต ระวังติดคุก?
   ข้อแตกต่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท ปี 2538 กับ 2549
   หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ
   ปรัชญานายห้างเทียม
   คดีภาษีขึ้นศาลภาษีอากรกลาง เพิ่มขึ้น 100%
   ภาษีมรดกในประเทศไทย
   ค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตรตามกฎหมายภาษีไทย
   ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 และ 94
   วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภงด.50 และ ภงด.51
   วางแผนการเงินให้ครอบครัวเภสัชกร
   ช่วยผู้บริหารสานสัมพันธ์ ผูกมิตรกับพนักงานระดับล่าง
   เงินได้ของแพทย์เสียภาษีอย่างไร?
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนให้ยื่นงบการเงินปี 2549 ภายใน 1 มิถุนายน 2550
   เมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัท/ห้างฯ แล้ว จะต้องชำระบัญชีเมื่อไร?
   ก่อนเริ่มต้น ทำพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์
   ข้อชี้แนะในการเลือกนักบัญชี (สำนักงานบัญชี)
   กรณีขายน้ำผลไม้สดคั้น
   ปฏิวัติ พ่อแม่
   The Future of Accounting
   สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
   อยากให้ลูกเรียนกฎหมาย
   การลงทุนในเวียตนาม
   ถึงเวลาแล้ว ต้องยื่น ภงด.50 รอบปีบัญชี 2550 แล้ว
   สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของผู้ส่งออกที่ดี
   ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี
   พิธีการศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกสินค้ากับพม่า
   สรรพากรจะให้ร้านค้าใช้เครื่องเก็บเงินในปีหน้า
   ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% ใช้ถึง 30 กันยายน 2551
   สรรพากรเอาผิดผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือขอคืนภาษีเป็นเท็จ
   ระวัง มิจฉาชีพ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรทางโทรศัพท์
   ลูกจ้างควรวางแผนภาษีเงินได้อย่างไร
   คำถามยอดนิยมจากเว็ปกรมสรรพากร
   สวนดุสิตโพลล์ชี้ผลวิจัยล่าสุด บัญชี แพทย์ บริหาร คอมฯ วิศวะ ครองแชมป์ได้งานสูง
   ถอนทะเบียนบริษัทร้าง 4,216 ราย
   สัมมนา "เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสำนักงานบัญชี
   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ.2550
   เตือนผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินประจำปี 2550
   มาตรการภาษี กระตุ้นเศรษฐกิจใช้บังคับปีภาษี 2551
   รายงานที่ต้องจัดทำในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ระเบียบใหม่ - การจัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
   การเสียภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใหม่
   จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ภายในวันเดียว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2551
   กฎหมายใหม่สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มใช้ 1 มกราคม 2551
   สรุปประเด็นข้อผิดพลาดในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
   ฏีกาภาษี ประเด็นมาตรา 40 (2) หรือ 40 (8)
   เงินได้นอกจากเงินเดือน ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 48 (2)
   ด่วน.... สัมนาภาษีอากร ฟรี กับกรมสรรพากร
   ภาษีที่เกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์
   ภาษีที่ดิน
   การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 6 เดือน
   สรรพากรไล่บี้สำนักงานบัญชี และผู้ประกอบการที่เลี่ยงภาษี
   เป้าเก็บภาษีปี 2553 - กรมสรรพากร
   กรมสรรพากร - เตือนผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
   การวิเคราะห์ภาระภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และการขยายฐานภาษี
   งบการเงิน ใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2553
   มีอะไรใหม่ ในการยื่นชำระภาษีปี 2552 (ภงด.90 / 91)
   หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ.2553 - ใหม่
   ข้อบกพร่องในการรับงบการเงิน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สัมมนาฟรี เรื่อง "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   ขยายเวลา การยื่นงบการเงิน ปี 2552 (3 เขต ใน กทม.)
   กรณีการเสียภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเงินได้ภรรยา ยื่นรวมกับสามี
   สัมมนาฟรี "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   สัมมนาฟรี "ฝ่าวิกฤต พิชิตปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคล"
   คัดสำเนาหนังสือรับรอง, เอกสารการจดทะเบียน และงบการเงินทาง e_Service
   การทำธุรกรรมทางออนไลน์ เสียภาษีหรือไม่?
   สำนักงานบัญชี ที่ต้องวางหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม 3%
   "สมคิด" เสนอปฏิรูปการคลัง ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
   สัมมนาฟรี "ลด แลก แจก แถม อย่างไร สบายใจ เรื่องภาษี"
   สรรพากรรื้อใหญ่ขยายฐานรายได้ ไม่เน้นขึ้นภาษี หันเก็บทั่วถึง-เป็นธรรม
   สรรพากรประกาศนโยบาย BIG CHANGE ตั้งเป้าปี54 เก็บภาษี 1.3 ล้านล้าน
   บริหารภาษีอย่างถูกวิธี - น่าสนใจ จริง ๆ
   ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
   ข้อควรทราบเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง?
   มาตราการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
   คลังลุยรื้อภาษีมุ่งลดเหลื่อมล้ำ
   โค้งสุดท้าย ซื้อ RMF/LTF ประหยัดภาษีปี 2553
   ชง ครม. เรียกเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา รัฐได้เพิ่ม 4,000 ล้านบาท
   การจัดทำบัญชีอย่างง่าย ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กำไรจากการขาย LTF
   สรรพากรเตือนผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภงด.90/91
   ประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงินของกรมสรรพากร
   เตรียมลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เริ่ม 1 มค.2555
   กรมสรรพากร - คู่มือประชาชน
   แนวปฏิบัติของผู้เสียภาษ๊ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย 2554
   บริการ 3 กรมภาษี กระทรวงการคลัง
   กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554
   ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน จาก 5% เหลือ 3% และ 4%
   ผู้หญิงเฮ ! แยกยื่นเสียภาษีกับสามี จ่ายน้อยลง ผลงานโบว์แดงผู้ตรวจการแผ่นดิน ???
   1 กุมภาพันธ์ 2555 เริ่มใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก
   ขอหนังสือรับรองจดทะเบียนหุ้นส่วน/บริษัท ผ่านธนาคาร ได้แล้ว
   กรณีกรมสรรพากรให้หักค่าลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถเนื่องจากน้ำท่วม ปี 2554
   กรมสรรพากร ให้ยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต มากขึ้น
   ค่าจ้างแรงงานต่อวัน เริ่มใช้ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
   ผู้หญิงมีสามีเฮ! ศาลรธน.ตัดสินกม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว
   ข่าวกรมสรรพากรที่น่ารู้
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีสามี-ภรรยา แยกกันยื่นแบบทุกภาษี เริ่มปีภาษี 2555 เป็นต้นไป
   การยื่นแบบแสดงรายการภาษี และยื่นแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย ตามประกาศของ ป.ป.ช. เริ่ม 1 เมษายน 2555
   ระเบียบใหม่ การจัดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด เริ่มใช้ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีเงินได้ กรณีสามีภรรยา (ฉบับใหม่) เริ่มใช้ 14 มกราคม 2556
   ขยายเวลาการใช้เลขภาษี 10 หลัก ถึง 31.7.2556
   คำแนะนำในการยื่นบัญชีแสดงรายรับ-รายจ่ายของโครงการ ตาม (บช.1)
   สิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2556 .....ใหม่ล่าสุด
   เพิ่มข้อความ "เลขภาษี 13หลัก" และ "สาขาที่ออกใบกำกับภาษี" ลงในใบกำกับภาษีขาย และใบกำกับภาษีซื้อ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2557
   สัมมนา ฟรี กับสรรพากร (ครึ่งวัน ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556 จำนวน 4 รอบ)
   ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่..... มาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฯ เริ่มใช้ 1 มค.2556
   การลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556
   ข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ที่จะเริ่มใช้ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
   สามีภรรยาร่วมกันทำการค้าถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT
   หลักเกณฑ์การประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
   หสม. หรือ คณะบุคคล ตามกฎหมายใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2558
   ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบทางออนไลน์ของกรมสรรพากรไปถึง มค.2560
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
สำนักงานบัญชี
1. ให้บริการวางระบบบัญชีของธุรกิจ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี&lt;br&gt;<br>

2. ให้บริการจัดทำบัญชี และรายงานผลการดำเนินธุรกิจเป็นรายเดือน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี EASY_ACC&lt;br&gt;<br>

3. ให้บริการและให้คำแนะนำในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี <br>

ได้แก่ ภพ.30 ภงด.1,3,53,50,51,90,91,94 ทางอินเทอร์เน็ต ให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลารอและการเดินทางของพนักงานสำหรับการยื่นแบบและชำระภาษี &lt;br&gt;<br>

4. ให้บริการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯ ก่อนการ เข้าตรวจสอบของเจ้าพนักงาน&lt;br&gt;<br>

5. จัดทำบัญชีและส่งมอบเอกสารบัญชี, สมุดบัญชีให้ผู้ประกอบการเก็บไว้ตาม พรบ.การบัญชี &lt;br&gt;<br>

สอบถามได้ที่ 077-811694, แฟ็กซ์ 077-813156หรือ E_mail :<a href=mailto:info@teinpun.com>info@teinpun.com</a>; &amp;:<a href=mailto:teinpun@yahoo.com>teinpun@yahoo.com</a>;
 

Online: 002
Visitors : 79232

การเลือกซื้อ LTF.






วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2549



















ฉบับที่ 15 ต.ค. 2549
  • รวมพล"คนพอเพียง"


  • ฉบับที่ 8 ต.ค. 2549
  • เมื่อโลกออนไลน์ อยู่ใกล้กับกองทุน





  • กลับหน้าแรก >>



    ช่วยชาติง่ายๆ ด้วยการซื้อกองทุนLTF

    สรวิศ อิ่มบำรุง

    ในมุมมองของประชาชนทั่วไปที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว "กองทุนรวมหุ้นระยะยาว" หรือ "Long Term Equity Fund : LTF" อาจจะเป็นเพียงแค่เครื่องมือหนึ่งในการที่จะช่วยให้คุณประหยัดภาษีได้เท่านั้น

    แต่ภารกิจหลักที่ยิ่งใหญ่ และท้าทายของกองทุน LTF ในมุมมองของประเทศชาติ คือ การสร้าง "เสถียรภาพ" ให้เกิดขึ้นกับตลาดทุนไทย ตาม "แผนพัฒนาตลาดทุนไทย" นั่นเอง

    ด้วยการเพิ่มสัดส่วน "นักลงทุนสถาบันในประเทศ" ที่มีคุณภาพให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน เพื่อจะทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยไม่ "ผันผวน" ตามแรงซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศ และนักลงทุนรายย่อยมากจนเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดเสถียรภาพในระบบตลาดทุนไทยในที่สุด ซึ่งจะช่วยเพิ่ม "เสน่ห์" ให้กับตลาดหุ้นไทยไม่มากก็น้อย

    คุณจะมีส่วนร่วมในการสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดหุ้นไทยได้อย่างไร Fundamentals สัปดาห์นี้ มีคำตอบมาฝาก

    ................................

    ต้องยอมรับว่าไม่ใช่เฉพาะการสร้างตลาดหุ้นไทยเท่านั้นที่ท้าทาย การจะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีเสถียรภาพ ก็เป็นงานที่ท้าทายไม่แพ้กัน เพราะวัฒนธรรมการออม และการลงทุนของคนไทยส่วนใหญ่ ยังคงเคยชินกับการฝากเงินไว้กับธนาคาร ในส่วนของอุตสาหกรรมกองทุนรวมเองก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จากตัวเลขล่าสุด (25 ส.ค.49) พบว่า มีเม็ดเงินลงทุนสุทธิ(ไม่นับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กอง 2 ,3 และ4 และกองทุนรวมที่ระดมทุนจากต่างประเทศ)ในระบบกองทุนรวมทั้งสิ้น 917,529.58 ล้านบาท ซึ่งเล็กมากเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นไทยในปัจจุบัน และในจำนวนนี้เป็นกองทุนรวมหุ้นอยู่ประมาณ 72,308.32 ล้านบาท หรือประมาณ 7.88% ของอุตสาหกรรมกองทุนรวมเท่านั้น

    "การจะดึงคนส่วนใหญ่เพื่อเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นผ่านกองทุน LTF ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นโดยตรงนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก และอาจจะต้องใช้เวลาจึงจะเห็นผลเพราะขัดกับวัฒนธรรมการลงทุนพื้นฐานของคนส่วนใหญ่ในประเทศที่เคยชินกับการฝากเงินไว้ในธนาคารนั่นเอง ด้วยภารกิจที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาตลาดทุนไทยนี้ รัฐบาลจึงมีมติคณะรัฐมนตรีออกมาเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุน LTF ขึ้นมา โดยให้ "สิทธิประโยชน์ทางภาษี" แก่ผู้ลงทุนเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนในกองทุน LTF มากยิ่งขึ้น โดยมีระยะเวลา 12 ปี (ตั้งแต่ปี 2547-2559)"

    แล้วคุณผู้มีรายได้พึงประเมินหักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วเหลือเงินได้สุทธิในข่ายที่ต้องเสียภาษี(10-37%) จะมีส่วนร่วมในการ "ช่วยชาติ" แล้วยัง "ช่วยตัวเอง" ควบคู่กันไปได้อย่างไร เราลองมาฟังผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้กันดูดีกว่า

    @การลงทุนผ่านกองทุน LTF ปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับเป้าหมาย อย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่ารูปแบบของ "กองทุนรวม" เป็นการเปลี่ยนนักลงทุนรายย่อยให้กลายมาเป็นนักลงทุนสถาบัน โดยจะระดมทุนเงินจากนักลงทุนรายย่อยหลายๆ รายมารวมกันให้เป็นเม็ดเงินก้อนใหญ่ แล้วนำไปจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล จากนั้นจึงนำเงินที่ได้ไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ซึ่งสำหรับกองทุน LTF ก็จะนำเงินที่ระดมทุนได้ไปลงทุนใน "หุ้น" ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นั่นเอง ฟังดูแล้วก็ไม่ยุ่งยากอะไร แต่อาจจะไม่ง่ายอย่างที่คุณกำลังคิด

    เพราะภาพการลงทุนผ่านกองทุน LTF ที่ปรากฏในปัจจุบันนั้น ดูจะไม่สอดคล้องกับแนวทางที่ทางภาครัฐต้องการสนับสนุนสักเท่าไร เกี่ยวกับเรื่องนี้ "เก่งกล้า รักเผ่าพันธุ์" ผู้ช่วยผู้จัดการ ศูนย์ระดมทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับกองทุน LTF ในปัจจุบัน คือ

    1)มีคน "ลงทุนน้อยมาก" และ2)ผู้ที่ลงทุนมีการ "ลงทุนกระจุกตัว" ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปีเพียงครั้งเดียว ซึ่งการที่มีคนลงทุนน้อยก็จะทำให้เม็ดเงินลงทุนน้อยตามไปด้วย ประกอบกับเม็ดเงินที่ได้มากก็เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเพียงครั้งเดียวในช่วงปลายปี ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันได้

    ทั้งนี้คงจะต้องมีการบริหารจัดการทั้ง 2 ส่วนควบคู่กันไป คือ ผู้ที่ยังไม่ได้เข้ามาลงทุนในกองทุน LTF ก็ต้องประชาสัมพันธ์ให้เขารับรู้ และเข้าใจเพื่อให้เข้ามาลงทุน ในขณะที่ผู้ที่ลงทุนในกองทุน LTF อยู่แล้วก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการลงทุนของเขาให้มีการกระจายการลงทุนทุกเดือนตลอดทั้งปี เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันขึ้นมาให้ได้

    "ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าเอาไว้ว่าในระยะเวลา 3 ปี (ปี2549-2551) จะเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนผ่านกองทุน LTF ขึ้นเป็น 300,000 คน ในจำนวนนี้ประมาณ 15% จะอยู่ในฐานภาษี 10% และอีก 50% อยู่ในฐานภาษี 20% หรือเฉลี่ยปีละ 100,000 คน และเพิ่มเม็ดเงินลงทุนผ่านกองทุน LTF เป็น 100,000 ล้านบาท ให้ได้ภายใน 3 ปี โดยเป้าหมายในระยะสั้นสิ้นปี 2549 นี้ จะเพิ่มนักลงทุนขึ้นเป็น 100,000 คน จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 60,000 คน และเพิ่มเม็ดเงินลงทุนผ่านกองทุน LTF ขึ้นเป็น 30,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 15,000 ล้านบาท เพียงแต่เราจะไปคุยให้เขาเห็นประโยชน์จากการลงทุนผ่านกองทุน LTF ได้อย่างไรเท่านั้นเอง"

    @เพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบัน...คือ เพิ่มปริมาณการซื้อขาย ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันหากจำแนกนักลงทุนในตลาดหุ้นโดยแบ่งตาม "เปอร์เซ็นต์การถือครองหุ้น" ตามมูลค่าตลาดแล้ว พบว่าเป็นนักลงทุนสถาบันในประเทศที่เป็นนิติบุคคลมากที่สุดประมาณ 50% ,นักลงทุนรายย่อย 20% และนักลงทุนต่างประเทศน้อยที่สุดเพียง 10%

    ในแง่ของการถือครองหุ้นเก่งกล้าบอกว่า เราคงไม่จำเป็นต้องไปเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันแต่ประการใด แต่ที่ต้องเพิ่มคือ ปริมาณการซื้อขายหุ้น เพราะหากแบ่งประเภทของนักลงทุนตาม "ปริมาณการซื้อขาย" แล้ว จะพบว่า ตลาดหุ้นไทยมีนักลงทุนรายย่อยมากที่สุดประมาณ 60% ,นักลงทุนต่างประเทศ 30% ในขณะที่มีนักลงทุนสถาบันในประเทศเพียง 10% เท่านั้น

    "ดังนั้น การจะเพิ่มนักลงทุนสถาบัน เราคงต้องมองในเรื่องของการเพิ่มปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนสถาบัน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่านักลงทุนสถาบันในประเทศมีการซื้อขายหุ้นน้อยมาก ไม่ค่อยซื้อขายหุ้น ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของนักลงทุนสถาบันอยู่แล้วที่เน้นลงทุนระยะยาว ไม่มีการซื้อขายบ่อย ในขณะที่นักลงทุนรายย่อยมีการซื้อขายมาก และนักลงทุนต่างชาติก็ถือว่ามีการซื้อขายในระดับนี้เป็นปกติของเขาอยู่แล้ว"

    @ลงทุนทุกเดือนตลอดทั้งปีช่วยสร้างเสถียรภาพให้ตลาดหุ้น เชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในช่วงปลายปีนั้นจะมองในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพียงอย่างเดียว ไม่ได้สนใจในเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุน โดยอาจจะคิดว่า เข้ามาลงทุนเพียงอาทิตย์เดียวก็ได้สิทธิประโยชน์ไปเต็มที่ตลอดทั้งปี มองดูแล้วก็น่าจะคุ้มค่าดีในมุมมองของคุณ แต่ความจริงแล้วนอกจากจะเป็นการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนเต็มที่แล้ว ยังไม่ช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดหุ้นที่คุณเข้าไปร่วมลงทุนอีกด้วย

    หลายคนอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าทำไมพฤติกรรมของคุณ จึงส่งผลให้นักลงทุนสถาบันอย่างกองทุนรวมมีการซื้อขายที่บ่อยขึ้น เก่งกล้าอธิบายว่า เมื่อผู้ลงทุนนำเงินมาซื้อหน่วยลงทุนของกองทุน LTF แล้ว กองทุนก็ต้องนำเงินไปลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แต่ถ้าปีหนึ่งคุณมาซื้อหุ้นเพียงครั้งเดียวในช่วงปลายปี กองทุนก็จะลงทุนซื้อหุ้นเพียงครั้งเดียวในช่วงปลายปีเหมือนกัน

    สมมติเราสามารถเพิ่มเม็ดเงินลงทุนผ่านกองทุน LTF ขึ้นมาเป็นปีละ 24,000 ล้านบาท แต่กองทุนซื้อขายปีละครั้งเพราะนักลงทุนเข้ามาลงทุนกระจุกตัวในช่วงปลายปี ตลาดหุ้นไทยก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนสถาบันอาจจะเพิ่มขึ้นไม่มาก

    "แต่ที่เราคาดหวังคือ พฤติกรรมของผู้ลงทุนที่เปลี่ยนไปมีการเข้ามาลงทุนทุกเดือนกระจายไปตลอดทั้งปี เฉลี่ยเดือนละ 2,000 ล้านบาท แต่มีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาทุกเดือนในตลาดหุ้นปีหนึ่ง 12 ครั้ง แต่แบบนี้ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนสถาบันจะเพิ่มขึ้นมาก ด้วยเม็ดเงินลงทุนที่เท่ากัน คือ 24,000 ล้านบาท คุณว่าตลาดหุ้นจะมีเสถียรภาพมั้ย ใครจะขายหุ้นไม่รู้ แต่รู้ว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาในตลาดหุ้นทุกเดือนๆละ 2,000 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนสถาบันก็จะเพิ่มขึ้น"

    @สร้างวัฒนธรรมการลงทุนให้เกิดขึ้น เก่งกล้า บอกว่า ในแง่ของตัวผลิตภัณฑ์ คือ กองทุน LTF นั้นดีอยู่แล้ว แต่เราอยากจะสร้าง "วัฒนธรรมเรื่องการลงทุน" ให้กับผู้ลงทุนด้วย ฉะนั้นเราอยากเห็นผู้ลงทุนมีการกระจายการลงทุนตลอดทั้งปี คือ มองเรื่องการลงทุนเป็นหลัก โดยที่มีประโยชน์ทางภาษีเป็นของแถม เราจึงได้มีโครงการ "Let's Activate Your LTF" มีเงินต้องเก็บ มี LTF ต้องใช้ขึ้นมา เป็นการใช้แคมเปญนี้เป็นตัวกระตุ้นให้นักลงทุนมีการลงทุนที่ต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงแรกแบบนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปการลงทุนต่อเนื่องตลอดทั้งปีจะถูกพิสูจน์ว่าช่วยลดความเสี่ยงได้จริง

    "การลงทุนทุกเดือนกระจายไปตลอดทั้งปีนั้น จะทำให้คุณลงทุนไปในทุกๆ สถานการณ์ของตลาด แทนที่ไปลงทุนครั้งเดียวตอนปลายปี ซึ่งตอนนั้นคุณไม่มีสิทธิลุ้นแล้วว่าตลาดจะอยู่ตรงไหนจะขึ้นหรือลง คุณก็ต้องลงทุน นอกจากนี้การกระจายการลงทุนทุกเดือนตลอดทั้งปียังเป็นการสร้างวินัยให้กับตัวเอง ช่วยให้การลงทุนในแต่ละเดือนเป็นเม็ดเงินลงทุนที่ไม่มากนัก ดีกว่าไปลงทุนเพียงครั้งเดียวตอนปลายปีซึ่งผู้ลงทุนอาจจะใช้เม็ดเงินลงทุนก้อนใหญ่ ซึ่งอาจจะรู้สึกเสียดาย หรือว่าเป็นภาระในการลงทุนไป"

    @ตลาดกองทุน LTF ยังไม่เต็ม ปัจจุบันมีผู้มีเงินได้พึงประเมินเมื่อหักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตั้งแต่ 10% ขึ้นไปประมาณ 2,000,000 คน แต่มีผู้ลงทุนผ่านกองทุน LTF อยู่ประมาณ 60,000 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 3% ของจำนวนผู้ที่ต้องเสียภาษีทั้งระบบเท่านั้น

    เก่งกล้า จึงมองว่า ตลาดกองทุน LTF ยังมีอีกมาก และยังไม่เต็ม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ได้เข้ามาใช้ประโยชน์ตรงนี้ ประเด็นคือ คุณจะทำอย่างไรให้คนที่เหลืออยู่นี้เข้ามาลงทุน ส่วนหนึ่งก็คงต้องทำประชาสัมพันธ์ในวงกว้างเพื่อให้ข้อมูลมีการกระจายไปในวงกว้างอย่างครอบคลุม และทั่วถึงให้ผู้ที่สามารถใช้ประโยชน์จากกองทุน LTF ได้ รู้ว่ามีกองทุน LTF อยู่ แต่การประชาสัมพันธ์ในวงกว้างเพียงอย่างเดียวนั้นคงไม่ได้ผลมากนัก จะต้อง "คุยตัวต่อตัว" ด้วยจึงจะได้ผล คือ การเข้าไปพูดคุยเพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจให้กับผู้ลงทุนโดยตรงแบบตัวต่อตัว

    เพราะคนเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนได้ยินข่าวแต่ไม่รู้ว่ากองทุน LTF คืออะไร ก็อยู่เฉยๆ ในขณะที่บางคนรู้ว่ามี เคยได้ยิน แต่ไม่รู้รายละเอียด ขี้เกียจก็เลยปล่อยเอาไว้ก่อน ไม่ได้เข้ามาลงทุน ซึ่งเขาก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร แต่ถ้าเรามีคนเข้าไปคุยกับเขาให้รายละเอียดอยู่ต่อหน้าเขาๆ มีปัญหาสามารถที่จะตอบคำถามต่อหน้าเขาได้ทันที ตรงนี้เชื่อเลยว่าถ้าได้คุยตัวต่อตัวแล้ว 90% ของผู้ที่ได้คุย จะต้องลงทุนในกองทุน LTF

    "ตอนนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็เข้าไปร่วมกับสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ในการออกไปให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุน LTF กับพนักงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเราก็มีหนังสือไป ถ้าสนใจเรื่องกองทุน LTF เราก็มีทีมงานที่จะเข้าไปคุยและให้ความรู้"

    @เพิ่มผู้ลงทุน...เพิ่มขนาดเม็ดเงิน เมื่อเห็นตลาดชัดเจนเก่งกล้าอยากจะเห็นคือ มีผู้ที่เข้ามาลงทุนผ่านกองทุน LTF มากขึ้น เมื่อจำนวนคนลงทุนเพิ่มขึ้น เม็ดเงินลงทุนก็จะเพิ่มขึ้นตามมาเอง คือ ต้องทำเป็นขั้นๆ ไป ใครที่ยังไม่ได้เข้ามาใช้ประโยชน์ทางภาษีของกองทุน LTF เราก็ต้องให้เขาเข้ามาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ คือใช้ภาษีเป็นเครื่องจูงใจ ส่วนใครที่เข้ามาลงทุนในกองทุน LTF อยู่แล้ว เราก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการลงทุนของเขาใหม่ให้มีวัฒนธรรมในการลงทุนมองเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นหลัก โดยมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นตัวรองไป ซึ่งจากขนาดของตลาดกองทุน LTF ที่ยังมีอีกมาก เชื่อว่าจะสามารถที่จะทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้

    "หลายคนอาจจะมองว่ามันยากหรือทำไม่ได้ แต่มาดูนะปี 2547 ซึ่งเป็นปีแรกมีเม็ดเงินลงทุนผ่านกองทุน LTF 6,000 ล้านบาท ในปีที่สองมีเม็ดเงินเข้ากองทุน LTF 8,000 ล้านบาท สองปีรวมกัน 14,000 ล้านบาท ประเด็น คือ ถ้าผมจะทำปีหนึ่งสัก 24,000 ล้านบาท ได้มั้ย ได้ ไม่ใช่เรื่องยาก ก็ยังมีคนอีกตั้งเยอะที่ยังไม่ได้ลงทุน ถ้าผู้ลงทุน 60,000 คน ลงทุน 8,000 ล้านบาท ถ้าเพิ่มผู้ลงทุนขึ้นเป็น 200,000 คน เพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า ก็ 24,000 ล้านบาทเข้าไปแล้ว "

    ผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วยังไม่ได้เข้ามาลงทุนผ่านกองทุน LTF ก็ควรที่จะเข้ามาใช้สิทธิของคุณให้เต็มที่ สำหรับคนที่ลงทุนในกองทุน LTF อยู่แล้ว ก็ให้มีการกระจายการลงทุนทุกเดือนตลอดทั้งปี เท่านี้คุณก็จะมีส่วนร่วมในการสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดทุนไทยได้ไม่มากก็น้อยแล้ว





    copyright @ NKT NEWS CO.,LTD.
    All Right Reserved, Contact us : mailto:ktwebeditor@nationgroup.com

    คำถาม RMF -http://www.rd.go.th/publish/36195.0.html

    - คนกองทุนแนะวิธีรับมือ "Hamburger Crisis" http://www.bangkokbiznews.com/fundamental/

    - กองทุนรวมปีหมูไฟ ตบเท้าโชว์ผลงานโดดเด่น http://www.bangkokbiznews.com/fundamental/

    - ผลตอบแทน RMF & LTF ปี 2550 http://www.bangkokbiznews.com/fundamental/

     - เพิ่มวงเงินซื้อ RMF & LTF. ใครได้ประโยชน์บ้าง http://www.bangkokbiznews.com/fundamental/


    Page 1/1
    1
    Copyright © 2005 www.teinpun.com Allrights Reserved.
    Powered By www.Freethailand.com