Home | Service | News | เว็บบัญชี ที่น่าสนใจ | สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน | Easy_acc for Windows | Link Ranong | แบบจำลองการเริ่มต้นธุรกิจ SME | อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มิถุนายน 2551 | การหักภาษี ณ ที่จ่าย | สำนักงานประกันสังคม | การยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ต | รู้เรื่องภาษี | รวมแบบฟอร์ม หนังสือสัญญาต่าง ๆ บริการฟรี | ศัพท์บัญชี | การยื่นงบการเงิน | สัมมนาที่น่าสนใจ ปี 2549 จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | บิซิเนสไทย | ถาม-ตอบ เกี่ยวกับภาษีอากร จากกรมสรรพากร | ถาม-ตอบ ยื่นแบบ/ชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต | ข้อหารือภาษีอากร จากกรมสรรพากร | เกร็ดความรู้ทางธุรกิจ | การจำหน่ายหนี้สูญที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม | เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี | วางแผนการเงิน 6 แผนการเงินที่ควรทำ


Category
   ความเป็นมา
   แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากร พ.ศ.2548-2551
   หน้าที่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
   สมุดบัญชีที่ผู้ทำบัญชี ต้องจัดทำ ตาม พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
   เอกสารที่ต้องนำส่งเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   ข้อควรระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
   ข้อควรปฏิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้
   สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป
   สำนักงานบัญชีไทย V.S. ยุโรป,อเมริกา
   เตรียมรับมือสรรพากรอย่างไร?
   การยกเลิกใบกำกับภาษี แล้วออกฉบับใหม่ ทำอย่างไร?
   การออกใบแทนใบกำกับภาษี ฉบับที่สูญหาย ทำอย่างไร?
   หน้าที่ตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไร?
   เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงานบัญชียุคพัฒนา
   กรมสรรพากรให้บริการไอที Web Services ถึง 8 รายการ
   การแจ้งเปลี่ยนแปลงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
   สิทธิตามกฎหมายของผู้เสียภาษีอากร
   ใครบ้าง ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 1
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 2
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 3
   ราชการใสสะอาด - กรมสรรพากร กรณีที่ 4
   ราชการใสสะอาด - วินัย/จรรยาบรรณ
   ดีเอสไอ. จับหนุ่มโกงภาษี
   บทความที่น่าสนใจจาก เว็บนักบัญชี.คอม
   แผนที่ชีวิตของคุณ?
   ถนอมสุขภาพตาอย่างไร เมื่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ
   เลือกซอฟท์แวร์อย่างไร สำหรับ SMEs
   การเสียเบี้ยปรับ ในกรณียื่นแบบ ภพ.30 เอง
   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั่วโลก
   การจัดตั้งคณะบุคคลทำอย่างไรบ้าง?
   การวางแผนภาษี เลือกจัดตั้งองค์กรธุรกิจ อย่างไรจึงเหมาะสม
   ค่าจดทะเบียนพาณิชย์, ห้างหุ้นส่วน และ บริษัทจำกัด
   ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ทางอินเตอร์เน็ต
   คำเตือนในการนำส่งงบการเงินประจำปีของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
   กรณีศึกษา - หมึกแดงกับการวางระบบบัญชีที่ตรวจสอบได้
   การขอเพิ่มสิทธิ์การติดตั้งโปรแกรม EASY_ACC
   คำแนะนำการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ สำหรับการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษจากกรมสรรพากร
   พรบ.การบัญชี 2543 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี
   การหักภาษี ณ ที่จ่าย
   เลขทะเบียนนิติบุคคลใหม่ 13 หลัก
   กลยุทธ์การป้องกันการถูกยึดกิจการ
   5 สัญญาณเตือนไทย ระวังการควบรวมกิจการ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการคัดสำเนาหนังสือรับรองผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
   สัมมนาหลักสูตรพื้นฐานสำหรับพัฒนาสำนักงานบัญชี ปี 2549
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2549 (ฟรี)
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดอบรมการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการ
   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เปลี่ยนแปลงเมื่อไร?
   เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
   การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามประมวลรัษฎากร
   อบรมเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2549
   การบริหารร้านค้าปลีกแบบมืออาชีพ
   การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
   การทำความเข้าใจกับลูกค้า
   คำอธิบายระหว่าง RMF. และ LTF.
   RMF. & LTF. (2)
   RMF. & LTF. (3)
   RMF. & LTF. (4)
   RMF. & LTF. (5)
   RMF. & LTF. (6)
   กลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นสรรพากรเรียกรับผลประโยชน์ในทางมิชอบ
   แบบสอบถามความเห็น การปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน
   เปิดเว็บไซต์ ฟรี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   5 อุปนิสัยในการประมวลผลที่ดี
   กิจวัตรประจำวัน และ จำนวนวันที่มีในชีวิตของคนเรา
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (1)
   เมื่อรากหญ้า ถูกถามหาภาษี (2)
   ปรับตัว/เตรียมใจอย่างไร? หากเกิดการเลย์ออฟ
   จดแล้วไม่จนจริงหรือ?
   สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
   โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
   หน่วยงานที่ให้บริการแก่ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง SME
   เตือนให้ส่งงบการเงินปี 2548 ภายใน 31 พฤษภาคม 2549
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีเงินได้ กรณีขายบัตรเงินสด
   คำถาม-ตอบในการสัมมนา "การยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต"
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
   กรมสรรพากรจัดสัมมนาภาษีอากร ฟรี
   การตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดใช้งานไม่ได้
   กรณี - ความผิดการใช้ใบกำกับภาษีปลอม และพิสูจน์ผู้รับเงินไม่ได้
   อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินปี 2554 ล่าช้า (เริ่มใช้ เมษายน 2555)
   อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ใช้ทั่วประเทศ - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กรณีย้ายสถานประกอบการ ใบกำกับภาษีฉบับเดิมยังใช้ได้หรือไม่
   กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการแล้ว ผู้ขายไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ จะทำอย่างไร?
   วางแผนภาษีกับ การลงทุนใน RMF. & LTF.
   การวางแผนภาษี นั้นสำคัญไฉน??
   คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
   การอัพเกรด Easy_Acc for Windows
   ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
   ประเด็นความผิดเกี่ยวกับใบกำกับภาษี ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ร่าง พรบ.ของแถมของรางวัล
   สปส. ประกาศกฎกระทรวง เพิ่มคุ้มครอง 6 โรคเรื้อรัง
   ผู้ประกันตน ตาม ม.39 สิ้นสภาพ อย่าลืมรับเงินออม
   สิทธิและหน้าที่ที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ควรรู้
   ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย - น้องเดียว
   กรณีศึกษา - ภาษีน่ารู้
   เคล็ดลับหาเงินทุน บุกเบิกธุรกิจด้วยตนเอง
   ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีแล้ว (ภงด.94/49)
   ให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต
   การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
   กรณีศึกษา - การส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนกัน
   กรณีศีกษา - รายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วไม่จด ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
   กรณีศึกษา - นายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันให้พนักงาน
   ดับค้าปลีกต่างชาติในเยอรมัน-เกาหลี
   เสียภาษีอย่างไรให้ประหยัด
   เทคนิคการเลือก "กองทุน"
   บริษัท/ห้างฯ ที่จดทะเบียนใหม่จะต้องทำอะไรบ้าง?
   การเลือกซื้อกองทุน LTF
   การทำกิจการ "ค้าของเก่า"
   โครงการอบรมนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ ปี 2550 (ฟรี)
   รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรทั้งหมด และที่ถูกพักใบอนุญาต
   เกณฑ์การรับรู้รายได้ รายจ่ายทางภาษีอากร (เกณฑ์สิทธิ) เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550
   ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้
   SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร?
   สิทธิของผู้ประกันตน กรณีว่างงาน
   ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องทำบัญชีหรือแสดงรายได้เพื่อเสียภาษีอย่างไร?
   หลากกฎเตือนใจช่วยประหยัด-ฉลาดจ่าย
   กลยุทธ์ปั้นธุรกิจสู่เส้นชัย จาก 5 บริษัทชั้นนำระดับโลก
   กานต์ ตระกูลฮุน บ่มภาวะผู้นำ "คนปูน"
   ขอคืนภาษี โดยไม่สุจริต ระวังติดคุก?
   ข้อแตกต่างการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท ปี 2538 กับ 2549
   หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
   หลักเกณฑ์การใช้สิทธิซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ
   ปรัชญานายห้างเทียม
   คดีภาษีขึ้นศาลภาษีอากรกลาง เพิ่มขึ้น 100%
   ภาษีมรดกในประเทศไทย
   ค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตรตามกฎหมายภาษีไทย
   ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 และ 94
   วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภงด.50 และ ภงด.51
   วางแผนการเงินให้ครอบครัวเภสัชกร
   ช่วยผู้บริหารสานสัมพันธ์ ผูกมิตรกับพนักงานระดับล่าง
   เงินได้ของแพทย์เสียภาษีอย่างไร?
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนให้ยื่นงบการเงินปี 2549 ภายใน 1 มิถุนายน 2550
   เมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัท/ห้างฯ แล้ว จะต้องชำระบัญชีเมื่อไร?
   ก่อนเริ่มต้น ทำพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์
   ข้อชี้แนะในการเลือกนักบัญชี (สำนักงานบัญชี)
   กรณีขายน้ำผลไม้สดคั้น
   ปฏิวัติ พ่อแม่
   The Future of Accounting
   สรรพากรเอกซเรย์ทั่วประเทศ ผงะใบกำกับภาษีปลอม500ล.
   อยากให้ลูกเรียนกฎหมาย
   การลงทุนในเวียตนาม
   ถึงเวลาแล้ว ต้องยื่น ภงด.50 รอบปีบัญชี 2550 แล้ว
   สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของผู้ส่งออกที่ดี
   ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี
   พิธีการศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกสินค้ากับพม่า
   สรรพากรจะให้ร้านค้าใช้เครื่องเก็บเงินในปีหน้า
   ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% ใช้ถึง 30 กันยายน 2551
   สรรพากรเอาผิดผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือขอคืนภาษีเป็นเท็จ
   ระวัง มิจฉาชีพ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรทางโทรศัพท์
   ลูกจ้างควรวางแผนภาษีเงินได้อย่างไร
   คำถามยอดนิยมจากเว็ปกรมสรรพากร
   สวนดุสิตโพลล์ชี้ผลวิจัยล่าสุด บัญชี แพทย์ บริหาร คอมฯ วิศวะ ครองแชมป์ได้งานสูง
   ถอนทะเบียนบริษัทร้าง 4,216 ราย
   สัมมนา "เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสำนักงานบัญชี
   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ.2550
   เตือนผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียื่นงบการเงินประจำปี 2550
   มาตรการภาษี กระตุ้นเศรษฐกิจใช้บังคับปีภาษี 2551
   รายงานที่ต้องจัดทำในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   ระเบียบใหม่ - การจัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
   การเสียภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใหม่
   จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ภายในวันเดียว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2551
   กฎหมายใหม่สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มใช้ 1 มกราคม 2551
   สรุปประเด็นข้อผิดพลาดในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
   ฏีกาภาษี ประเด็นมาตรา 40 (2) หรือ 40 (8)
   เงินได้นอกจากเงินเดือน ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 48 (2)
   ด่วน.... สัมนาภาษีอากร ฟรี กับกรมสรรพากร
   ภาษีที่เกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์
   ภาษีที่ดิน
   การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 6 เดือน
   สรรพากรไล่บี้สำนักงานบัญชี และผู้ประกอบการที่เลี่ยงภาษี
   เป้าเก็บภาษีปี 2553 - กรมสรรพากร
   กรมสรรพากร - เตือนผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
   การวิเคราะห์ภาระภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และการขยายฐานภาษี
   งบการเงิน ใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2553
   มีอะไรใหม่ ในการยื่นชำระภาษีปี 2552 (ภงด.90 / 91)
   หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ.2553 - ใหม่
   ข้อบกพร่องในการรับงบการเงิน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สัมมนาฟรี เรื่อง "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   ขยายเวลา การยื่นงบการเงิน ปี 2552 (3 เขต ใน กทม.)
   กรณีการเสียภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเงินได้ภรรยา ยื่นรวมกับสามี
   สัมมนาฟรี "เตือนไว้อย่าใสซื่อ กับภาษีซื้อต้องห้าม"
   สัมมนาฟรี "ฝ่าวิกฤต พิชิตปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคล"
   คัดสำเนาหนังสือรับรอง, เอกสารการจดทะเบียน และงบการเงินทาง e_Service
   การทำธุรกรรมทางออนไลน์ เสียภาษีหรือไม่?
   สำนักงานบัญชี ที่ต้องวางหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม 3%
   "สมคิด" เสนอปฏิรูปการคลัง ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
   สัมมนาฟรี "ลด แลก แจก แถม อย่างไร สบายใจ เรื่องภาษี"
   สรรพากรรื้อใหญ่ขยายฐานรายได้ ไม่เน้นขึ้นภาษี หันเก็บทั่วถึง-เป็นธรรม
   สรรพากรประกาศนโยบาย BIG CHANGE ตั้งเป้าปี54 เก็บภาษี 1.3 ล้านล้าน
   บริหารภาษีอย่างถูกวิธี - น่าสนใจ จริง ๆ
   ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
   ข้อควรทราบเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง?
   มาตราการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
   คลังลุยรื้อภาษีมุ่งลดเหลื่อมล้ำ
   โค้งสุดท้าย ซื้อ RMF/LTF ประหยัดภาษีปี 2553
   ชง ครม. เรียกเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา รัฐได้เพิ่ม 4,000 ล้านบาท
   การจัดทำบัญชีอย่างง่าย ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   กำไรจากการขาย LTF
   สรรพากรเตือนผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภงด.90/91
   ประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงินของกรมสรรพากร
   เตรียมลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เริ่ม 1 มค.2555
   กรมสรรพากร - คู่มือประชาชน
   แนวปฏิบัติของผู้เสียภาษ๊ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย 2554
   บริการ 3 กรมภาษี กระทรวงการคลัง
   กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554
   ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน จาก 5% เหลือ 3% และ 4%
   ผู้หญิงเฮ ! แยกยื่นเสียภาษีกับสามี จ่ายน้อยลง ผลงานโบว์แดงผู้ตรวจการแผ่นดิน ???
   1 กุมภาพันธ์ 2555 เริ่มใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก
   ขอหนังสือรับรองจดทะเบียนหุ้นส่วน/บริษัท ผ่านธนาคาร ได้แล้ว
   กรณีกรมสรรพากรให้หักค่าลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถเนื่องจากน้ำท่วม ปี 2554
   กรมสรรพากร ให้ยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต มากขึ้น
   ค่าจ้างแรงงานต่อวัน เริ่มใช้ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
   ผู้หญิงมีสามีเฮ! ศาลรธน.ตัดสินกม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว
   ข่าวกรมสรรพากรที่น่ารู้
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีสามี-ภรรยา แยกกันยื่นแบบทุกภาษี เริ่มปีภาษี 2555 เป็นต้นไป
   การยื่นแบบแสดงรายการภาษี และยื่นแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย ตามประกาศของ ป.ป.ช. เริ่ม 1 เมษายน 2555
   ระเบียบใหม่ การจัดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด เริ่มใช้ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
   แนวปฏิบัติการเสียภาษีเงินได้ กรณีสามีภรรยา (ฉบับใหม่) เริ่มใช้ 14 มกราคม 2556
   ขยายเวลาการใช้เลขภาษี 10 หลัก ถึง 31.7.2556
   คำแนะนำในการยื่นบัญชีแสดงรายรับ-รายจ่ายของโครงการ ตาม (บช.1)
   สิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2556 .....ใหม่ล่าสุด
   เพิ่มข้อความ "เลขภาษี 13หลัก" และ "สาขาที่ออกใบกำกับภาษี" ลงในใบกำกับภาษีขาย และใบกำกับภาษีซื้อ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2557
   สัมมนา ฟรี กับสรรพากร (ครึ่งวัน ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556 จำนวน 4 รอบ)
   ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่..... มาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฯ เริ่มใช้ 1 มค.2556
   การลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556
   ข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ที่จะเริ่มใช้ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
   สามีภรรยาร่วมกันทำการค้าถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT
   หลักเกณฑ์การประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
   หสม. หรือ คณะบุคคล ตามกฎหมายใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2558
   ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบทางออนไลน์ของกรมสรรพากรไปถึง มค.2560
 
Webboard
  Site Board
 
New Update
สำนักงานบัญชี
1. ให้บริการวางระบบบัญชีของธุรกิจ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี&lt;br&gt;<br>

2. ให้บริการจัดทำบัญชี และรายงานผลการดำเนินธุรกิจเป็นรายเดือน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี EASY_ACC&lt;br&gt;<br>

3. ให้บริการและให้คำแนะนำในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี <br>

ได้แก่ ภพ.30 ภงด.1,3,53,50,51,90,91,94 ทางอินเทอร์เน็ต ให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลารอและการเดินทางของพนักงานสำหรับการยื่นแบบและชำระภาษี &lt;br&gt;<br>

4. ให้บริการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯ ก่อนการ เข้าตรวจสอบของเจ้าพนักงาน&lt;br&gt;<br>

5. จัดทำบัญชีและส่งมอบเอกสารบัญชี, สมุดบัญชีให้ผู้ประกอบการเก็บไว้ตาม พรบ.การบัญชี &lt;br&gt;<br>

สอบถามได้ที่ 077-811694, แฟ็กซ์ 077-813156หรือ E_mail :<a href=mailto:info@teinpun.com>info@teinpun.com</a>; &amp;:<a href=mailto:teinpun@yahoo.com>teinpun@yahoo.com</a>;
 

Online: 001
Visitors : 79249

เทคนิคการเลือก "กองทุน RMF & LTF"






วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

















ฉบับที่ 29 ต.ค. 2549
  • 7 วิธีลดทอนความเสี่ยงง่ายๆ ที่คุณหรือใครก็ทำได้


  • ฉบับที่ 22 ต.ค. 2549
  • ช่วยชาติง่ายๆ ด้วยการซื้อกองทุนLTF





  • กลับหน้าแรก >>



    เทคนิคเลือก"กองทุน" ที่เหมาะและใช่

    โดยสรวิศ อิ่มบำรุง

    อยากลงทุนในกองทุนรวมเหลือเกิน แต่ไม่รู้จะเลือกองทุนประเภทไหนดี!!!

    จะซื้อกองทุนตราสารหนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าต้องดูปัจจัยอะไรบ้าง แล้วจะซื้อระยะสั้นหรือยาวดี!!!

    มีเงินอยู่ก้อนหนึ่งไม่ใช่เงินเย็นซะทีเดียว แต่อยากจะลงทุนในกองทุนหุ้น ไม่รู้จะเหมาะหรือเปล่า!!

    แค่เลือกลงทุนในกองทุนรวมอย่างเดียว ยังทำให้คุณเวียนหัวได้ไม่น้อย เพราะเดี๋ยวนี้กองทุนรวมมีผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างหลากหลาย

    ไม่ว่าจะเป็น "กองทุนรวมหุ้น" "กองทุนรวมแบบผสม" "กองทุนรวมตราสารหนี้" "กองทุนรวมตราสารตลาดเงิน" "กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์" "กองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF)" "กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)" หรือ "กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)"

    การจะเลือกกองทุนรวมให้ตรงใจและตรงเงื่อนไขการลงทุนของคุณ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก Fundamentals สัปดาห์นี้ มีเทคนิคในการเลือกลงทุนในกองทุนรวมมานำเสนอ

    ...............................

    อาจจะดูเป็นเรื่องยากสำหรับมือใหม่ในแวดวงกองทุนรวม ในการเฟ้นหากองทุนรวมที่เหมาะกับคุณ เพราะเงื่อนไขในการลงทุนของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป ฉะนั้น กองทุนที่เหมาะกับนักลงทุนรายอื่น อาจจะไม่เหมาะกับคุณก็ได้ แล้วกองทุนแต่ละประเภท มีวิธีเลือกลงทุนอย่างไร ลองติดตามกัน

    @กองทุนหุ้น

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ "ธีรวุฒิ สินธวถาวร" ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการลงทุน บล.พรูเด้นท์ สยาม บอกว่า กองทุนหุ้นนั้นแบ่งเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ 1) "กองทุนหุ้นแบบ Active" ซึ่งมีสไตล์การลงทุนที่มุ่งจะเอาชนะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET) ที่ใช้เป็นดัชนีอ้างอิง หรือ Bench mark ให้มากที่สุด โดยจะใช้ความสามารถของ "ผู้จัดการกองทุน" เข้ามาช่วยในการเลือกหุ้น หรือจังหวะในการเข้าลงทุนเพื่อที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับกองทุน ดังนั้น กองทุนประเภทนี้จึงมีค่าธรรมเนียมการจัดการที่สูงกว่าเฉลี่ยประมาณ 1.5%

    และ 2) "กองทุนหุ้นแบบ Passive" ซึ่งมีสไตล์การบริหารที่มุ่งจะเลียนแบบ Bench Mark ให้มากที่สุด โดยจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสร้างพอร์ตลงทุนที่จะเลียนแบบไปกับดัชนีให้มากที่สุด จึงทำให้กองทุนหุ้นประเภทนี้มีค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการที่ต่ำกว่าเฉลี่ยประมาณ 0.6-0.7% ประเด็นคือ นักลงทุนจะเลือกกองทุนให้เหมาะสมกับการลงทุนของตัวเองได้อย่างไร

    "สำหรับนักลงทุนที่เน้นลงทุนแบบซื้อแล้วถือ (Buy and Hold) ควรจะเลือกกองทุนหุ้นแบบ Active ในขณะที่นักลงทุนที่เน้นการซื้อขายเป็นรอบๆ ตามดัชนีควรจะเลือกลงทุนกับกองทุนหุ้นแบบ Passive ส่วนนักลงทุนที่อาจจะมีความถนัดเฉพาะหุ้นบางกลุ่ม หุ้นบางตัวที่เรารู้จักเป็นพิเศษ ก็อาจจะซื้อขายหุ้นด้วยตัวเองเป็นรายตัวไปได้ นี่คือคำแนะนำในภาพรวม อย่างไรก็ตามแนะนำว่าในส่วนของพอร์ตหุ้นนั้นควรจะมีการลงทุนทั้ง 3 ส่วนนี้ผสมกันไป สำหรับคนที่เพิ่งหัดลงทุนในหุ้นใหม่ๆ ควรจะมีสัดส่วนของกองทุนหุ้นแบบ Active มากที่สุด กองทุนหุ้นแบบ Passive รองลงมา และหุ้นรายตัวน้อยที่สุด"

    เนื่องจากกองทุนหุ้นแบบ Active เน้นการใช้ฝีมือของผู้จัดการกองทุน ธีรวุฒิ แนะนำให้เลือกกองทุนหุ้นประเภทนี้โดยดูจากผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนเหล่านั้นว่าผู้จัดการกองทุนเขาบริหารงานมาแล้วแพ้ตลาด(under perform) หรือชนะตลาด (out perform) เมื่อเทียบกับดัชนีอ้างอิง แล้วผู้จัดการกองทุนนั้นๆ ยังอยู่กับบลจ.นั้นอยู่หรือเปล่า เพราะบางทีคนเก่ง อาจจะถูกซื้อตัว ย้ายไปอยู่บลจ.อื่นแล้ว

    ดังนั้น ผู้ลงทุนก็ต้องติดตามดูว่าผลการดำเนินงานของกองทุนหุ้น หลังจากที่ผู้จัดการกองทุนย้ายไปแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ หากผลการดำเนินงานปรับตัวแย่ลงก็เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณควรจะย้ายไปลงทุนที่อื่นดีกว่ามั้ย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่บางบลจ.อาจจะเป็นการบริหารแบบตัดสินใจร่วมกันเป็นทีม ตรงนั้นก็คงต้องดูความสม่ำเสมอของผลการดำเนินงานในอดีตที่ผ่านมา

    นอกจากนี้ ทุกๆ เดือนกองทุนหุ้นแบบ Active จะมีการรายงานหุ้น 10 อันดับแรกที่กองทุนลงทุนอยู่ ผู้ลงทุนก็ควรจะดูว่ากองทุนเขาถือหุ้นอะไรอยู่ ไปเปิดดูว่านโยบายการลงทุนเขาเป็นอย่างไร ดูหุ้นที่กองทุนกับนโยบายการลงทุนแล้วไม่ขัดกับความรู้สึกเรา ไม่ใช่นโยบายลงทุนหุ้นพื้นฐานดี แต่ในพอร์ตมีหุ้นเก็งกำไร ก็เป็นอีกส่วนที่เราจะดูได้เช่นเดียวกัน

    "ส่วนกองทุนหุ้นแบบ Passive นั้น เป็นกองทุนที่สร้างผลตอบแทนเกาะไปกับดัชนี ดังนั้น เราคงไม่ได้ดูที่ผลการดำเนินงานในอดีตเหมือนกับกองทุนหุ้นแบบ Active แต่จะเน้นดูในส่วนของค่าใช้จ่าย ค่าจัดการ แล้วค่าธรรมเนียมในการซื้อขายแต่ละครั้งให้ต่ำไว้ก่อน โดยช่วงไหนที่ตลาดหุ้นขึ้นสุดๆ ก็ควรขายออกไปก่อน แต่ถ้าตลาดหุ้นซบก็ค่อยกลับเข้ามาซื้อเล่นเป็รอบไป"

    @กองทุนตราสารหนี้

    ก็มีให้เลือกลงทุนหลากหลายทั้งกองทุนตราสารหนี้ระยะยาวและกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น มีทั้งที่เป็นกองทุนเปิดและกองทุนปิด

    อย่างไรก็ตาม ธีรวุฒิแนะนำว่า รูปแบบของกองทุนหุ้นที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนในปัจจุบันที่สุดควรจะเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่มีกำหนดระยะเวลาการลงทุนที่แน่นอน เช่น 3 เดือน ,6 เดือน , 9 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งเป็นรูปแบบของกองทุนที่พัฒนาขึ้นมาจากกองทุนตราสารหนี้ในอดีต

    นักลงทุนไม่ต้องมานั่งลุ้นว่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนจะถูกประเมินมูลค่าตามราคาตลาด (Mark to Market) แล้วสินทรัพย์สุทธิของกองทุนจะลดลงตอนที่เรากำลังจะขายออกหรือเปล่า หรือเงินตอนที่ขายคืนจะได้ครบเปล่า ผู้ลงทุนก็ไม่ต้องมานั่งกังวลกับเรื่องเหล่านี้ โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกระยะเวลาในการลงทุนได้เลยว่าจะเป็นกี่เดือน รู้ผลตอบแทนที่แน่นอน แล้วไปรับเงินต้นพร้อมกับผลตอบแทนคืนตอนปลายทางทีเดียวเลย ดังนั้น ถ้าต้องการจะลงทุนในตราสารหนี้กองทุนประเภทนี้เหมาะมาก ส่วนจะเลือกระยะเวลาในการลงทุนเท่าไรนั้นขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ

    1)มุมมองของทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เราคิด ถ้าคิดว่าดอกเบี้ยจะขึ้นต่อไปอีกก็ควรจะลงทุนสั้นๆ เพื่อให้การลงทุนของเราเกาะไปกับอัตราดอกเบี้ยที่กำลังปรับตัวขึ้น แต่ถ้าคิดว่าดอกเบี้ยน่าจะคงที่หรือน่าจะลงแล้ว คุณก็ควรจะฝากให้ยาวหน่อย เพื่อล็อกอัตราดอกเบี้ยที่สูงๆ ไว้ จะได้ไม่เสียโอกาสในการที่จะได้รับดอกเบี้ยสูง เมื่อดอกเบี้ยปรับตัวลงจริง และ

    2)ความจำเป็นในการใช้เงิน ถ้าอีก 6 เดือนข้างหน้า คุณจะต้องนำเงินไปดาวน์บ้าน ก็จะเป็นตัวที่กำหนดเหมือนกันว่าคุณควรจะลงทุนในตราสารหนี้ที่สั้นหรือยาว

    นอกจากนี้ ผู้ลงทุนควรจะศึกษา"นโยบาย"ว่ากองทุนนั้นลงทุนในตราสารหนี้ประเภทไหนด้วย ไม่ใช่เห็นว่าเป็นกองทุนตราสารหนี้ ความเสี่ยงต่ำ แล้วก็เข้าไปซื้อ แต่จริงๆ แล้วผู้ลงทุนควรจะตามไปดูว่าในนโยบายเขาไปลงทุนในตราสารหนี้อะไร พันธบัตรรัฐบาล หรือตราสารหนี้ของธนาคารพาณิชย์ หรือ ตราสารหนี้เอกชน พวกหุ้นกู้หรือตั๋วแลกเงิน เพราะความเสี่ยงก็จะไม่เหมือนกัน เพราะบางครั้งบลจ.จะโชว์แต่ผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว ผู้ลงทุนก็ต้องไปถามว่าคุณลงทุนเหมือนกันมั้ย สำหรับผลตอบแทนที่แตกต่างกันนั้น ถ้าลงทุนเหมือนกันเป็นแอปเปิลกับแอปเปิลก็โอเค คุณก็ควรจะเลือกของคนที่เขาจ่ายผลตอบแทนที่สูงกว่า

    @กองทุนรวมตราสารตลาดเงิน

    เป็นกองทุนมีสภาพคล่องดีพอสมควร ถ้าเราไม่จำเป็นต้องใช้เงินแบบปัจจุบันทันด่วน เพราะกองทุนตราสารตลาดเงินสามารถที่จะซื้อขายได้ทุกวัน แต่เมื่อขายแล้วเงินจะโอนเข้าบัญชีหลังจากนั้น 1-2 วัน ธีรวุฒิ แนะนำว่า การเลือกลงทุนในกองทุนตราสารตลาดเงินควรจะดูใน 3 เรื่องด้วยกัน คือ

    1) "สะดวก" คือผู้ลงทุนสามารถที่จะทำการซื้อขายได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ทำรายการอัตโนมัติได้ เพราะถ้าต้องเดินไปที่แบงก์ทุกครั้งเพื่อทำรายการอาจจะไม่สะดวกสำหรับนักลงทุน

    2) "รวดเร็ว" คือ เวลาสั่งขายแล้วให้เงินกลับมาเร็วที่สุด ถ้าขายวันนี้พรุ่งนี้ได้เงินเลยกับอีก 2 วันได้เงินตรงนี้ก็ต่างกัน เพราะวันที่อยู่ระหว่างทำรายการนั้นจะไม่มีดอกเบี้ยเกิดขึ้น ก็คงต้องมองว่าเวลาสั่งขายแล้วให้เงินกลับมาให้เร็วที่สุด หรือเวลาที่จะสับเปลี่ยนไปกองทุนอื่นให้ใช้เวลาน้อยที่สุดก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ลงทุนและ

    3) "ประหยัด" ทั้งนี้เพราะเราใช้กองทุนตราสารตลาดเงินเป็นกึ่งๆ แทนเงินฝากอออมทรัพย์นั่นเอง

    นอกจากนี้ ผู้ลงทุนควรจะเลือกกองทุนตราสารตลาดเงินที่มีขนาดใหญ่ เพราะจะมีข้อได้เปรียบอยู่ 2 ข้อ คือ กองทุนสามารถจะจัดการสภาพคล่องได้ดีกว่า เพราะมีจำนวนผู้ถือหน่วยจำนวนมาก

    "ทุกๆ วันไม่ใช่ทุกคนจะแห่ไปถอนหมด ก็มีทั้งคนที่เข้าไปซื้อเพิ่ม คนที่เข้าไปถอน สภาพคล่องเขาก็ต้องบริหารไป แต่ถ้ากองทุนที่มีขนาดเล็กจะมีความน่ากลัวตรงที่ คือคนที่ลงทุนอยู่อาจจะมีไม่มากนัก หรือว่ามีรายใดรายหนึ่งที่ถืออยู่จำนวนมาก ถ้าเขาถอนหน่วยลงทุนออก มันอาจจะทำให้ผู้จัดการกองทุนต้องไปขายตราสารหนี้ที่ยังไม่ควรที่จะต้องถึงเวลาขาย ก็ต้องไปขาย ซึ่งจะทำให้กองทุนได้รับผลกระทบได้เหมือนกัน"

    นอกจากนี้ กองทุนที่มีขนาดใหญ่จะทำให้กองทุนสามารถที่จะซื้อตราสารได้หลายตัวมากกว่ามีการกระจายการลงทุนได้ดีกว่า ซึ่งจะทำให้กองทุนมีการกระจายความเสี่ยงได้ดีขึ้น สุดท้ายก็ควรจะติดตามตัวพอร์ตการลงทุนของกองทุนทุกสิ้นเดือน ว่าสัดส่วนการลงทุนเหมือนกับที่เราเคยเห็นในตอนแรกหรือเปล่า เพื่อเป็นการควบคุมความเสี่ยงในการลงทุนอีกทางหนึ่งด้วย

    @กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

    ธีรวุฒิบอกว่า เงินที่จะนำมาลงทุนในกองทุน RMF นั้นต้องเป็นเงินเย็นจริงๆ เพราะเป็นการลงทุนระยะยาวกว่าจะได้ใช้เงินคุณก็อายุ 55 ปีแล้ว แต่สิ่งที่อยากจะย้ำให้ผู้ลงทุนทราบอีกครั้ง คือ กองทุน RMF เองนั้นมีนโยบายการลงทุนให้เลือกลงทุนหลายประเภทตามระดับความเสี่ยงตั้งแต่เสี่ยงต่ำไปถึงเสี่ยงสูง

    แต่เนื่องจากกองทุน RMF เป็นการลงทุนระยะยาว จึงไม่อยากให้นักลงทุนกลัวความเสี่ยงจนเกินไป การลงทุนในกองทุน RMF ที่เป็นหุ้นน่าจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงมากที่สุด เพราะโดยธรรมชาติได้พิสูจน์มาแล้วว่าการลงทุนระยะยาวในหุ้นเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการลงทุนอื่น เพราะได้พิสูจน์มาแล้ว อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าผู้ลงทุนสามารถที่จะ "สับเปลี่ยน" กองทุน RMF ได้ในระหว่างที่ลงทุน

    @กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

    ธีรวุฒิแนะว่าเงินที่จะลงทุนในกองทุน LTF นั้น ก็ควรจะเป็นเงินเย็นเช่นเดียวกัน อย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกองทุน LTF เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้น ความเสี่ยงมีแน่นอน ฉะนั้นเรื่องของ "จังหวะเวลาในการเข้าซื้อ" จึงเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนที่จะได้รับค่อนข้างมาก ไม่รวมเรื่องของภาษีซึ่งเป็นอะไรที่ได้รับอยู่แล้ว ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้าเข้าไปซื้อกองทุน LTF ตอนที่ทุกคนกำลังมองว่าหุ้นจะขึ้นไปอีกๆ ซึ่งจังหวะแบบนั้นจริงๆ แล้วเป็นสัญญาณไม่ค่อยดีแล้ว ถ้าไปซื้อตอนนั้นคุณก็มีโอกาสที่จะขาดทุนได้จากมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV) ได้เช่นเดียวกัน ส่วนหลักเกณฑ์ในการเลือกกองทุน LTF นั้น ก็เหมือนการเลือกกองทุนหุ้นทั่วๆ ไป

    "ทั้งกองทุน RMF และกองทุน LTF แนะนำให้ทยอยซื้ออย่างต่อเนื่อง อาจจะเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส แทนที่จะไปรอซื้อครั้งเดียวตอนปลายปี เพราะอาจจะไม่ใช่ไทม์มิ่งที่ดีที่สุดในการซื้อก็ได้"

    @กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF)

    เป็นกองทุนที่มีประโยชน์มากในเรื่องของการกระจายความเสี่ยง แล้วในปัจจุบันก็มีนโยบายให้เลือกลงทุนหลากหลายเช่นเดียวกัน แต่ธีรวุฒิแนะว่า ผู้ลงทุนควรจะเลือกลงทุนในสิ่งที่เรา "เข้าใจ" บางครั้งนโยบายการลงทุนที่ฟังดูดี แต่เราฟังแล้วยังไม่เข้าใจก็ควรจะหลีกเลี่ยงไปก่อน เพราะคุณจะติดตามการลงทุนไม่ถูก ไม่รู้ว่าเมื่อไรคุณควรจะซื้อหรือขาย นอกจากนี้ผู้ลงทุนจะต้องคำนึงถึงใน 4 เรื่อง เมื่อจะเข้าไปลงทุนในกองทุน FIF คือ 1) "ตราสารที่ลงทุน" ดูว่ากองทุนไปลงทุนในอะไร 2) "ความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน" เพราะกำไรของกองทุนส่วนหนึ่งจะมาจากอัตราแลกเปลี่ยน

    3) "ความคล่องตัวในการขายคืน" เพราะโดยปกติแล้วกองทุน FIF จะมีความคล่องตัวในการขายคืนน้อยกว่ากองทุนรวมทั่วๆ ไป แม้ว่ากองทุน FIF อาจจะซื้อได้ทุกวันไม่แตกต่างกันกับกองทุนรวมทั่วไป แต่อาจจะขายคืนได้เดือนละ 2 ครั้ง หรือ 4 ครั้ง ตรงนี้ผู้ลงทุนก็ควรจะรู้ก่อนที่จะลงทุนเพื่อที่จะได้จัดเงินได้ถูกว่าเงินตรงไหนที่สามารถจะเอาไปลงทุนกับกองทุน FIF ได้ และ 4) "ค่าใช้จ่าย" ซึ่งโดยปกติแล้วกองทุน FIF จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ากองทุนรวมปกติทั่วไป เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น

    @กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์

    ธีรวุฒิแนะนำว่า เงินที่จะนำมาลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์นั้นควรจะเป็นเงินเย็น โดยผู้ลงทุนควรจะศึกษา "แนวทางการลงทุน" ของกองทุนให้เข้าใจ ซึ่งโดยปกติแล้วกองทุนอสังหาริมทรัพย์จะเข้าไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใน 2 ลักษณะ คือ 1)ไปซื้อขาดเลย 2)ไปซื้อสิทธิการเช่า ตรงนี้ผู้ลงทุนก็ต้องศึกษาดูให้ดีว่ากองทุนเข้าไปลงทุนในลักษณะใด รวมถึง "โครงสร้างรายได้" ของกองทุนเป็นอย่างไร จะมีการรับรู้รายได้ในรูปแบบไหน ได้เป็นค่าเช่าหรืออะไร เป็นค่าเช่าที่มาจากส่วนไหน เช่น ค่าเช่าที่มาจากที่พักอาศัยเท่าไร เป็นส่วนของอาคารพาณิชย์เท่าไร เป็นต้น

    นอกจากนี้ ยังควรดูไปถึง "แนวโน้มการเติบโต" ของรายได้ด้วย ถ้ากองทุนมีที่ดินมากแล้วในอนาคตมีโอกาสที่จะสร้างตึกขึ้นมาเพิ่มได้อีก แบบนี้ในอนาคตกองทุนก็มีโอกาสที่จะได้รับค่าเช่าเพิ่มในอนาคตได้ หรือการปรับขึ้นอัตราค่าเช่าในอนาคตซึ่งจะเป็นส่วนที่เป็นอัพไซด์ให้กับกองทุนของเราด้วย

    คำแนะนำเหล่านี้คงพอช่วยให้ผู้ลงทุน สามารถที่จะเลือกลงทุนในกองทุนรวมประเภทต่างๆ ได้สอดคล้องกับความต้องการลงทุนของตัวเองได้ดียิ่งขึ้นไม่มากก็น้อย





    copyright @ NKT NEWS CO.,LTD.
    All Right Reserved, Contact us : mailto:ktwebeditor@nationgroup.com


    Page 1/1
    1
    Copyright © 2005 www.teinpun.com Allrights Reserved.
    Powered By www.Freethailand.com