Home | Service | News | เว็บบัญชี ที่น่าสนใจ | สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน | Easy_acc for Windows | Link Ranong | แบบจำลองการเริ่มต้นธุรกิจ SME | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มิถุนายน 2551 | การหักภาษี ณ ที่จ่าย | สำนักงานประกันสังคม | การยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ต | รู้เรื่องภาษี | รวมแบบฟอร์ม หนังสือสัญญาต่าง ๆ บริการฟรี | ศัพท์บัญชี | การยื่นงบการเงิน | สัมมนาที่น่าสนใจ ปี 2549 จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | บิซิเนสไทย | ถาม-ตอบ เกี่ยวกับภาษีอากร จากกรมสรรพากร | ถาม-ตอบ ยื่นแบบ/ชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต | ข้อหารือภาษีอากร จากกรมสรรพากร | เกร็ดความรู้ทางธุรกิจ | การจำหน่ายหนี้สูญที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม | เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี | วางแผนการเงิน 6 แผนการเงินที่ควรทำ


Category
   ความเป็นมา
   แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากร พ.ศ.2548-2551
   หน้าที่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
   สมุดบัญชีที่ผู้ทำบัญชี ต้องจัดทำ ตาม พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
   เอกสารที่ต้องนำส่งเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   ข้อควรระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
   ข้อควรปฏิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้
   สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป
   สำนักงานบัญชีไทย V.S. ยุโรป,อเมริกา
   เตรียมรับมือสรรพากรอย่างไร?
   การยกเลิกใบกำกับภาษี แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร?
   การออกใบแทนใบกำกับภาษี ฉบับที่สูญหาย ทำอย่างไร?
   หน้าที่ตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไร?
   เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงานบัญชียุคพัฒนา
   กรมสรรพากรให้บริการไอที Web Services ถึง 8 รายการ
   การแจ้งเปลี่ยนแปลงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
   สิทธิตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   ใครบ้าง ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 1
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 2
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 3
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 4
   ราชการใสสะอาด - วินัย/จรรยาบรรณ
   ดีเอสไอ. จับหนุ่มโกงภาษี
   บทความที่น่าสนใจจาก เว็บนักบัญชี.คอม
   แผนที่ชีวิตของคุณ?
   ถนอมสุขภาพตาอย่างไร เมื่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ
   เลือกซอฟท์แวร์อย่างไร สำหรับ SMEs
   การเสียเบี้ยปรับ ในกรณียื่นแบบ ภพ.30 เอง
   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั่วโลก
   การจัดตั้งคณะบุคคลทำอย่างไรบ้าง?
   การวางแผนภาษี เลือกจัดตั้งองค์กรธุรกิจ อย่างไรจึงเหมาะสม
   ค่าจดทะเบียนพาณิชย์, ห้างหุ้นส่วน และ บริษัทจำกัด
   ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ทางอินเตอร์เน็ต
   คำเตือนในการนำส่งงบการเงินประจำปีของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
   กรณีศึกษา - หมึกแดงกับการวางระบบบัญชีที่ตรวจสอบได้
   การขอเพิ่มสิทธิ์การติดตั้งโปรแกรม EASY_ACC
   คำแนะนำการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ สำหรับการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษจากกรมสรรพากร
   พรบ.การบัญชี 2543 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี
   การหักภาษี ณ ที่จ่าย
   เลขทะเบียนนิติบุคคลใหม่ 13 หลัก
   กลยุทธ์การป้องกันการถูกยึดกิจการ
   5 สัญญาณเตือนไทย ระวังการควบรวมกิจการ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการคัดสำเนาหนังสือรับรองผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
   สัมมนาหลักสูตรพื้นฐานสำหรับพัฒนาสำนักงานบัญชี ปี 2549
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2549 (ฟรี)
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดอบรมการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการ
   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เปลี่ยนแปลงเมื่อไร?
   เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
   การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามประมวลรัษฎากร
   อบรมเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2549
   การบริหารร้านค้าปลีกแบบมืออาชีพ
   การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
   การทำความเข้าใจกับลูกค้า
   คำอธิบายระหว่าง RMF. และ LTF.
   RMF. & LTF. (2)
   RMF. & LTF. (3)
   RMF. & LTF. (4)
   RMF. & LTF. (5)
   RMF. & LTF. (6)
   กลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นสรรพากรเรียกรับผลประโยชน์ในทางมิชอบ
   แบบสอบถามความเห็น การปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน
   เปิดเว็บไซต์ ฟรี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   5 อุปนิสัยในการประมวลผลที่ดี
   กิจวัตรประจำวัน และ จำนวนวันที่มีในชีวิตของคนเรา
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (1)
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (2)
   ปรับตัว/เตรียมใจอย่างไร? หากเกิดการเลย์ออฟ
   จดแล้วไม่จนจริงหรือ?
   สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
   โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
   หน่วยงานที่ให้บริการแก่ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง SME
   เตือนให้ส่งงบการเงินปี 2548 ภายใน 31 พฤษภาคม 2549
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้ กรณีขายบัตรเงินสด
   คำถาม-ตอบในการสัมมนา "การยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต"
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
   กรมสรรพากรจัดสัมมนาภาษีอากร ฟรี
   การตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดใช้งานไม่ได้
   กรณี - ความผิดการใช้ใบกำกับภาษีปลอม และพิสูจน์ผู้รับเงินไม่ได้
   อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินปี 2554 ล่าช้า (เริ่มใช้ เมษายน 2555)
   อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ใช้ทั่วประเทศ - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กรณีย้ายสถานประกอบการ ใบกำกับภาษีฉบับเดิมยังใช้ได้หรือไม่
   กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการแล้ว ผู้ขายไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ จะทำอย่างไร?
   วางแผนภาษีกับ การลงทุนใน RMF. & LTF.
   การวางแผนภาษี นั้นสำคัญไฉน??
   คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
   การอัพเกรด Easy_Acc for Windows
   ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
   ประเด็นความผิดเกี่ยวกับใบกำกับภาษี ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ร่าง พรบ.ของแถมของรางวัล
   สปส. ประกาศกฎกระทรวง เพิ่มคุ้มครอง 6 โรคเรื้อรัง
   ผู้ประกันตน ตาม ม.39 สิ้นสภาพ อย่าลืมรับเงินออม
   สิทธิและหน้าที่ที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ควรรู้
   ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย - น้องเดียว
   กรณีศึกษา - ภาษีน่ารู้
   เคล็ดลับหาเงินทุน บุกเบิกธุรกิจด้วยตนเอง
   ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีแล้ว (ภงด.94/49)
   ให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต
   การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
   กรณีศึกษา - การส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนกัน
   กรณีศีกษา - รายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วไม่จด ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
   กรณีศึกษา - นายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันให้พนักงาน
   ดับค้าปลีกต่างชาติในเยอรมัน-เกาหลี
   เสียภาษีอย่างไรให้ประหยัด
   เทคนิคการเลือก "กองทุน"
   บริษัท/ห้างฯ ที่จดทะเบียนใหม่จะต้องทำอะไรบ้าง?
   การเลือกซื้อกองทุน LTF
   การทำกิจการ "ค้าของเก่า"
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2550 (ฟรี)
   รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรทั้งหมด และที่ถูกพักใบอนุญาต
   เกณฑ์การรับรู้รายได้ รายจ่ายทางภาษีอากร (เกณฑ์สิทธิ) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550
   ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้
   SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร?
   สิทธิของผู้ประกันตน กรณีว่างงาน
   ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องทำบัญชีหรือแสดงรายได้เพื่อเสียภาษีอย่างไร?
   หลากกฎเตือนใจช่วยประหยัด-ฉลาดจ่าย
   กลยุทธ์ปั้นธุรกิจสู่เส้นชัย จาก 5 บริษัทชั้นนำระดับโลก
   กานต์ ตระกูลฮุน บ่มภาวะผู้นำ "คนปูน"
   ขอคืนภาษี โดยไม่สุจริต ระวังติดคุก?
   ข้อแตกต่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท ปี 2538 กับ 2549
   หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ
   ปรัชญานายห้างเทียม
   คดีภาษีขึ้นศาลภาษีอากรกลาง เพิ่มขึ้น 100%
   ภาษีมรดกในประเทศไทย
   ค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตรตามกฎหมายภาษีไทย
   ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 และ 94
   วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภงด.50 และ ภงด.51
   วางแผนการเงินให้ครอบครัวเภสัชกร
   ช่วยผู้บริหารสานสัมพันธ์ ผูกมิตรกับพนักงานระดับล่าง
   เงินได้ของแพทย์เสียภาษีอย่างไร?
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนให้ยื่นงบการเงินปี 2549 ภายใน 1 มิถุนายน 2550
   เมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัท/ห้างฯ แล้ว จะต้องชำระบัญชีเมื่อไร?
   ก่อนเริ่มต้น ทำพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์
   ข้อชี้แนะในการเลือกนักบัญชี (สำนักงานบัญชี)
   กรณีขายน้ำผลไม้สดคั้น
   ปฏิวัติ พ่อแม่
   The Future of Accounting
   สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
   อยากให้ลูกเรียนกฎหมาย
   การลงทุนในเวียตนาม
   ถึงเวลาแล้ว ต้องยื่น ภงด.50 รอบปีบัญชี 2550 แล้ว
   สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของผู้ส่งออกที่ดี
   ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี
   พิธีการศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกสินค้ากับพม่า
   สรรพากรจะให้ร้านค้าใช้เครื่องเก็บเงินในปีหน้า
   ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% ใช้ถึง 30 กันยายน 2551
   สรรพากรเอาผิดผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือขอคืนภาษีเป็นเท็จ
   ระวัง มิจฉาชีพ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรทางโทรศัพท์
   ลูกจ้างควรวางแผนภาษีเงินได้อย่างไร
   คำถามยอดนิยมจากเว็ปกรมสรรพากร
   สวนดุสิตโพลล์ชี้ผลวิจัยล่าสุด บัญชี แพทย์ บริหาร คอมฯ วิศวะ ครองแชมป์ได้งานสูง
   ถอนทะเบียนบริษัทร้าง 4,216 ราย
   สัมมนา "เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสำนักงานบัญชี
   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ.2550
   เตือนผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินประจำปี 2550
   มาตรการภาษี กระตุ้นเศรษฐกิจใช้บังคับปีภาษี 2551
   รายงานที่ต้องจัดทำในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ระเบียบใหม่ - การจัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
   การเสียภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใหม่
   จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ภายในวันเดียว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2551
   กฎหมายใหม่สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มใช้ 1 มกราคม 2551
   สรุปประเด็นข้อผิดพลาดในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
   ฏีกาภาษี ประเด็นมาตรา 40 (2) หรือ 40 (8)
   เงินได้นอกจากเงินเดือน ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 48 (2)
   ด่วน.... สัมนาภาษีอากร ฟรี กับกรมสรรพากร
   ภาษีที่เกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์
   ภาษีที่ดิน
   การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 6 เดือน
   สรรพากรไล่บี้สำนักงานบัญชี และผู้ประกอบการที่เลี่ยงภาษี
   เป้าเก็บภาษีปี 2553 - กรมสรรพากร
   กรมสรรพากร - เตือนผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
   การวิเคราะห์ภาระภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และการขยายฐานภาษี
   งบการเงิน ใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2553
   มีอะไรใหม่ ในการยื่นชำระภาษีปี 2552 (ภงด.90 / 91)
   หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ.2553 - ใหม่
   ข้อบกพร่องในการรับงบการเงิน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สัมมนาฟรี เรื่อง "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   ขยายเวลา การยื่นงบการเงิน ปี 2552 (3 เขต ใน กทม.)
   กรณีการเสียภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเงินได้ภรรยา ยื่นรวมกับสามี
   สัมมนาฟรี "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   สัมมนาฟรี "ฝ่าวิกฤต พิชิตปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคล"
   คัดสำเนาหนังสือรับรอง, เอกสารการจดทะเบียน และงบการเงินทาง e_Service
   การทำธุรกรรมทางออนไลน์ เสียภาษีหรือไม่?
   สำนักงานบัญชี ที่ต้องวางหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม 3%
   "สมคิด" เสนอปฏิรูปการคลัง ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
   สัมมนาฟรี "ลด แลก แจก แถม อย่างไร สบายใจ เรื่องภาษี"
   สรรพากรรื้อใหญ่ขยายฐานรายได้ ไม่เน้นขึ้นภาษี หันเก็บทั่วถึง-เป็นธรรม
   สรรพากรประกาศนโยบาย BIG CHANGE ตั้งเป้าปี54 เก็บภาษี 1.3 ล้านล้าน
   บริหารภาษีอย่างถูกวิธี - น่าสนใจ จริง ๆ
   ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
   ข้อควรทราบเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง?
   มาตราการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
   คลังลุยรื้อภาษีมุ่งลดเหลื่อมล้ำ
   โค้งสุดท้าย ซื้อ RMF/LTF ประหยัดภาษีปี 2553
   ชง ครม. เรียกเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา รัฐได้เพิ่ม 4,000 ล้านบาท
   การจัดทำบัญชีอย่างง่าย ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กำไรจากการขาย LTF
   สรรพากรเตือนผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภงด.90/91
   ประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงินของกรมสรรพากร
   เตรียมลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เริ่ม 1 มค.2555
   กรมสรรพากร - คู่มือประชาชน
   แนวปฏิบัติของผู้เสียภาษ๊ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย 2554
   บริการ 3 กรมภาษี กระทรวงการคลัง
   กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554
   ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน จาก 5% เหลือ 3% และ 4%
   ผู้หญิงเฮ ! แยกยื่นเสียภาษีกับสามี จ่ายน้อยลง ผลงานโบว์แดงผู้ตรวจการแผ่นดิน ???
   1 กุมภาพันธ์ 2555 เริ่มใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก
   ขอหนังสือรับรองจดทะเบียนหุ้นส่วน/บริษัท ผ่านธนาคาร ได้แล้ว
   กรณีกรมสรรพากรให้หักค่าลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถเนื่องจากน้ำท่วม ปี 2554
   กรมสรรพากร ให้ยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต มากขึ้น
   ค่าจ้างแรงงานต่อวัน เริ่มใช้ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
   ผู้หญิงมีสามีเฮ! ศาลรธน.ตัดสินกม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว
   ข่าวกรมสรรพากรที่น่ารู้
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีสามี-ภรรยา แยกกันยื่นแบบทุกภาษี เริ่มปีภาษี 2555 เป็นต้นไป
   การยื่นแบบแสดงรายการภาษี และยื่นแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย ตามประกาศของ ป.ป.ช. เริ่ม 1 เมษายน 2555
   ระเบียบใหม่ การจัดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด เริ่มใช้ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีเงินได้ กรณีสามีภรรยา (ฉบับใหม่) เริ่มใช้ 14 มกราคม 2556
   ขยายเวลาการใช้เลขภาษี 10 หลัก ถึง 31.7.2556
   คำแนะนำในการยื่นบัญชีแสดงรายรับ-รายจ่ายของโครงการ ตาม (บช.1)
   สิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2556 .....ใหม่ล่าสุด
   เพิ่มข้อความ "เลขภาษี 13หลัก" และ "สาขาที่ออกใบกำกับภาษี" ลงในใบกำกับภาษีขาย และใบกำกับภาษีซื้อ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2557
   สัมมนา ฟรี กับสรรพากร (ครึ่งวัน ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556 จำนวน 4 รอบ)
   ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่..... มาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฯ เริ่มใช้ 1 มค.2556
   การลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556
   ข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ที่จะเริ่มใช้ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
   สามีภรรยาร่วมกันทำการค้าถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT
   หลักเกณฑ์การประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
   หสม. หรือ คณะบุคคล ตามกฎหมายใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2558
   ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบทางออนไลน์ของกรมสรรพากรไปถึง มค.2560
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
สำนักงานบัญชี
1. ให้บริการวางระบบบัญชีของธุรกิจ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี&lt;br&gt;<br>

2. ให้บริการจัดทำบัญชี และรายงานผลการดำเนินธุรกิจเป็นรายเดือน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี EASY_ACC&lt;br&gt;<br>

3. ให้บริการและให้คำแนะนำในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี <br>

ได้แก่ ภพ.30 ภงด.1,3,53,50,51,90,91,94 ทางอินเทอร์เน็ต ให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลารอและการเดินทางของพนักงานสำหรับการยื่นแบบและชำระภาษี &lt;br&gt;<br>

4. ให้บริการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯ ก่อนการ เข้าตรวจสอบของเจ้าพนักงาน&lt;br&gt;<br>

5. จัดทำบัญชีและส่งมอบเอกสารบัญชี, สมุดบัญชีให้ผู้ประกอบการเก็บไว้ตาม พรบ.การบัญชี &lt;br&gt;<br>

สอบถามได้ที่ 077-811694, แฟ็กซ์ 077-813156หรือ E_mail :<a href=mailto:info@teinpun.com>info@teinpun.com</a>; &amp;:<a href=mailto:teinpun@yahoo.com>teinpun@yahoo.com</a>;
 

Online: 001
Visitors : 79281

การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล

ที่มา - http://www.mfcfund.com/php/th/BeforeInvestment_personal_finance.php

การเงินส่วนบุคคล (Personal Finance)

การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
การออมส่วนบุคคลและภาวะเงินเฟ้อ
กระบวนการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล
งบประมาณรายได้ส่วนบุคคล
งบประมาณรายจ่ายส่วนบุคคล
การทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แผนการในวัยเกษียณอายุ

 

การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล

        การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับบุคคลทั่วไป เพราะสามารถช่วยให้การจัดการทางการเงินของแต่ละบุคคลเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด และสามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ แม้ว่าสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงไป จากที่คาดการณ์ไว้บ้างก็ตาม

ปัจจัยพื้นฐานของการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ประกอบไปด้วยปัจจัย ที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. ผู้มีส่วนร่วมในการวางแผน ส่วนใหญ่หัวหน้าครอบครัวจะร่วมกับภรรยาและบุตรที่เป็นผู้ใหญ่พอที่จะสามารถร่วมรับผิดชอบได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความผูกพัน และสามารถรับความเสี่ยงต่อการตัดสินใจในสิ่งที่ได้มีการวางแผนไว้
2. รายได้ส่วนบุคคลสุทธิรวม คือ จำนวนเงินรายได้ภายหลังการหักภาษีที่สมาชิกภายในครอบครัวมอบให้แก่ครอบครัว
3. การวิเคราะห์บันทึกทางการเงิน มีประโยชน์ 2 ประการ คือ
  - สามารถจัดประเภทค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป ออกไว้ต่างหากจากค่าใช้จ่ายประเภทอื่น เพื่อให้การประมาณการรายจ่ายประเภทนี้ในปีต่อไปได้ชัดเจนขึ้น
  - สามารถประมาณการรายจ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้ ช่วยให้เราวางแผนทางการเงินในอนาคตได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ทางการเงิน
มี 3 ประการ คือ
1. รายจ่ายประจำที่ต้องจ่ายอย่างสม่ำเสมอ คือ รายจ่ายที่เกิดขึ้นทุกเดือนสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถประมาณการได้จากรายจ่ายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต
2. เงินออมในระยะสั้น คือ เงินที่กำหนดเตรียมไว้เพื่อวัตถุประสงค์บางประการ ภายในระยะเวลาไม่นานนักในอนาคต เช่น 2 หรือ 3 ปีข้างหน้า
3. เงินออมในระยะยาว คือ เงินที่เตรียมไว้เพื่อการใช้จ่ายในระยะเวลานานอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป ได้แก่
  3.1 เงินทุนเพื่อโครงการภายหลังการเกษียณอายุ ควรมีการเพิ่มจำนวนเงินให้มากขึ้น เมื่อเทียบกับปัจจุบัน เพื่อรองรับภาวะเงินเฟ้อในอนาคตด้วย
  3.2 เงินทุนเพื่อการศึกษาของบุตร จำนวนเงินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแผนการศึกษาที่ผู้ปกครองได้วางไว้ให้แก่บุตรของตน
  3.3 เงินลงทุนซื้อหุ้น พันธบัตร ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เป็นเงินลงทุนเพิ่มเติมจากการสะสมรายได้ในอดีต เพื่อลดผลกระทบหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต

การวางระบบการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล
จะต้องมีระบบการเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งได้แก่
1. งบรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล เป็นรายงานที่แสดงถึงที่มาของรายได้ และที่ไปของรายจ่ายของครอบครัว ควรมีการจัดทำงบรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลนี้เป็นรายเดือน เพื่อช่วยลดปัญหาสภาพคล่อง หากมีรายจ่ายฉุกเฉินและจำเป็นจะต้องจ่ายทันที โดยทำการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น หรือรายจ่ายที่สามารถเลื่อนระยะเวลาในการใช้จ่ายออกไปก่อนได้
2. งบดุลส่วนบุคคล ช่วยให้สามารถประเมินฐานะของครอบครัว อีกทั้งยังสามารถประมาณโครงการที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย งบดุลส่วนบุคคล ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ รายการทรัพย์สิน, รายการภาระหนี้สินต่าง ๆ และ มูลค่าสุทธิ (ส่วนต่างระหว่างทรัพย์สินและหนี้สิน)
3. บันทึกรายการทรัพย์สินส่วนบุคคล หมายถึง รายการทรัพย์สินมีค่า เช่นเครื่องประดับ และเครื่องใช้ภายในบ้านทุกชนิด บันทึกรายการทรัพย์สินส่วนบุคคลนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ตัวอย่างเช่น
  - กรณีทำประกันภัยไว้ สามารถเป็นหลักฐานในการพิสูจน์การครอบครองทรัพย์สิน หากเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินเหล่านั้นขึ้น เช่นการถูกโจรกรรม หรือการเกิดเพลิงไหม้
  - กรณีไม่ได้ทำประกันภัยไว้ หากทรัพย์สินนั้นถูกขโมยไป และเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถติดตามทรัพย์นั้นคืนมาได้ ก็สามารถจะแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของได้
4. บันทึกรายการเสียภาษี มีประโยชน์อย่างมาก ดังนี้
  - ช่วยให้ทราบถึงกำหนดของการชำระภาษี
  - ช่วยให้ทราบว่ารายได้ประเภทใดบ้างที่จะต้องชำระภาษี
  - มีความสะดวกในการชำระภาษีครั้งต่อไป
  - สามารถคำนวณภาษีได้ถูกต้องและครบถ้วน อีกทั้งสามารถเรียกคืนภาษีที่ชำระไว้เกินได้
5. บันทึกรายการหลักฐานการมีกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดิน ได้แก่
  5.1 โฉนดที่ดิน เป็นหลักฐานที่แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ในโฉนด
  5.2 พิมพ์เขียวแบบบ้าน หากในอนาคตมีแผนการในจะปรับปรุงโครงสร้างหรือซ่อมแซมตัวบ้านเพิ่มเติม จะสามารถช่วยให้สถาปนิกและผู้รับเหมาดำเนินการได้เร็วขึ้น
  5.3 บันทึกรายจ่ายในการต่อเติมหรือปรับปรุงอาคารบ้านที่อยู่อาศัย เพื่อให้ทราบถึงมูลค่าของราคาบ้านทั้งหมด หากอนาคตตัดสินใจจะขายบ้าน จะทำให้สามารถตั้งราคาขายได้ถูกต้องตามหลักฐานที่มีอยู่
6. บันทึกหลักฐานในการประกันภัย หากทรัพย์สินที่มีการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยไว้ ได้รับความเสียหาย ท่านหรือผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์จะสามารถนำหลักฐานไปอ้างสิทธิในการรับสินไหมทดแทนได้ ภายในกำหนดเวลาที่บริษัทรับประกันระบุไว้ตามเงื่อนไขในสัญญา
7. บันทึกหลักฐานในการลงทุน หากมีการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ใด ๆ การบันทึกรายการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เนื่องจาก
  - ทำให้ทราบว่ารายการลงทุนใดที่จะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเท่าใด และการลงทุนประเภทใดไม่ต้องเสียภาษีและท่านจะสามารถเครดิตขอคืนภาษีได้เป็นจำนวนเงินเท่าใด
  - สามารถคำนวณรายได้เงินปันผลและดอกเบี้ยได้อย่างถูกต้อง
  - สามารถวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงในการลงทุน
8. บันทึกรายการหลักฐานสำคัญส่วนบุคคลอื่น ๆ นอกเหนือจาก 7 ประเภทข้างต้น เช่น เอกสารใบทะเบียนบ้าน, เอกสารการเปลี่ยนชื่อ คำนำหน้าชื่อ นามสกุล ยศ ตำแหน่ง, ใบสูติบัตรของสมาชิกในบ้านทุกคน, ใบรับรองการรับบุตรบุญธรรม, ใบทะเบียนสมรส, พินัยกรรม หรือจดหมายคำสั่งเสียแทนพินัยกรรม โดยในแต่ละครอบครัวอาจมีเอกสารสำคัญแตกต่างกันไปตามนโยบายการดำรงชีวิตที่ต่างกันของหัวหน้าครอบครัว และสมาชิกภายในบ้าน

     


การออมส่วนบุคคลและภาวะเงินเฟ้อ

       การออมเป็นการสะสมเงินไว้ใช้ในยามจำเป็น เมื่อท่านหรือครอบครัวเกิดปัญหาทางการเงิน เช่น ท่านถูกไล่ออกจากงานทำให้ขาดรายได้ หรือประสบกับภาวะเงินเฟ้อทำให้รายได้ไม่พอกับรายจ่าย หรือท่านอยู่ในช่วงหลังการเกษียณอายุ หากท่านมีเงินออมไว้มากพอ ท่านก็จะไม่ประสบกับปัญหาทางการเงินมากนัก จำนวนเงินออมที่เหมาะสมขึ้นกับแต่ละบุคคล และแต่ละครอบครัว โดยจะแตกต่างกันไปตามสภาวะแวดล้อม ความเป็นอยู่ รวมถึงนโยบายในการวางแผนทางการเงิน

        เหตุผลที่สำคัญในการออม ก็คือ ท่านจะมีเงินสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินมากขึ้นอาจจะมีผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยหรือเงินปันผลเพิ่มขึ้นจากที่ท่านนำเงินไปลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อพันธบัตรรัฐบาล การซื้อหลักทรัพย์ หรือการซื้อกองทุน เป็นต้น

        การที่เราจะออมเงินมากขึ้น หรือลดลงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ผลตอบแทนที่ผู้ออมได้รับจากการออม กล่าวคือ ยิ่งผลตอบแทนในการออมมากขึ้นเท่าใด ก็จะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้มีการออมมากขึ้นเท่านั้น มูลค่าอำนาจซื้อของเงินในปัจจุบัน ผู้ออมจะตัดสินใจทำการออมมากขึ้นจากการพิจารณาถึงอำนาจซื้อของเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน ว่าไม่มีความแตกต่างจากมูลค่าของเงินในอนาคตมากนัก กล่าวคือ เงิน 100 บาทในวันนี้สามารถซื้อสินค้าและบริการได้ในจำนวนใกล้เคียงหรือเท่ากับการใช้เงิน 100 บาทในการซื้อสินค้าและบริการในอีก 2-3 ปีข้างหน้า รายได้สุทธิส่วนบุคคล กล่าวคือ ผู้ที่มีรายได้น้อยก็จะมีอัตราส่วนในการออมน้อยลงไปด้วย ความแน่นอนของจำนวนรายได้ในอนาคตภายหลังการเกษียณอายุ กล่าวคือ ถ้าท่านเห็นว่ารายได้ในอนาคตเป็นจำนวนที่เพียงพอในการใช้จ่ายในอนาคต การออมในปัจจุบันจะมีจำนวนน้อยลง อย่างเช่น ถ้าท่านทำงานรับราชการ ภายหลังการเกษียณอายุท่านก็จะมีบำเหน็จ บำนาญไว้ใช้จ่าย

ภาวะเงินเฟ้อ

        เป็นภาวะที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น เนื่องมาจากราคาสินค้าทั้งหมดโดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคควรให้ความสนใจก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการในภาวะเงินเฟ้อ คือ การเปรียบเทียบกันระหว่างราคาที่เป็นตัวเลขและราคาโดยเปรียบเทียบว่าสมควรที่จะทำการบริโภคต่อไปหรือไม่

       ในช่วงของการเกิดเงินเฟ้อ กลยุทธ์ที่เหมาะสมและดีที่สุดในการใช้จ่ายเงินสำหรับผู้บริโภคทั่วไป คือ วิธีการซื้อก่อนผ่อนทีหลัง (Buy Now,Pay Later) เพราะว่าสินค้าบางชนิดมีราคา 100 บาทในปัจจุบัน อาจมีราคาเพิ่มขึ้นเป็น 110 บาทในปีหน้าผู้บริโภคอาจจะคิดว่าควรชะลอการซื้อออกไปก่อนจะดีไหม ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องใช้หรือเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ไม่สามารถรอเวลาดังกล่าวได้ วิธีการที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การซื้อก่อนผ่อนทีหลัง การที่ท่านรอซื้อสินค้าในอนาคตนอกจากจะทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อแล้ว อำนาจซื้อของเงินก็ยังมีค่าลดลงอีกด้วย แต่การใช้สินเชื่อก็ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดหากท่านต้องการซื้อสินค้าที่มีราคาไม่สูงมากนัก ท่านควรซื้อด้วยเงินสดจะดีกว่า เพราะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก

       ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อมากที่สุด คือบุคคลที่มีรายได้คงที่ เพราะพวกเขาจะมีรายได้คงที่ในขณะที่ราคาของสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ นอกจากนี้ผู้เป็นเจ้าหนี้ก็จะเป็นผู้เสียประโยชน์ เพราะเงินที่ลูกหนี้ต้องชดใช้ในอนาคตจะมีมูลค่าลดลง


กระบวนการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล


กระบวนการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดที่มาของรายได้ส่วนบุคคลทั้งหมดว่าได้มาอย่างไร จนถึงขั้นตอนในการตัดสินใจจัดการกับรายได้ดังกล่าว ซึ่งขั้นตอนพื้นฐานในกระบวนการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคลมีอยู่ด้วยกัน 5 ขั้นตอน ดังแสดงไว้ในรูป

กระบวนการในการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล

       ความสำคัญของการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการเกิดความขัดสนทางการเงินมี 4 ประการ คือ

        1. ในกรณีที่ท่านแต่งงานมีครอบครัวแล้ว การตัดสินใจจัดการกับรายได้ที่ท่านมีอยู่ ควรเป็นโครงการร่วมกันระหว่างท่านและคู่สมรส การจัดสรรรายจ่ายชนิดใดเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด ควรคำนึงถึงรายจ่ายอื่นๆที่ท่านจะต้องใช้จ่ายจากเงินรายได้ของท่าน พร้อมทั้งอธิบายถึงการเกิดรายจ่ายและการจัดการรายจ่ายนั้นๆไว้อย่างชัดเจน เพื่อที่ท่านจะได้สามารถจัดทำงบประมาณส่วนบุคคลไปได้ด้วยดี

       2. ควรมีการกำหนดเงินสำรองรายจ่ายส่วนบุคคลขึ้นไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในจำนวนที่ทั้งท่านและคู่สมรสเห็นว่าเหมาะสม โดยรายจ่ายจำนวนนี้เป็นรายจ่ายนอกเหนือจากรายจ่ายที่ท่านแจกแจงไว้ในข้อที่ 1 ท่านและคู่สมรสจะได้มีอิสระส่วนตัวในการใช้จ่ายโดยไม่ต้องถูกบังคับให้มีการจัดการทางการเงินเฉพาะเพียงรายการที่กำหนดไว้ในงบประมาณเท่านั้น

       3. รายการรายจ่ายตามที่ได้กำหนดไว้ในงบประมาณ ในทางปฏิบัติไม่ได้หมายความว่าครอบครัวทั้งหลายจะต้องมีการดำเนินการให้เป็นไปตามงบประมาณ โดยไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงแนวทางในการใช้จ่ายได้เเลย เช่น ในกรณีที่ท่านกำหนดรายจ่ายค่าอาหารไว้ประมาณสัปดาห์ละ 1,000 บาท แต่หากในวันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ท่านอาจมีรายการซื้ออาหารเป็นพิเศษ เช่น ในสัปดาห์นั้นท่านอาจต้องการรับประทานเนื้อวัวที่มีคุณภาพดี หรือในฤดูผลไม้ลิ้นจี่ ทุเรียนซึ่งมีราคาแพงกว่าผลไม้ประเภทอื่น เช่น ส้ม เงาะ กล้วย ท่านก็อาจมีรายจ่ายค่าอาหารสูงกว่าจำนวนรายจ่ายที่ได้ตั้งงบประมาณไว้ เช่น อาจเป็น 1,500 บาทต่อสัปดาห์ได้ รายจ่ายส่วนเกิน 500 บาทนี้ท่านสามารถทำการปรับงบประมาณของท่านโดยไม่ทำให้งบประมาณส่วนรวมผิดพลาดได้ เช่น อาจมีการลดรายจ่ายค่าอาหารในสัปดาห์อื่น หรือเดือนอื่นๆลง เป็นต้น แต่ไม่ควรให้เกิดรายจ่ายส่วนเกินนี้ขึ้นบ่อยครั้ง และในทางตรงกันข้าม ก็ไม่ควรจำกัดการใช้จ่ายให้ต่ำกว่าวงเงินงบประมาณมากเกินไป โดยหวังว่าจะได้มีเงินคงเหลือเป็นจำนวนมากเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาของงบประมาณ เพราะอาจเป็นสาเหตุของการเกิดการโต้แย้งขึ้นภายในครอบครัวได้เนื่องจากการไม่มีความเป็นอยู่ที่ดีตามฐานะที่ควรจะเป็น

       4. ควรมีการเก็บรักษาบันทึกทางการเงินทั้งส่วนที่เป็นรายได้ และส่วนที่เป็นรายจ่ายไว้เป็นอย่างดี เพราะรายการรายจ่ายบางรายการอาจเป็นรายการสำคัญที่ควรทราบ เช่น รายการการเสียภาษีก็ควรมีการแยกรายการโดยแสดงรายละเอียดไว้ต่างหากโดยเฉพาะ หรือรายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานใบเสร็จรับเงินควรมีการบันทึกไว้ให้ถูกต้อง เพราะการบันทึกรายการที่ผิดพลาดจะมีผลกระทบถึงการทำงบประมาณในปีต่อๆไปได้


งบประมาณรายได้ส่วนบุคคล

        ขั้นตอนแรกในกระบวนการทำงบประมาณส่วนบุคคล คือ การจัดหมวดหมู่ของแหล่งที่มาของรายได้เข้าไว้ด้วยกัน ตัวอย่างการบันทึกแหล่งที่มาของรายได้ สามารถจัดทำได้ดังตาราง

แหล่งที่มาของรายได้
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
เงินเดือนค่าแรง                        
เงินเดือนและค่าแรงของคู่สมรส                        
โบนัส                        
ค่าเช่า                        
เงินปันผล                        
ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร                        
รายได้พิเศษ                        
รายได้พิเศษของคู่สมรส                        
รายได้อื่นๆ                        
รวมรายได้ทั้งหมด                        

       ควรสังเกตว่า แหล่งที่มาของรายได้โดยปกติ มักจะหนีไม่พ้นรายการต่อไปนี้ คือ รายได้จากการทำงานตามลักษณะอาชีพของท่าน คู่สมรส หรืองานพิเศษนอกเหนือจากงานอาชีพประจำของทั้งท่านและคู่สมรส รายได้จากดอกเบี้ยตามบัญชีเงินฝากประเภทต่างๆในธนาคาร รายได้เงินปันผล ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล เงินโบนัสประจำปี ลาภลอยต่างๆ เช่น การถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล สลากออมสิน หรือการชิงโชคอื่นๆ ในทางปฏิบัติแล้วอาจมีรายได้ประเภทอื่นนอกเหนือจากรายการข้างต้นได้อีก อย่างไรก็ตาม วิธีการที่ง่ายที่สุดในการจัดหมวดหมู่ของประเภทรายได้ก็คือ การทำบันทึกเป็นกระดาษทำการแนบไว้กับงบประมาณแสดงแหล่งที่มาของรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาเอาไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนและเปรียบเทียบรายการรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และหากคู่สมรสของท่านมีรายได้เช่นกัน การทำบันทึกดังกล่าวข้างต้นจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด

       ข้อแนะนำบางประการในการคำนวณรายได้ของครอบครัวที่มีประโยชน์และทำให้สามารถติดตามค้นหารายการรายได้ได้ครบถ้วนและถูกต้อง คือ

       1. คำนวณผลรวมเฉพาะรายได้สุทธิที่ท่านได้รับอยู่จริงเท่านั้น กล่าวคือ ท่านอาจมีรายได้ตามบัญชีเงินเดือนเป็นเดือนละ 10,000 บาท แต่รายได้ที่ท่านได้รับจริงสุทธิเป็นเพียง 9,200 บาทเท่านั้น ส่วนแตกต่าง 800 บาทนี้เป็นรายจ่ายที่นายจ้างหักไว้เป็นค่าภาษี 350 บาท ค่าเงินสวัสดิการต่างๆภายในสถานที่ทำงาน 150 บาท และเงินสะสมเพื่อโครงการเกษียณอายุอีก 300 บาท จำนวนรายได้ที่ท่านจะใส่ไว้ในงบประมาณจะเป็นเพียงจำนวน 9,200 บาท โดยไม่ใช่เป็นจำนวน 10,000 บาท ท่านอาจไม่พอใจในการถูกหักเงินจำนวน 800 บาทนี้ไว้ เพราะทำให้ท่านมีเงินที่จะใช้จ่ายน้อยลง อย่างไรก็ตาม ถ้าหน่วยงานของท่านไม่มีนโนบายในการจัดหา
สวัสดิการดังกล่าวข้างต้นไว้เพื่อความปลอดภัยทางการเงินของท่านแล้ว ท่านก็ไม่ควรที่จะลืมกันเงินสำรองเพื่อการนี้ไว้ในงบประมาณของท่านเองด้วย เพราะรายจ่ายดังกล่าวจะเป็นรายจ่ายที่ท่านไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายในวันนี้หรือในอนาคต

       2. ถ้าท่านไม่แน่ใจว่ารายได้ที่ท่านจะได้รับเป็นจำนวนที่แน่นอนเท่าใดแล้ว ให้ท่านประมาณวงเงินในจำนวนที่น้อยที่สุดที่ท่านคิดว่าจะได้รับไว้ก่อน เพื่อว่าเมื่อท่านประมาณรายจ่ายเพียงภายในวงเงินรายได้ที่มีอยู่แล้ว ต่อมาในภายหลังที่ท่านได้รับรายได้เพิ่มขึ้น จะทำให้ท่านมีเงินคงเหลือเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาการทำงบประมาณเพิ่มขึ้น ก็ย่อมเป็นการดีกว่าที่ท่านจะประมาณวงเงินที่คาดว่าจะได้รับไว้สูง ทั้งๆที่ไม่แน่ใจว่ารายได้นั้นจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพราะการลดรายจ่ายให้น้อยลงกว่างบประมาณ เป็นเรื่องที่กระทำได้ยากกว่าการเพิ่มรายจ่ายให้สูงกว่างบประมาณ เช่น ในกรณีที่ท่านไม่แน่ใจว่าท่านจะได้รับบำเหน็จประจำปีเป็น 1 ขั้น หรือ 2 ขั้นเป็นต้น

       3. คำนวณตัวเลขรายได้จำนวนใหม่ขึ้นมา เมื่อถึงรอบระยะเวลาการขึ้นเงินเดือนประจำปี เช่น ถ้าท่านเป็นข้าราชการท่านจะได้รับการพิจารณาให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในราวเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม แต่เงินเดือนใหม่ท่านจะได้รับเมื่อสิ้นเดือนตุลาคม หรือหาดท่านทำงานในบริษัทเอกชนท่านอาจได้รับเงินเดือนใหม่ในระหว่างปีได้ถ้าท่านมีความดีความชอบพิเศษ ในกรณีเช่นนี้ ท่านก็จะมีรายจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การคำนวณรายได้ภายหลังการหักภาษีให้ถูกต้องและจัดการเพิ่มรายได้ไว้งบประมาณให้เรียบร้อย จะเป็นประโยชน์ในการจัดสรรรายจ่ายบางรายการให้เพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่รายการภาษีที่ท่านคำนวณขึ้น อาจเป็นรายจ่ายที่ท่านได้รับกลับคืนในภายหลัง เช่น รายการคืนภาษีเนื่องจากมีการคำนวณไว้ในระหว่างปีผิดพลาด การที่ท่านมีบุตรเพิ่มขึ้นและได้รับการลดหย่อนภาษีมากขึ้น การลงทุนที่มีสิทธิได้รับคืนภาษี การเปลี่ยนแปลงนโยบายภาษีของรัฐบาล ฯลฯ อย่างไรก็ตาม รายการดังกล่าวอาจไม่มีผลทำให้งบประมาณเปลี่ยนแปลงได้เท่าใดนัก แต่ก็ยังเป็นการดีกว่าที่จะมีรายการรายจ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่คาดฝัน แม้ว่ารายจ่ายนั้นจะเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากก็ตาม

       4. ถ้าอาชีพของท่านก่อให้เกิดรายได้ที่ไม่แน่นอน เช่น อาชีพนักร้อง นักแสดง นักเขียน นักมวย พนักงานขาย นายหน้า สถาปนิก ฯลฯ รายได้ของท่านจะได้รับไม่สม่ำเสมอเป็นประจำทุกเดือนเหมือนเช่นที่ท่านเป็นข้าราชการประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานในบริษัทห้างร้านต่างๆ เพราะแม้ว่าท่านจะทำงานเสร็จแล้วแต่ท่านก็ยังอาจจะไม่ได้รับเงินค่าจ้างทันที การทำงบประมาณรายจ่ายของท่านจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก และจะต้องมีการประมาณที่ถูกต้องโดยพิจารณาจากจำนวนผลงานที่เกิดขึ้นก่อนที่จะได้รับเงินค่าจ้าง และการประมาณรายได้ประจำเดือนกระทำได้โดยการหารรายได้ต่อปีที่ประมาณขึ้นด้วย 12 เพราะรายรับในแต่ละปีอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นกับความสามารถและความมีชื่อเสียงของท่านเอง

        หลักเกณฑ์สำคัญในการทำงบประมาณเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดการทางการเงิน คือ การประมาณรายได้ไว้ในจำนวนที่ต่ำที่สุดที่ท่านคิดว่าควรจะเป็น และประมาณรายจ่ายไว้ค่อนข้างสูงภายในวงเงินรายได้ที่ท่านมีอยู่ เพื่อที่ว่าเมื่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ท่านจะสามารถแก้ไขสถานการณ์ทางการเงินได้ดีกว่าการประมาณรายได้ไว้สูง หรือการประมาณรายจ่ายไว้ต่ำเกินไปจนท่านไม่สามารถจะปรับงบประมาณของท่านได้เลย เมื่อท่านมีความจำเป็นจะต้องมีรายจ่ายรายการใดรายการหนึ่งสูงกว่างบประมาณที่วางไว้


งบรายจ่ายส่วนบุคคล

        เพื่อที่จะควบคุมการใช้จ่ายจากเงินรายได้ที่มีอยู่ให้เกิดความสมดุลขึ้น วิธีการที่ดีที่สุด คือ การจดจำว่ารายการรายจ่ายทั้งหมดของท่านมีรายการใดบ้าง และเป็นรายจ่ายประเภทใด จำนวนเท่าใด พร้อมทั้งจัดประเภทของรายจ่ายต่างๆไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น กลุ่มรายจ่ายประจำ กลุ่มรายจ่ายแปรได้หรือกลุ่มรายจ่ายกึ่งประจำกึ่งแปรได้ เพราะรายจ่ายกลุ่มแปรได้จะเป็นรายจ่ายที่ท่านควรให้ความสนใจมากกว่ารายจ่ายประเภทอื่น เนื่องจากท่านสามารถเลื่อนกำหนดการใช้จ่ายไปได้มากกว่าการเป็นรายจ่ายประจำ หรือรายจ่ายกึ่งประจำกึ่งแปรได้

        ภายหลังจากที่ท่านได้แจกแจงและจัดกลุ่มประเภทรายจ่ายขึ้นแล้ว ขั้นต่อไปคือ การหาค่าร้อยละของรายจ่ายทุกรายการว่ารายจ่ายต่างๆเหล่านั้นมีการใช้จ่ายคิดเป็นร้อยละเท่าใดของรายได้ที่มีอยู่ ท่านควรตระหนักไว้เสมอว่าเมื่อท่านมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่ท่านควรกระทำต่อไปคือ การนำเงินส่วนที่เหลือไปลงทุนทางใดทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านมีผลตอบแทนมากขึ้นจากการลงทุนนั้นๆ การลงทุนในที่อยู่อาศัยก็เป็นการลงทุนที่ดีวิธีหนึ่ง เนื่องจากบ้านและที่ดินจะไม่มีค่าเสื่อมราคาเมื่อเวลาผ่านไป ราคาบ้านและที่ดินจึงมีราคาสูงขึ้นตามระยะเวลาของการใช้งาน และ ถ้าท่านลงทุนในบ้านและที่ดินด้วยเงินกู้ รายจ่ายที่ท่านต้องจ่ายเป็นประจำต่อเดือน มีเพียงรายการเงินต้นค่าผ่อนชำระบ้านและรายการดอกเบี้ยจ่ายตามจำนวนราคาบ้านที่ตกลงกันในวันซื้อเท่านั้น รายจ่ายค่าผ่อนชำระบ้านสามารถนำไปเป็นรายการหักลดหย่อนเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปีได้

        วิธีการที่ง่ายและฉลาดที่สุดในการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล คือ การย้อนไปวิเคราะห์ถึงรายจ่ายที่เกิดขึ้นในปีก่อนๆ เพื่อดูถึงลักษณะนิสัยในการใช้จ่ายของท่าน เพราะรายการต่างๆเหล่านั้นจะบ่งบอกถึงรายจ่ายรายการหลักที่ควรจัดให้มีไว้ในงบประมาณได้เป็นอย่างดี


การทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

        ในรายการรายจ่ายอาจแยกเป็นประเภทรายจ่ายได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

        1. รายจ่ายประจำ รายจ่ายประจำ หมายถึง รายจ่ายที่เป็นภาระผูกพันและมีรอบระยะเวลาการจ่ายสม่ำเสมอตลอดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง

        2. รายจ่ายแปรได้ รายจ่ายแปรได้จะเป็นรายจ่ายประเภทสำคัญ แต่จะเป็นรายจ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่
คาดฝันหรือเป็นรายจ่ายที่ได้มีการตั้งงบประมาณไว้ว่า อาจจะมีการจ่ายเกิดขึ้นในวันใดวันหนึ่งในอนาคต เช่น รายจ่ายค่าซ่อมแซมหรือปรับปรุงโครงสร้างของบ้านที่อยู่อาศัยใหม่ รายจ่ายพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุดประจำปี เงินบริจาคการกุศล รายจ่ายเพื่อซื้อทรัพย์สินทดแทน เช่น วิทยุ โทรทัศน์สีเครื่องใหม่ และเงินออม เป็นต้น รายจ่ายต่างๆเหล่านี้จึงเป็นรายจ่ายที่สามารถจะเลื่อนกำหนดการจ่ายออกไปได้ หรืออาจเป็นรายการที่ไม่ต้องมีการจ่ายเลยก็เป็นได้ ถ้าท่านยังไม่มีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องใช้จ่ายในเดือนหรือปีนั้นๆ และมีรายจ่ายรายการอื่นในงบประมาณที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นมากกว่าเกิดขึ้น

        3. รายจ่ายกึ่งประจำกึ่งแปรได้ หมายถึง รายจ่ายที่มาสามารถจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการใช้จ่ายได้เลย ถึงแม้ว่ารายการเหล่านี้จะเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นเป็นประจำก็ตาม แต่จำนวนเงินในแต่ละรอบระยะเวลามักเป็นจำนวนที่ไม่แน่นอน เช่น ในระหว่างเดือนมีนาคม ? เมษายนซึ่งเป็นฤดูร้อน รายจ่ายค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปามักมักจะมีจำนวนสูงกว่ารายการที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ซึ่งเป็นฤดูหนาว หรือรายการค่าโทรศัพท์ในเดือนที่มีวันหยุดงานมากจะมีจำนวนสูงกว่ารายการที่มีวันหยุดงานน้อย

ปัญหาในการจัดหมวดหมู่ของรายการรายจ่าย
        ในการจัดหมวดหมู่ของรายการรายจ่ายตามประเภทนั้น ควรที่หัวหน้าครอบครัวและสมาชิกจะต้องมีการปรึกษาหารือร่วมกันอย่างจริงจัง เพื่อกำหนดว่ารายการรายจ่ายใดควรเป็นรายจ่ายแปรได้ และรายการรายจ่ายใดควรเป็นรายจ่ายกึ่งประจำกึ่งแปรได้ เพราะในบางครั้งอาจไม่สามารถแยกรายการทั้งสองประเภทออกได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะครอบครัวที่มีรายได้มากๆ รายการรายจ่ายประเภทแปรได้มักจะกลายเป็นรายจ่ายประเภทกึ่งประจำกึ่งแปรได้มากขึ้น แตกต่างกับครอบครัวที่มีรายได้ระดับปานกลางหรือระดับต่ำ รายจ่ายประเภทกึ่งประจำกึ่งแปรได้อาจเป็นรายจ่ายที่ถูกตัดทอนไปจากงบประมาณอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น รายการรายจ่ายค่าพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุดประจำปี รายจ่ายในวันฉลองขึ้นปีใหม่ รายจ่ายค่าซื้อรถยนต์คันใหม่แทนการซ่อมแซมรถยนต์คันเก่า เป็นต้น

เงินออม
        เงินออม เป็นรายการที่สำคัญที่สุดรายการหนึ่งในงบประมาณส่วนบุคคล เพราะวัตถุประสงค์ทางการเงินบางโครงการอาจเป็นการใช้จ่ายเงินจำนวนค่อนข้างสูงในอนาคต จึงต้องเริ่มทำการออมเสียตั้งแต่วันนี้เพื่อที่จะมีเงินออมรวมตามจำนวนที่ต้องการในวันข้างหน้า หรือรายจ่ายบางรายการท่านอาจไม่มีเงินพอที่จะใช้จ่ายในขณะนั้น และรายการดังกล่าวเป็นรายการที่สามารถเลื่อนกำหนดการใช้จ่ายออกไปได้ ท่านจึงต้องทำการออมไปทีละเล็กละน้อยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เช่น การออมเพื่อการศึกษาบุตร การออมเพื่อการลงทุนในที่อยู่อาศัย เงินทุนเพื่อโครงการภายหลังการเกษียณอายุ รายการเหล่านี้ถือเป็นการออมในระยะยาวทั้งสิ้น

รายจ่ายฉุกเฉิน
        ทุกครอบครัวควรมีการออมไว้เพื่อรายจ่ายฉุกเฉิน เพราะรายจ่ายประเภทนี้มักเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน แต่ก็เป็นรายจ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา เช่น รายจ่ายค่าซ่อมรถยนต์เนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน รายจ่ายค่ารักษาพยาบาลของสมาชิกในครอบคัวที่เกิดเจ็บป่วยกะทันหัน ในบางครอบครัวอาจใช้วิธีการป้องกันปัญหาดังกล่าวโดยการผลักภาระไปให้บริษัทประกันภัย ในกรณีเช่นนี้ ท่านจะมีรายจ่ายประจำเกิดขึ้น คือ รายจ่ายค่ากรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุหรือค่ากรมธรรม์ประกันสุขภาพและท่านก็จะหมดกังวลต่อการออมเงินไว้เพื่อการฉุกเฉินไปได้ เพราะเมื่อท่านเกิดความเสียหายหรือมีการสูญเสียเกิดขึ้น บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับภาระรายจ่ายดังกล่าวให้แก่ท่าน แต่ควรสังเกตว่าในการใช้บริการการประกันภัยนั้น ถ้าท่านไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นท่านจะถูกริบเบี้ยประกันโดยทั้งหมด จึงต่างกับการออมเงินไว้ด้วยตนเอง ที่ถ้าท่านไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้จ่ายเงิน ท่านก็จะยังคงมีเงินออมสะสมไว้อยู่ตลอดไป

        รายจ่ายฉุกเฉินที่เป็นไปได้อีกกรณีหนึ่ง คือ การที่ผู้หาเลี้ยงครอบครัวไม่มีความสามารถจะหารายได้อีกต่อไป ในกรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้หากบริษัทที่ท่านทำงานอยู่ต้องการปลดพนักงานออกเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การถูกย้ายตำแหน่งไปยังหน่วยงานที่ไม่ตรงกับความสามารถของท่าน จึงจำเป็นต้องลาออกหรือเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายจนไม่สามารถจะทำงานได้ต่อไป ไม่ว่าเหตุผลใดท่านจะกลายเป็นคนว่างงานทันที ผลที่ตามมาคือ ท่านและผู้อยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของท่านในครอบครัวจะเริ่มต้องการเงินทุนจำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตต่อไปในอนาคต จนกว่าท่านหรือสมาชิกคนใดคนหนึ่งจะสามารถหางานทำใหม่ได้ เงินทุนฉุกเฉินจึงมีความสำคัญสำหรับครอบครัวนั้นๆ ปัญหาต่อไปคือ การกำหนดวงเงินฉุกเฉินที่แต่ละครอบครัวจะต้องตั้งงบประมาณไว้ ว่าควรจะเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด ซึ่งความจริงแล้วไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์เอาไว้ตายตัวว่าแต่ละครอบครัวควรมีการกันเงินออมไว้เป็นร้อยละเท่าใดของรายได้ หรือมีการบังคับว่าทุกครอบครัวควรต้องมีการกันเงินไว้เพื่อการนี้แต่ประการใด

        สมมติว่าท่านมีการใช้จ่ายทั้งสิ้นเดือนละ 30,000 บาท ถ้าท่านต้องการจะเก็บเงินไว้เพื่อรายจ่ายฉุกเฉินภายในระยะเวลา 3 เดือน โดยคิดว่าถ้าท่านต้องออกจากงาน ภายในระยะเวลา 3 เดือน ท่านจะสามารถหางานใหม่หรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทางการเงินได้ หมายความว่า ท่านควรมีเงินสำรองไว้ทั้งสิ้น 90,000 บาท โดยที่ครอบครัวไม่มีความเดือดร้อนทางการเงินเลย แต่ถ้าระยะเวลาในการแก้ปัญหานั้นนานออกไป จำนวนเงินสำรองที่กันไว้ก็ควรจะมากขึ้น การสร้างเงินทุนสำรองเพื่อรายจ่ายฉุกเฉิน กระทำได้โดยการนำเงินส่วนที่เหลือหลังจากใช้จ่ายในส่วนที่จำเป็นหมดแล้วไปลงทุนในแหล่งที่มีผลตอบแทนสูงและมีความเสี่ยงภัยไม่มากนัก เช่น การลงทุนในหลักทรัพย์ที่มั่นคง เป็นต้น

        ทางแก้ปัญหาของการเกิดรายจ่ายฉุกเฉินในกรณีที่ท่านต้องออกจากงาน หรือไม่มีความสามารถจะทำงานอีกต่อไป และท่านมีเงินสำรองไว้ไม่เพียงพอ คือ

        1. ปกติแล้วเกือบทุกหน่วยงานจะมีการจ่ายเงินชดเชยให้แก่พนักงาน เมื่อต้องออกจากงาน ซึ่งอาจเป็นจำนวนเท่ากับรายรับที่ท่านได้รับในเดือนสุดท้ายคูณกับจำนวนปีที่ทำงานมา หรือเป็นจำนวนเงินที่ท่านถูกหักสะสมไว้ระหว่างการทำงาน ซึ่งหมายความว่าท่านจะมีเงินในมือเพื่อใช้จ่ายเพิ่มเติมจากเงินที่กันไว้ในงบประมาณ เพื่อป้องกันรายจ่ายฉุกเฉินได้เป็นอย่างดี
        2. ปรึกษาร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว เพื่อประหยัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นบางประเภทลง เพื่อจะได้มีเงินออมเพื่อรายจ่ายฉุกเฉินมากขึ้น
        3. กรณีที่ท่านไม่สามารถปรับรายจ่ายอื่นๆเพื่อกันเป็นเงินออมฉุกเฉินไว้ได้อีกเลย ท่านอาจจำเป็นต้องขายทรัพย์สินบางอย่างที่ไม่จำเป็นต่อการครองชีพไป เช่น เครื่องดีวีดี รถยนต์คันที่สอง แหวนเพชร สร้อยคอทองคำ เป็นต้น

        หากท่านได้พยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ปัญหานั้นยังคงมีอยู่ต่อไป เช่นท่านไม่สามารถหางานใหม่ทำได้เป็นเวลาถึง 2 ปีแล้ว ในกรณีนี้ท่านอาจจะต้องทำการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นการขายบ้านที่อยู่ในปัจจุบันและย้ายไปอยู่บ้านเช่าหรือหอพักที่มีราคาถูกลง และเก็บรายได้ส่วนที่ขายบ้านไว้เป็นทุนในการใช้จ่ายในช่วงเวลาที่ท่านและสมาชิกพยายามจะหาแนวทางใหม่ในการหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว ซึ่งโอกาสที่แต่ละครอบครัวจะเกิดปัญหานี้มีได้มามากนัก ยกเว้นกรณีของครอบครัวที่มีระดับรายได้ต่ำมากและหัวหน้าครอบครัวถึงแก่การเสียชีวิตโดยไม่ได้ทิ้งทรัพย์สินใดๆไว้ให้ผู้อยู่ในอุปการะเลย เท่านั้น

Top


แผนการในวัยเกษียณอายุ

        ภายหลังการเกษียณอายุ ท่านจำเป็นต้องมีเงินออมสะสมมากเท่าใด จึงจะเพียงพอในการใช้จ่ายในช่วงหลังเกษียณอายุ โดยที่ท่านจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายเหมือนช่วงที่ท่านยังสามารถหารายได้ได้อยู่ การวางแผนทางการเงินเพื่อการเกษียณอายุจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยมีขั้นตอนในการกำหนดแผนงาน เป็น3 ขั้นตอน คือ

        1. การกำหนดถึงความต้องการใช้เงินทุนว่าควรเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นเท่าใด
        2. การกำหนดถึงจำนวนเงินที่ท่านสามารถจะหามาได้รวมทั้งหมด
        3. กำหนดถึงความแตกต่างของจำนวนเงิน ระหว่างความต้องการเงินทุนและความสามารถในการหารายได้ของท่าน

การกำหนดความต้องการใช้เงินทุนในอนาคต
        ท่านควรจะเริ่มคำนึงถึงจำนวนรายจ่ายที่ท่านจำเป็นต้องใช้ในวัยชราก่อนว่ามีรายจ่ายประเภทใดบ้าง อย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าเดินทางท่องเที่ยว รายจ่ายเพื่องานอดิเรกของแต่ละบุคคล ฯลฯ ซึ่งรายจ่ายที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะเป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในวัยชรา หลังจากนั้นจึงเริ่มกำหนดความต้องการเงินทุนในอนาคต ที่สำคัญท่านต้องไม่ลืมว่ายิ่งท่านอายุมากขึ้น เงินออมเพื่อรายจ่ายฉุกเฉินก็จะมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น

การกำหนดจำนวนเงินทุนที่สามารถหาได้ในอนาคต
        ท่านควรทราบระยะเวลาก่อนที่ท่านจะถึงกำหนดเกษียณอายุ เพื่อกำหนดเงินออมสะสมได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากอาชีพที่แตกต่างกันย่อมมีแผนการทางการเงินในอนาคตที่ต่างกัน อย่างเช่น หากท่านมีอาชีพรับราชการ ถึงแม้จะมีเงินเดือนน้อยในระหว่างอายุการทำงาน แต่ก็มีการให้บำเหน็จ บำนาญแก่ผู้ที่เกษียณอายุ ต่างกับผู้ที่มีอาชีพรับจ้าง หรือเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ดังนั้นการจัดสรรรายได้ รายจ่าย และเงินออมจึงเป็นหน้าที่ของแต่ละบุคคล

        รายได้อื่นๆที่ท่านควรนำมาประมานการรายได้ภายหลังการเกษียณอายุ
          1. เงินทุนประกันชีวิต (แบบสะสมทรัพย์ หรือแบบเงินได้รายปี)
          2. เงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์
          3. ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือการลงทุนในสถาบันอื่น รวมถึงผลกำไรจากการลงทุนโดยตรง
          4. รายได้จากการขาย หรือให้เช่าทรัพย์สินส่วนบุคคล
          5. กำไรส่วนทุนที่ได้รับจากหลักทรัพย์ที่ท่านถือไว้
          6. รายได้จากการทำงานพิเศษภายหลังการเกษียณอายุ
          7. รายได้จากการมีลาภลอยหรือการเสี่ยงโชคอื่นใดทุกชนิด เช่น การถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล การถูกสลากออมสิน เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างรายรับและรายจ่ายภายหลังการเกษียณอายุ
        หลังจากที่ท่านกำหนดรายรับ และรายจ่ายภายหลังการเกษียณอายุแล้วพบว่ามีความแตกต่างกันมาก ท่านควรวางแผนการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง หรือเริ่มต้นสะสมเงินออมในขณะที่ท่านยังมีรายได้ให้มากกว่าเดิม รวมไปถึงการนำเงินออมไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลในระยะยาวแบบดอกเบี้ยทบต้น และการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ หรือกองทุนต่างๆเพื่อหวังเงินปันผลที่จะได้รับในอนาคต
        ทางที่ดีท่านควรจะรักษาให้มีความแตกต่างระหว่างรายได้ และรายจ่ายภายหลังการเกษียณอายุให้มีน้อยที่สุด หากท่านทราบถึงความแตกต่างระหว่างรายได้และรายจ่ายดังกล่าว ท่านควรพิจารณาถึงจำนวนเงินที่แตกต่างกันนั้น และพยายามนำส่วนที่เป็นเงินออมไปลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น

กรณีศึกษา - เพิ่มเติม

ที่มา http://www.mcot.net/lady/query.php?id=395&type=1 -วางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

-
ทำไมต้องวางแผนการเงิน
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/23/WW13_1309_news.php?newsid=85470

-เงินอยู่รอบตัว..คุณก้มลงเก็บเป็นรึเปล่า http://www.bangkokbiznews.com/fundamental/

- เฉพาะผู้ขายออปชั่น ต้องวางหลักประกัน http://www.bangkokbiznews.com/fundamental/


Page 1/1
1
Copyright © 2005 www.teinpun.com Allrights Reserved.
Powered By www.Freethailand.com